bloggang.com mainmenu search

“อิคคิวซัง…(ตะโกนเรียก)”  เณรน้อยอิคคิวซังตอบกลับ  “คร๊าบผม จะรีบไปไหนๆ พักเดี๋ยวนึงนะครับ“ประโยคเด็ดนี้ เพื่อนๆ จำกันได้ไหมคะ การ์ตูนยอดฮิต “เณรน้อยเจ้าปัญญา อิคคิวซัง” ของเด็กๆ และคาแรคเตอร์ที่ใครๆ ก็จดจำ ไม่ว่าจะเป็นตอนใช้ความคิด ติ๊กต๊อกๆ หรือตอนตอบคำถามปุจฉา วิสัชนา ก็ยังเป็นที่จดจำของใครหลายคน แต่เราเคยสงสัยไหมคะ ว่าการ์ตูนอิคคิวซังนี้ เป็นเรื่องแต่งขึ้นหรือเป็นเรื่องจริงกันแน่ วันนี้ทีนเอ็มไทยเรามีคำตอบมาฝากเพื่อนๆ กันค่ะ…เรื่องจริงของ อิคคิวซัง

22_1242639172

เรื่องจริงของ อิคคิวซัง

ในประเทศญี่ปุ่น พระอิคคิวซัง มีตัวตนอยู่จริงนะคะ และยังมีหลักฐานต่างๆ ที่ยืนยันว่า “อิคคิวซัง” ไม่ได้เป็นแค่การ์ตูน แต่กลับเกี่ยวข้องกับประวัติศาสตร์ของญี่ปุ่น เลยทีเดียว

อิคคิวซัง (อิคคิว โซจุน 一休宗純, Ikkyū Sōjun) เกิดเมื่อปี ค.ศ.1394 ที่เมืองเกียวโต เป็นราชบุตรของพระจักรพรรดิโกโคมัตสึ และเจ้าจอมอิโยะ เนื่องจากปัญหาการเมืองภายในของญี่ปุ่นในสมัยนั้น ทำให้ท่านและท่านแม่ของท่านต้องออกจากวัง เมื่ออิคคิวซังมีอายุได้ 5 ขวบ ท่านได้ถูกแยกจากแม่และส่งไปบวชที่วัดอังโคะคุจิ เมืองเกียวโต นิกายรินไซเซน เดิมจริงๆ แล้วตอนเด็ก อิคคิวซังท่านมีชื่อว่า “เซนงิคุมารุ” ต่อมาเมื่อท่านบวชเป็นเณรที่วัดอังโคะคุจิ ท่านได้รับชื่อใหม่ว่า “ชูเค็น” 

รูปวาดของท่านอิคคิวซังตัวจริงยามแก่

รูปวาดของท่านอิคคิวซังตัวจริงยามแก่

เป็นวัดเล็กๆบนภูเขาเคโตคุและเป็นวัดที่ได้รับการดูแลจากโชกุนอะชิคางะทาคาอุจิ  วัดนี้อยู่ที่เกียวโต

เป็นวัดเล็กๆบนภูเขาเคโตคุและเป็นวัดที่ได้รับการดูแลจากโชกุนอะชิคางะทาคาอุจิ วัดนี้อยู่ที่เกียวโต

ต่อมาท่านได้ย้ายไปอยู่วัดไซคินจิ ซึ่งเป็นวัดเล็กๆ ยากจนอยู่กับหลวงพ่อเคนโอ (Ken’o) ที่นี่ชูเคนได้เรียนรู้เซนที่แท้จริง หลวงพ่อเคนโอได้ตั้งชื่อให้ชูเคนใหม่ว่า “โซจุน” ท่านอิคคิวอยู่ที่นี่จนอายุได้ 21 ปี หลวงพ่อเคนโอก็มรณภาพ โซจุนเสียใจเป็นอย่างมากต่อการตายของหลวงพ่อเคนโอ จนถึงขนาดฆ่าตัวตายโดยการเดินลงไปในทะเลสาบบิวะ (Biwa) แต่โชคดีมีคนมาช่วยไว้

หลังจากนั้นโซจุนได้ไปหาหลวงพ่อคะโซ (Kaso) ที่วัดเซนโกอัน (Zenko-an) ซึ่งเป็นสาขาของวัดไดทกกุ ซึ่งเป็นวัดสำคัญในสมัยนั้น วันหนึ่งหลวงพ่อคะโซได้ตั้งปริศนาธรรมให้แก่โซจุน เมื่อโซจุนแก้ปัญหาได้แล้ว หลวงพ่อคะโซพอใจมากและตั้งชื่อให้ใหม่ว่า “อิคคิว”

หลวงพ่อถามอิคคิวว่า… “รู้หรือไม่ว่าคำว่าอิคคิวมีความหมายว่าอย่างไร?”
อิคคิวตอบเป็นกลอนว่า…
“ขอพักสักครู่หนึ่ง
ระหว่างทางจากโลกียะ
ถึงโลกุตตระ
หากฝนจะตกก็ตกเถิด
หากลมจะพัดก็พัดเถิด”
(นาม “อิคคิว” แปลว่า พักสักครู่)

รูปปั้นของท่านอิคคิวซังตอนเป็นสามเณร ซึ่งสำหรับชาวญี่ปุ่นส่วนใหญ่แล้ว

รูปปั้นของท่านอิคคิวซังตอนเป็นสามเณร ซึ่งสำหรับชาวญี่ปุ่นส่วนใหญ่แล้ว

อิคคิวตัวจริง

แต่ท่านอิคคิวตัวจริงเป็นพระเซนชั้นผู้ใหญ่ ซึ่งรูปปั้นของท่านในวัยผู้ใหญ่ก็แสดงให้เห็นถึงความสูงส่งและชาญฉลาดของท่าน

