เหรียญมีสองด้าน แล้วแต่คุณจะเลือกมองด้านไหน
Group Blog
 
 
มีนาคม 2549
 1234
567891011
12131415161718
19202122232425
262728293031 
 
27 มีนาคม 2549
 
All Blogs
 
วิกฤติงบประมาณ

งบประมาณมาจากเงินได้ของรัฐบาล ทั้งจากเงินภาษีต่างๆ รายได้จากรัฐวิสาหกิจ และกิจกรรมอื่นๆของรัฐบาล
ซึ่งในปีงบประมาณ 2549 มีงบประมาณ 1.36 ล้านล้านบาท

แบ่งออกเป็นงบประจำร้อยละ 70
งบลงทุนร้อยละ 25
และการชำระหนี้คืนต้นเงินกู้ร้อยละ 5

เมื่อแบ่งงบดังกล่าวแล้ว จะเห็นว่างบลงทุนในแต่ละปี
จะมีอยู่เพียงร้อยละ 25 ของงบประมาณทั้งหมดเท่านั้น
ดังนั้นจะใช้อะไรก็ต้องดูความสำคัญของโครงการ
และความคุ้มค่าของเงินให้ดีๆ


ในส่วนของเรื่องงบประมาณ
เรื่องรายละเอียดว่ามีงบอะไรบ้าง คงพูดกันยากครับ
เพราะระบบการจัดทำงบประมาณในปัจจุบัน
คือ การรวบรวมโครงการว่า ใครอยากทำอะไรก็ส่งขึ้นมา
แล้วเบื้องบนจะเป็นคนคัดเลือกเองว่า
คนไหนที่เค้ารู้จัก เอ้ย โครงการไหนที่ดี ก็จะถูกรวบรวมไว้

ถ้าใครเคยทำข้อมูลเกี่ยวกับงบประมาณแยกตามยุทธศาสตร์ ก็จะพอสังเกตออกว่า
ทำไมแต่ละปี ชื่อยุทธศาสตร์ไม่เหมือนกัน หรือ
ในยุทธศาสตร์เดิม ทำไมมีความแตกต่างกันด้านเงินงบประมาณมาก
สาเหตุก็เพราะการรวบรวมโครงการเพิ่เสนอของบประมาณนั้น
ทำกันแบบ bottom-up คือใครอยากได้อะไรก็ไปทำเสนอกันมา

ซึ่งในความเป็นจริงแล้ว งบประมาณควรมีการจัดทำแบบ top-down
คือให้รัฐบาลวางยุทธศาสตร์มา จากนั้นก็ให้แต่ละหน่วยงานเสนอโครงการมา
ภายใต้กรอบยุทธศาสตร์ดังกล่าว

แต่เรื่องถ้าจะให้ปรับ คงต้องมีการปรับโครงสร้างการทำงบประมาณขนานใหญ่เลยล่ะครับ


กลับมาที่ปัญหาที่จะพูดกัน รู้จักงบกลางกันไหมเอ่ย
งบกลางคืองบที่นายกสามารถเซ็นใช้เงินได้โดยไม่ต้องผ่านสภาก่อน
มีไว้ใช้สำหรับแก้ไขปัญหาฉุกเฉินต่างๆ เช่น ซึนามิ
งบดังกล่าว แต่เดิมตั้งไว้เพียง พันถึงสองพันล้าน
แต่พอท่านทักกี้เข้ามา ท่านก็เพิ่มงบดังกล่าวขึ้นเป็นประมาณ 6 หมื่นล้าน
ถ้าจำไม่ผิด เพิ่มช่วงที่เกิดปัญหาซึนามิ
แรกๆก็ใช้ตรงวัตถุประสงค์น่ะแหล่ะ ไม่ว่าจะเป็นไข้หวัดนก หรือปัญหาชายแดนภาคใต้

