เหรียญมีสองด้าน แล้วแต่คุณจะเลือกมองด้านไหน
Group Blog
 
 
มีนาคม 2549
 1234
567891011
12131415161718
19202122232425
262728293031 
 
2 มีนาคม 2549
 
All Blogs
 
ขอลองวิเคราะห์การเมืองดูบ้าง (28 กพ. 2549)

เนื่องจากไม่ได้จบรัฐศาสตร์หรือกฎหมายมา การวิเคราะห์อาจจะทำได้ไม่ดีเท่าไหรนะครับ

และก่อนอื่นขอออกตัวก่อนเลยว่า ไม่ได้อยู่ข้างไหนทั้งนั้น
แค่อยากจะขออนุญาตเข้ามาเสนอและแลกเปลี่ยนความเห็นกันครับ


ประเด็นที่ 1 ฝ่ายรัฐบาล

จากการทำงานของท่านทักกี้นั้น ถ้าเปรียบเหมือนหมากรุก
ท่านชอบเดินเอาขุนไปลุยตัวเดียว
โดยไม่ส่งม้าส่งเรือไปทำงานหรือรับหน้าอะไรเลย
แทนที่เวลาประชาชนมีปัญหา จะส่งรมต.หรือคนที่มีอำนาจลงไปคุย
แล้วค่อยเอาตัวเองออกไปรับว่าถูกต้องเหมาะสมหรือไม่อย่างไร ก็ยังไม่สาย
สังเกตได้จาก เวลาใครเรียกร้องอะไร หรือม๊อบมาเมื่อไหร จะเรียกร้องหาแต่ท่านนายก
ไม่ค่อยเรียกรมต.เกษตร หรือรมต.ท่านอื่นๆเลย

แต่ก็ไม่ปฏิเสธว่าที่เศรษฐกิจที่เฟื่องฟูที่เกิดขึ้น
เป็นเพราะท่านได้ดำเนินการทางเศรษฐกิจค่อนข้างเหมาะสมและฉับไว
แต่ก็อย่าลืมเหมือนกันว่า พื้นฐานในการดำเนินนโยบายทางเศรษฐกิจในช่วงหลังวิกฤต เกิดจากอะไร

เล่าคร่าวๆให้ฟังก่อนแล้วกัน เริ่มที่การค้าระหว่างประเทศ
โครงสร้างอุตสาหกรรมประเทศไทย ยังไม่สามารถสร้างสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ได้ด้วยตัวเองโดยไม่มีการนำเข้า
สภาพเศรษฐกิจจึงต้องพึ่งพิงการนำเข้าอยู่มาก ทั้งพลังงานและวัตถุดิบ
เมื่อเกิดวิกฤตเศรษฐกิจขึ้นอุตสาหกรรมและธุรกิจต่างๆหยุดชะงัก
ส่งผลให้โรงงานต่างๆต้องเป็น NPL หรือปิดชั่วคราว เพื่อรอให้เศรษฐกิจฟื้น
หลังจากเศรษฐกิจเริ่มมีเสถียรภาพ และท่านทักกี้ก็ได้เข้ามาบริหารงาน
โรงงานที่ปิดอยู่รวมทั้ง NPL ที่ค้างอยู่ในธนาคาร ได้รับการแก้ไขให้กลับมาดำเนินธุรกิจต่อได้
เหตุการณ์นี้ทำให้การขยายตัวของประเทศไทย เกิดขึ้นโดยไม่ต้องพึ่งพิงวัตถุดิบจากต่างชาติมากนัก
เพราะใช้ทรัพยากรเก่าที่เหลืออยู่จากวิกฤตเศรษฐกิจ ดุลการค้าจึงเป็นบวกติดต่อกันเป็นเวลานาน
กลับมาในปัจจุบัน เมื่อเศษซากทรัพยากรที่เหลือจากวิกฤตถูกใช้หมดแล้ว
ก็มีความจำเป็นต้องนำเข้าวัตถุดิบและทรัพยากรเข้ามาเหมือนเดิม
จะเห็นได้จากดุลการค้าที่เริ่มขาดดุลต่อเนื่องในปีที่ผ่านมา

