bloggang.com mainmenu search

ปัจจุบัน นักโบราณชีววิทยา ได้ขุดพบฟอสซิลกระดูกไดโนเสาร์ในประเทศไทยถึง 16 ชนิด ในจำนวนนี้เป็นไดโนเสาร์ชนิดใหม่ สกุลใหม่ของโลก 7 ชนิด และได้รับการตั้งชื่อตามชื่อของบุคคลหรือสถานที่ที่ขุดพบ ดังนี้

ภูเวียงโกซอรัส สิรินธรเน : เป็นไดโนเสาร์ซอโรพอดกินพืชขนาดใหญ่เดิน 4 ขา คอยาว หางยาว อายุประมาณ 130 ล้านปี ความยาวประมาณ 15-20 เมตร พบฟอสซิลครั้งแรกที่อุทยานแห่งชาติภูเวียง จังหวัดขอนแก่น โดยตั้งชื่อเพื่อถวายพระเกียรติแด่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี

อีสานโนซอรัส อรรถวิภัชน์ชิ : เป็นไดโนเสาร์กินพืชขนาดใหญ่ เดิน 4 ขา คอยาว หางยาว อายุยุคไทรแอสซิกตอนปลายประมาณ 209 ล้านปี ความยาวประมาณ 13-15 เมตร ขุดค้นพบฟอสซิลที่จังหวัดชัยภูมิ โดยตั้งชื่อเป็นเกียรติแก่ นายปรีชา อรรถวิภัชน์ อดีตอธิบดีกรมทรัพยากรธรณี

ซิตตะโกซอรัส สัตยารักษ์กี : เป็นไดโนเสาร์พวกที่มีสะโพกแบบนก สกุลเดียวกับที่พบในจีนแต่เป็นชนิดใหม่ เป็นไดโนเสาร์ที่กินพืชขนาดเล็กอายุยุคครีเทเชียสตอนต้นประมาณ 100 ล้านปี ความยาวประมาณ 1 เมตร โดยตั้งชื่อเพื่อเป็นเกียรติแก่ นายนเรศ สัตยารักษ์ ผู้ค้นพบ

สยามโมซอรัส สุธีธรนิ : เป็นไดโนเสาร์เทอโรพอดในยุคครีเทเชียสตอนต้นประมาณ 130 ล้นปี ความยาวประมาณ 7 เมตร มีฟันทมีี่ลักษณะคล้ายฟันจระเข้ กินพืชและกินสัตว์น้ำจำนวกปลาเป็นอาหาีร ตั้งชื่อเพื่อเป็นเกียรติืแก่ นายวราวุธ สุธีธร อดีตผู้อำนวยการสำนักวิจัยซากดึกดำบรรพ์และพิพิธภัณฑ์ธรณีวิทยา ผู้มีส่วนสำคัญในการสำรวจพบซากดึกดำบรรพ์ไดโนเสาร์ในประเทศไทย

สยามโมไทรันนัส อิสานเอนซิส : เป็นไดโนเสาร์เทอโรพอดที่เดินด้วย 2 ขาหลัง ส่วย 2 ขาหน้ามีขนาดเล็ก ในยุคครีเทเซียสตอนต้น ประมาณ 130 ล้านปี ความยาวประมาณ 6.5 เมตร นับว่าเป็นบรรพบุรุษของ ไทรันโนซอรัส เร็กซ์ ที่พบในอเมริกาเหนือ

กินรีมิมัส ขอนแก่นเอนซิส : เป็นไดโนเสาร์กินทั้งพืชและสัตว์เป็นอาหารเดินและวิ่งด้วย 2 ขาหลัง มีรูปร่างคล้ายนกกระจอกเทศและปราดเปรียว ขนาดลำตัวยาวประมาณ 1-2 เมตร คอเรียว เล็กยาว ปากเป็นจะงอย ไร้ฟัน ถูกค้นพบในชั้นหินหมวดหินเสาขัว ที่อำเภอภูเวียง จังหวัดขอนแก่น อายุประมาณ 130 ล้านปี

สยามโมดอน นิ่มงามอิ : ไดโนเสาร์ออร์นิโธพอด สกุลใหม่ ชนิดใหม่ของโลก จากประเทศไทย โดยอ้างอิงจาก กระดูกกรามบน (maxilla) ที่ได้มาจากเหมืองหิน บ้านสะพานหิน จ.นครราชสีมา อยู่ในหมวดหินโคกกรวด มีอายุอยู่ในช่วงยุคครีเตเชียสตอนต้น นอกจากกระดูกกรามบนแล้ว ยังพบฟัน และ ชิ้นส่วนกระโหลก ที่เป็นของไดโนเสาร์ชนิดนี้อีกด้วย ที่มาของชื่อชนิด Siamodon มาจาก Siam ชื่อเดิมของประเทศไทย odousเป็นภาษากรีก แปลว่า ฟัน โดยสะกดเป็น  odonเพื่อเน้นความคล้ายคลึงกันกับ Iguanodon ที่มีของชื่อสกุล nimngamiเพื่อให้เป็นเกียรติกับนายวิทยา  นิ่มงาม ที่มอบตัวอย่างให้เพื่อการศึกษา จากการศึกษาพบว่า สยามโมดอน นิ่มงามอิ จัดอยู่ในกลุ่มอิกัวโนดอนที่มีวิวัฒนาการสูง สายพันธุ์ใกล้เคียงกับไดโนเสาร์พวก โปรบัคโตรซอรัส การค้นพบไดโนเสาร์กลุ่มอิกัวโนดอนที่มีวิวัฒนาการสูง ที่มีความหลากหลายในยุคครีเตเชียสตอนต้อนของภูมิภาคเอเชียนั้น อาจกล่าวได้ว่า ไดโนเสาร์กลุ่มนี้ได้ปรากฏขึ้น ครั้งแรกในเอเชียก่อนที่จะมีการกระจายตัวไปยังภูมิภาคอื่นๆ ของโลก

Create Date :13 กรกฎาคม 2557 Last Update :13 กรกฎาคม 2557 10:29:00 น. Counter : 4478 Pageviews. Comments :0