เหรียญมีสองด้าน แล้วแต่คุณจะเลือกมองด้านไหน
Group Blog
 
<<
พฤศจิกายน 2551
 1
2345678
9101112131415
16171819202122
23242526272829
30 
 
3 พฤศจิกายน 2551
 
All Blogs
 
วิกฤตเศรษฐกิจสหรัฐจะสิ้นสุดเมื่อไหร และจะเริ่มต้นอีกครั้งเมื่อไหร

เป็นที่รู้กันว่าวิกฤตเศรษฐกิจสหรัฐได้ขยายวงกว้างสู้หลายภูมิภาคทั่วโลก ไม่ว่าจะเป็นภูมิภาคยุโรป หรือแม้แต่ญี่ปุ่น อันส่งผลให้เกิดความผันผวนขึ้นในตลาดการเงินโลก

การลดอัตราดอกเบี้ยนโยบาย ที่หลายคนคาดหวังว่าจะช่วยแก้ปัญหาวิกฤตเศรษฐกิจ จริงๆแล้วการกระทำดังกล่าวช่วยแก้ไขวิกฤตได้จริงหรือ เรามาลองพิจารณาง่ายๆเพื่อให้เห็นภาพกัน

สมมติ ราคาบ้าน 100 บาท ดอกเบี้ย 10 บาท (คิดปีเดียวพอนะ เดี๋ยวงง) หากลดอัตราดอกเบี้ยลงซัก 2% หนี้ก็จะเหลือเป็นเงินต้น 100 บาท และดอกเบี้ย 8 บาท ก็ช่วยภาระดอกเบี้ยไปได้ 2% แต่วิกฤตการเงินนี้ ได้กระทบต่อราคาบ้านให้ลดลงไป 20% กลายเป็นมูลค่าบ้านเหลือ 80 บาท (จริงๆลดเยอะกว่านี้อีก แต่เอาตัวเลขง่ายๆมาให้เห็นภาพ) ก็กลายเป็นว่าอัตราดอกเบี้ยต่อเงินต้นกลายเป็น 10% เท่าเดิม การลดอัตราดอกเบี้ยดังกล่าว จึงกลายเป็นว่า ลดอัตราดอกเบี้ย เพื่อให้อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริง (Effective rate) ลดทันเงินต้น

ขณะเดียวกันปัญหาสำคัญอีกอย่างคือปัญหาหนี้เสีย หรือ NPL เมื่อราคาสินทรัพย์ลดลง ผู้กู้จะมีแรงจูงใจที่จะไม่ผ่อนชำระค่างวดต่อ เพราะราคาบ้านลดลงเหลือ 80 บาท แล้ว แต่ถ้าผ่อนต่อ (ด้วยอัตราดอกเบี้ยที่ลดลงเหลือ 8%) ผู้กู้ก็ต้องจ่ายเงินรวมถึง 108 บาท (เงินต้น 100 บาท และดอกเบี้ย 8 บาท) ผู้กู้ก็ไม่อยากจะผ่อนค่างวดต่อ เป็นนัยว่า ให้แบงค์ยึดไปแล้วไปซื้อใหม่จะถูกกว่า

อย่างไรก็ดี ลูกนี้ที่เป็น NPL ก็จะตึด blacklist ของธนาคาร ทำให้ไม่สามารถขอกู้จากธนาคารใหม่ได้ ดังนั้น อัตราดอกเบี้ยที่ลดลง จึงไม่ช่วยให้ลูกหนี้หรือผู้กู้รายเก่า ขยายการกู้หรือการลงทุนเพิ่มเติมได้ (ตราบเท่าที่ยังไม่แก้ blacklist ที่ติดอยู่กับธนาคาร)

จากการพิจารณาดังกล่าว จะเห็นได้ว่า ปัญหาสำคัญที่ต้องแก้ปัญหาคือ การแก้ปัญหาราคาสินทรัพย์ โดยเฉพาะราคาบ้าน ไม่ให้ลดต่ำลงกว่าเดิม เพราะตราบใดที่ราคาบ้านยังตกลง ปัญหา NPL ก็ยังคงเพิ่มขึ้นอยู่เรื่อยๆ และเป็นวงจรไม่มีที่สิ้นสุด