จากสภาพการณ์นี้ ถามว่าถ้าปชป.เป็นรัฐบาลแล้วจะสามารถดำเนินการให้เกิดสภาพเศรษฐกิจในปัจจุบันได้ไหม
คงตอบว่าเป็นไปได้ยาก เพราะการทำงานของปชป.ค่อนข้างยิดตึดกับระบบและกฎหมายเดิมที่มีอยู่
แต่ถามว่าช่วงเศรษฐกิจเริ่มอยู่ตัว (ไม่เป็นบวกแต่ก็ไม่ติดลบมากกว่าเดิม)
ใครเป็นคนทำนโยบาย ก็ต้องตอบว่าปชป.
ถ้าถามว่าทรท.สามารถทำได้ไหม ผมก็ตอบไม่ได้เหมือนกัน

กลับมาด้านการเมือง ในสถานการณ์ปัจจุบันที่ท่านทักกี้ยุบสภา ข้อนี้ผมไม่แปลกใจเท่าไหร
เพราะเห็นหาเสียงมาตั้งแต่ต้นปีแล้ว
มาสู่ที่ทางเลือกของทักษิณก่อน ซึ่งมี 2 อย่างในขณะนั้นคือลาออก กับยุบสภา
แล้ว 2 อย่างนี้มีความแตกต่างกันตรงไหน

การยุบสภาโดยพื้นฐานแล้วจะเกิดขึ้นก็เมื่อฝ่ายบริหารและฝ่ายนิติบัญญัติทำงานด้วยกันไม่ได้

ขณะที่การลาออกปกติจะเป็นที่ตัวนายกเอง
โดยทั่วไปแล้ว จะมีการตั้งทายาททางการเมืองขึ้นมาเป็นหุ่น
แต่บังเอิญเท่าที่ดูในปาร์ตี้ลิสต์แล้ว ไม่มีใครพอจะรับหน้าที่นี้ได้เลย
อีกทั้งท่านนายกก็คงกลัวการหักหลังที่อาจจะเกิดขึ้น ซึ่งคงไม่ต้องพูดว่าอะไรจะตามมา

ทางเลือกของท่านจึงอยู่ที่การยุบสภาดังที่เห็นในปัจจุบัน


ประเด็นที่ 2 เรื่องฝ่ายค้าน

ตอนนี้ฝ่ายค้านอ้างความชอบธรรมเรื่อง การเลือกตั้งวันที่ 2 เมษา ว่ามันไม่ค่อยไม่แฟร์

ประเด็นเริ่มที่กฎหมายรัฐธรรมนูญ ที่กำหนดให้มีการล๊อคตัวผู้สมัครให้อยู่กับพรรค 90 วันก่อน
ถึงจะมีสิทธิลงรับสมัครได้ กฎนี้เกิดขึ้นมาเพื่อไม่ให้มีพรรคเล็กพรรคน้อยมากเกิน
จากอดีตที่ผ่านมา การเมืองไทยมีปัญหาพรรคเล็กพรรคน้อย มีการแย่งผลประโยชน์และเก้าอี้กันมาก
พอมีปัญหาก็ยุบสภา การดำเนินนโยบายก็ไม่ต่อเนื่อง เป็นปัญหาทางเศรษฐกิจ สังคม และการเมืองตามมา

แต่กฎดังกล่าวก็ทำให้เกิดการผูกขาดทางการเมืองเกิดขึ้น
จากระเบียบราชการของไทย การเลื่อนขั้นตั้งแต่ระดับ ซี 8 เป็นต้นไป ต้องได้รับการอนุมัติจากครม.
นั่นหมายความว่า 6-7 ปี กลุ่มคนที่ได้รับการเลื่อนขั้นดังกล่าว
จะขึ้นไปเป็นระดับบอธิบดีหรือปลัดกระทรวง ซึ่งมีลูกน้องในสังกัดมากมาย
และคงทราบกันว่า ระบบพระเดชพระคุณในราชการมีความสำคัญอย่างไร
นี่เป็นสาเหตุหนึ่งที่ รธน.ของสหรัฐมีการกำหนดตัวประธานาธิบดีให้เป็นได้ไม่เกิน 2 สมัย

