bloggang.com mainmenu search

หลังจากรู้พื้นฐานจากเรื่อง Blend Mode ในบล็อกที่แล้ว
คราวนี้เป็นการประยุกต์ใช้งานบ้าง การประยุกต์ใช้เบลนด์โหมดก็ทำได้ล้านแปดตามแต่จินตนาการ
แบบเบสิคสุดๆ ก็คือปรับแสง ปรับสี
กระทู้นี้จะสาธิตการปรับแสงโดยใช้เบลนด์โหมด เพื่อให้เห็นผลของการเบลนด์แต่ละแบบ

Combine


จากภาพผมว่าจะทำ 2 อย่าง คือทำให้ด้านล่างสว่างขึ้นหน่อย กับทำให้ท้องฟ้ามืดลงนิดนึง
วิธีปรับแสงในโฟโต้ช็อปมีหลายสิบวิธี การใช้เบลนด์โหมด ก็เป็นวิธีหนึ่งที่สามารถทำได้
ถึงจะไม่ละเอียด แต่ก็ง่าย และเร็วมาก และในเมื่อเรารู้ว่าแต่ละโหมด ส่งผลอย่างไรกับภาพ เราก็แค่เลือกโหมดที่ถูกต้อง แล้วก็ซ้อนภาพขึ้นไปเท่านั้นเอง

01Original


จากภาพต้นฉบับ อย่างแรกที่จะทำคือ ทำให้ส่วนมืด สว่างขึ้น
ผมจะซ้อนภาพขึ้นไปแล้วเลือกโหมด Screen ที่มีผลทำให้พิกเซลมืด สว่างขึ้น

02Screen1


ทีนี้เมื่อใช้ Screen ภาพมันจะสว่างขึ้นทั้งหมด แต่ว่าเราไม่ต้องการให้ท้องฟ้าสว่าง มากไปกว่านี้ ก็สามารถใช้เทคนิค Layer Mask ป้องกันท้องฟ้าได้

03Screen2


ผมว่าตรงโซนกลางของภาพน่าจะสว่างขึ้นอีกนิด ผมก็ Screen ซ้ำที่จุดนี้อีกหน่อย

04Screen3


คราวนี้ก็มาจัดการที่ท้องฟ้าบ้าง โหมดที่ทำให้มืดลงคือ Multiply ผมก็ซ้อนเลเยอร์ Multiply ลงไป
แล้วก็มาสก์ส่วนพื้น ให้มีผลเฉพาะกับส่วนท้องฟ้า

05Multiply1



อยากให้ฟ้าเข้มกว่านี้อีกนิดนึง ผมก็สามารถซ้อน multiply ซ้ำไปได้ แต่ถ้าซ้อนเต็มความเข้ม 100% ก็จะมืดหลอกตาไปหน่อย ผมจะซ้อนให้ฟ้าเข้มขึ้นอีกประมาณ 1 stop พอ

ถ้าใช้สูตรของ Bruce Fraser (ผู้แต่งหนังสือ Real world color management) คือ
multiply (หรือ screen) 100% opacity = 3 stop
ก็จะได้ว่าผมต้องปรับ opacity ไปที่ 33% โดยประมาณ


คีย์ลัดตรงนี้คือ กดแป้นตัวเลข 1 ครั้ง ก็จะปรับ opacity ไปที่ 10 เท่าของตัวเลขนั้น
ถ้ากดสองครั้ง ก็เป็นการป้อนค่า opacity ลงไปโดยตรง
ถ้ากดสามครั้ง.... (มันมีที่หนายล่าวว)
อยากได้ 100% กด 0
อยากได้เกิน 100% เพราะอยากได้มากกว่า 3 stop ก็ซ้อนเลเยอร์เพิ่มขึ้นไปอีก

หรือถ้าคลิ๊กตรงช่องป้อนค่า กดชิฟท์ค้าง กดลูกศรขึ้นลง ค่าจะเปลี่ยนที่ละ 10%

(อย่าลืมเข้าโหมดแป้นพิมพ์ภาษาอังกฤษ และกด V เข้า move tool ก่อนใช้ช็อทคัท)

06Multiply2



อันนี้ เป็นการใส่ Mask แบบ Advance หน่อย

เพราะบางทีเราอยากใส่มาสก์ซ้อนกันสองชั้นสามชั้น แต่ว่าในเลเยอร์นึง มันใส่ได้มาสก์เดียว ไม่งั้นตีกัน
ถ้าอยากใส่มาสก์สองชั้น ก็ต้องใช้วิธีสร้างกรุ๊ปขึ้นมา แล้วใส่มาสก์ไปบนกรุ๊ปนั้นอีกที

ภาพนี้ผมไม่ต้องการให้มุมบนขวาเข้มเกินไป ผมต้องมาสก์ส่วนนี้ออกจากมัลติพลายในชั้นล่าง
ถ้าผมจะเข้าไปแก้ที่มาสก์เดิม มันก็เสี่ยงที่จะไปทำให้ของเก่าเสียหาย
ผมก็ใช้วิธีจับเอาชั้นนั้นใส่กรุ๊ปไว้ แล้วสร้างมาสก์ที่กรุ๊ปเลย จะได้ไม่เสี่ยงทำให้อะไรชำรุดเสียหาย

07Multiply3



อันนี้เป็นตัวอย่างการประยุกต์ใช้งานเบลนด์โหมด multiply กับ screen บนภาพจริงๆ
แต่ถ้าเข้าใจพื้นฐานของเบลนด์โหมดหลักๆ แล้ว ก็สามารถประยุกต์ใช้งานได้อีกหลายอย่าง

08Fin

Create Date :09 กันยายน 2555 Last Update :9 กันยายน 2555 13:39:36 น. Counter : 2763 Pageviews. Comments :1