bloggang.com mainmenu search
7. Grayscale

วิธีนี้เป็นญาติสนิทกับ De-saturation คือเอาข้อมูลสีออกไปดื้อๆ
แย่กว่าตรงที่ไม่มีทางเรียกกลับคืนมาได้ เวลาปรับคอนทราสท์ เพราะทิ้งข้อมูลสีไปเลย
ไม่ใช่แค่ปิดการใช้งานไว้เหมือน desat.
เวลามาแก้ไขปรับคอนทราส พิกเซลจะเสียหายกว่ากันเยอะ

GrayScale1


แต่ว่าภาพที่ได้มันจะเป็นภาพที่ไม่ใช่ jpg
เราก็ต้องแปลงข้อมูลให้กลับมาเป็น 3 แชนแนลมาตรฐาน jpg ก่อน

GrayScale2


เอาเป็นว่าผมไม่แนะนำให้ใช้วิธีนี้ทำภาพเอกรงค์ก็แล้วกัน

GrayScale3


8. Lab Color

อาศัยพื้นฐานของโปรไฟล์สี Lab Color Space ที่เก็บแชนแนลของความสว่างแยกจากสี
L - lightness ค่าความสว่าง
a - สีแดง ไล่ไปจนเขียว
b - สีเหลือง ไล่ไปถึงน้ำเงิน

ดังนั้นถ้าเราแยกเอาเฉพาะแชนแนล L ออกมา เราก็จะได้ภาพขาวดำ ...ชิมิ

Lab1


พอแปลงโหมดสีเป็น Lab เรียบร้อยแล้ว
เราก็มาเลือกที่แชนแนล Lightness ให้แสดงผลมาแชนแนลเดียว

Lab2


แล้วก็แปลง L ให้กลายเป็น Grayscale เพื่อทิ้ง a กับ b ไป
เสร็จแล้วก็แปลงจาก grayscale ให้กลายเป็น RGB อีกที เหมือนวิธีที่ 6

ดูเหมือนจะง่ายดี

แต่ว่า สายตามนุษย์ไม่ได้ตีความภาพขาวดำจากความสว่างของแต่ละสีอย่างเดียว
น้ำหนักความเข้มของแต่ละสี ก็จะส่งผลต่อการเห็นว่าสีนั้นมืด หรือสว่างอย่างไรด้วย
นอกเหนือไปจากค่าความสว่างที่แท้จริงของแต่ละสี

ดังนั้นภาพเอกรงค์ที่ทำด้วยวิธีนี้ จะบางเบา จืดชืด เหมือนน้ำล้างหม้อแกงจืด
ไม่ควรเอาไปโพสอวดใคร

Lab3


แต่ภาพเบาๆ แบบนี้ เอาไปใช้เป็นวัตถุดิบในการ Mix & Match
เวลาใช้เทคนิคซ้อนภาพขาวดำไปบนภาพสี แทนภาพขาวดำที่ทำด้วยเทคนิคอื่น ได้ดีทีเดียว
เพราะมันจะไม่ทำให้ภาพที่เราต้มยำทำแกงอยู่ ทึบหนักเกินไป

อย่างเช่นภาพไฮคีย์ ที่ต้องการดรอปสี และคอนทราสท์ลง ด้วยเทคนิคซ้อนภาพขาวดำ
ถ้าเอา L ไปใช่นี่เหมาะมาก

ลองสมมุติดูว่าถ้าภาพนี้ เป็นภาพไฮคีย์ของสาวๆ แล้วเราซ้อนขาวดำจาก Lab เพื่อดรอปสีและคอนทราสท์ลง
จะได้ภาพออกมาดูเบาๆ ใสๆ ดีกว่าการลด saturation และคอนทราสท์ลงดื้อๆ ซะอีก

Lab4


อีก 2 วิธีครับ ใกล้จบล่ะ
Create Date :01 เมษายน 2554 Last Update :2 เมษายน 2554 4:49:41 น. Counter : Pageviews. Comments :0