นอกจากนี้การยุบสภาที่ผ่านมา ถามว่า เกมเริ่มคิ๊กออฟพร้อมกันทั้งทรท.และปชป.หรือเปล่า
ใครติดตามข่าวสารการเมือง หรือดูทีวีก็คงทราบว่าได้มีการโฆษณาความสำเร็จของรัฐบาลมาตั้งแต่ต้นปีแล้ว
โดยทั่วไปแล้ว เราจะไม่ค่อยเห็นการโฆษณาที่มาจากรัฐบาลโดยตรง
เนื่องจากการทำงานของรัฐบาลเมื่อก่อน เกิดขึ้นจากหลายพรรคการเมืองรวมกัน
มีรัฐบาลนี้ที่สามารถออกสื่อโฆษณาได้ เพราะ “รัฐบาล = ไทยรักไทย”
และมีเวลาเตรียมการเลือกตั้งเพียงแค่ 39 วัน นับจากที่มีการประกาศยุบสภา
เกมที่ออกมา จึงเปรียบเสมือนบอลถูกตั้งคิ๊กออฟตรงกรอบเขตโทษของปชป.
อีกทั้งทางกทม.ก็ยังโดนเรื่องฮั้วประมูลเข้าไปอีกดอกนึง ปชป.จึงเสียเปรียบอย่างเห็นได้ชัด

นอกจากนี้แฟร์เกมจำเป็นต้องดูกรรมการ และกองเชียร์ด้วยว่า เล่นกันแฟร์ขนาดไหน


ประเด็นที่ 3 ท่านทักกี้

เอาเรื่องหุ้นแล้วกัน ดังที่ได้เคยพูดไปแล้วว่า มี 3 ประเด็นที่พอจะเอาผิดท่านทักกี้ได้
(นึกออกแค่นี้อ่ะ ใครอยากเพิ่มอะไรหรือไม่เห็นด้วย ก็บอกหรือแย้งได้นา)

1. เรื่อง Tender-Offer ประเด็นนี้กลต.ได้ตรวจสอบและเอาผิดนายโอ๊คไปแล้ว
ค่าปรับถ้าจำไม่ผิดอยู่ที่ ไม่เกิน 1 หมื่นบาทต่อวัน รวมๆก็ 20 ล้านได้ล่ะมั้ง
ให้ความรู้เรื่อง tender-offer นิดนึง
ตามกฎกลต. จะต้องมีการทำ tender-offer เมื่อมีการถือหุ้นถึงจุดๆหนึ่ง เช่น 25% 50%
คือการดำเนินการเพื่อป้องการการฮุบบริษัทโดยที่ผู้ถือหุ้นไม่รู้
เนื่องจากพื้นฐานแล้วผู้ถือหุ้นจะดูที่กิจการบริษัท รวมถึงแนวนโยบายของผู้บริหาร
การมีการเปลี่ยนมือผู้ถือหุ้น ในระดับที่ปรับเปลี่ยนแนวนโยบายบริษัทได้ จึงเป็นสิ่งที่ผู้ถือหุ้นต้องรับรู้
และหากผู้ถือหุ้นไม่พอใจในแนวนโยบายดังกล่าว
ก็สามารถขายหุ้นให้แก่ผู้ที่จะเข้ามาเป็นผู้ดำเนินแนวนโยบายใหม่ได้

2. เรื่องภาษี
แบ่งย่อยเป็น 2 อย่าง คือ ต้องตีความกับไม่ต้องตีความ
ความผิดโดยไม่ต้องตีความคือการโอนหลักทรัพย์ให้ลูกโดยที่ลูกเป็นหนึ่งในคณะกรรมการของบริษัท
อันนี้ต้องนับเป็นเงินได้หรือโบนัสของคนๆนั้น ซึ่งจะต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
(ถ้าพนักงานกฟผ.คนไหนได้รับหลักทรัพย์แล้วไม่เสียภาษี บอกผมด้วยนะครับ จะได้ตัดประเด็นนี้ทิ้งไป)
ปัญหาคือ จะทราบโครงสร้างบริษัทได้อย่างไรว่าใครเป็นกรรมการ
ในเมื่อแอมเปิลริชถูกจดในหมู่เกาะบริติชเวอร์จิ้น
ประเด็นนี้จึงตกไป เพราะคงไม่มีการเปิดเผยข้อมูลขึ้นแน่นอน

