"ยินดีต้อนรับสู่ บล็อกของคนใฝ่รู้ สำหรับผู้ใส่ใจใฝ่รู้ค่ะ" มีหลายหัวข้อเรื่องให้คุณอ่าน .. ขอบคุณที่มาเยี่ยมบล็อกค่ะ .. ขอจงมีแต่ความสุขกายสบายใจตลอดไปนะคะ
Group Blog
 
<<
มีนาคม 2555
 123
45678910
11121314151617
18192021222324
25262728293031
 
29 มีนาคม 2555
 
All Blogs
 
สู่ ‘เอกราช’ ทิเบต! ฝันที่(ไม่)เป็นจริง?

       สัปดาห์ที่ผ่านมาทิเบตกลายเป็นประเด็นร้อน ที่ถูกจับจ้องจากทั่วโลก อะไรทำให้เกิดการประท้วงขึ้น? ทิเบตจะเรียกร้องเอกราชได้จริงหรือ? หรือสุดท้าย เรื่องราวทั้งหมดจะปลิวหายไปกับสายลม เช่นเหตุการณ์ประท้วงของพระสงฆ์ ที่พม่าเมื่อปี 2007
       
       ในภาษาจีน ผืนแผ่นดิน “ทิเบต” ถูกเรียกว่า “ซีจั้ง” ซึ่งหมายถึง “ขุมสมบัติแห่งทิศปัจฉิม”
       
       ด้วยสถานะดินแดนที่อุดมด้วยทรัพยากรธรรมชาติ1 และยังเป็นพื้นที่ทางยุทธศาสตร์ที่มีความสำคัญ ทำให้ทิเบตกลายเป็นดินแดนแห่งความขัดแย้ง ที่มหาอำนาจยื่นมือเข้ามาเกี่ยวข้องเสมอ
       
       ประวัติศาสตร์ความสัมพันธ์สัมพันธ์จีน-ทิเบต
       
       ราวต้นศตวรรษที่ 7 วีรบุรุษซรอนซันกัมโป (ซงจั้นกันปู้ - ชื่อตามเอกสารจีน) ของชนชาติทิเบตได้สถาปนาราชวงค์ทูโป (Tubo) อย่างเป็นทางการ ตั้งเมืองหลวงที่นครลาซา ภายใต้การปกครองของพระองค์ กษัตริย์ซงจั้นกันปู้ได้ศึกษาวิทยาการต่างๆที่ทันสมัยจากราชวงศ์ถัง2 หลักฐานทางประวัติศาสตร์ฝ่ายจีนอ้างว่า ในปีค.ศ. 634 เจ้าของแคว้นทิเบตได้ส่งเครื่องราชบรรณาการไปถวายจักรพรรดิราชวงศ์ถังของจีนเป็นครั้งแรก อย่างไรก็ตามฐานะที่ไม่เท่าเทียมดังกล่าวอาจเป็นการตีความเข้าข้างตนเองของฝ่ายจีน เนื่องจากช่วงศตวรรษที่ 7-9 มีหลักฐานยืนยันว่า พระเจ้ากรุงจีนและทิเบตมีฐานะเท่าเทียมกันและเป็นมิตรต่อกัน3
       
       ครั้นต่อมาในยุคราชวงศ์ซ่ง, หมิง กระทั่งถึง ราชวงศ์ชิง ทางฝ่ายจีนได้เข้าไปมีบทบาทสำคัญในการแต่งตั้ง สถาปนายศทางศาสนาให้พระลามะหลายตำแหน่ง ในสมัยราชวงศ์ชิง จีนให้ความสำคัญกับการปกครองทิเบตมากขึ้น มีการแต่งตั้งข้าหลวงส่วนพระองค์ชาวแมนจู ที่เรียกว่า อัมบัน (Amban) ไปประจำที่ทิเบต ทำหน้าที่กำกับดูแลการบริหารกิจการทิเบต
       
