"ยินดีต้อนรับสู่ บล็อกของคนใฝ่รู้ สำหรับผู้ใส่ใจใฝ่รู้ค่ะ" มีหลายหัวข้อเรื่องให้คุณอ่าน .. ขอบคุณที่มาเยี่ยมบล็อกค่ะ .. ขอจงมีแต่ความสุขกายสบายใจตลอดไปนะคะ
Group Blog
 
<<
พฤษภาคม 2555
 12345
6789101112
13141516171819
20212223242526
2728293031 
 
8 พฤษภาคม 2555
 
All Blogs
 

พระพุทธรูปประธานปางสมาธิ : ข้อค้นพบใหม่ว่าด้วยพระราชนิยมในรัชกาลที่ ๑



ชาตรี ประกิตนนทการ
คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์
มหาวิทยาลัยศิลปากร







เป็นที่เข้าใจโดยทั่วไปในวงวิชาการทางประวัติศาสตร์ศิลปะและสถาปัตยกรรมว่า ความนิยมในการสร้างหรือเลือกปางพระพุทธรูปมาเป็นพระประธาน ภายในพระอุโบสถสมัยต้นรัตนโกสินทร์ มีคตินิยมที่ไม่ต่างไปจากสมัยอยุธยาและสมัยก่อนหน้านั้นของสังคมไทยทุกยุค กล่าวคือ นิยมสร้างเป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย

แต่จากการศึกษาในรายละเอียดเฉพาะเจาะจงไปในสมัยรัชกาลที่ ๑โดยเฉพาะอย่างยิ่งวัดที่พระองค์โปรดเกล้าฯ ให้สถาปนาหรือบูรณปฏิสังขรณ์โดยพระองค์เองโดยตรงหลายแห่ง กลับพบว่า พระพุทธรูปประธานในพระอุโบสถมีแนวโน้มที่จะเป็นพระพุทธรูปปางสมาธิ

ที่น่าสนใจคือ วัดเหล่านี้ล้วนแล้วแต่เป็นวัดที่มีสถานะ บทบาท และความสำคัญมากทั้งสิ้น อาทิ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม และวัดสระเกศ เป็นต้น

ข้อเท็จจริงดังกล่าวนำมาสู่สมมติฐานที่ว่า ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกฯ มีพระราชนิยมที่จะทรงเลือกพระพุทธรูปปางสมาธิให้เป็นพระประธานภายในพระอุโบสถ

จากสมมติฐาน ได้นำมาสู่การศึกษาในบทความนี้ของผู้เขียนที่ต้องการจะหาคำตอบในประเด็นคำถามสำคัญ ๒ ประการ ดังต่อไปนี้

ประการที่ ๑ ผู้เขียนต้องการศึกษาตรวจสอบการสร้างหรือการเลือกพระประธานภายในพระอุโบสถของวัดที่รัชกาลที่ ๑ โปรดเกล้าฯ ให้สถาปนาหรือบูรณะโดยพระองค์เองว่า

วัดทั้งหมดนั้นมีคตินิยมที่จะสร้างพระพุทธรูปประธานเป็นปางอะไร ระหว่างพระพุทธรูปปางมารวิชัย อันเป็นคตินิยมโดยทั่วไปของสังคมไทย หรือพระพุทธรูปปางสมาธิ ตามที่ได้ตั้งสมมติฐานในการศึกษาไว้

หากสมมติฐานเป็นจริง ย่อมทำให้ความเชื่อแต่เดิมที่เกี่ยวข้องกับงานช่างในยุคสมัยรัชกาลที่ ๑ ซึ่งมักถูกอธิบายโดยทั่วไปมาอย่างยาวนานแล้วว่า มีลักษณะสืบทอด ต่อเนื่อง หรือเลียนแบบคตินิยมมาจากงานช่างสมัยอยุธยาตอนปลายต้องเปลี่ยนแปลงไป อย่างน้อยก็ในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการเลือกพระประธานภายในพระอุโบสถ

ประการที่ ๒ อันเป็นผลสืบเนื่องจากประเด็นก่อนหน้านี้ กล่าวคือ หากสมมติฐานในข้อแรกเป็นจริงแน่อนอน ย่อมทำให้เกิดประเด็นคำถามตามมาว่า เพราะเหตุใด หรือด้วยคติความเชื่ออย่างไร จึงทำให้รัชกาลที่ ๑ มีพระราชนิยมในการเลือกพระพุทธรูปประธานเป็นพระพุทธรูปปางสมาธิ

เพื่อที่จะตอบคำถามทั้ง ๒ ข้อข้างต้น สิ่งที่ต้องดำเนินการเป็นอย่างแรกคือ การหาข้อสรุปให้ได้ว่า มีวัดใดบ้างที่เป็นพระราชดำริโดยตรงของรัชกาลที่ ๑ และวัดใดไม่ใช่ เพื่อที่จะได้ทำการศึกษาถึงพระราชนิยมโดยเฉพาะของพระองค์ได้อย่างชัดเจน