ต่อมาเรื่องการตีความ หลักทรัพย์กับหุ้น
สำหรับหลายคน เรื่องนี้อาจเป็นเรื่องแปลก
หุ้นคือกรรมสิทธิในการบริหารงานในกิจการนั้นๆ
ดังเช่นคดีซุกหุ้นภาคแรก ท่านทักกี้บอกว่า ท่านโอนหุ้นให้ลูก เป็นการโอนให้โดยเสน่หา
แต่การที่ลูกท่านเอาหุ้นไปขายเป็นหลักทรัพย์ ต้องถือว่าเป็นรายได้เช่นเดียวกัน
โดยภาษีจะเท่ากับส่วนต่างของราคาโอน กับราคาตอนที่ทำ Bit Lot ในวันที่ 23 มค 49
คำนวณฐานภาษีได้ 49.59% ของหุ้นทั้งหมด คูณกับราคา 42 บาท ลบ 1 บาท
ประมาณ 1,500 ล้านหุ้นคูณ 41 ก็ได้ฐานภาษี 63,500 ล้านบาท
ก็คิดเป็นภาษีประมาณไม่เกิน 2 พันล้านบาท
ส่วนที่เกิน 42 บาท ถือเป็นกำไรจากการซื้อขายหุ้นในตลาด ไม่เสียภาษี
ปัญหาต่อมาก็คือ จะมีการตีความเรื่องหุ้นกับหลักทรัพย์อย่างไร
ก็ต้องตามกันต่อไป

3. inside-trader
กรณีนี้จะเป็นกรณีกลับกับกับเรื่อง tender-offer
หากพบว่าคนนอกมีการใช้ข้อมูลวงในในการซื้อขายหลักทรัพย์ก็จะถือว่ามีความผิด
กรณีดังกล่าวจะขัดกับกรณี tender-offer
เพราะการหลักฐานที่กลต.มีประกาศความผิดของนายโอ๊ตแล้ว
ก็ไม่ถือว่าเป็นคนนอกที่ใช้ข้อมูลวงในในการซื้อขายหลักทรัพย์
ทั้งนี้ ค่าปรับของการใช้ข้อมูลวงในจะเท่ากับ 3 เท่าของราคาหุ้นที่ซื้อขาย (ถ้ากฎผิดแย้งด้วยนะครับ)
รวมๆแล้วค่าปรับก็ประมาณ 2 แสนกว่าล้านบาทเท่านั้นเอง

ประเด็นย่อยเรื่องการแก้กฎหมายถือครองหลักทรัพย์โทรคมนาคม จาก 25% เป็น 50%
ทั้งๆที่ตอนกฎหมายนี้ออกมาตอนแรก
ท่านก็ออกเพื่อกั้นไม่ให้ทาง TAC สามารถขายหุ้นเพิ่มทุนให้แก่บริษัทหนึ่งของต่างประเทศได้
ถ้าจำไม่ผิดจะเป็นฮอลแลนด์มั้ง
อันนี้ผ่านสภามาแล้ว คงแก้ไขอะไรไม่ได้แล้ว

พอดีไม่ค่อยได้ศึกษาเรื่องการเงินมากเท่าไหร หุ้นก็ไม่ได้เล่น คงพูดอะไรมากไม่ได้อ่ะครับ


อนาคตด้านการเมือง

หมดประเด็นล่ะ จะขอพิจารณาต่อไปถึงเมืองไทยในอนาคต
หากทรท.สามารถยื้อให้การเลือกตั้งวันที่ 2 เมษานี้จบลงไปได้ (ซึ่งทรท.พยายามให้เป็นเช่นนั้นอยู่)
ก็ไม่แน่ว่าจะไม่มีการเลือกตั้งครั้งที่ 2/2549
ตราบใดที่ยังมีการผูกขาดทางการเมืองเกิดขึ้นอยู่
และถ้ามีเลือกตั้งครั้งที่ 2/2549 จริง
ผมคิดว่าคนในพรรคทรท.ที่จะยังคงยืนยันที่จะอยู่กับพรรคต่อ คงเหลือไม่มากนัก
เพราะเรื่องสวัดดิภาพของตัวเองโดยเฉพาะทางการเมือง
ทางออกของท่านตอนนี้คือพยายามยืนกฎหมายเดิมต่อไปให้ได้
และดึงลูกพรรคให้อยู่กับตัวเองนานที่สุด