       ในช่วงสมัยราชวงศ์ชิง (1662-1911) จีนเผชิญกับภัยคุกคามจากตะวันตก โลกทัศน์เรื่องความเป็นรัฐชาติ (nation state) หรือประเทศที่มีขอบเขตพรมแดนชัดเจน ตามแนวคิดแบบฝรั่ง กลายเป็นพลังหนึ่งที่ท้าทายอำนาจการปกครองของจักรพรรดิราชวงศ์ชิง4 พร้อมกับการแผ่ขยายของลัทธิจักรวรรดินิยมที่มีอังกฤษเป็นผู้นำอีกทางหนึ่ง
       
       พร้อมกับการเข้ามามีอิทธิพลในอินเดียตั้งแต่คริสศตวรรษที่ 17 กระทั่งเข้ายึดครองอินเดียโดยสมบูรณ์ในปีค.ศ. 18875 อังกฤษก็ค่อยๆแผ่อิทธิพลเข้าไปยังทิเบต ซึ่งมีอาณาบริเวณ ติดต่อทางเหนือของอินเดีย สำหรับจีนในขณะนั้นอำนาจการปกรองของราชวงศ์ชิงก็เริ่มถูกกัดกร่อนลงเรื่อยๆนับแต่การปราชัยในสงครามฝิ่น (1839-1840)
       
       ในปี 1901-1902 รัฐบาลอังกฤษที่อินเดีย หวั่นเกรงกับข่าวลือว่า รัสเซียอาจใช้ทิเบตเป็นฐานในการจู่โจมพรมแดนทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของอินเดีย เนื่องจากขณะนั้นรัสเซียได้แผ่ขยายอิทธิพลเข้าไปยังเอเชียกลาง ซึ่งมีที่ตั้งอยู่ในละแวกใกล้เคียง6 รัฐบาลอังกฤษที่อินเดียจึงส่ง พันโทฟรานซิส ยังฮัสแบนด์ (Francis Younghusband) พร้อมกองกำลังติดอาวุธไปเจรจากับองค์ทะไล ลามะ7 พูดง่ายๆตามภาษาชาวบ้านว่า เจรจาพร้อมปืน

       การรุกเข้าไปของอังกฤษเผชิญกับการต่อต้านของชาวทิเบต อย่างไรก็ตามท้ายที่สุดกองกำลังของอังกฤษสามารถบดขยี้การต่อต้านขององค์ทะไล ลามะองค์ที่ 13 ทำให้พระองค์ต้องลี้ภัยไปยังมองโกเลีย ในปี 1904 ภารกิจของยังฮัสแบนด์จบลงด้วยการลงนามในอนุสัญญาปี 1904 ระหว่างอังกฤษ-จีน-ทิเบต ในครั้งนั้นข้าหลวงใหญ่ประจำทิเบต (อัมบัน) ได้ลงนามสนับสนุนด้วย แม้ภายหลังข้อความในอนุสัญญาบางส่วนจะไม่ได้รับอนุมัติจากทางอังกฤษและปักกิ่ง ทว่ายังฮัสแบนด์ได้แถลงไว้อย่างชัดเจนว่า “อังกฤษรับรองความเป็นเจ้าเหนือดินแดน (suzerainty) ทิเบตของจีน” ทั้งนี้มีข้อสังเกตว่าการที่ผู้แทนอังกฤษใช้คำว่า เจ้าเหนือดินแดน (suzerainty) แทนคำว่า อธิปไตย (sovereignty) เป็นเล่ห์กลอย่างหนึ่ง เผื่อวันหน้าอังกฤษมีแสนยานุภาพขยายอำนาจเข้าไปแทนที่จีนในทิเบตได้ ก็อาจอ้างอิงคำว่า “เจ้าเหนือดินแดน” ว่ามีความชอบธรรมในการปกครองน้อยกว่า “อธิปไตย”8
       
       ครั้นปี 1907 มหาอำนาจอีกฝ่ายหนึ่งคือ รัสเซียก็ได้ทำสนธิสัญญากับอังกฤษว่า ทั้งสองจะเคารพบูรณภาพเหนือดินแดนของทิเบต ผ่านจีนซึ่งครองความเป็นเจ้าหนือดินแดน9
       
