bloggang.com mainmenu search
[Main : กลับ หน้ารวมศาสนา]

อานิสงส์แห่งการรักษาศีล ๕

สิกขาบทที่ ๑ ย่อมได้รับอานิสงส์ ๗ ประการ ได้แก่
๑. มีร่างกายสมส่วน ไม่พิการ
๒. เป็นคนแกล้วกล้าว่องไว มีกำลังมาก
๓. ผิวพรรณเปล่งปลั่งสดใส ไม่เศร้าหมอง
๔. เป็นคนอ่อนโยน มีวาจาไพเราะ เป็นเสน่ห์แก่คนทั้งหลาย
๕. ศัตรูทำร้ายไม่ได้ ไม่ถูกฆ่าตาย
๖. มีโรคภัยเบียดเบียนน้อย
๗. ย่อมเป็นผู้มีอายุยืน

สิกขาบทที่ ๒ ย่อมไดรับอานิสงส์โดยย่อ ๗ ประการ ได้แก่
๑. ย่อมมีทรัพย์สมบัติมาก
๒. แสวงหาทรัพย์โดยชอบธรรมได้โดยง่าย
๓. โภคทรัพย์ที่หามาได้แล้วย่อมมั่นคงถาวร
๔. สมบัติไม่ฉิบหายเพราะโจรภัย อัคคีภัย และอุทกภัย เป็นต้น
๕. ย่อมได้รับอริยทรัพย์
๖. ย่อมไม่ได้ยินและรู้จักคำว่า "ไม่มี"
๗. อยู่ที่ไหนก็ย่อมเป็นสุข เพราะไม่มีใครเบียดเบียน

สิกขาบทที่ ๓ ย่อมมีอานิสงส์โดยย่อ ๗ ประการ ได้แก่
๑. ไม่มีศัตรูเบียดเบียน
๒. เป็นที่รักของคนทั้งหลาย
๓. มีทรัพย์สมบัติบริบูรณ์
๔. ไม่ต้องเกิดเป็นหญิงหรือเป็นกระเทยอีก
๕. เป็นผู้สง่า มีอำนาจมาก
๖. มีอินทรีย์ ๕ บริบูรณ์
๗. มีความสุข ไม่ต้องทำงานหนัก

สิกขาบทที่ ๔ คือ ย่อมมีอานิสงส์โดยย่อ ๗ ประการ ได้แก่
๑. มีอินทรีย์ ๕ ผ่องใส
๒. มีวาจาไพเราะ มีไรฟันสม่ำเสมอเป็นระเบียบดี
๓. มีร่างกายสมส่วนบริบูรณ์ ผิวพรรณเปล่งปลั่ง
๔. มีกลิ่นปากหอมเหมือนกลิ่นดอกบัว
๕. มีวาจาศักดิ์สิทธิ์ เป็นที่เชื่อถือของคนทั่วไป
๖. ไม่เป็นอ่าง ไม่เป็นใบ้
๗. มีริมฝีปากแดงระเรื่อและบาง

สิกขาบทที่ ๕ มีอานิสงส์โดยย่อ ๖ ประการ ได้แก่
๑. รู้จักอดีต อนาคต ปัจจุบันได้รวดเร็ว
๒. มีสติตั้งมั่นทุกเมื่อ
๓. มีความรู้มาก มีปัญญามาก
๔. ไม่บ้า ไม่ใบ้ ไม่มัวเมาหลงไหล
๕. มีวาจาไพเราะ มีน้ำคำเป็นที่น่าเชื่อถือ
๖. มีความซื่อสัตย์ สุจริตทั้งกาย วาจา ใจ

อานิสงส์โดยย่อของการรักษาศีล

การรักษาศีลย่อมมีอานิสงส์มากมายจนสุดที่จะบรรยายให้ไหมดได้ แต่เมื่อกล่าวโดยหลักใหญ่ ๆ ซึ่งปรากฏในคำกล่าวสรุปหลังจากที่พระท่านให้ศีลว่ามี ๓ ประการ คือ

๑. ศีลเป็นเหตุให้ไปสู่สุคติ (สีเลนะ สุคติง ยันติ)
๒. ศีลเป็นเหตุให้ได้โภคทรัพย์ (สีเลนะ โภคะสัมปะทา)
๓. ศีลเป็นเหตุให้ถึงพระนิพพาน (สีเลนะ นิพพุติง ยันติ)

และเมื่อกล่าวโดยสรุปแล้ว ศีลนั้นมี "ความไม่เดือดร้อน" เป็นอานิสงส์ที่สูงสุด

วิธีการหรือขั้นตอนการสมาทานศีล

เบื้องต้น ผู้ต้องการจะสมาทานศีล พึงจุดธูปเทียนบูชาพระรัตนตรัย เสร็จแล้วกล่างคำบูชาพระรัตนตรัย ดังต่อไปนี้