หมายเหตุนิดนึง ตามที่สังคมและสื่อ (เท่าที่เห็นและได้ยินมานะครับ)
ไม่ได้เรียกร้องให้มีการเปลี่ยนแปลงรัฐบาลนะครับ หากแต่มีการเรียกร้องไปที่ตัวนายกคนเดียว
ก็สะท้อนให้เห็นในระดับหนึ่งว่า งานนี้คนผิดมุ่งเป้าไปที่ท่านนายกคนเดียว
จึงเห็นว่าคนที่จะอยู่เหลือกับพรรคต่อไปจนถึงการเลือกตั้ง 2/2549 อาจจะมีไม่มาก

ขณะเดียวกันทางคุณเสนาะ เทียนทอง
ก็เรียกร้องให้มีการแก้ไขปลดล็อค 90 วัน
ซึ่งอันนี้ผมเห็นด้วยแค่ส่วนหนึ่งเท่านั้น
เพราะกฎข้อนี้ยังคงมีประโยชน์และจำเป็นต่อเสถียรภาพทางการเมืองไทย
การจะมีวิธีปรับยังไงให้ยังคงมีเจตจำนงให้เหลือพรรคใหญ่เพื่อมีเสถียรภาพทางการเมืองต่อไป
แต่ก็ต้องป้องกันการผูกขาดทางการเมืองด้วย ก็เป็นปัญหาที่หลายๆฝ่ายต้องคิดกันต่อไป

แต่ถ้าเกิดสามารถปลดล็อคได้ล่ะ
อันนี้ก็ต้องดูว่า คนในทรท.ยังคงจงรักภักดีต่อ “นายท่าน” ต่อไปหรือไม่
ถ้ายังคงจงรักภักดีต่อไป ก็ยังพอเอาตัวรอดได้
แต่ถ้าถึงขั้นที่ทรท.ไม่ใช่รัฐบาลเมื่อไหร่ งานนี้ หนักแน่ๆ
เพราะจะไม่ใช่แค่เรื่องหุ้นขนาดกลางอย่าง SHIN แล้ว ที่ฝ่ายรัฐบาลใหม่จะเอาผิด
ทั้งเรื่องในตลาดหุ้น การเมือง การเลือกตั้งที่ผ่านมา งบประมาณ การแก้กฎหมาย และอื่นๆ ทั้งคดีแพ่งและอาญา
ทั้งที่ได้กล่าวมาข้างต้นและที่ไม่ได้กล่าวในที่นี้
เมื่อเทียบบทลงโทษรวมที่อาจจะเกิดขึ้น กับการหลบไปพักผ่อนต่างประเทศ
อย่างหลังน่าจะคุ้มค่ามากกว่า
นี่คือทางที่แย่ที่สุดที่อาจจะเกิดขึ้น ในกรณีที่ท่านไม่ได้เป็นรัฐบาลต่อ
กรณีที่ดีที่สุดของท่านคือ ท่านได้เป็นรัฐบาลต่อ และทุกอย่างกลับสู่ความสงบ เหมือนเดิม
ขณะที่กรณีที่แย่ที่สุดของปชป.คือเป็นอย่างที่เป็นอยุ่ในขณะนี้ นึกไม่ออกว่าจะแย่ว่านี้ได้ยังไง
กรณีที่ดีที่สุดปชป.คือได้เป็นรัฐบาล ส่วนจะเคลียร์กับทั้กกี้หรือเปล่า ก็ไม่เกี่ยวแล้ว


อนาคตด้านเศรษฐกิจ

ต่อมาเรื่องเศรษฐกิจบ้าง (ขอก๊อปจากของเดิมที่เคยตอบในหว้ากอนะครับ)