       ปัญหายุ่งยากเกี่ยวกับทิเบต เริ่มขึ้นภายหลังการปฏิวัติซินไฮ้ (1911) โค่นล้มราชวงศ์ชิง ภาวะสูญญากาศทางการเมือง ทำให้ทิเบตถือโอกาสประกาศเอกราช อย่างไรก็ตามทางรัฐบาลจีนไม่เคยยอมรับเอกราชของทิเบตและยังคงประกาศว่า ทิเบตเป็นดินแดนส่วนหนึ่งของจีน พร้อมกับได้พยายามส่งกองทหารไปฟื้นฟูอำนาจปกครองเหนือทิเบตโดยตลอด10

       ระหว่างปี 1912-1950 ทิเบตสามารถดำรงเอกราชโดยพฤตินัย ทว่าในทางนิตินัยค่อนข้างคลุมเครือ เนื่องจากจีนมิได้ยอมรับว่า ทิเบตเป็นเอกราช คณะที่มหาอำนาจอื่นๆ คืออังกฤษและสหรัฐอเมริกา ก็มิได้ยอมรับเช่นกัน ทางอังกฤษยืนสูตรเดิม “รับรองความเป็นเจ้าเหนือดินแดนทิเบตของจีน” ขณะที่สหรัฐฯเองก็รับรองอธิปไตยของจีนเหนือทิเบต ระหว่างที่ทะไล ลามะ ส่งคณะการค้าเดินทางเยือนสหรัฐฯ อังกฤษ และยุโรปในปี 1947-1948 ทางสหรัฐฯได้ออกวีซ่า FORM 257 ให้คณะการค้าทิเบต โดยวีซ่าประเภทนี้จะออกให้กับบุคคลที่สหรัฐฯไม่รับรองรัฐบาลของประเทศนั้นๆ
       
       ล่วงเข้าปี 1950 พรรคคอมมิวนิสต์ได้ส่งทหารเข้าไปปลดแอกทิเบต รัฐบาลของทะไล ลามะองค์ที่ 14 ไม่สามารถต่อต้านได้จึงถูกกดดันให้ลงนามใน “ข้อตกลงแห่งรัฐบาลกลางของประชาชนกับรัฐบาลท้องถิ่นแห่งทิเบตว่าด้วยมาตรการปลดปล่อยทิเบตโดยสันติวิธี” ในวันที่ 23 พฤษภาคม 198811 อย่างไรก็ตามการต่อต้านของชาวทิเบตยังคงดำเนินไปตลอด ระหว่างช่วงสงครามเย็น ในปี 1956 ชาวทิเบตทำการประท้วงต่อต้านจีน โดยได้รับความสนับสนุนจากซีไอเอ12 เหตุการณ์บานปลาย กระทั่งจีนต้องใช้กำลังเข้าปราบปรามในปี 1959 ส่งผลให้องค์ทะไล ลามะต้องหลบหนีออกจากทิเบตในวันที่ 10 มีนาคม 1959 โดยมุ่งเดินทางไปยังอินเดีย

       หลังการลี้ภัยมายังอินเดีย องค์ทะไล ลามะได้เคลื่อนไหวเรียกร้องอิสรภาพให้กับทิเบต อย่างไรก็ตามไม่มีประเทศใดให้การรับรองเอกราชของทิเบต หรือกล่าวประฌามว่า จีนละเมิดอธิปไตยทิเบต ข้อเรียกร้องที่นานาประเทศกล่าวประฌามจีนก็เป็นเพียงประเด็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนเท่านั้น13 ดังนั้นหลังทศวรรษ 1970 ที่สหรัฐฯหันมาจับมือกับแผ่นดินใหญ่ พร้อมกับยุติการสนับสนุนขบวนการต่อสู้เพื่อเอกราชทิเบต การเคลื่อนไหวของชาวทิเบต จึงเน้นที่การเคลื่อนไหว อย่างสันติ เพื่อรักษาวิถีชีวิต และวัฒนธรรมของตน14 อย่างไรก็ตามประเด็นเรื่องเอกราชก็ยังฝังรากอยู่ในสำนึกของพวกเขา
       
       หากใช้มุมมองด้านกฏหมายระหว่างประเทศเข้ามาพิจารณา ข้อถกเถียงของรัฐบาลจีนย่อมมีน้ำหนักกว่าทิเบต เนื่องจากจีนไม่เคยยอมรับว่าทิเบตเป็นประเทศเอกราช และพยายามฟื้นฟูอำนาจเหนือดินแดนมาตลอดและก็ทำได้จริง นอกจากนี้ประชาคมระหว่างประเทศก็มิได้รับรองฐานะรัฐเอกราชของทิเบตในช่วง 1912-1950 ที่ทิเบตเป็นเอกราชโดยพฤตินัย15
       
