bloggang.com mainmenu search

ตอนนี้เป็นบทความอุดมไปด้วยข้อมูลที่ไม่ได้มีประโยชน์อะไรในการถ่ายภาพรู้ไว้ให้หนักหัวเล่นงั้นแหละ
เป็นเรื่องราวทั่วๆไปเกี่ยวกับเรื่องขนาดเซ็นเซอร์ที่ผมบันทึกเก็บไว้เป็นข้อมูลเบื้ิองหลังเฉยๆ
แต่คิดว่าอาจจะมีกลุ่มเพื่อนๆบางกลุ่มที่สนใจทางเทคนิคเบื้องหลังเลยเอามาเรียบเรียงใหม่แบ่งกันอ่านสักหน่อยดีกว่า

เนื่องจากเมื่อก่อนนี้ตอนมีการพูดเรื่องฟูลเฟรมครอปเฟรมกันอยู่บ่อยๆผมก็เลยค้นข้อมูลเอาไว้ตอบกระทู้
แต่คนอื่นอาจจะว่าฟูลเฟรม ครอปเฟรมมันก็ไม่เห็นจะน่าสงสัยตรงไหนเลยมันก็เห็นอยู่ชัดๆ ว่าเท่ากับฟิล์มหรือเล็กกว่าฟิล์ม
แต่ว่ามันไม่ใช่แค่นั้นน่ะสิครับถ้าไปดูในรายละเอียดแต่ละกรณีฟูลเฟรมหรือไม่ฟูลเฟรมมันกลับไม่เหมือนอะไรที่เราเคยเข้าใจมาก่อน

มันไม่ง่ายที่จะตัดสินว่า อะไรหรือแค่ไหนถึงจะเป็น FullFrame เนื่องจากที่จริงแล้วFF มันมีหลายนิยามแล้วแต่ว่าจะเอาเซ็นเซอร์เป็นหลักหรือจะเอาเลนส์เป็นหลัก
แบบที่เรารู้และคุ้นๆ กันดีอยู่คือแปลว่าเซ็นเซอร์ขนาด
24x36มม.ขนาดเท่าฟิล์มฟอร์แมท135 หรือที่นิยมเรียกว่าฟิล์ม35 มม.
ถ้าว่ากันคนละนิยามมันก็ไม่มีทางเข้าใจได้ตรงกัน

แต่ก่อนที่จะเข้าใจแต่ละนิยามได้ต้องย้อนกลับไปในยุคต้นประวัติศาสตร์ของฟิล์มถ่ายรูปขนาด 35มม.


fullframe



คำถามแรกคือฟิล์ม 135 หรือ35 มม.มันใหญ่แค่ไหน?

ในเมื่อเรียกว่าฟิล์ม35 มม.มันก็ต้องกว้าง35 มม.สิไม่เห็นยากหากเราวัดขอบจรดขอบ ฟิล์ม135 จะมีความกว้าง35 มม.โดยประมาณ
(บันทึกไว้เป็นข้อมูลทางเทคนิคตัวเลขที่แน่นอนคือ 34.98มม.คลาดเคลื่อนไม่เกิน0.03 มม.)


24x36 มม.ที่คุ้นๆกันเป็นขนาดเฟรมภาพยอดนิยมถ้าวัดจากขอบเข้ามาถึงด้านในของรูหนามเตยจะประมาณ 5 มม.
และจากจุดนั้นอีก
0.5 มม.จะเป็นขอบเฟรมภาพซึ่งเฟรมภาพจะกว้าง 24มม.ยาว 36มม. เว้นทางยาวอีก2 มม.ก่อนจะเป็นเฟรมถัดไป

ที่บอกว่ายอดนิยมเพราะขนาดเฟรมของ 135ไม่จำเป็นต้องเป็นขนาดนี้เสมอไปมีขนาดที่นิยมรองลงมาคือ24x18 มม.
ที่ในวงการภาพนิ่งเรียกเป็น
half frame แต่วงการภาพยนต์เป็นsingle frame เพราะเป็นความสูงปกติของเฟรมภาพยนต์academic ratio
ขนาดอื่นที่มีใช้กันเยอะๆคือพาโนรามา
24x65 mmในกล้องแฮสเซลบลัดกับฟูจิ X-Pan/TX-1
และขนาดประหลาดอื่นๆอีกเกือบสิบขนาด ไม่เล่าถึงละกัน