การลงทุน ปกติคนลงทุนก็ดูที่รายได้และต้นทุนของตัวเอง
ในเรื่องต้นทุน ในกรณีที่วัตถุดิบการผลิต ไม่มีความผันผวนด้านราคา คุณภาพและปริมาณ
ก็ไม่มีผลต่อต้นทุนมากเท่าไหร
ในส่วนของรายได้ ก็ต้องดูถึงผู้บริโภคว่าจะซื้อมากขนาดไหน
ถ้าเศรษฐกิจแย่ รายได้น้อยลง คนก็ซื้อน้อย นักลงทุนก็โดนผลกระทบอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

ส่วนเรื่องการเปลี่ยนรัฐบาลก็ส่งผลต่อการลงทุนเหมือนกันครับ
ถ้านโยบายเน้นการบริโภค การใช้จ่าย การลงทุนจะขยายตัวได้ดี นักลงทุนก็มีแนวโน้มจะลงทุนเพิ่มขึ้น
แต่ถ้ารัฐบาลเน้นการออม นักลงทุนก็ต้องไปปรับแผนการลงทุนให้เข้ากับพฤติกรรมการบริโภคครับ

การค้าระหว่างประเทศก็เช่นเดียวกัน
รัฐบาลแต่ละรัฐบาลก็มีแนวนโยบายต่างประเทศที่ต่างกัน
รัฐบาลไหนที่มีนโยบายมุ่งสนับสนุนการค้า การค้าระหว่างประเทศก็จะเพิ่มสูงขึ้น
รัฐบาลไหนที่มีนโยบายที่จะคุ้มครองอุตสาหกรรมภายในประเทศมาก การค้าก็จะลดน้อยลงไป

ทั้งสองกรณีไม่ได้ดูเรื่องการขาดดุลนะครับ
ต้องไปพิจารณาอย่างละเอียดอีกทีว่านำเข้าและส่งออกสินค้าชนิดไหนมาก ราคาเป็นอย่างไร

ส่วนประชาชนทั่วไปก็คือผู้บริโภคนี่แหล่ะครับ
ชื่อก็บอกอยู่แล้วว่าเป็นคนที่บริโภค
การมีสินค้าบริโภคให้เลือกมากย่อมจะดี
แต่การบริโภคก็ต้องมีความเหมาะสมกับรายได้ด้วย
ไม่ใช่บริโภคมากเกินไปแล้วเป็นหนี้คนอื่น

ส่วนเรื่องหนี้ เผื่อมีคนสงสัยว่าดีไม่ดียังไง
การกู้ เป็นการยืมเงินตัวเองในอนาคตมาใช้ก่อน ซึ่งเราก็ต้องใช้คืนอยู่ดีในอนาคต
หากคนกู้มาบริโภคหมด ย่อมส่งผลกระทบต่อตัวเอง และระบบการเงินในอนาคต
แต่หากคนกู้เงินมาลงทุน สามารถสร้างผลตอบแทนได้ ก็เป้นเรื่องดี
ปัญหาคือ คนจนที่ได้เงินกู้ส่วนใหญ่ เป็นคนที่ไม่ค่อยมีความรู้ด้านการลงทุนหรือการออม
ความเสี่ยงของเงินกู้ดังกล่าวก็เพิ่มสูงขึ้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ครับ
ผมไม่แน่ใจว่าตอนให้คนจนกู้ ทางธนาคารมีการสอนเรื่องการลงทุนและการออมคร่าวๆหรือเปล่า
ถ้ามีก็จะดีมาก


ขอบคุณครับที่อ่านจนจบ


Create Date : 02 มีนาคม 2549
Last Update : 5 เมษายน 2549 13:59:24 น. 0 comments
Counter : 1117 Pageviews.

TheShadow
Location :
กรุงเทพ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 25 คน [?]




ข่าวเศรษฐกิจไทย
ข่าวต่างประเทศ


ข้อมูลเศรษฐกิจในประเทศ
ข้อมูลเศรษฐกิจต่างประเทศ
ค้นคว้าข้อมูลทั่วไป
แหล่งเชื่อมโยงอื่นๆที่น่าสนใจ
Friends' blogs
[Add TheShadow's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.