       49 ปีแห่งการลี้ภัย: ชนวนเอกราช กับ ฝันที่ไม่เป็นจริง
       
       อย่างไรก็ตามในปี 2008 ขบวนการเคลื่อนไหวเพื่อเอกราชของชาวทิเบตนับว่าคึกคักยิ่ง ด้วยปี 2008 นี้มีชนวนเหตุและปัจจัยที่กระตุ้นให้ชาวทิเบตลุกขึ้นมาต่อต้านจีนอย่างแข็งขัน
       
       เมื่อวันที่ 17 กุมภาพันธ์ โคโซโว ซึ่งเป็นจังหวัดหนึ่งของเซอร์เบียได้ประกาศแยกตัวเป็นเอกราชจากเซอร์เบีย ความสำเร็จของโซโวดังกล่าว สร้างความวิตกให้จีนกังวลว่าอาจเป็นการสร้างแรงบันดาลใจให้กับทิเบต, ซินเจียง (ซินเกียง) และไต้หวัน ประกาศเอกราชตาม
       
       นอกจากนี้ปี 2008 จีนยังได้รับเกียรติเป็นเจ้าภาพมหกรรมกีฬาโอลิมปิก เมื่อเป็นงานระดับโลก สายตาทุกคู่ย่อมจับจ้องมาที่จีน ฉะนั้นปี 2008 จึงเป็นช่วงเวลาที่เหมาะสมสำหรับทิเบตในการเคลื่อนไหว เนื่องจากความสนใจต่อเหตุการณ์ใดๆที่เกี่ยวข้องกับจีนในปีนี้ย่อมได้รับความสนใจเป็นพิเศษ
       
       ส่วนปัจจัยภายในประเทศที่สร้างความอึกอัดให้กับชาวทิเบต พอๆกับชาวจีนโดยทั่วไปคือ ปัญหาเงินเฟ้อที่ทำสถิติพุ่งพรวดสู่งสุดในรอบทศวรรษ โดยสถิติเงินเฟ้อเดือนก.พ. ได้พุ่งขึ้นมาอยู่ที่ 8.7% ทำลายสถิติสูงสุดในรอบเกือบ 12 ปี ส่งผลให้ราคาสินค้าอุปโภคบริโภคถีบตัวไม่หยุด เหตุปัจจัยต่างๆเหล่านี้ได้ปลุกเร้าอารมณ์ของชาวทิเบต กระทั่งมาปะทุขึ้น ในวันที่ 10 มีนาคม 2008 ซึ่งเป็นวันครบรอบ 49 ปีที่องค์ทะไล ลามะ ลี้ภัยออกจากทิเบต ชาวทิเบตพลัดถิ่น ที่ ธรรมศาลา ประเทศอินเดีย ได้เริ่มเคลื่อนขบวนเดินทัพเรียกร้องเอกราชอย่างสันติ โดยมุ่งเดินทางเหยียบแผ่นดินทิเบตในช่วงที่จีนเริ่มมหกรรมกีฬาโอลิมปิก
       
       พร้อมกับการเดินขบวนดังกล่าว ลามะและประชาชนชาวทิเบตในจีน ได้ร่วมกันชุมนุมประท้วงเรียกร้องเอกราช กระทั่งรัฐบาลจีนต้องส่งกำลังทหารเข้าไปในลาซา พร้อมกับการประกาศทำสงครามประชาชน เพื่อควบคุมสถานการณ์ในลาซา
       