แต่แค่นี้ก็เห็นแล้วว่าจะบอกว่าฟิล์ม 35 มม.มีขนาดภาพเท่าไหร่กันแน่ก็ต้องว่ากันยาวเพื่อให้แน่ใจว่ากำลังคุยเรื่องเดียวกันอยู่

ขนาด24x36 มม.ยอดนิยมที่จริงมันคือ double frameของฟิล์มภาพยนต์
เพราะตอนมันเกิดขึ้นมาเป็นครั้งแรกในกล้องไลก้ามันเกิดจากเอาฟิล์มภาพยนต์
35 มม.มาตัดม้วนใส่กลัก(cassette)
แล้วกำหนดให้ขนาดเฟรมภาพนิ่ง
1 ภาพยาวเท่ากับความสูงเฟรมภาพยนต์สองเฟรมแล้วให้บันทึกภาพแนวนอนแทนแนวขวาง เป็นฟิล์มภาพนิ่งฟอร์แมท135

สิ่งที่แสดงว่าฟิล์ม135 เป็นมรดกตกทอดมาจากกล้องถ่ายภาพยนต์คือ
รูหนามเตยถี่ยิบที่ใช้กำกับจังหวะชัตเตอร์กับจังหวะเสียงของกล้องถ่ายภาพยนต์

124926017865168


กว่าเราจะนิยมใช้คำว่าfull frame ก็หลังจากปี1960 เมื่อโอลิมปัสPEN เริ่มใช้ขนาดภาพเท่ากับเฟรมภาพยนต์single frame
เพื่อประหยัดฟิล์มจะได้ลดขนาดเลนส์ ประหยัดราคากล้อง
ให้คนทั่วไปรายได้ไม่สูงไม่ได้มีอาชีพทางถ่ายภาพได้มีโอกาสเป็นเจ้าของกล้องถ่ายภาพบ้าง

แต่ว่าตอนนั้นก็40 ปีหลังจากไลก้ากล้องแรกนานจนเราก็ลืมไปแล้วว่า24x36 มม.มันคือดับเบิ้ลเฟรม
เราก็เลยเรียกซิงเกิ้ลเฟรมว่า
half frameทำให้ดับเบิ้ลเฟรมกลายเป็นฟูลเฟรมตั้งแต่ตอนนั้นเป็นต้นมา
ทั้งๆที่คำว่าฟูลเฟรมมันมีที่ใช้อื่นในทางเทคนิคอยู่แล้ว


half frame



Advance Photo System (APS)

ระบบฟิล์มขนาดเล็กลงมาที่อุตสาหกรรมถ่ายภาพวางแผนว่าจะให้มาแทนฟิล์ม135 สำหรับนักถ่ายภาพมือสมัครเล่น
เพื่อให้ได้กล้องเลนส์ ฟิล์ม ที่มีขนาดเล็กลงราคาประหยัดลงกว่าเดิม
แนวคิดเดียวกับที่โอลิมปัส
PEN ทำไว้เมื่อสี่สิบปีก่อนในเวอร์ชั่นที่ทันสมัยขึ้น

น่าเสียดายที่มันมาช้าไปหน่อยกว่าจะวางตลาดจริงก็ใกล้จะปี2000 เข้าไปแล้วพอดีกับที่กล้องดิจิทัลราคาที่ประชาชนเอื้อมถึงเริ่มเข้าตลาด
ทำให้กล้อง
APS คว่ำไม่เป็นท่าในไม่กี่ปีหลังเปิดตัว

โกดักกับ มินอลต้า ทุ่มเดิมพันเต็มที่กระโดดเข้าใส่APS เต็มตัวรายอื่นอย่าง แคนอนมี EOSIX นิคอนมีPronea
แต่ก็แค่แหย่ๆมานิดหน่อย แบบแทงกั๊กโดยใช้เม้าท์
EF กับF ทำให้ขนาดกล้องกับเลนส์ไม่ได้เล็กลงนัก
แล้วไม่กี่ปีทั้งสองยี่ห้อก็เอากล้องกับเลนส์ชุดนี้หนีไปทำ
DSLRเลย
ส่วน
Vectis ของมินอลต้าเป็นระบบใหม่ที่ย่อขนาดลงทั้งเม้าท์กล้อง เลนส์ โดยไม่ได้อิงกับเม้าท์A ของตัวเองเมื่อ APS ล้มเหลวมินอลต้าเลยเจ็บหนักกว่าใคร