คำกล่าวบูชาพระรัตนตรัย

อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ ภะคะวา, พระผู้มีพระภาคเจ้า, เป็นพระอรหันต์, บริสุทธิ์หมดจดจากกิเลสเครื่องเศร้าหมองทั้งหลาย, ได้ตรัสรู้ถูกถ้วนดีแล้ว,
อิเมหิ สักกาเรหิ ตัง ภะคะวันตัง อะภิปูชะยามิ, ข้าพเจ้าบูชา, ซึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้านั้น, ด้วยเครื่องสักการะเหล่านี้ (กราบ ๑ ครั้ง)

สวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม,พระธรรมคือศาสนา อันพระผู้มีพระภาคเจ้าแสดงไว้ดีแล้ว
อิเมหิ สักกาเรหิ ตัง ธัมมัง อะภิปูชะยามิ, ข้าพเจ้าบูชา, ซึ่งพระธรรมเจ้านั้น, ด้วยเครื่องสักการะเหล่านี้ (กราบ ๑ ครั้ง)

สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ, หมู่พระสงฆ์ผู้เชื่อฟัง, ของพระผู้มีพระภาคเจ้า, ปฏิบัติดีแล้ว
อิเมหิ สักกาเรหิ ตัง สังฆัง อะภิปูชะยามิ, ข้าพเจ้าบูชา ซึ่งหมู่พระสงฆะเจ้านั้น, ด้วยเครื่องสักการะเหล่านี้ (กราบ ๑ ครั้ง)

หลังจากที่ได้กล่าวคำบูชาพระรัตนตรัยแล้ว พึงตั้งใจให้แน่วแน่ที่จะสมาทานศีล เพื่อนำไปประพฤติปฏิบัติให้เกิดความปกติทางกาย วาจา โดยกล่าวคำอาราธนาศีล ดังต่อไปนี้

คำอาราธนา ศีล 5


ดาวน์โหลดบทสวด MP3 528.39 KBClik here

การอาราธนา คือ การเชื้อเชิญ, นิมนต์, ขอร้อง, อ้อนวอน
อาราธนาศีล กล่าวคำเชิญหรือขอร้องพระให้ให้ศีล ดังนี้

มะยัง ภันเต, วิสุง วิสุง รักขะนัตถายะ, ติสะระเณนะ สะหะ, ปัญจะ สีลานิ ยาจามะ, ทุติยัมปิ มะยัง ภันเต, วิสุง วิสุง รักขะนัตถายะ,ติสะระเณนะ สะหะ, ปัญจะ สีลานิ ยาจามะ, ตะติยัมปิ มะยัง ภันเต,วิสุง วิสุง รักขะนัตถายะ, ติสะระเณนะ สะหะ,ปัญจะ สีลานิ ยาจามะ

หมายเหตุ.- ถ้าคนเดียวทั้งอาราธนาศีลและรับศีลให้เปลี่ยน มะยัง เป็น อะหัง,
เปลี่ยน ยาจามะ เป็น ยาจามิ นอกนั้นเหมือนกันหมด

พึงนั่งให้เรียบร้อย สำรวมกาย วาจา ใจ แล้วคำคำสมาทานศีล โดยกล่าวตามพระภิกษุ สามเณร หรือผู้มีศีล ตามลำดับ ดังต่อไปนี้

คำนมัสการ คำสมาทาน ศีล 5


ดาวน์โหลดบทสวด MP3 2.92 MB. Clik here

การสมาทาน คือ การถือเอารับเอาเป็นข้อปฏิบัติ, การถือปฏิบัติ
เช่น สมาทานศีล คือรับเอาศีลมาปฏิบัติ

นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ

(แปลว่า ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระองค์นั้น ซึ่งเป็นผู้ไกลจากกิเลส ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง,htmlentities(' >')>>>>ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระองค์นั้น ซึ่งเป็นผู้ไกลจากกิเลส ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง,htmlentities(' >')>>>>ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระองค์นั้น ซึ่งเป็นผู้ไกลจากกิเลส ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง)

คำปฏิญาณตนถึงไตรสรณคมน์

พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ
สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ
ทุติยัมปิ พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
ทุติยัมปิ ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ
ทุติยัมปิ สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ
ตะติยัมปิ พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
ตะติยัมปิ ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ
ตะติยัมปิ สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ

(แปลว่า ข้าพเจ้าขอถึงพระพุทธเจ้า พระธรรมเจ้า และ พระสงฆเจ้า ว่าเป็นที่พึ่งที่ระลึกในการดำเนินชีวิต
Create Date :02 พฤศจิกายน 2550 Last Update :1 ธันวาคม 2550 13:26:52 น. Counter : Pageviews. Comments :23