       อย่างไรก็ตามท้ายที่สุด การเคลื่อนไหวของชาวทิเบต มีทีท่าว่าจะเป็นหมัน
       
       เนื่องจากสภาพการณ์ปัจจุบัน ประเทศต่างๆมีผลประโยชน์ผูกพันกับจีนอย่างมากมาย ไม่ว่าสหรัฐอเมริกา, อังกฤษ, แคนาดา หรือเยอรมนี ซึ่งเป็นหัวหอกสำคัญในการกล่าวประฌามจีนในประเด็นทิเบต ก็หยิบยกแต่ปัญหาสิทธิมนุษยชนมาพูด แต่มิเคยเข้าไปกดดันหรือแตกหักกับจีนอย่างแท้จริง ด้วยผลประโยชน์มหาศาลต่อการเข้าไปลงทุนในตลาดที่มีกำลังบริโภคถึง 1,300 ล้านชีวิต เป็นชิ้นเนื้อสำคัญที่มิอาจปล่อยให้หลุดลอย
       
       นอกจากนี้ความขัดแย้งกับทางการจีนรังแต่จะก่อให้เกิดปัญหาอย่างรุนแรงตามมา เพราะความขัดแย้งกับจีนมิได้หมายถึงความขัดแย้งกับสาธารณรัฐประชาชนจีนเพียงแห่งเดียว แต่หมายถึงความขัดแย้งกับชาวจีนโพ้นทะเลด้วย แม้ปัจจุบันชาวจีนโพ้นทะเลที่เข้าไปอยู่อาศัยยังประเทศต่างๆทั่วโลกจะถูกกลืนกลายให้เป็นส่วนหนึ่งของประเทศนั้นๆ ทว่าสำนึกของความเป็นชาติส่วนหนึ่งยังผูกพันกับแผ่นดินใหญ่ ฉะนั้นความขัดแย้งใดๆที่จะตามจึงมีราคาที่ต้องจ่ายมากมาย
       
       อย่างมากที่สุดประเทศตะวันตกคงออกมาประฌามจีนเรื่องสิทธิมนุษยชน การใช้ความรุนแรง พร้อมกับแสดงความเสียใจต่อชาวทิเบตอย่างสุดซึ้ง แต่สุดท้ายแล้วละครเรื่องนี้ก็จบลงด้วยการ “เกี๊ยะเซี้ย” ระหว่างมหาอำนาจ ตบหน้าลามะ และชาวทิเบตที่ได้แต่เหนื่อยฟรี
       
       58 ปีผ่านไป ไฉนความขัดแย้งยังไม่จาง?
       

       แม้ฉากสุดท้ายของละครเรื่องนี้เป็นเรื่องที่คาดเดาได้ ตั้งแต่ยังไม่เปิดม่าน ทำนองเดียวกับละครน้ำเน่าของทีวีไทย ทว่าบทเรียนสำคัญอย่างหนึ่ง ที่สะท้อนให้เห็นจากการต่อต้านของชาวทิเบตคือการดำเนินนโยบายที่ผิดพลาดของจีน
       
       นโยบายจีนต่อทิเบตในช่วง 58 ปีนับแต่ประธานเหมาสั่งกรีฑาทัพปลดแอกทิเบตในปี 1950 เป็นเพียงการกดทับความขัดแย้งระหว่างชาวทิเบตกับจีน ที่ดูเผินๆแล้วเหมือนความขัดแย้งจะหายไป ทว่าความขัดแย้งนั้นกลับเพิ่มพูนรอวันปะทุ
       
       ทิเบตเป็นเขตปกครองตนเอง ซึ่งรัฐบาลจีนให้สิทธิว่า ผู้ว่าการเขตปกครองตนเองต้องเป็นคนชนชาติท้องถิ่น ดูเผินๆเหมือนทิเบตจะได้รับอิสระพอสมควร ทว่าบุคคลที่ได้รับการคัดเลือก มักเป็นคนที่พรรคคอมมิวนิสต์จีนเลือกแล้วว่าคุยกันได้ หรือไม่ก็เป็นเด็กในคาถา นอกจากนี้อำนาจที่แท้จริงยังตกอยู่กับเลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์ประจำเขตปกครองตนเอง ซึ่งตำแหน่งนี้เป็นชาวจีนฮั่น และเป็นคนที่ส่วนกลางส่งมา
       
