กรรมของ " ทักษิณ " คือ // ท่านอธิฐานบารมี เป็นพระโพธิสัตว์ ท่านมาจาก พุทธภูมิ // ท่านเลยต้องเที่ยวตะเวณช่วยเหลือ คนนับแสนนับล้าน
 
เมษายน 2551
 12345
6789101112
13141516171819
20212223242526
27282930 
21 เมษายน 2551

2.2 ปรัชญาอินเดีย

2.2 ปรัชญาอินเดีย

2.2.1 แนวคิดของคนอินเดีย ตั้งแต่อดีตมาจนถึงปัจจุบัน มีวิวัฒนาการของกระแสแนวคิด และวิถีปฏิบัติทางปรัชญา และศาสนาแบ่งออกได้เป็นยุคใหม่ ๆ 3 ยุคได้แก่

(1) ยุคพระเวท (Vedic Period) อยู่ในช่วงระยะเวลาประมาณ 2,500 - 6,000 ปีก่อนคริสตกาล หรือประมาณ 1,000-100 ปี ก่อนพุทธกาล เป็นระยะที่ปรัชญาอินเดีย ได้ก่อรากฐาน ขึ้นแล้ว นั่นคือเกิดพระเวทขึ้น และเป็นรากฐานของความนึกคิด และวิถีชีวิตของคนอินเดีย มีพระคัมภีร์ที่ศักดิ์สิทธิ์ ได้แก่ คัมภีร์พระเวท และคัมภีร์อุปนิษัท เป็นศูนย์รวม แห่งหลักความเชื่อ พื้นฐานของปรัชญา และศาสนาพราหมณ์ และศาสนาฮินดู ความเชื่อ ในคัมภีร์พระเวท เริ่มต้นจากความเชื่อ ในพระเจ้าหลายองค์ จนกระทั่งถึงความเชื่อ ในพระเจ้าองค์เดียว และการแสวงหาคำตอบ เรื่องการค้นหาสัจธรรม และการบรรลุสัจธรรม

พระเวทมาจากคำว่า “เวทะ” แปลว่า “ความรู้” (สุนทร ณ รังษี, 2537, หน้า 14) ในยุคพระเวท มีคัมภีร์ที่เกิดขึ้นตามลำดับก่อนหลังได้แก่

คัมภีร์ฤคเวท เกิดขึ้นก่อน เป็นคัมภีร์ที่ประกอบด้วย บทสรรเสริญพระเจ้า ที่เรียกว่า “มันตระ” “โศลก” หรือ บทร้อยกรอง สำหรับใช้สวดในพิธีกรรม บูชายัญ ตามบัญญัติของคัมภีร์พระเวท ที่ใช้การท่องจำสืบทอดต่อกันมาอย่างเคร่งครัด ต่อมาพวกพราหมณ์ ผู้ทำพิธีกรรมได้ตัดทอน และแยกคัมภีร์ฤคเวทออกเป็น 3 คัมภีร์ เพื่อสะดวกในการใช้สวด บูชายัญ เกิดเป็นคัมภีร์ใหม่อีก 3 เล่มได้แก่

ยชุรเวท เป็นคำร้อยแก้วว่าด้วยระเบียบวิธีการสวดบวงสรวงบูชายัญ

สามเวท เป็นคำฉันท์สำหรับสวดในพิธีถวายน้ำโสมแก่พระอินทร์ และขับกล่อมเทพเจ้าทั้งหลาย

อถรวเวท
เป็น บทรวมคาถาอาคม เวทมนต์ สำหรับใช้ร่าย แก้เสนียดจัญไร และนำสวัสดิมงคล หรือ เพื่อการชนะศัตรูภัยพาลต่าง ๆ

กล่าวกันว่าแนวปรัชญาแห่งคัมภีร์พระเวท นั้น พวกพราหมณ์ ได้เริ่มความคิดขึ้นในป่าที่สงบสงัด เรียกว่า “อารัณยกะ”

แนวปรัชญาได้เกิดขึ้น และกลายเป็นบทสรุป แห่งอารัณยกะเรียกชื่อว่า “อุปนิษัท” เป็นตอนที่ได ้ประมวลแนวความคิด ทางปรัชญาที่มีอยู่ใน คัมภีร์พระเวท ไว้ทั้งหมด เช่น บางตอนว่าด้วย ปรัชญาญาณวิทยา ว่าด้วยความรู้ต่าง ๆ คัมภีร์อุปนิษัท ได้รับการเรียกขานอีกนามหนึ่งว่า เวทานตะ มีความหมายว่า ที่สุดแห่งพระเวท (สุนทร ณ รังษี, 2537, หน้า 15)

