bloggang.com mainmenu search
ปัญหาใหญ่ในการถ่ายรูปอย่างหนึ่งก็คือ การที่ภาพมีสีผิดเพี้ยนไป เนื่องจากการตั้งไวท์บาล้านซ์ไม่ถูกต้อง

เครื่องมือหนึ่ง ที่เรานิยมใช้กัน ในการแก้ไขสีของรูปที่ผิดเพี้ยนคือ การปรับ Color Balance
ซึ่งการปรับแม้จะไม่ยุ่งยาก แต่มันต้องอาศัยสายตาที่ชำนาญ และความรู้ในทฤษฎีสีเป็นอย่างดี

บทความนี้ ผมจะเสนอวิธีการปรับแก้ White Balance ในภาพถ่าย โดยใช้เทคนิคย้อนยุคสมัยกล้องฟิล์ม
ซึ่งทำได้ง่าย และสะดวกกว่ามาก

ดูที่ภาพต้นฉบับครับ ภาพก่อนทำ จะเห็นว่ารูปนี้ติดสีเหลืองมาก
จากการตั้งไว้ท์บาล้านซ์ที่ไม่ตรงกับสภาพแสงในขณะนั้น



*รูปน้องไอซ์ เป็นลิขสิทธิ์ (All Right Reserve) ของป๋อม pompgm2000 ผมขอขอบคุณป๋อมที่เอื้อเฟื้อให้นำมาใช้
บทความนี้ และรูปหนูโย รูปที่สองเป็นของผมเอง ลิขสิทธิ์แบบ Creative Commons Attribute 3.0 (Some Right Reserve)





โดยปกติแล้วเวลาจะแก้สีแบบนี้ เราจะใช้วิธีปรับ Color Channel, Curve, Level Selective Color, Color Balance และอะไรอีกหลายอย่าง ตามแต่ความถนัดของผู้ทำภาพแต่ละคน ว่าจะถนัดอย่างไหน





สำหรับช่างภาพยุคโบราณแบบผม ที่เกิดมาทันใช้ฟิล์ม
เรามีฟิล์มเดย์ไลท์ (สมดุลย์แสงขาว 5500 Kelvin) กับฟิล์ม ทังสเตน (สมดุลย์แสงขาวที่ 3200 Kelvin) ให้เลือกใช้
เวลาที่เราใช้ฟิล์มเดย์ไลท์ไปถ่ายใต้แสงหลอดไส้ เราก็จะได้ภาพที่ติดสีเหลืองท่วมคล้ายๆ แบบนี้แหละ
เวลาที่เราเอาฟิล์มทังสเตนไปถ่ายใต้แสงแดด ก็จะได้ภาพที่ติดสีฟ้า

ช่าง ภาพก็จะแก้ไขภาพโดยการใส่ฟิลเตอร์เบอร์ 81, 85 เวลาใช้ฟิล์มทังสเตน ถ่ายใต้แสงแดด เพื่อลดสีฟ้าที่มากเกินไป (หรือ LBA ซึ่งแก้สี พร้อมเน้นสีผิวให้สวยยิ่งขึ้นไปพร้อมกันเลย)
หรือฟิลเตอร์เบอร์ 80, 82 และ LBB (Yes! in the same propose) กับฟิล์มเดย์ไลท์ เวลาถ่ายกับแสงหลอดไฟแบบไส้
เนื่องจากฟิลเตอร์กลุ่มนี้ มีหลายความเข้ม จึงอาจจะนำมาใช้เพื่อทำให้โทนสีของภาพ เปลี่ยนไปเล็กน้อยได้ เพื่อการสร้างสรรค์อารมณ์ภาพ
(บางคนอาจจะทันใช้ Warm Filter A (81A) กับฟิล์มเดย์ไลท์ เพื่อให้ภาพมีโทนสีอุ่นมากขึ้น เวลาถ่ายภาพบุคคล)

แน่นอนครับ Photoshop ที่รู้ใจช่างภาพซะขนาดนี้ ย่อมไม่พลาดที่จะเอาฟิลเตอร์เหล่านี้มาบริการช่างภาพแน่ๆ
ฟิลเตอร์พวกนี้แม้จะไม่ละเอียดอ่อน แม่นยำเป๊ะๆ ไม่ถูกใจช่างทำภาพระดับโปร เหมือนปรับไวท์บาลานซ์ด้วยเครื่องมืออื่นๆ
แต่มันก็ง่าย สะดวก และให้ผลที่ดี สำหรับช่างภาพทั่วไปแน่ๆ





ฟิลเตอร์ในการปรับสีต่างๆ ก็มีมาให้เลือกใช้มากมาย
และสามารถปรับความเข้มของฟิลเตอร์ได้อย่างละเอียด

หากไม่ถูกใจสีที่มาให้ ก็ยังสามารถคลิ๊กที่สี เพื่อเลือกสีอื่นๆ ตามแต่ใจเรา เพื่อปรับแก้สี หรือใส่สีพิเศษ ลงไปในภาพเราได้ด้วย
ด้วยธรรมชาติของโฟโต้ชอป เรายังสามารถประยุกต์ใช้กับ เครื่องมืออื่นๆ ได้อย่างกลมกลืน ไม่ว่าจะมาสก์ Layer, Fade, Gradient, etc.
นั่น หมายความว่าเราสามารถเลือกที่จะแก้สีเฉพาะบางส่วนของภาพได้ หรือปรับแก้เลือกความเข้มต่างๆ กันในแต่ละส่วนของภาพ และอื่นๆ ตามแต่จินตนาการของผู้ทำภาพ





สาธิตการใช้ฟิลเตอร์ เพื่อปรับแสงสีของรูปน้องไอซ์ หลังจากใส่ฟิลเตอร์สีฟ้าเบอร์ 80 เข้าไป เพื่อตัดสีเหลือง และปรับความเข้มให้พอเหมาะ
เราก็จะได้แสงสีที่ใกล้เคียงกับธรรมชาติขึ้นมาอย่างนี้





หรือจะเป็นรูปที่ติดสีอื่นๆ เราก็สามารถแก้สีได้อย่างง่ายๆ ด้วยการใส่ฟิลเตอร์เข้าไป เลือกสี เลือกความเข้มของฟิลเตอร์
แค่จำวงจรสีนี้ให้ได้ ว่าจะใช้สีไหน จะหักล้าง กับสีไหน

B น้ำเงิน Y เหลือง
G เขียว M ม่วงแดง
R แดง C เขียวน้ำเงิน





อย่างเช่นกรณีนี้เป็นภาพที่ติดสีฟ้าน้ำเงิน





ซึ่งดูจากวงจรสีแล้ว เราจะเห็นว่าสีที่เราจะใช้เพื่อหักลบ คือสีเหลืองส้ม
ซึ่งก็คือ Warm Filter ผมเลือกใช้เบอร์ LBA เพื่อให้เน้นสีผิวมากขึ้น
ก็จะได้ภาพที่สีฟ้าหายไป ดังนี้ครับ



หากเราถ่ายภาพออกมาไวท์บาล้านซ์ไม่ถูกต้อง หรือได้ภาพที่ติดสีใดสีหนึ่งมากจนเกินไป
ก่อนที่จะนึกถึงเครื่องมือยากๆ ลองเลือกใช้เครื่องมือง่ายๆ แบบฟิลเตอร์สีแบบนี้ก่อนครับ
Create Date :20 มกราคม 2551 Last Update :20 มกราคม 2551 9:55:36 น. Counter : Pageviews. Comments :2