กรรมของ " ทักษิณ " คือ // ท่านอธิฐานบารมี เป็นพระโพธิสัตว์ ท่านมาจาก พุทธภูมิ // ท่านเลยต้องเที่ยวตะเวณช่วยเหลือ คนนับแสนนับล้าน
 
เมษายน 2551
 12345
6789101112
13141516171819
20212223242526
27282930 
21 เมษายน 2551

(5) ปรัชญาพระพุทธศาสนา 2.2.4 หลักปรัชญาอินเดียที่สำคัญ

พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า สิทธัตถะโคตมะ ทรงเป็นพระศาสดา ผู้ประกาศหลักสัจธรรมปรัชญาพระพุทธศาสนา ในท่ามกลาง เจ้าลัทธิมากมาย ในสมัยพุทธกาล ด้วยการตรัสรู้ที่เรียกว่า การบรรลุโพธิญาณเป็น พระสัมมาสัมพุทธเจ้า หลักสัจธรรม ของพระพุทธองค์ ได้เผยแผ่ไปทั่วทุกมุมโลก เริ่มจากทวีปเอเชีย แม้เมื่อพระพุทธศาสนาได้ มีวิวัฒนาการที่ยาวนานกว่า 25 ศตวรรษ จำแนกออกเป็นหลายนิกาย โดยมีนิกายใหญ่อยู่ 2 นิกาย คือ เถรวาท ที่เป็นแนวอนุรักษ์ และมหายาน ที่เป็นนิกาย ที่แผ่ขยาย ไปจากทางทิศเหนือของอินเดีย ได้แก่ จีน เกาหลี ญี่ปุ่น แต่กล่าวได้ว่า หลักพระพุทธธรรม ยังสามารถนำไปใช้ได้กับทุกยุค ทุกสมัย อย่างเป็นสากล

ทั้งนี้ด้วยท่าทีที่เป็น “ทางสายกลาง” ปรัชญาพระพุทธศาสนา เริ่มต้นจาก คำถามว่า อะไรคือปัญหา สำคัญที่สุดสำหรับชีวิตมนุษย์ คำตอบคือ ปัญหาที่สำคัญของมนุษย์เรา อยู่ที่ การแก้ไขชีวิตให้พ้นทุกข์ อุปมา ดั่งคนที่ โดนยิงด้วยธนูมีลูกศรอาบยาพิษปักอกอยู่ มีความทรมาน เจ็บปวดถึงตายได้ แทนที่จะรีบไปรักษาเยียวยา ให้ถูกต้องกับแพทย์ กลับไปเที่ยววิ่งร้องถามหาว่า ใครเป็นคนยิงศรนั้นใส่ตน เป็นการกระทำที่โง่เขลาอย่างยิ่ง อุปไมย เหมือนคนที่มามัว ตั้งปัญหาถามในสิ่ง ที่หาความจริงแน่นอนไม่ได้ ไม่มีประโยชน์แก่ชีวิตเลย เช่น
คำถามปัญหา 10 ข้อ ที่แสดงไว้ใน โปฏฐปาทสูตร ที่มีอยู่ในอัพยากตานิสูตร ที่ว่า
(1) โลกเที่ยง
(2) โลกไม่เที่ยง
(3) โลกมีที่สุด
(4) โลกไม่มีที่สุด
(5) ชีพเป็นอย่างเดียวกับสรีระ หรือ
(6) ชีพแตกต่างไปจากสรีระ หรือ
(7) บุคคลผู้รู้แจ้งเห็นสัจธรรม เมื่อตายไปแล้วจะเกิดอีก หรือ
(8) ตายไปแล้วไม่เกิดอีก และ
(10) หรือ ว่าตายไปแล้วเกิดอีกก็ไม่ใช่ ไม่เกิดอีกก็ไม่ใช่

ปัญหาเหล่านี้ พระพุทธเจ้า ไม่ทรงตอบหรือไม่ ทรงพยากรณ์ (สนั่น ไชยานุกูล, 2524, หน้า 217)

หลักปรัชญาพระพุทธศาสนา จึงไม่มีคำสอนเรื่องพระผู้เป็นเจ้า พระพุทธองค์ มุ่งเน้นหาคำตอบที่สำคัญ คือ ปัญหาที่เกี่ยวกับ ทุกข์และเหตุที่จะดับทุกข์ ด้วยการเสนอ

“หลักอริยสัจจะ 4” หรือหลักความจริงอันประเสริฐยิ่งเกี่ยวกับ

(1) ทุกข์ของชีวิต
(2) สาเหตุของความทุกข์
(3) การดับเหตุแห่งทุกข์ และ
(4) วิถีปฏิบัติที่จะนำไปสู่การดับทุกข์

