|
| 1 |
2 | 3 | 4 | 5 | 6 | 7 | 8 |
9 | 10 | 11 | 12 | 13 | 14 | 15 |
16 | 17 | 18 | 19 | 20 | 21 | 22 |
23 | 24 | 25 | 26 | 27 | 28 | 29 |
30 | 31 | |
|
|
|
|
|
|
|
วิธีป้องกันไม่ให้น้ำท่วมบ้านอย่างได้ผล
- น้ำท่วมเชียงใหม่ปีนี้ บ้านผมก็หนีไม่พ้นอีกเช่นเคย เพราะอยู่ในโซนหมายเลข 1 ที่น้ำจะต้องท่วมก่อนโซนอื่น ๆ ยังโชคดีที่ อบต.ปรับปรุงถนนหน้าหมู่บ้านให้มีความสูงมากขึ้นมาตั้งแต่ต้นปี ดังนั้นถึงแม้ระดับน้ำจากแม่น้ำปิงจะสูงเกินค่าวิกฤติ คือ 3.70 เมตร น้ำก็ยังไม่ล้นตลิ่งข้ามถนนเข้าไปท่วมหมู่บ้าน แต่ในที่สุดก็ไม่รอด เพราะปีนี้น้ำขึ้นสูงสุดถึง 4.94 เมตร สรุปว่าน้ำเริ่มเข้าท่วมถนนภายในหมู่บ้านตั้งแต่ตอนบ่ายวันพุธที่ 28 กันยายน 2554 และหยุดท่วมในเช้าวันเสาร์ที่ 1 ตุลาคม 2554
- ถึงน้ำจะท่วมถนนภายในหมู่บ้านสูงถึง 60 ซม. จนไม่สามารถใช้รถยนต์ส่วนตัวเข้า-ออกได้ตามปกติ แต่จากประสบการณ์ที่ต้องผจญกับน้ำท่วมในหมู่บ้านนี้มาหลายครั้ง ทำให้เกิดองค์ความรู้ที่จะป้องกันไม่ให้น้ำจากถนนภายในหมู่บ้าน ไหลเข้าไปท่วมในบริเวณบ้านอย่างได้ผล ขอนำมาบันทึกไว้เพื่อเป็นประโยชน์กับท่านอื่น ๆ ในวันนี้ครับ
เตรียมการก่อน - ประสบการณ์จากน้ำท่วมเมื่อครั้งที่แล้ว พบว่าถึงแม้จะกั้นกระสอบทรายไว้ที่ประตูรั้ว แต่ก็ไม่สามารถกั้นน้ำเข้าบ้านได้ เพราะ (1)บริเวณสนามหญ้าและลานอิฐบล็อกภายในบริเวณบ้านจะมีน้ำปุดทะลุพื้นดินขึ้นมา (2)กระสอบทรายไม่มีความมั่นคงแข็งแรงเพียงพอ เมื่อถูกคลื่นที่เกิดจากรถยนต์วิ่งฝ่าเข้ามาในถนนที่น้ำท่วม จะมีแรงดันมหาศาลทำให้กำแพงกระสอบทรายพัง และน้ำไหลเข้าบริเวณบ้านได้ในที่สุด
- จากประสบการณ์ดังกล่าวผมได้เตรียมการไว้หลังจากน้ำลดครั้งที่แล้ว ดังนี้
- (1) ปรับปรุงพื้นรอบ ๆ บริเวณบ้านใหม่ โดยทำพื้นให้เรียบและเทพื้นด้วยคอนกรีตซีแพ็คลงไปจนเต็มชิดรั้วทุกด้าน
- (2) ทำบานเหล็กสำหรับกั้นน้ำพร้อมอุปกรณ์ติดตั้ง โดยทำกรอบรางเหล็กสำหรับสวม ติดถาวรไว้ที่ประตูรั้วบ้านทั้งซ้ายและขวา ส่วนบานเหล็กและเสาค้ำยันถอดออกได้ เพื่อให้สามารถใช้ประตูบ้านได้ในยามปกติ
- (3) ซื้อเครื่องสูบน้ำชนิดแช่ขนาดเล็กที่เรียกว่าไดรโว่ ราคาประมาณ 1,500-2,000 บาท เครื่องสูบน้ำชนิดนี้จะขาดตลาดทันทีที่เกิดน้ำท่วม จึงต้องซื้อเก็บไว้ล่วงหน้า แล้วก็ไม่ลืมสายไฟพร้อมปลั๊กที่จะใช้ต่อพ่วงมาจากตัวบ้านจนถึงประตูรั้ว
- (4) ดินน้ำมันจำนวนหนึ่ง ใช้สำหรับอุดในช่องว่างที่ประกอบบานเหล็กกั้นน้ำเข้ากับประตูรั้วบ้าน
น้ำมาแล้ว - เสียงประกาศเตือนภัยจาก อบต. ตั้งแต่เช้า แจ้งว่าน้ำคงจะเข้าท่วมหมู่บ้านในช่วงบ่าย ขอให้ประชาชนเตรียมป้องกันทรัพย์สินของตนเอง ผมนำรถยนต์ออกจากบ้านไปจอดไว้ยังที่ปลอดภัยนอกหมู่บ้าน กลับเข้ามาก็เริ่มติดตั้งบานเหล็กเข้ากับประตูรั้วบ้าน ติดตั้งเสาค้ำยัน ใช้ดินน้ำมันอุดตามรอยต่อระหว่างบานกับกรอบรางเหล็ก นำเครื่องสูบน้ำไดรโว่มาวางไว้ใกล้ประตูรั้ว ในตำแหน่งที่คาดว่าน้ำจะซึมเข้ามาและท่วมขังอยู่ ต่อสายไฟพร้อมใช้งาน แล้วรอน้ำที่กำลังเริ่มไหลเข้ามาในหมู่บ้านอย่างใจจดใจจ่อ