       นอกจากนี้รัฐบาลจีนยังเข้าไปหาประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติอันอุดมสมบูรณ์ในทิเบต อาทิการขุดเจาะเหมืองแร่ต่างๆ ตามอภิมหาโครงการลงทุนเพื่อพัฒนาภาคตะวันตก ซึ่งเริ่มในปี 1999 จนนำไปสู่ความขัดแย้งกับท้องถิ่น เนื่องจากชาวทิเบตให้ความเคารพนับถือธรรมชาติมาก ธงมนต์ระโยงระยางที่โบกสะพัดไปตามสายลม สะท้อนความเชื่อ ความเคารพนับถือ ที่ชาวทิเบตมีต่อธรรมชาติได้เป็นอย่างดี ด้วยการอาศัยสายลมเป็นสื่อกลาง คำภาวนาที่จารบนผืนธงจะถูกพัดพาไปยังเทพเจ้า
       
       หากการพัฒนาส่งดอกออกผลให้กับชาวทิเบต ก็เป็นเรื่องดี ทว่าพร้อมกับการเข้าไปปลดแอกในปี 1950 ร้านรวงต่างๆของชาวฮั่นผุดขึ้นราวดอกเห็ดในทิเบต ความจริงใจของจีนที่อ้างว่าไปปลดปล่อยทิเบต จึงถูกตั้งคำถาม ผลประโยชน์จาการพัฒนาตกอยู่ในมือใครกันแน่?
       
       การุกคืบของทุนที่ขัดแย้งกับวิถีชีวิตดั้งเดิมก่อให้ความตึงเครียด ที่รอวันปะทุ ความตึงเครียดระหว่างจีน-ทิเบตถูกสั่งสมมาเรื่อยๆ กระทั่งรถไฟสายชิงไห่-ทิเบต เริ่มให้บริการในปี 2006 ชาวจีนฮั่นก็อพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานในทิเบตมากขึ้นเรื่อยๆ นำไปสู่ความขัดแย้งระหว่างชาวทิเบตซึ่งเป็นชนท้องถิ่น ที่รู้สึกว่าวัฒนธรรม วิถีชีวิตความเป็นอยู่ของตนกำลังถูกคุกคาม วัดวาอารามทิเบตได้รับการบูรณะปฏิสังขรณ์อย่างสวยงาม ทว่าความสวยงามดังกล่าวมีขึ้นเพื่อให้นักท่องเที่ยวเสพเท่านั้นหรือ?
       
       สุดท้ายความพยายามในการกลืนกลายชนชาติทิเบต ด้วยการสนับสนุนให้ชาวจีนฮั่นเข้าไปตั้งรกราก รวมทั้งกระบวนการลดทอนความศักดิ์สิทธิ์ เปลี่ยนวัฒนธรรมทิเบตให้เหลือสถานะเป็นเพียงวัตถุที่เสพได้ จึงออกผลเป็นข่าวการปะทะระหว่างชาวจีนฮั่นกับชาวทิเบตที่ปรากฏอยู่เนืองๆ
       

ขอบคุณ ผู้จัดการออนไลน์


สวัสดิ์สิริชีววารค่ะ




Create Date : 29 มีนาคม 2555
Last Update : 29 มีนาคม 2555 21:31:48 น. 0 comments
Counter : 482 Pageviews.

sirivinit
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 224 คน [?]





/



2558

2556

2555

น้ำใจจากคุณ krittut 2554

2553


สิริสวัสดิ์วรวาร
เปรมปรีดิ์มานรื่นรมณีย์นะคะ ยินดีต้อนรับ
สู่บล็อกของคนใฝ่รู้ สำหรับผู้ใส่ใจใฝ่รู้ค่ะ