ถ้าสังเกตดูความเป็นไปของชีวิต คนเรา ก็จะเห็นปรากฏการณ์ของการ เกิด แก่ เจ็บ ตาย ไม่แน่นอน นี่คือสภาวะ ทุกข์ มูลเหตุที่เกิด ทุกข์ อธิบาย ในรูปสายโซ่แห่ง เหตุปัจจัย ที่ประกอบเป็นชีวิต ให้มีการเกิดขึ้น ตั้งอยู่เสื่อมไป ไม่ขาดสาย

วงจรนี้เรียกว่า “ปฏิจจสมุปบาท 12” ถ้าไม่มีเหตุปัจจัย ทุกข์ก็ไม่เกิดขึ้น เช่น ถ้าไม่มี

(1) อวิชชาก็ไม่มี
(2) สังขาร (ชีวิตในอดีตชาติ) ไม่มี
(3) วิญญาณ ไม่มี
(4) นามรูป ไม่มี
(5) สฬายตนะ ไม่มี
(6) ผัสสะ ไม่มี
(7) เวทนา ไม่มี
(8) ตัณหา ไม่มี
(9) อุปาทาน ไม่มี
(10) ภพ
(11) ชาติ ไม่มี
(12) ชรา มรณะ ฯลฯ

กระบวนการเช่นนี้ ทำให้เกิดกรรม และวิบากกรรม กรรม ทำให้ต้องเวียนว่ายตายเกิด อยู่เป็นวงจรปฏิจจสมุปบาท วงจรแล้ววงจรเล่า จะเห็นได้ว่า “เจตนา” “ตัณหา” และ “อุปาทาน” เป็นปัจจัย ที่กระหน่ำซ้ำเติมให้ กองอวิชชา ที่เป็นแรงกรรม ด้วยโลภะ โทสะ โมหะ หรือโลภ โกรธ หลง ไปส่งเสริมให้ “เจตนากรรม” เกิดขึ้น ความสัมพันธ์ระหว่างเจตนาและกรรม อยู่ในหลัก “ปลูกหว่านเมล็ดพืชชนิดใด ก็ย่อมได้ผลเช่นนั้น” กรรมที่กระทำไปด้วย อวิชชา ตัณหา อุปาทาน เป็นเจตนากรรมที่ไม่ส่งผลออกมาเป็น “ทุกข์” ดังนั้นถ้ากระทำกรรมโดยมีอวิชชา ตัณหา อุปาทาน ก็ย่อมให้เกิดผลทุกข์ การดับความทุกข์ จึงต้องดับที่เหตุปัจจัยที่ทำให้เกิดทุกข์ ชีวิตที่ไม่มีทุกข์ เหมือนไม่มีกองเพลิง ไฟมาเผาผลาญก็ย่อมมีความร่มเย็น สงบ ภาวะชีวิตที่ดับกิเลส ตัณหา อุปาทาน อวิชชาได้อย่างสิ้นเชิง จึงเรียกว่า “นิพพาน” ภาวะการดับทุกข์หมดสิ้นแล้ว การจะบรรลุมรรคผลนิพพาน พ้นทุกข์ได้ต้องฝึก ปฏิบัติ

“หลักอริยมรรค 8 ประการ” ได้แก่

(1) สัมมาทิฐิ-มีความ เห็นที่ถูกต้องเกี่ยวกับชีวิต

(2) สัมมาสังกัปปะ-มีความ ตั้งใจแน่วแน่ ที่จะดำเนินชีวิตตามหลักอริยมรรค ด้วยการประพฤติ มีศีลธรรมอยู่เสมอ

(3) สัมมาวาจา-มีวาจา ที่ถูกต้อง

(4) สัมมากัมมันตะ-มีการกระทำ ที่ถูกต้อง

(5) สัมมาอาชีวะ-ประกอบอาชีพ ที่สุจริต

(6) สัมมาวายามะ-มีความพยายาม ที่ถูกต้องเป็นกุศล

(7) สัมมาสติ-มีความระลึก ที่ถูกต้องดีงามอยู่เสมอ ไม่ให้อวิชชา กิเลส ตัณหา อุปาทานเข้า ครอบงำ ความรู้สึกนึกคิดของตนเอง

การดำเนินชีวิตที่นำไปสู่การดับทุกข์ ตามหลักปรัชญา พระพุทธศาสนา ด้วยหลักอริยมรรค 8 มีวิถีปฏิบัติเป็นการศึกษาพร้อม ๆ กันไป 3 มิติ ได้แก่