แต่APSก็ยังทิ้งมรดกเอาไว้ให้กล้องดิจิทัลในยุคต่อมาหลายอย่างได้แก่ขนาดตัวรับภาพ APS-C (25.1x16.7 มม.)
และแนวคิดเรื่องกล้องขนาดเล็กรวมทั้งระบบเลนส์ที่สัมพันธ์กับตัวรับภาพขนาดเล็ก


vectis


APS-C digital format


เป็นความโชคดีในโชคร้ายของบริษัทผลิตกล้อง
ที่ว่าโชคร้ายคือเซ็นเซอร์ดิจิทัลขนาด
24x36เท่ากับฟิล์ม135นอกจากแพงบัดซะรบแล้ว
ยังต้องการวงภาพจากเลนส์ที่ขนาดใหญ่เกินกว่าที่เลนส์
SLR 135 ที่มีอยู่ในยุคนั้นจะสร้างให้ได้โดยไม่เกิดภาพที่ขอบมืดขอบเบลอ
ทำให้ใช้เซ็นเซอร์ขนาดฟูลเฟรมในกล้องและเลนส์ระบบ
135 หรือAPS ไม่ได้

โชคดีที่ตัวรับภาพดิจิทัลขนาดAPS-C เป็นขนาดที่เหมาะสมบอดี้ SLR ที่มีมาแต่ไหนแต่ไร
รวมทั้งบอดี้กล้อง
APS ที่เพิ่งทำเสร็จใหม่ๆสามารถเอาตัวรับภาพดิจิทัลขนาดAPS-C เข้าไปใส่ได้ทันที
โดยแทบไม่ต้องเปลี่ยนแปลงอะไรให้มากมายถึงจะใช้เลนส์
APS ไม่ได้แต่ยังใช้กับเลนส์ฟิล์มเดิมได้ได้ภาพที่คุณภาพดี

พอลดขนาดตัวรับภาพลงมาเหลือAPS-C นอกจากตัวรับภาพและบอดี้จะราคาลดลงฮวบๆแล้ว
เซ็นเซอร์ขนาดเล็กลงยังเจาะไข่แดงเอาภาพจากตรงกลางวงภาพของเลนส์เดิมมาใช้ไม่เอาขอบภาพที่มีปัญหาเข้ามากวนใจ
ซิสเต็มเดิมๆที่มีอยู่แล้ว ก็กลายเป็นดิจิทัลได้ดีเสียอีกที่ขนาดกล้องก็เล็กลง

ที่ผู้ใช้ต้องปรับตัวก็มีแค่ตัวรับภาพที่เล็กลงจะทำให้มุมมองจากเลนส์แคบลง
ในยุคนั้นเราเลยต้องมีการคูณทางยาวโฟกัสเพื่อให้นึกออกว่าเลนส์เดิมที่ใช้อยู่มันแคบลงแค่ไหน

แต่มาสมัยนี้แล้วคนที่ผ่านกล้อง 135 มาก่อนAPS-C คงมีน้อย
ผมเชื่อว่าคนที่นึกออกว่า
18 มม.ใน Canon400D มันกว้างแคบแค่ไหนมีเยอะกว่าคนที่รู้ความกว้างแคบของเลนส์60 มม.ใน NikonD700
ดังนั้นเรื่องที่ต้องคูณเลขทางยาวโฟกัสก่อนเพื่อเปรียบเทียบกับระบบ
135 ก็ไม่รู้จะทำไปทำไม
เพราะคูณไปก็นึกไม่ออกอยู่ดีว่าเลขที่คูณได้มันได้ภาพกว้างแคบแค่ไหนสู้จำมุมภาพด้วยตัวเลขในระบบ
APS-C ไปเลยไม่ได้


Pronea


Full Frame แบบนักถ่ายภาพ

แต่ว่าตัวรับภาพขนาดเท่าฟิล์ม135 ก็ยังเป็นความต้องการของนักถ่ายภาพกลุ่มหนึ่งอยู่ดีเพราะเป็นขนาดที่คุ้นเคย
และข้อดีคือมีพื้นที่วางเซลไซต์เยอะขึ้นทำให้เพิ่มพิกเซลได้เยอะหรือจะเลือกใส่พิกเซลจำนวนน้อยแต่ขนาดเซลไซต์ใหญ่ขึ้นเพื่อเพิ่มคุณภาพแต่ละพิกเซลก็ได้
และต่อให้ขยายขนาดกล้องและเลนส์ดิจิตอลขึ้นมาเพื่อให้รับกับเซ็นเซอร์จน
system ใหญ่ขึ้นกว่าระบบฟิล์ม135 เดิม
แต่มันก็ยังเป็นขนาดที่พอจะแบกหามไหวใช้สะดวกกว่ากล้องมีเดียมฟอร์แมทอยู่ดี