- เวลาประมาณ 16.00 น. น้ำท่วมถนนภายในหมู่บ้านทุกถนนแล้ว มีน้ำซึมผ่านบานเหล็กที่ประตูรั้วเข้ามาในบ้านของผมปริมาณหนึ่ง แต่เมื่อเปิดเครื่องสูบน้ำก็สามารถควบคุมระดับน้ำไม่ให้สูงจนเกิดความเสียหายได้ เมื่อน้ำในถนนลดลง ผมไม่ต้องลำบากในการทำความสะอาดบริเวณบ้าน ที่มีดินโคลนตกค้างจากน้ำท่วมขัง เหมือนน้ำท่วมเมื่อครั้งก่อนอีกแล้ว
ภาพบรรยากาศ ติดตั้งบานเหล็กเข้ากับเสาประตูรั้วบ้าน พร้อมติดตั้งเสาค้ำยัน  เข้า-ออก จากบ้านต้องใช้เก้าอี้บันไดตัวนี้ สังเกตระดับน้ำภายนอกบ้านเริ่มสูงมากแล้ว  ขณะที่ถนนด้านนอกระดับน้ำสูงถึง 60 ซม. แต่ภายในบ้านมีน้ำรั่วซึมเข้ามาเพียงเท่านี้ และเมื่อเปิดเครื่องสูบน้ำ น้ำก็จะแห้งภายใน 5 นาที  ลุยน้ำออกไปถ่ายจากนอกบ้านเข้ามา สภาพประตูกั้นน้ำจะมีลักษณะนี้  บ้านข้าง ๆ ก็ติดตั้งบานประตูกั้นน้ำเช่นเดียวกัน  อีกบ้านหนึ่ง  หวังว่าบันทึกนี้จะเป็นประโยชน์สำหรับท่านที่มีบ้านในหมู่บ้านจัดสรร ที่น้ำเคยท่วมแล้ว จะได้เป็นแนวทางในการป้องกันความเสียหายที่จะเกิดขึ้นกับบ้านแสนรักในครั้งต่อไป ได้บ้างตามสมควร อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้อีกดังนี้ครับ 1. วิธีทำบานเหล็กกั้นน้ำไม่ให้เข้าท่วมบ้าน 2. ทำปล่องกันน้ำท่วมทะลักจากท่อระบายน้ำในบ้าน
Create Date : 04 ตุลาคม 2554 |
Last Update : 23 เมษายน 2568 8:33:51 น. |
|
31 comments
|
Counter : 3252 Pageviews. |
 |
|
|
โดย: พัดลมมาแวว (พัดลมมาแวว ) วันที่: 7 ตุลาคม 2554 เวลา:21:27:19 น. |
|
|
|
โดย: ทองกาญจนา วันที่: 8 ตุลาคม 2554 เวลา:20:26:29 น. |
|
|
|
โดย: kanakum วันที่: 8 ตุลาคม 2554 เวลา:23:49:33 น. |
|
|
|
โดย: ทองกาญจนา วันที่: 9 ตุลาคม 2554 เวลา:12:02:16 น. |
|
|
|
โดย: pocha_t วันที่: 9 ตุลาคม 2554 เวลา:13:33:54 น. |
|
|
|
โดย: kanakum (kanakum ) วันที่: 9 ตุลาคม 2554 เวลา:15:47:34 น. |
|
|
|
โดย: ทองกาญจนา วันที่: 10 ตุลาคม 2554 เวลา:9:22:37 น. |
|
|
|
โดย: พจมารร้าย วันที่: 11 ตุลาคม 2554 เวลา:8:56:45 น. |
|
|
|
โดย: radiergummi วันที่: 11 ตุลาคม 2554 เวลา:17:47:22 น. |
|
|
|
โดย: อุ๊ (oumon ) วันที่: 12 ตุลาคม 2554 เวลา:11:39:03 น. |
|
|
|
โดย: ดอกต้อยติ่ง วันที่: 12 ตุลาคม 2554 เวลา:21:51:32 น. |
|
|
|
โดย: xi (xitness ) วันที่: 13 ตุลาคม 2554 เวลา:5:09:00 น. |
|
|
|
โดย: mooaoun วันที่: 13 ตุลาคม 2554 เวลา:10:25:46 น. |
|
|
|
โดย: ทองกาญจนา วันที่: 13 ตุลาคม 2554 เวลา:11:33:19 น. |
|
|
|
โดย: mooaoun วันที่: 13 ตุลาคม 2554 เวลา:13:17:28 น. |
|
|
|
โดย: iFreeZero วันที่: 14 ตุลาคม 2554 เวลา:1:32:09 น. |
|
|
|
โดย: ทองกาญจนา วันที่: 15 ตุลาคม 2554 เวลา:18:36:09 น. |
|
|
|
โดย: jaekaow วันที่: 17 ตุลาคม 2554 เวลา:21:12:54 น. |
|
|
|
โดย: หมูหวานน้อย วันที่: 18 ตุลาคม 2554 เวลา:10:30:19 น. |
|
|
|
โดย: Apple (EMaple ) วันที่: 19 ตุลาคม 2554 เวลา:13:40:35 น. |
|
|
|
โดย: ทองกาญจนา วันที่: 20 ตุลาคม 2554 เวลา:20:25:33 น. |
|
|
|
โดย: Mooaoun (mooaoun ) วันที่: 22 ตุลาคม 2554 เวลา:7:53:49 น. |
|
|
|
|
|
|
|