การแก้ปัญหา อาจจำเป็นต้องดำเนินการในลักษณะเดียวกับประเทศไทยคือ ตั้งโต๊ะหมู่บูชา เอ๊ย ตั้งโต๊ะเจรจา ให้เจ้าหนี้ ลูกหนี้ และคนกลาง (ในกรณีไทยคือ AMC) มาเคลียร์กัน โดยการตัดขายหนี้เสียให้คนกลางดูแล โดยอาจจะขายในราคา 40 บาทแลกกับการไม่ติด blacklist ทำให้ลูกหนี้คนเดิมสามารถกู้ยืมเงินมาลงทุนใหม่ได้ ขณะที่คนกลางก็เอาไปบริหารจัดการโดยอาจจะขายได้ 50-60 บาท ได้กำไรเป็นค่าบริหารจัดการและรับความเสี่ยงไปแทน
(มีคนถามต่อว่า แบบนี้เรียกว่าล้มบนฟูกหรือเปล่า จริงๆก็ไม่เชิง เพราะหากราคาบ้านพื้นฐานอยู่ที่ 60 บาท ตอนเก็งกำไร ก็ขึ้นไป 100 บาท ผู้กู้อาจซื้อมาที่ 80 บาทก็เป็นไปได้ ขึ้นอยู่กับว่าผู้กู้ ซื้อมาตอนไหน)

อย่างไรก็ดี แม้ปัญหาวิกฤตจะถูกแก้ไปด้วยวิธีการใดๆก็ตาม การลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายโดยธนาคารกลางทั่วโลก ซึ่งมีกระบวนการที่อาจกล่าวได้ง่ายๆคือ เพิ่มปริมาณเงินในระบบ การเพิ่มปริมาณเงินดังกล่าว ส่งผลให้สภาพคล่องในระบบเพิ่มสูงขึ้น ช่วยให้อัตราดอกเบี้ยในระบบลดต่ำลงได้ ในปัจจุบัน กระบวนการดังกล่าว ถูกดำเนินการโดยธนาคารกลางหลายแห่งทั่วโลก โดยเฉพาะประเทศใหญ่ๆไม่ว่าจะเป็นสหรัฐ ยุโรป อังกฤษ หรือญี่ปุ่น ปริมาณเงินที่เพิ่มขึ้นดังกล่าวได้เข้าไปช่วยเสริมสภาพคล่องแก้ระบบ คำถามที่สำคัญถัดมาคือ เมื่อวิกฤตเศรษฐกิจผ่านพ้นไปแล้ว เงินจำนวนมากดังกล่าวจะไปอยู่ที่ไหน หากธนาคารกลางแต่ละประเทศดึงกลับไม่ทัน หรือไม่ถึงกลับ (จริงๆเงินที่อัดฉีดเพื่อแก้ปัญหาสภาพคล่องกับเงินที่เพิ่มเข้าไปเพื่อกดดันให้อัตราดอกเบี้ยลดลง เป็นเงินคนละก้อนกันด้วย) เงินจำนวนมากจะไหลไปในตลาดต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นตลาดหุ้น ตลาดเงิน ตลาดทุนต่างๆ หรือตลาด commodity เช่นตลาดทองคำหรือน้ำมัน อันอาจจะก่อให้เกิดปัญหาฟองสบู่ต่อมาได้ จึงเป็นข้อควรระวังในการดำเนินนโยบายอย่างมาก


Create Date : 03 พฤศจิกายน 2551
Last Update : 3 พฤศจิกายน 2551 12:17:41 น. 0 comments
Counter : 1491 Pageviews.

TheShadow
Location :
กรุงเทพ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 25 คน [?]




ข่าวเศรษฐกิจไทย
ข่าวต่างประเทศ


ข้อมูลเศรษฐกิจในประเทศ
ข้อมูลเศรษฐกิจต่างประเทศ
ค้นคว้าข้อมูลทั่วไป
แหล่งเชื่อมโยงอื่นๆที่น่าสนใจ
Friends' blogs
[Add TheShadow's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.