ปัญหาคือหากจะใช้เซ็นเซอร์ขนาดเท่าฟิล์ม135 มันจะเจอข้อจำกัดทางออพติคส์หลายอย่าง
เช่นเลนส์เดิมในสมัยกล้องฟิล์มมันมีคุณภาพต่ำ แต่เราไม่เคยเห็นมาก่อนเพราะฟิล์มมันยืดหยุ่นต่อความผิดพลาดมาก
ส่วนเซ็นเซอร์ดิจิตอลมันจะแสดงข้อบกพร่องของเลนส์ที่เราคิดว่าดีแล้วออกมาให้เห็นอย่างชัดเจน
ทั้งความคลาดสีขอบม่วงขอบเขียวให้รายละเอียดและความคมชัดต่ำ
แม้จะเป็นเลนส์โปรยังขอบมืดขอบเบลอ กำลังแยกเส้นต่ำไปแฟลร์เยอะไป ฯลฯ
โดยรวมคือเซ็นเซอร์ดิจิตอลต้องการเลนส์ที่คุณภาพดีกว่าเลนส์สมัยฟิล์มมากเลนส์โปรที่เคยใช้มาบางทียังสู้เลนส์คิทติดกล้องสมัยนี้ยังไม่ได้เลย

แต่อะไรก็ไม่เจ็บปวดเท่ากับที่มันต้องการวงภาพที่มีขนาดใหญ่กว่าเดิม

ในกล้องฟิล์มเราใช้เลนส์ที่ให้วงภาพครือๆกับขนาดเฟรมได้สบายแต่เซ็นเซอร์ดิจิตอลกลายเป็นว่าเลนส์เดียวกันนั้นได้ขอบภาพมืดและเบลอ เพราะมุมกระจายแสงที่ขอบวงภาพมันทำให้แสงมันไม่ตกลงบ่อดักโฟตอนบนเซ็นเซอร์ที่ขอบภาพ

วิธีแก้บนDSLR ก็มีไม่กี่ทางการแก้ด้วยการเพิ่มเลนส์พิเศษเพื่อบีบมุมกระจายแสงและเกลี่ยแสงในวงภาพให้เท่าๆกัน ก็ถูกโอลิมปัสจดสิทธิบัตรตัดหน้าไปแล้ว
ทางแก้ของยี่ห้ออื่นก็เลยต้องทำให้วงภาพใหญ่ขึ้นกว่าเซ็นเซอร์เพื่อเจาะไข่แดงกลางวงภาพออกมาใช้
และต้องใช้วงภาพให้ยาวกว่าเส้นแทยงมุมของเซ็นเซอร์ไปอีกเยอะๆ

ซึ่งเวลาที่ทำให้วงภาพใหญ่มันจะมีปัญหาใหม่เกิดขึ้นตรงที่ต้องเพิ่มขนาด น้ำหนักราคาเลนส์ขึ้นไปอีก
เพื่อให้ได้คุณภาพและวงภาพที่ต้องการ
ซึ่งเซ็นเซอร์แนวทแยงยาว
43 มม.แค่คิดว่าถ้าเผื่อด้านละครึ่งเซนต์เส้นผ่านศูนย์กลางวงภาพก็แทบจะเท่ากับวงภาพของเลนส์ของกล้องมีเดียมฟอร์แมทสมัยฟิล์มแล้ว

ในความเป็นจริงเป็นไงไม่รู้แต่ที่เห็นๆ คือเลนส์ DSLRฟูลเฟรมสมัยนี้ใหญ่โตมโหฬารกว่าเลนส์สมัยฟิล์มเยอะขนาด น้ำหนัก ราคาไม่น้อยไปกว่าเลนส์กล้องมีเดียมฟอร์แมทสมัยฟิล์มเลย

Circle


Full Frame แบบเด็กเทคนิค

ในสมัยก่อนคำว่าฟูลเฟรมมีที่ใช้อื่นอยู่แล้วคือใช้เวลาที่อธิบายถึงวงภาพเทียบกับขนาดฟิล์ม
ในกล้อง
medium/large format ที่ใช้ฟิล์มได้หลายขนาดในบอดี้เดียว เลนส์เดียวกัน
หากขนาดเฟรมภาพใหญ่พอดีกับวงภาพมันคือขนาดเฟรมภาพที่ใหญ่ที่สุดที่เป็นไปได้เราจะเรียกว่า ฟูลเฟรม