สกุลช่างวังหลวง-วังหน้า ข้อควรพิจารณาในการศึกษางานช่างสมัยรัชกาลที่ ๑

ต้องเข้าใจร่วมกันในเบื้องต้นก่อนว่า ในวงวิชาการที่ผ่านมา เมื่อพูดถึงงานช่างสมัยรัชกาลที่ ๑ มักจะมองภาพงานช่างในยุคนี้ในแบบที่เป็นภาพรวมอย่างเป็นเอกภาพในเชิงความคิดและรูปแบบงานช่าง (สกุลช่าง) ที่เป็นไปในทิศทางเดียวกันทั้งหมดภายใต้พระราชดำริของรัชกาลที่ ๑

การมองแบบเหมารวมดังกล่าว ทำให้ละเลยอิทธิพลทางรูปแบบเชิงช่างบางประการที่เป็นลักษณะเฉพาะของ กรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท (วังหน้า) หรือแม้กระทั่งกลุ่มช่างของเจ้านายชั้นสูงพระองค์อื่นๆ ที่มีลักษณะที่แตกต่างกันมากบ้างน้อยบ้าง

ซึ่งถือเป็นลักษณะเด่นสำคัญประการหนึ่งที่วงวิชาการทางสถาปัตยกรรมในช่วงต้นรัตนโกสินทร์ไม่ได้ให้ความสำคัญต่อความแตกต่างนี้มากเท่าที่ควร

ทั้งที่ในความเป็นจริงแล้ว ทั้งจากหลักฐานเอกสาร งานวิชาการหลายชิ้น ตลอดจนหลักฐานเชิงประจักษ์ในตัวงานสถาปัตยกรรมก็ได้แสดงให้เห็นอย่างค่อนข้างชัดเจนว่า

งานช่างสมัยรัชกาลที่ ๑ อย่างน้อย ควรที่จะต้องถูกอธิบายแยกออกเป็น ๒ สาย คือ สายของรัชกาลที่ ๑ (วังหลวง) และสายของกรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท (วังหน้า)

ถ้าเข้าใจประเด็นข้างต้น ก็จะเข้าใจประเด็นสำคัญของงานศึกษาพระพุทธรูปประธานในบทความชิ้นนี้ได้ในทันที เพราะถ้าเรามองทุกวัดว่าเป็นงานสมัยรัชกาลที่ ๑ แบบภาพรวม

เราจะมองไม่เห็นนัยยะสำคัญของการเลือกพระประธานภายในพระอุโบสถของรัชกาลที่ ๑ ที่มีลักษณะเฉพาะเลย เนื่องจาก ในเชิงปริมาณแล้ว ส่วนใหญ่ของพระอุโบสถในยุคนี้ ยังคงเลือกพระประธานให้เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัยเหมือนคตินิยมทั่วไปในอดีต

แต่เมื่อใดก็ตามที่เรามองแยกวัดที่สร้างหรือบูรณะโดยรัชกาลที่ ๑ โดยตรงออกจากวัดที่วังหน้าหรือเจ้านายพระองค์อื่นทรงสร้างหรือปฏิสังขรณ์ เราจะเริ่มมองเห็นนัยยะสำคัญของการเลือกพระพุทธรูปประธานภายในพระอุโบสถของรัชกาลที่ ๑

เมื่อเป็นดังนี้ สิ่งที่เราควรหาในลำดับต่อไปก็คือ วัดแห่งใดบ้างที่รัชกาลที่ ๑ มีพระราชศรัทธาสร้างหรือปฏิสังขรณ์โดยตรงด้วยพระองค์เอง


มีต่อตอนที่ ๒ ค่ะ


ขอบคุณ
มติชนออนไลน์
คุณชาตรี ประกิตนนทการ


สิริสวัสดิ์ภุมวารค่ะ




 

Create Date : 08 พฤษภาคม 2555
0 comments
Last Update : 8 พฤษภาคม 2555 14:39:28 น.
Counter : 2483 Pageviews.


sirivinit
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 224 คน [?]





