กรรมเก่า คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ.เป็นเจ้าบทบาทเดิม จากนั้น การศึกษาอาศัยปรโตโฆสะ ซึ่งมีคติว่า "คนเป็นไปตามสภาพแวดล้อมที่ปรุงปั้น" และโยนิโสมนสิการ ซึ่งมีคติย้อนกลับว่า "ถ้าเป็นคนรู้จักคิด แม้แต่ฟังคนบ้าคนเมาพูด ก็อาจสำเร็จเป็นพระอรหันต์"
space
space
space
<<
พฤษภาคม 2567
 
 1234
567891011
12131415161718
19202122232425
262728293031 
space
space
9 พฤษภาคม 2567
space
space
space

ศาสนาพุทธ คริสต์ อิสลาม นิยามความดีไว้อย่างไร


235 ปัญหาเขามีอยู่ว่า  450

> ความดี คืออะไร ศาสนาพุทธ คริสต์ อิสลาม นิยามความดีไว้ว่าอย่างไร

https://pantip.com/topic/42697493


235 พุทธศาสนานิยามความดีไว้


- ปัญหาเกี่ยวกับความดี - ความชั่ว


     กรรมเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับความดี และความชั่วโดยตรง   เมื่อพูดถึงกรรม   จึงควรพูดถึงเรื่องความดีและความชั่วไว้ด้วย เพื่อช่วยให้ความเข้าใจเกี่ยวกับกรรมชัดเจนขึ้น

     เรื่องความดี และความชั่ว  มักมีปัญหาเกี่ยวกับความหมายและหลักเกณฑ์ที่จะวินิจฉัย เช่นว่า อะไรและอย่างไร จึงจะเรียกว่าดี อะไรและอย่างไรจึงจะเรียกว่าชั่ว

     อย่างไรก็ตาม   ปัญหาเช่นนี้มีมากเฉพาะในภาษาไทยเท่านั้น  ส่วนในทางธรรม ที่ใช้คำบัญญัติจากภาษาบาลี ความหมาย และหลักเกณฑ์เกี่ยวกับเรื่องนี้นับได้ว่าชัดเจน ดังจะได้กล่าวต่อไป

     คำว่า "ดี" ว่า "ชั่ว"  ในภาษาไทย  มีความหมายกว้างขวางมาก โดยเฉพาะคำว่าดี มีความหมายกว้างยิ่งกว่าคำว่าชั่ว คนประพฤติดีมีศีลธรรม ก็เรียกว่าคนดี อาหารอร่อยถูกใจ ผู้ที่กินก็อาจพูดว่า อาหารมื้อนี้ดี หรือ อาหารร้านนี้ดี เครื่องยนต์ที่มีประสิทธิภาพ หรือ ทำงานเรียบร้อยคนก็เรียกว่าเครื่องยนต์ดี ไม้ค้อนที่ใช้ได้สำเร็จประโยชน์สมประสงค์ คนก็ว่า ค้อนนี้ดี ภาพยนตร์ที่สนุกสนาน ถูกใจคนที่ชอบก็ว่า ภาพยนตร์เรื่องนี้ดี ภาพเขียนสวยงามคนก็ว่าภาพนี้ดี หรือ ถ้าภาพนั้นอาจขายได้ราคาสูงคนก็ว่าภาพนั้นดี เช่นเดียวกัน โรงเรียนที่บริหารงาน และมีการสอนได้ผล นักเรียนเก่ง ก็เรียกกันว่า โรงเรียนดี โต๊ะตัวเดียวกัน คนสามคนบอกว่าดี แต่ความหมายที่ว่าดีนั้น อาจไม่เหมือนกันเลย คนหนึ่งว่าดี เพราะสวยงามถูกใจเขา อีกคนหนึ่งว่าดี เพราะเหมาะแก่การใช้งานของเขา อีกคนหนึ่งว่าดี เพราะเขาจะขายได้กำไรมาก

     ในทำนองเดียวกันของที่คนหนึ่งว่าดี อีกหลายคนอาจบอกว่าไม่ดี ของบางอย่างมองในแง่หนึ่งว่าดี มองในแง่อื่นอาจว่าไม่ดี ความประพฤติ หรือ การแสดงออกบางอย่างในถิ่นหนึ่ง หรือ สังคมหนึ่งว่าดี อีกถิ่นหนึ่งหรืออีกสังคมหนึ่งว่าไม่ดี ดังนี้ เป็นต้น หาที่ยุติไม่ได้ หรือ อย่างน้อยไม่ชัดเจน อาจต้องจำแนกเป็นดีในทางจริยธรรม ดีในแง่สุนทรียภาพ ดีในแง่เศรษฐกิจ เป็นต้น

     เหตุที่มีความยุ่งยากสับสนเช่นนี้ ก็เพราะเป็นเรื่องเกี่ยวกับคุณค่า และคำว่า “ดี” หรือ “ไม่ดี” ในภาษาไทย ใช้กับเรื่องที่เกี่ยวกับคุณค่าได้ทั่วไปหมด ความหมายจึงกว้างขวางและผันแปรได้มากเกินไป


     เพื่อตัดปัญหาเกี่ยวกับความยุ่งยากสับสนนี้  จึงจะไม่ใช้คำว่าดี ไม่ดี หรือชั่ว ในภาษาไทย และเป็นอันไม่ต้องพิจารณาปัญหาเกี่ยวกับคุณค่าด้านต่างๆ ที่กล่าวมาแล้วทั้งหมด

     ในการศึกษาเรื่องความดี ความชั่วที่เกี่ยว กับ กรรม มีข้อควรทราบ ดังนี้

ต่อที่ 450

https://www.bloggang.com/mainblog.php?id=samathijit&month=09-11-2023&group=88&gblog=86
 


Create Date : 09 พฤษภาคม 2567
Last Update : 9 พฤษภาคม 2567 18:37:13 น. 0 comments
Counter : 55 Pageviews.
(โหวต blog นี้) 

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 
space

สมาชิกหมายเลข 6393385
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
ผู้ติดตามบล็อก : 9 คน [?]






space
space
[Add สมาชิกหมายเลข 6393385's blog to your web]
space
space
space
space
space