เช่นเวลาใช้Mamiya RZ67 กับฟิล์มแบ๊ค6x7 ก็จะเป็นฟูลเฟรม
แต่หากใช้ฟิล์มขนาดเล็กลงมากว่าวงภาพผ่านฟิล์มแบ๊คขนาดอื่นเช่น
135 หรือ6x4.5 แบ็คนี้จะเป็นcropped frame
และต้องคำนวณ
crop factor เพื่อหามุมรับภาพของเลนส์ที่เปลี่ยนไป

ในความรู้สึกของนักเทคนิคทั้งหลายแต่ไหนแต่ไรมา คำว่าฟูลเฟรมและครอปเฟรม จึงเกี่ยวข้องกับขนาดหน่วยรับภาพเทียบกับขนาดวงภาพจากเลนส์กล้องกลางหรือใหญ่
ไม่ได้เกี่ยวอะไรเลยกับกล้อง
135 เพราะไม่สามารถเปลี่ยนหน่วยรับภาพได้แม้ว่าในสมัยนั้นจะมีกล้องฮาร์ลฟเฟรมออกมาแล้วก็เถอะ

คำว่าฟูลเฟรม/ครอปเฟรมถูกเอามาใช้เป็นจริงเป็นจังกับกล้องพื้นฐาน135 ในสมัยCanon 1Ds ปี2002เพื่อบอกว่ากล้องนี้ใช้เซ็นเซอร์ใหญ่เท่าเฟรมภาพของฟิล์ม135
จะได้แสดงถึงความแตกต่างจากกล้องอื่นๆที่ใช้ตัวรับภาพขนาดเท่ากับฟิล์ม
APS-C ที่เป็นครอปเฟรมของกล้องฟิล์ม135
เป็นครั้งแรกที่คำนี้เจาะจงที่ขนาดตัวรับภาพอย่างเดียวโดยไม่ได้อ้างถึงขนาดวงภาพจากเลนส์

แต่ที่ทำให้นักเทคนิคมึนกันไปเป็นแถวในยุคต่อมาคือคำว่าฟูลเฟรม/ครอปเฟรมพอใช้ไปเรื่อยๆ สิบปีถัดมามันกลับเปลี่ยนความหมายไป
จากการอธิบายขนาดเฟรมภาพเทียบกับขนาดวงภาพ กลายเป็น
ขนาดเซ็นเซอร์ใหญ่สุดในระบบหนึ่งๆเทียบกับเซ็นเซอร์ขนาดเล็กลงมา
'ในระบบเดียวกัน'(เริ่มโดยแคนอนตามด้วยนิคอน)
ท้ายสุดทุกคนก็ใช้คำว่าฟูลเฟรมในความหมายที่แปลว่าทุกอย่างในจักรวาลเทียบกับเฟรมภาพขนาด
24x36มม.ไปซะงั้น

ทำเอานักเทคนิคสายmedium/large format เลิกใช้คำนี้ไปเลยเพราะถ้าฟูลเฟรมแปลว่า 24x36มม.แล้วในสายกล้องกลาง กล้องใหญ่จะใช้คำว่าอะไรดี
ที่จะใช้อธิบายขนาดเซ็นเซอร์กับขนาดวงภาพในระบบที่เปลี่ยนเซ็นเซอร์ได้ตั้งแต่
33x44 มม.ไปจน 56x56มม.บนกล้องและเลนส์ชุดเดียวกันของมีเดียมฟอร์แมท
หรือเวลาใช้ฟิล์มกลัก
135 ถึงฟิล์มแผ่น8x10 นิ้วบนกล้องใหญ่กล้องเดียวกันได้

และคำนี้ยังลามไปใช้ในกล้องฟอร์แมทอื่นๆที่มาจากคนละพื้นฐานอย่างคอมแพ็กต์ และ (micro) FourThirds รวมทั้งNikon 1
ซึ่งที่จริงต้องใช้ระบบ
optical format ของvidicon ไม่ใช่ระบบcrop/full