กระแสแนวคิดทางปรัชญา และศาสนาที่เกิดจากคัมภีร์พระเวท เกิดขึ้นมาตั้งแต่ชนชาติ อารยัน ได้เข้ามาตั้งหลักแหล่งอยู่ในอินเดีย ที่ต่อมาได้มีการผสมผสานแนวคิดและความเชื่อ-ของชนพื้นเมืองเดิมเข้าไว้ด้วย แนวคิดเกี่ยวกับการ จัดระเบียบสังคม ที่สำคัญได้เกิดขึ้นต่อมา เป็นผลมาจากหลักพระเวทก็คือ การแบ่งสังคมออกเป็น วรรณะ (สี, สีผิวกาย) ที่พัฒนาความเชื่อทางศาสนาขยาย ออกไปเป็น 4 วรรณะ ได้แก่ วรรณะกษัตริย์ ทำหน้าที่เป็นนักรบ ผู้ปกครอง วรรณะพราหมณ์ ทำหน้าที่ศึกษาพระเวทและทำพิธีกรรมทางศาสนา วรรณะแพศย์ ผู้ประกอบวิชาชีพต่าง ๆ ในสังคม และวรรณะศูทร พวกผู้ใช้แรงงาน กรรมกร รับใช ้วรรณะทั้งหลายที่กล่าวมา ถ้ามีการแต่งงานนอกวรรณะ ถือเป็นเรื่องผิดน่ารังเกียจของทุกวรรณะ ฐานะตกต่ำสุดลงไปอยู่ในกลุ่ม “จัณฑาล” ที่ไม่มีคนในวรรณะใดมาคบหาสมาคมด้วย

(2) ยุคมหากาพย์ (EPIC Period) เป็นช่วงระยะเวลาประมาณ ปี 500-600 กคศ. ถึง ค.ศ. 200 หรือ ราว 100 ปีก่อนพุทธกาลถึง พ.ศ. 700-ยุคนี้เป็นยุคกึ่ง ปรัชญาที่ได้รับถ่ายทอดมาจาก ยุคพระเวท แต่ได้ขยายและพัฒนาออกไปในรูป วิถีปฏิบัติของชาวฮินดู กลายเป็นขนบธรรมเนียมประเพณีที่เป็นรูปแบบทางศาสนา

หนังสือสำคัญในยุคนี้คือ มหากาพย์ 2 เล่มคือ มหากาพย์รามายนะ และ มหากาพย์มหาภารตะ ซึ่งเป็นการรวบรวม ประวัติศาสตร์ เทพปกรณัมตำนาน และปรัชญา เชิงศาสนาเข้าด้วยกัน ยุคนี้ ผู้คนสนใจแสวงหาคำตอบ เกี่ยวกับ สัจธรรม ที่เป็นปรัชญาสังคม และปรัชญากฎหมาย เน้นในเรื่องความเป็นธรรมในสังคม สังคมที่ตั้งอยู่ บนรากฐานของศีลธรรม ความพอใจและพื้นฐานทางวัตถุมากกว่า การบรรลุโมกษะ ในยุคนี้ จึงเป็นพัฒนาการ ของความคิดเชิงปรัชญา การเมือง และสังคมเน้นความสงบและมั่นคงทางสังคมด้วยระบบวรรณะ

ต่อมาในยุคนี้ได้เกิดคัมภีร์เล่มใหม่คือ “คัมภีร์ภควัทคีตา” เป็นยุคสมัยที่ปรัชญา และศาสนา กำหนดวิถีชีวิตฮินดูที่เป็นแบบฉบับ และทรงอิทธิพลต่อชาวอินเดีย ทั้งทางด้านความคิด จิตใจ และทุกมิติของชีวิต