เชิญอ่านตามสบายนะคะ
มีดีๆให้คุณได้ทราบหลากหลายค่ะ

๑ - ๑/๑ ฉันรักในหลวง
๒.๓.๑๐.๑๕.๓๐.๒๔.๕๙.๖๓.๙๐.ธรรมะ
๔ - ๔/๑ รวมพลคนดัง
๕. ศาสนาพุทธสุดประเสริฐ
๖. ความรู้ทั่วไปในศาสนาพุทธ
๗. ๑๖. ประวัติศาสตร์
๘ - ๙/๑ ไม้ดอก ไม้ใบ
๑๑ - ๑๑/๑ เกม
๑๒.๓๗.๔๐-๔๓.๕๓.๗๕.๘๖.ศิลปะเทศ
๑๔ - ๑๔/๑. ๒๐๘. ข่าวคนดังเทศ
๑๘. ๑๙. ๒๒. ราชวงศ์ไทย
๒๐.๑๑๖-๑๑๖/๒ ๑๙๐-๑๙๐/๘ ละคร ทีวี
๒๑. ๓๑. ๒๐๘. ราชวงศ์เทศ
๒๔. นักเขียนไทย
๒๔/๑. กลอนชั้นบรมครู
๒๙/๑-๒๙/๔โปสการ์ดจากเพื่อนบล็อก
๓๓. สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช
๓๙.๑๘๑-๑๘๑/๗ สุธาโภชน์รสเลิศล้ำ
๔๑.๔๒.๕๐.๕๘.๖๐.๖๑.๘๖.มหาวิหาร
๕๗. ปราสาท พระราชวัง คฤหาสน์เทศ
๖๒. วัด
๖๕ - ๖๕/๑ การ์ตูน
๖๕/๒. นิทานเซน
๖๗. ความตายมาพรากให้จากไป
๖๙ - ๖๙/๒ สารพัดสัตว์
๗๔. สุนัข
๗๖. อุทยานสวรรค์
๗๗. ซูเปอร์แมน - แบทแมน
๗๘ - ๘๓. แสตมป์สะสม
๘๕-๘๕/๑ หนังสือสะสม
๘๗ - ๘๗/๒ ๒๑๕ ข่าวกีฬา
๘๙. ๘๙/๑ จีนแผ่นดินใหญ่
๙๐/๑ .ทิเบต
๙๑. จันทร์สูริย์ดารา
๙๒. สมเด็จพระปิยมหาราชเจ้า
๙๓ - ๙๓/๒ ภาพยนตร์
๙๔ - ๙๔/๓ ยานยนต์
๙๕ - ๙๕/๑ ดูดวง
๙๖ - ๙๖/๑ . ๒๑๑ วิทยาศาสตร์
๙๗ - ๙๗/๑.๒๐๙ แวดวงวรรณกรรม
๙๘. ภาพพุทธประวัติ
๙๙. ๑๒๗ - ๑๒๗/๑ ดนตรี
๑๐๑. ป้าย R สะสม
๑๐๒. บัตรภาพตราไปรฯสะสม
๑๐๓. DIY
๑๐๗/๑ เล่าเรื่องเมืองญี่ปุ่น
๑๐๘ - ๑๐๘/๑ หนังสือ
๑๑๓ - ๑๑๓/๑ บ้านสวย
๑๑๕. พระเครื่อง
๑๒๐. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
๑๒๓. เจ้าฟ้าเพชรรัตน์ฯ
๑๒๕. เหรียญที่ระลึก
๑๒๕/๑ เหรียญสะสมต่างประเทศ
๑๒๕/๒ เหรียญที่ระลึกจังหวัด
๑๒๕/๓ ธนบัตรที่ระลึก
๑๒๕/๔ บัตรโทรศัพท์
๑๒๕/๕ กล่องไม้ขีด และอื่นๆ
๑๓๑.เรื่องสั้นชั้นครู"เจียวต้าย"
๑๖๔.บล็อกพิเศษ วันเดียวอั๊พ 100
เอนทรี่ ให้คุณป้า"ร่มไม้เย็น"ชม
๑๙๐/๓ เรื่องย่อละคร
๑๙๓. คดีเขาพระวิหาร
๒๑๒. ศิลปะ
๒๑๗. วิถีแห่งอำนาจ บูเช็กเทียน
๒๑๗/๑.วิถีแห่งอำนาจ เจงกิสข่าน
๒๑๗/๒.วิถีแห่งอำนาจ จูหยวนจาง
๒๑๗/๓.วิถีแห่งอำนาจ ซูสีไทเฮา
๒๑๗/๔.วิถีแห่งอำนาจ หงซิ่วฉวน
๒๑๗/๕.วิถีแห่งอำนาจ แฮรี่ พอตเตอร์

ข่าวทั่วไปล่าสุด บล็อกล่างสุดค่ะ

เปิดบล็อก 1 มกราคม 2552



free counters
08.27 - 250811

207 flags collected 300316



Friends' blogs
[Add sirivinit's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.