bloggang.com mainmenu search
[Main : กลับ หน้ารวมเรื่องบ้าน DYI.]

เครื่องมือ ประกอบด้วย มิเตอร์(มัลติมิเตอร์), ไขควง, หัวแร้ง, ตะกั่วบัดกรี, คีม

ขั้นแรก ต่อสายปลั๊กเข้ากับกระติกน้ำร้อน ใช้มิเตอร์ วัดความต้านทาน ที่ปลายปลั๊กทั้ง 2 ขั้ว ถ้าเข็มมิเตอร์ไม่ขึ้น ก็แสดงว่า กระติกน้ำร้อน จะไม่ทำงาน อาจจะมีอะไรเสียสักอย่าง

ถอดสายปลั๊กมาตรวจเช็คว่าสายขาดหรือเปล่า จำปลายสายปลั๊ก แล้วใช้มิเตอร์วัด 2 ขั้วที่เหลืออีกด้านก็ได้ ถ้าเข็มมิเตอร์ขึ้นก็แสดงว่า สายปลั๊กไม่ขาด เช็คอย่างอื่นต่อไป

เปิดฝาท้ายออก จะเห็นสายไฟ และสายน้ำใส ๆ อยู่ใต้กระติก

ถอดสายยาง สายน้ำ และสายไฟบางเส้นออก เพื่อจะถอดโครงออกได้ จำด้วยว่าถอดมาจากตรงไหนนะ

เสร็จแล้วก็ไปกินข้าวเที่ยง เอ๊ยยย ไม่ช่ายยย ก็ถอดโครงด้านบนได้เลย เป็นสลัก ต้องถอดไป วัดดวงไปว่าจะแตก-หักหรือเปล่า55+

เห็นแล้ว 1 ตัว เค้าเรียก เทอร์โมสตาร์ท (TC.) ทำหน้าที่ ตัดวงจร เมื่อถึงอุณหภูมิพิกัด และกลับมาต่อวงจรอีกครั้งเมื่ออุณหภูมิลดลง สลับทำงาน BOIL - WARM นั่นเอง

และอีกตัวอยู่ในไลน์เดียวกัน อนุกรม หรือต่อพ่วงกัน หัวสีแดง ๆ คือ เทอร์โมฟิวส์ อิเลคทริคฟิวส์ คือ ฟิวส์ความร้อน ถ้าตัวนี้ขาด ก็ต้องเปลี่ยนไหม่ เมื่อความร้อนสูงเกินไป จะด้วยที่เทอร์โมไม่ตัดหรือไม่ ฟิวส์ตัวนี้จะขาด เป็นการป้องกันไม่ให้ ขดลวดความร้อนขาด

ดูชัด ๆ เทอร์โมสตาร์ท ตัวตัดต่อเมื่ออุณหภูมิถึงค่า วิธีเช็ค ใช้มิเตอร์วัดความต้านทาน ที่ปลายทั้งสอง ถ้าเสีย เข็มมิเตอร์จะไม่ขึ้น ราคา 25 บาท โดยประมาณ

แต่ กระติกไฟฟ้า ตัวนี้เทอร์โมฟิวส์เสีย คือ ใช้มิเตอร์วัดความต้านทานที่ปลายทั้ง 2 เข็มมิเตอร์จะไม่ขึ้น รูปล่าง ตัวที่ 2 เป็นของใหม่ที่เพิ่งซื้อมา ราคา 20 บาท

ใช้คีม ตัดเทอร์โมฟิวส์ ออก แล้วบัดกรีดตัวใหม่เข้าแทนที่

เลื่อนปลอกฉนวนมาสวม ไม่ให้ลัดวงจร

แล้วยึดสกรู เทอร์โมสตาร์ท กลับเข้าที่เดิม

แล้วประกอบกลับ อย่าให้น๊อตเหลือนะ
ถ้าใช้มิเตอร์วัดความต้านทานที่สายปลั๊กที่ต่อเข้ากระติกไฟฟ้า เข็มมิเตอร์จะตีขึ้น เสียบปลั๊ก ก็ทำงานได้เป็นปกติ มีความสุข ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา

ถ้าอุปกรณ์ทั้งสอง ไม่เสีย ให้ใช้มิเตอร์วัดความต้านทาน ขดลวดความร้อน ในรูป สายไฟสีฟ้า 2 เส้นที่หายเข้าไปที่ท้ายกระติก ถ้าเข็มมิเตอร์ไม่ขึ้นก็แสดงว่า ขอลวดความร้อน หรือฮีตเตอร์ ขาด

จะซื้อฮีตเตอร์มาเปลี่ยน ก็เช็คราคาว่าคุ้มกับที่จะซื้อใหม่หรือเปล่าด้วยครับ ราคาไม่แน่ใจเหมือนกัน

สรุป ขั้นตอนการตรวจเช็ค ขั้นตอนการซ่อม
1. เช็คสายปลั๊ก
2. เช็คเทอร์โมสตาร์ท
3. เช็คเทอร์โมฟิวส์
4. เช็คขดลวดความร้อน (ฮีตเตอร์)

ค่าซ่อมไม่น่าจะต่ำกว่า 150, 200, 300 ขั้นไป แล้วแต่ว่าอะไรเสีย และยี่ห้ออะไรด้วย ยี่ห้อ ดัง ๆ ก็ค่าซ่อมแพงไปด้วย ถ้าซ่อมเองได้ ก็จะรู้สึกดี(เป็นยอดมนุษย์55+) มีความมั่นใจที่ซ่อมอย่างอื่นต่อไป เผลอ ๆ ไปซ่อมอย่างอื่น พังยิ่งกว่าเก่า นี่เป็นผลพลอยได้

[Main : กลับ หน้ารวมเรื่องบ้าน DYI.]
Create Date :21 เมษายน 2550 Last Update :22 ธันวาคม 2550 9:46:52 น. Counter : Pageviews. Comments :74