แม้ว่าจะเป็นยุคที่ความเชื่อ แบบฮินดู จะมีอิทธิพลต่อคนไปทุกด้าน แต่ในอีกด้านหนึ่ง ได้เกิดกระแสแนวคิดทางปรัชญาสาขาต่าง ๆ อีกหลากหลายกระแส แนวคิด ไม่ได้มีลักษณะ เป็นสังคมที่ปิดกั้นทางความคิดแต่อย่างใด ลัทธิปรัชญาที่เกิดขึ้นในยุคนี้ที่ไม่ใช่แบบแผนฮินดู ได้แก่ ลัทธิวัตถุนิยมจารวาก ลัทธิเชน พระพุทธศาสนา ที่ส่วนใหญ่เกิดขึ้นมา เพื่อโต้แย้งทวนกระแส ลัทธิฮินดูที่เป็นกรอบอันแข็งแกร่งมั่นคง ที่ล้อมรอบสังคมอินเดียไว้

(3) ยุคสูตร หรือยุคระบบทั้งหก (The Period of the Six Systems) อยู่ในช่วงระยะเวลาประมาณ 3 ปี กคศ. ถึงราว ๆ ต้น ๆ คริสตกาล หรือประมาณ พ.ศ. 700-ลงมา เป็นยุคที่เกิดระบบใหม่ ๆ ของศาสนาฮินดู 6-ระบบใหม่ และต่างก็มีสูตรคัมภีร์เป็นของตนเองแตกต่างกันออกไป โดยมีรากฐานของปรัชญาและความเชื่อแบบฮินดูเป็นตัวตั้ง เป็นยุคที่ศาสนาพราหมณ์ได้พัฒนาเป็นศาสนาฮินดู

ระบบปรัชญาทั้งหกที่เกิดขึ้นได้แก่ นยายะ ไวเศษิกะ สางขยะ โยคะ มีมามสา และเวทานตะ

2.2.2 แบบแผนการเสนอระบบปรัชญาอินเดีย

มีกระบวนการอย่างเป็นแบบฉบับ คือ นักปรัชญาอินเดียจะเริ่มจาก

(1) การเสนอระบบแนวคิดที่จะโต้แย้งก่อน กระบวนการนี้เรียกว่า “ปูรวปักษ์” จากนั้น

(2)เป็นการวิพากษ์แนวคิดปรัชญาที่นำมาโต้แย้ง ว่ามีข้อบกพร่องอย่างไร กระบวนการวิพากษ์นี้เรียกว่า “ขัณฑนะ” จากนั้น

(3) จึงนำเสนอแนวคิดและปรัชญาของตนเอง อธิบายว่าเป็นอย่างไร ปราศจากข้อบกพร่องอย่างไร และเป็นทรรศนะที่ถูกต้องอย่างไร การเสนอแนวคิดปรัชญาขึ้นมาใหม่เรียกว่า “อุตตรปักษ์” (สุนทร ณ รังษี, 2537, หน้า 5)

แนวความคิดทางปรัชญาจะได้รับการรวบรวมไว้เป็นหมวดหมู่ เรียกว่า “สูตร” มาจากคำ สันสกฤต ว่า “สุตตะ” แปลว่า เส้นด้าย ใช้ในความหมายว่า ผูกรวมคำสอนเข้าไว้ด้วยกัน เช่น โยคสูตรของกนาทะ เป็นต้น (สุนทร ณ รังษี, 2537, หน้า 7)

2.2.3 ลักษณะสำคัญของปรัชญาอินเดีย

ปรัชญาอินเดียแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ คือ

กลุ่มที่มีทรรศนะอนุรักษ์ (อัสติกะ)
กลุ่มที่มีทรรศนะใหม่ (นาสติกะ)

โดยอาศัยลัทธิพราหมณ์หรือฮินดูเป็นเกณฑ์ กลุ่มนิยมของเดิม ได้แก่ ปรัชญามีมามสา เวทานตะ สางขยะ โยคะ นยายะ และไวเศษิกะ ที่เรียกว่ากลุ่มแนวคิดอนุรักษ์ เพราะมีปรัชญาที่ยึดถือ คัมภีร์พระเวท เป็นโองการศักดิ์สิทธิ์ ส่วนกลุ่มแนวคิดใหม่ ได้แก่ ปรัชญาลัทธิจารวากะ ปรัชญาพุทธ ลัทธิเชน ซึ่งไม่ยึดถือคัมภีร์พระเวท





Create Date : 21 เมษายน 2551
Last Update : 21 เมษายน 2551 18:41:45 น. 0 comments
Counter : 2802 Pageviews.  

VikingsX
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 4 คน [?]




[Add VikingsX's blog to your web]