แต่พอนานๆไป ความที่ใช้ได้ง่าย และความที่รู้สึกว่าไม่มีต้นทุน
เงินดังกล่าวก็เริ่มไปที่แต่ละจังหวัด (ภายใต้ชื่องบ CEO)
ต่อมา ก็เริ่มจ่ายในการประชุมที่เรียกว่า ทัวร์นกขมิ้น ใครอยากได้อะไรก็ให้
ผลก็คือ มีการใช้เงินงบดังกล่าวเกินกว่างบที่ตั้งไว้อย่างมาก

ถามว่าเงินส่วนที่เกินมาจากไหน ก็ดึงมาจากงบเงินเดือนข้าราชการ
ที่นี้พอถึงเวลาจ่ายเงินข้าราชการ ก็ไปดึงเอาเงินคงคลังมาใช้อีกที
นี่เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดปัญหาเงินคงคลังไปเมื่อปีที่ผ่านมา

ที่นี้พอเรื่องมันปูดขึ้น ก็เลยไม่พยายามดึงเงินคงคลังมาใช้มากนัก เพราะกลัวจะเป็นปัญหาอีก
เลยใช้วิธีเล่นแร่แปรธาตุในงบบัญชีภาระผูกพัน

งบผูกพันคืออะไร ยกตัวอย่าง
จะสร้างทางเชื่อมระหว่างเมือง 2 เมือง ซึ่งมีแม่น้ำขั้นกลาง
ปีแรกก็สร้างถนนไปถึงแม่น้ำก่อนจากทั้ง 2 เมือง
ปีต่อมาก็ค่อยสร้างสะพานเชื่อมถนนทั้งสอง (งบนี้เรียกว่างบผูกพัน)
การลงเสาเข็ม และสิ่งปลูกสร้างอื่นๆที่ใช้เวลาหลายปีก็เช่นเดียวกัน
จำเป็นต้องมีการลงในงบผูกพันไว้

ปัญหาคือ ตอนเงินหมดหรือมีปัญหางบประมาณไม่พอ
ก็มีการดึงเอางบส่วนที่เป็นงบผูกพันออกเพื่อเป็นช่องว่างสำหรับเมกะโปรเจ็คต์
แล้วถามว่า งบผูกพันดังกล่าว จำเป็นต้องมีไหม
ก็ต้องตอบว่าต้องมี แต่จะไปหาเงินจากไหน
คำตอบ คงต้องรอจากรัฐบาลใหม่ที่กำลังจะเกิดขึ้น
ไม่ว่าใครจะมาเป็นรัฐบาล ก็ต้องแก้ปัญหานี้ไปให้ได้
ไม่งั้น คุณก็จะได้เห็น เสาโฮปเวลล์เพิ่มขึ้นจากที่มีอยู่

ตอนนี้อย่าว่าแต่จะลงทุนเมกะโปรเจ็คต์เลยครับ
งบประมาณที่ยังไม่รวมเมกะโปรเจ็คต์ยังแทบไม่พอเลยครับ
ท่านทักกี้เลยคิดที่จะใช้ inter bidding ในการแก้ไขปัญหางบประมาณไม่พอดังกล่าว
จะเป็นไง ติดตามต่อในเรื่อง PPP ครั้งหน้าครับ

แนวทางการระดมทุนแบบความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชน (PPP)


Create Date : 27 มีนาคม 2549
Last Update : 5 เมษายน 2549 13:46:50 น. 0 comments
Counter : 2065 Pageviews.

TheShadow
Location :
กรุงเทพ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 25 คน [?]




ข่าวเศรษฐกิจไทย
ข่าวต่างประเทศ


ข้อมูลเศรษฐกิจในประเทศ
ข้อมูลเศรษฐกิจต่างประเทศ
ค้นคว้าข้อมูลทั่วไป
แหล่งเชื่อมโยงอื่นๆที่น่าสนใจ
Friends' blogs
[Add TheShadow's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.