มีเรื่องน่าสนใจคือหากว่ากันตามนิยามเดิมทางเทคนิคเมื่อสิบกว่าปีก่อนที่ยึดเอาขนาดเซ็นเซอร์เมื่อเทียบกับวงภาพเป็นหลัก
กล้องพื้นฐาน
135 ทุกรุ่นทุกยี่ห้อไม่ว่า APS-C, APS-H หรือ24x36 มม.ทั้งหมดจะเป็นครอปเฟรมเพราะใช้เซ็นเซอร์ขนาดเล็กกว่าวงภาพ
อาจจะอนุโลม
24x36 มม.ก็ได้เพราะถึงจะเล็กกว่าวงภาพแต่ไม่มีเซ็นเซอร์ใหญ่กว่านี้สำหรับวงภาพนี้
มีเพียงไลก้า
M เท่านั้นที่มีวงภาพขนาดพอดีกับเซ็นเซอร์24x36 มม.จัดเป็นฟูลเฟรมแท้ๆในทุกนิยาม


Medium


Full Frame แบบVidicon

กล้องคอมแพ็กต์กล้องติดโทรศัพท์มือถือ(micro) Four Thirds และNikon CX เหมือนกันอยู่อย่างหนึ่ง
กล้องกลุ่มนี้ใช้พื้นฐานขนาด และสัดส่วนตัวรับภาพจาก
Vidicon – Video Camera Tubeที่เป็นตัวรับภาพแบบไม่ใช้ฟิล์มในทีวีซึ่ง
เป็นตัวรับภาพอัตราส่วน
4:3 และบอกขนาดในระบบoptical format เช่น1”, 1.5”, 1/2.5”, 1/1.75”, 4/3”
(ในขณะที่ตัวรับภาพพื้นฐานฟิล์ม135 ใช้สัดส่วน2:3 และบอกขนาดกว้างคูณยาวหรือเส้นทแยงมุมเป็นมิลลิเมตร ดูรายละเอียดอยู่ในกระทู้ O9795384 )

กล้องพวกนี้ในแต่ละฟอร์แมทมีเซ็นเซอร์ขนาดเดียววงภาพขนาดเดียวไม่สามารถเปลี่ยนขนาดเซ็นเซอร์หรือขนาดวงภาพจากเลนส์ได้
ดังนั้นจะไม่มีการใช้คำว่า
full/crop ในระบบนี้

Nikon CX ไม่ค่อยงงถึงจริงๆ มันจะมีฐานใน opticalformat ก็เถอะ
แต่นิคอนวาง
position แน่นมาตั้งแต่แรกว่าเป็นครอปเฟรม ที่แชร์เลนส์FX/DX ได้หรือเลนส์เดียวกันเปลี่ยนเซ็นเซอร์ได้หลายขนาด

แต่ฟอร์แมทที่เจอบ่อยสุดและชวนงงที่สุดคือ (micro)Four Thirds ที่เป็นได้ทั้งฟูลครอป และไม่ใช่ทั้งคู่แล้วแต่นิยาม
ถึงนักเทคนิคสายโอลิมปัสจะยืนยันว่ามันเป็นฟูลเฟรมในระบบนี้เพราะมันมีขนาดเฟรมเท่ากับวงภาพ
แต่ผมว่าถ้าจับกันด้วยนิยามทางเทคนิควงภาพจากเลนส์ เทียบกับขนาดเฟรมแล้ว
ระบบนี้มันไม่มีเซ็นเซอร์ขนาดอื่นที่แชร์เลนส์ เปลี่ยนเซ็นเซอร์กันได้บนวงภาพนี้ดังนั้นมันไม่ควรจะใช่ฟูลเฟรม
และในขณะเดียวกันไม่ใช่ครอปเฟรมด้วย

แต่ไม่มีปัญหาอะไรถ้าอยากให้มันเป็นครอปเฟรมก็ลืมนิยามทางเทคนิคเสีย
แล้วมองมันด้วยนิยาม
"ทุกอย่างในจักรวาลเทียบกับเฟรมภาพขนาด24x36 มม.” ก็เรียบร้อย
ได้จะเป็นครอปเฟรมสมใจท่าน


vidicon


เรื่องฟูลเฟรมหรือครอปเฟรม ที่ดูเหมือนว่าจะเป็นเรื่องง่ายๆเข้าใจไม่ยาก ไม่น่าจะมีอะไร
แต่ถ้ามาดูกันอย่างละเอียดแล้วมันก็กลับมีอะไรเยอะแยะกว่าที่คิดและไม่ได้ง่ายเลย


Create Date :26 กันยายน 2555 Last Update :26 กันยายน 2555 14:32:56 น. Counter : 19725 Pageviews. Comments :1