- การฝึกฝน อบรมความประพฤติทางกาย เรียกว่า “ศีล”
- การฝึกฝนอบรมจิตให้มีความตั้งมั่นเป็น “สมาธิ”
- และการฝึกอบรมระบบการรับรู้ทาง “ปัญญา” รวมเรียกว่า

“ไตรสิกขา-ศึกษาครบองค์สาม”

“หลักไตรลักษณ์” เป็นญาณ วิทยาเกี่ยวกับการรับรู้ ความเป็นไป ของปรากฏการณ์ชีวิตที่เป็นทุกข์ ด้วยการพิจารณา ให้เห็นถึงสภาพการณ์ สามัญ เกิดขึ้นกับทุก ๆ ชีวิต ได้แก่ การเกิดขึ้น ตั้งอยู่ เสื่อมสลายตายไป สามัญลักษณะ3 ได้แก่ อนิจจัง ไม่เที่ยง ทุกขัง ไม่ทนทานยืนยง อนัตตา ไม่มีตัวตนคงที่ยืนยงถาวร โลก มีความเปลี่ยนแปลงไปได้ อยู่ตลอดเวลาตามเหตุปัจจัย ที่เป็นองค์ประกอบ จึงไม่ควรมีทรรศนะ

ที่ยึดมั่นถือมั่น ควรละวาง วิธีการฝึกปฏิบัติให้เห็นจริง คือให้ฝึกพิจารณาด้วยหลัก “อภิณหปัจเวก” อยู่เสมอ ๆ คอยเตือนใจตนเอง ว่า คนเรามีเกิด แก่ เจ็บ ตาย พลัดพราก เศร้าโศรกเป็นธรรมดา อย่าใช้ชีวิต ที่คิดอย่างประมาทว่า จะไม่มีวันเกิดเหตุการณ์ ที่กล่าวมานั้นกับตนเอง ในการฝึกพิจารณา พระพุทธองค ์จึงให้เฝ้าพิจารณาร่างกาย ถ้าเราแยกชิ้นส่วน อวัยวะ แร่ธาตุต่าง ๆ ที่มาประกอบเป็น เนื้อ หนัง ขน ผม ฟัน กระดูก ลำ ไส้ พังผืด เลือด น้ำเหลือง ตับ ไต อวัยวะน้อยใหญ่ ก็ไม่มีสิ่งใดเหลืออยู่เลย ร่างกายของคนเราเวลาตายไปแล้ว จะต้องเน่าเหม็นผุพัง เน่าเปื่อยแยกสลาย กลายเป็นธาตุเดิม ดิน น้ำ ลม ไฟ ที่เราแลเห็นว่าสวย ว่างาม ในวัยนี้ ก็จะเหี่ยวเฉา แก่เฒ่าเสื่อมสลายตายไป ในที่สุด

ลัทธิ พุทธปรัชญาในอินเดียมี 4 กลุ่มใหญ่ ๆ ได้แก่
(1) ลัทธิสุญญวาทมาธยมิก เชื่อว่าทุกสิ่งทุกอย่างนั้นไม่มีอะไรเลย
(2) ลัทธิวิญญาณวาท หรือ โยคาจาระ-มีแนวคิด จิตนิยม จัดว่า จิตเท่านั้นที่มีอยู่จริง สิ่งอื่นนอกเหนือจากจิต เป็นสิ่งหลอกลวง
(3) ลัทธิเสาตรานติก หรือ พาหยานุเมยยะวาท-แนวคิด แบบวิจัยวัตถุนิยม ที่ว่า สิ่งที่เราเห็น คือตัวแทนของทรัพย์เท่านั้น ส่วนตัวทรัพย์จริง ๆ เรามองไม่เห็น รู้ไม่ได้ รู้ได้ เฉพาะตัวแทน หรือคุณลักษณะของมันเท่านั้น และ
(4) ลัทธิไวภาษิกะ หรือ พาหยปรัตยักษวาที-เชื่อว่าสิ่งที่แท้จริงนั้น เราเห็นหรือสัมผัสได้โดยตรง หาใช่สัมผัสตัวสื่อกลางแต่ประการใดไม่ ที่กล่าวมานี้เป็นลัทธิใหญ่ ๆ ที่มีแนวปรัชญาพุทธ แบบญาณวิทยา ที่มีแนวคิดแบบมอง ต่างมุมกันไป นอกจากลัทธ ิเหล่านี้ยังมีลัทธินิกายแยกย่อยออกไปอีกมากมาย (สนั่น ไชยานุกุล,หน้า 259-260)






Create Date : 21 เมษายน 2551
Last Update : 21 เมษายน 2551 18:47:06 น. 0 comments
Counter : 844 Pageviews.  

VikingsX
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 4 คน [?]




[Add VikingsX's blog to your web]