มิถุนายน 2560

 
 
 
 
1
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
 
 
All Blog
มิลินทปัญหา - บทที่ ๘ อนุมานปัญหา (๑ )




มิลินทปัญหา - บทที่ ๘ อนุมานปัญหา (๑)

     พระเจ้ามิลินท์ เสด็จไปยังที่พำนักของพระนาคเสนเถระ หลังจากกราบแล้ว ทรงประทับนั่ง ณ ที่สมควร ด้วยความใคร่ทราบ ใคร่สดับ และทรงจำ และปรารถนาจะขจัดความไม่รู้ของพระองค์ จึงทรงรวบรวมความกล้วและความอุตสาหะ ตั้งสติและสัมปชัญญะไว้ แล้วรับสั่งถามพระนาคเสน
     "พระคุณเจ้านาคเสน ท่านเคยเห็นพระพุทธเจ้าหรือไม่"
     "ไม่เคย ขอถวายพระพร"
     "พระคุณเจ้าก็ไม่มีจริง ไม่มีหลักฐานที่ชัดเจนว่าเคยมีพระพุทธเจ้า"
     "เหล่านักรบผู้เป็นต้นวงศ์กษัตริย์ของพระองค์มีจริงหรือไม่"
     "มีแน่นอน พระคุณเจ้า ไม่มีข้อน่าสงสัยเลย"
     "พระองค์ได้เคยเห็นบรรพกษัตริย์หรือ"
     "ไม่เคย พระคุณเจ้า"
     "เหล่าปุโรหิต และเหล่าเสนาบดี เคยเห็นหรือไม่"
     "ไม่เคย พระคุณเจ้า"
     "ถ้าเช่นนั้น ก็ไม่มีหลักฐานที่ชัดเจนว่าเคยมีกษัตริย์ในอดีต"
     "พระคุณเจ้านาคเสน แต่ว่าเครื่องราชูปโภคที่เคยใช้สอยมีให้เห็นอยู่ ซึ่งทำให้อนุมานและรู้ได้ว่ากษัตริย์ในอดีตมีจริง"
     "ขอถวายพระพร ฉันใดก็ฉันนั้น เราอาจรู้ว่าพระผู้มีพระภาคเคยดำรงพระชนม์อยู่และเชื้อในพระพุทธองค์ เครื่องราชูปโภคของพระพุทธองค์ก็ยังมีให้เห็นอยู่ คือ สติปัฏฐาน๔ สัมมัปปทาน๔ อิทธิบาท๔ พละ๕ อินทรีย์๕ โพชฌงค์๗ และมรรคมีองค์๘ ด้วยเหตุนี้ เราจึงอนุมานและรู้ได้ว่าพระผู้มีพระภาคมีจริง"
     "อาราธนาพระคุณเจ้าแสดงตัวอย่าง"
     "เมื่อคนทั้งหลายเห็นเมืองสวยงามที่วางผังไว้อย่างดี ย่อมจะรู้ว่ามีสถาปนิกผู้ชำนาญวางผังสร้าง ย่อมจะรู้ว่ามีสถาปนิกผู้ชำนาญวางผังสร้าง ฉันใด ธรรมนครที่พระผู้มีพระภาคทรงสร้างไว้ก็ทำให้รู้ว่าพระพุทธเจ้ามีจริง ฉันนั้น ธรรมนครนี้มีสติปัฏฐานเป็นทางสองหลัก สองข้างทางมีตลาดดอกไม้ ตลาดของหอม ตลาดผลไม้ ตลาดยาถอนพิษ ตลาดยารักษาโรค ตลาดน้ำทิพย์ ตลาดแก้วมณี และตลาดสินค้าเบ็ดเตล็ดสารพัดอย่าง ขอถวายพระพร ธรรมนครของพระผู้มีพระภาควางผังอย่างดี สร้างอย่างมั่นคง ป้องกันอย่างดี และด้วยเหตุนี้ศัตรูจึงจู่โจมมิได้ และด้วยวิธีการอนุมานเช่นนี้ ท่านอาจจะรู้ได้ว่าพระผู้มีพระภาคมีจริง"

"อะไรคือดอกไม้ในธรรมนคร"
     "พระผู้มีพระภาคทรงสอนการจำแนกอารมณ์กรรมฐานเอาไว้ ได้แก่
กำหนดหมายความไม่เที่ยงแห่งสังขาร(อนิจจสัญญา)
กำหนดหมายความเป็นอนัตตาแห่งธรรมทั้งปวง(อนัตตสัญญา)
กำหนดหมายความไม่งามแห่งกาย(อสุภสัญญา)
กำหนดหมายโทษทุกข์ของกายอันมีความเจ็บไข้ต่าง ๆ(อาทีนวสัญญา)
กำหนดหมายเพื่อละอกุศลวิตกและบาปธรรมทั้งหลาย(ปหานสัญญา)
กำหนดหมายวิราคะเป็นธรรมละเอียดประณีต(วิราคสัญญา)
กำหนดหมายนิโรธเป็นะรรมละเอียดประณีต(นิโรธสัญญา)
กำหนดหมายความไม่น่ายินดีในโลกทั้งปวง(สัพพโลเก อนภิรตสัญญา)
กำหนดหมายความไม่ปรารถนาในสังขารทั้งปวง(สัพสังขาเรสุอนิจฉสัญญา)
กำหนดดูลมหายใจเข้าออก(อานาปานสติ)
การดูป่าช้า ๙ ป่าช้า
เมตตา กรุณา มุฑิตา อุเบกขา มรณานุสติและกายคตาสติ
บุคคลใดผู้ต้องการพ้นจากชราและมรณะ ถือเอาอารมณ์หนึ่งอารมณ์ใดเหล่านี้ ย่อมพ้นจากราคะ โทสะ โมหะ มานะ และทิฎฐิได้ ย่อมอาจข้ามห้วงสังสารวัฏ กั้นกระแสตัณหา และทำลายทุกข์ทั้งปวง ผู้นั้นจะเข้าถึงพระนิพพาน ที่มีแต่ความมั่นคง สงบและเกษม"

ที่มา: หนังสือมิลินทปัญหา - กษัตริย์กรีกถาม พระเถระตอบ โดย นวพร เรืองสกุลถอดความเป็นภาษาไทย



Create Date : 16 มิถุนายน 2560
Last Update : 16 มิถุนายน 2560 8:29:16 น.
Counter : 764 Pageviews.

0 comments
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

Ineverdie
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]



New Comments