/



2558

2556

2555

น้ำใจจากคุณ krittut 2554

2553


สิริสวัสดิ์วรวาร
เปรมปรีดิ์มานรื่นรมณีย์นะคะ ยินดีต้อนรับ
สู่บล็อกของคนใฝ่รู้ สำหรับผู้ใส่ใจใฝ่รู้ค่ะ

เชิญอ่านตามสบายนะคะ
มีดีๆให้คุณได้ทราบหลากหลายค่ะ

๑ - ๑/๑ ฉันรักในหลวง
๒.๓.๑๐.๑๕.๓๐.๒๔.๕๙.๖๓.๙๐.ธรรมะ
๔ - ๔/๑ รวมพลคนดัง
๕. ศาสนาพุทธสุดประเสริฐ
๖. ความรู้ทั่วไปในศาสนาพุทธ
๗. ๑๖. ประวัติศาสตร์
๘ - ๙/๑ ไม้ดอก ไม้ใบ
๑๑ - ๑๑/๑ เกม
๑๒.๓๗.๔๐-๔๓.๕๓.๗๕.๘๖.ศิลปะเทศ
๑๔ - ๑๔/๑. ๒๐๘. ข่าวคนดังเทศ
๑๘. ๑๙. ๒๒. ราชวงศ์ไทย
๒๐.๑๑๖-๑๑๖/๒ ๑๙๐-๑๙๐/๘ ละคร ทีวี
๒๑. ๓๑. ๒๐๘. ราชวงศ์เทศ
๒๔. นักเขียนไทย
๒๔/๑. กลอนชั้นบรมครู
๒๙/๑-๒๙/๔โปสการ์ดจากเพื่อนบล็อก
๓๓. สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช
๓๙.๑๘๑-๑๘๑/๗ สุธาโภชน์รสเลิศล้ำ
๔๑.๔๒.๕๐.๕๘.๖๐.๖๑.๘๖.มหาวิหาร
๕๗. ปราสาท พระราชวัง คฤหาสน์เทศ
๖๒. วัด
๖๕ - ๖๕/๑ การ์ตูน
๖๕/๒. นิทานเซน
๖๗. ความตายมาพรากให้จากไป
๖๙ - ๖๙/๒ สารพัดสัตว์
๗๔. สุนัข
๗๖. อุทยานสวรรค์
๗๗. ซูเปอร์แมน - แบทแมน
๗๘ - ๘๓. แสตมป์สะสม
๘๕-๘๕/๑ หนังสือสะสม
๘๗ - ๘๗/๒ ๒๑๕ ข่าวกีฬา
๘๙. ๘๙/๑ จีนแผ่นดินใหญ่
๙๐/๑ .ทิเบต
๙๑. จันทร์สูริย์ดารา
๙๒. สมเด็จพระปิยมหาราชเจ้า
๙๓ - ๙๓/๒ ภาพยนตร์
๙๔ - ๙๔/๓ ยานยนต์
๙๕ - ๙๕/๑ ดูดวง
๙๖ - ๙๖/๑ . ๒๑๑ วิทยาศาสตร์
๙๗ - ๙๗/๑.๒๐๙ แวดวงวรรณกรรม
๙๘. ภาพพุทธประวัติ
๙๙. ๑๒๗ - ๑๒๗/๑ ดนตรี
๑๐๑. ป้าย R สะสม
๑๐๒. บัตรภาพตราไปรฯสะสม
๑๐๓. DIY
๑๐๗/๑ เล่าเรื่องเมืองญี่ปุ่น
๑๐๘ - ๑๐๘/๑ หนังสือ
๑๑๓ - ๑๑๓/๑ บ้านสวย
๑๑๕. พระเครื่อง
๑๒๐. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
๑๒๓. เจ้าฟ้าเพชรรัตน์ฯ
๑๒๕. เหรียญที่ระลึก
๑๒๕/๑ เหรียญสะสมต่างประเทศ
๑๒๕/๒ เหรียญที่ระลึกจังหวัด
๑๒๕/๓ ธนบัตรที่ระลึก
๑๒๕/๔ บัตรโทรศัพท์
๑๒๕/๕ กล่องไม้ขีด และอื่นๆ
๑๓๑.เรื่องสั้นชั้นครู"เจียวต้าย"
๑๖๔.บล็อกพิเศษ วันเดียวอั๊พ 100
เอนทรี่ ให้คุณป้า"ร่มไม้เย็น"ชม
๑๙๐/๓ เรื่องย่อละคร
๑๙๓. คดีเขาพระวิหาร
๒๑๒. ศิลปะ
๒๑๗. วิถีแห่งอำนาจ บูเช็กเทียน
๒๑๗/๑.วิถีแห่งอำนาจ เจงกิสข่าน
๒๑๗/๒.วิถีแห่งอำนาจ จูหยวนจาง
๒๑๗/๓.วิถีแห่งอำนาจ ซูสีไทเฮา
๒๑๗/๔.วิถีแห่งอำนาจ หงซิ่วฉวน
๒๑๗/๕.วิถีแห่งอำนาจ แฮรี่ พอตเตอร์

ข่าวทั่วไปล่าสุด บล็อกล่างสุดค่ะ

เปิดบล็อก 1 มกราคม 2552



free counters
08.27 - 250811

207 flags collected 300316



Friends' blogs
[Add sirivinit's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.