นิสัยจริงของท่านอิคคิว ต่างจากที่เห็นในการ์ตูนอิคคิวซังมาก ในการ์ตูนท่านอิคคิวเป็นเด็กน่ารัก เรียบร้อย แต่ตัวจริงท่านมักจะมีความคิดที่แตกต่างจากผู้คนรอบตัวท่านอยู่เสมอ ดังนั้นท่านคะโซจึงมอบตำแหน่งเจ้าอาวาสให้แก่ศิษย์รุ่นพี่ของท่านอิคคิว ส่วนท่านอิคคิวก็ออกพเนจรไปตามที่ต่างๆ ซึ่งทำให้ท่านได้มีโอกาสพบปะกับศิลปินและกวีที่มีชื่อเสียงมากมายในยุคนั้น และก็ได้พบกับคนรักของท่านที่เป็นนักร้องเพลงสาวตาบอดที่ชื่อว่า “โมริ” (Mori) ท่านอิคคิวท่องเที่ยวอยู่หลายปีจนในที่สุดเมื่อเกิดสงครามโอนิน ซึ่งทำให้วัดไดทกกุถูกทำลายจนเป็นเถ้าถ่าน ท่านอิคคิวจึงได้รับการแต่งตั้งให้เป็นเจ้าอาวาสวัดเพื่อทำการฟื้นฟู แต่ท่านอิคคิวอยู่ที่วัดไดทกกุเพียงไม่นาน ท่านก็ไปอยู่ที่วัดอิคคิวจิ ซึ่งเป็นที่สุดท้ายที่ท่านอยู่ ศพของท่านก็ฝังอยู่ที่นี่ ในปี ค.ศ.1481 ท่านอิคคิวได้ถึงแก่มรณภาพเมื่ออายุได้ 87 ปี

หลุมฝังศพของท่านอิคคิวซึ่งท่านสร้างด้วยตัวเองในวัย 82 ปี เมื่อปี ค.ศ. 1475

หลุมฝังศพของท่านอิคคิวซึ่งท่านสร้างด้วยตัวเองในวัย 82 ปี เมื่อปี ค.ศ. 1475

เรื่องที่เป็นที่รู้จักกันดีเรื่องหนึ่งของท่านอิคคิวก็คือป้ายที่หน้าสะพานซึ่งเขียนไว้ว่า “ห้ามข้ามสะพาน” ท่านอิคคิวเมื่อได้เห็นป้ายดังกล่าวแล้ว ท่านก็เดินข้ามสะพานไปตรงกลางทางเดินของสะพานโดยไม่มีการลังเลใจ ท่านจึงถูกจับ แต่ท่านก็ได้อธิบายว่าท่านไม่ได้เดินข้ามที่ขอบสะพานแต่ท่านเดินข้ามที่กลางสะพาน ในภาษาญี่ปุ่นนั้นคำว่า “ฮาชิ” มีสองความหมายคือ สะพานและขอบ

สะพานจำลองเหตุการณ์ปริศนาเรื่องสะพาน

สะพานจำลองเหตุการณ์ปริศนาเรื่องสะพาน

ป้ายหินซึ่งมีอักษรที่เขียนโดยท่านอิคคิวปรากฏอยู่

ป้ายหินซึ่งมีอักษรที่เขียนโดยท่านอิคคิวปรากฏอยู่

ภาพแสดงถึงท่านอิคคิวเดินถือไม้เท้าที่มีหัวกะโหลกเพื่อแสดงปริศนาธรรมแก่ผู้คนทั่วไป

ภาพแสดงถึงท่านอิคคิวเดินถือไม้เท้าที่มีหัวกะโหลกเพื่อแสดงปริศนาธรรมแก่ผู้คนทั่วไป วาดโดย โยชิโตชิ สึกิโอกะ (YOSHITOSHI TSUKIOKA) ปี ค.ศ. 1886

บางส่วนของบทกวีที่แต่งโดยท่านอิคคิว

ผลงานบางส่วนของบทกวีที่แต่งโดยท่านอิคคิว

หากเพื่อนคนไหนสนใจสามารถ หาหนังสือ “อิกคิวซัง ตัวจริง” ถูกแปลเป็นไทยโดย คุณพรอนงค์

หนังสือเรื่องอิคคิวซังตัวจริง เขียนโดยมาซาโอะ โคงุเร (แปลโดย พรอนงค์ นิยมค้า)

หนังสือเรื่องอิคคิวซังตัวจริง เขียนโดยมาซาโอะ โคงุเร (แปลโดย พรอนงค์ นิยมค้า)

นอกจากนี้เพื่อนๆ หลายคนทราบไหมคะว่า เพลงช้าๆ ตอนจบของการ์ตูน อิคคิวซัง ที่มีภาพตุ๊กตาไล่ฝน และเราก็คงฟังแค่ผ่านๆ ไม่ได้สนใจอะไร นั้น แท้จริงแล้วมันคือคำพูดที่ถูกถ่ายทอดลงจดหมายของอิคคิวซังถึงแม่ และเชื่อว่าคำแปลเพลงจบของการ์ตูนอิคคิวซังครั้งนี้ จะไม่เหมือนทุกครั้งที่เราฟัง เพราะมันจะทำให้เพื่อนๆ น้ำตาไหลและทราบซึ้งสุดๆ

Create Date :25 มิถุนายน 2557 Last Update :25 มิถุนายน 2557 0:16:03 น. Counter : 1472 Pageviews. Comments :0