กรรมของ " ทักษิณ " คือ // ท่านอธิฐานบารมี เป็นพระโพธิสัตว์ ท่านมาจาก พุทธภูมิ // ท่านเลยต้องเที่ยวตะเวณช่วยเหลือ คนนับแสนนับล้าน
 
เมษายน 2551
 12345
6789101112
13141516171819
20212223242526
27282930 
21 เมษายน 2551

(9) ปรัชญาโยคะ 2.2.4 หลักปรัชญาอินเดียที่สำคัญ

ท่านปตัญชลี เป็นผู้ให้กำเนิดลัทธินี้ คำว่า “โยคะ” หมายถึง วิธีการหรือในหลายลัทธิใช้ในความหมายว่า “รวม” ที่หมายความถึง การรวม อาตมัน ย่อยหรือ ชีวาตมัน เข้ากับ อาตมัน สากลหรือปรมาตมัน เป็นภาวะการบรรลุความเป็นเอกภาพ แต่สำหรับท่านปตัญชลีอธิบายว่า “โยคะ” หมายถึง “วิริยะ-ความพากเพียร” เพื่อแยก ปุรุษะ ออกอย่างเด็ดขาด จากประกฤติ เพื่อให้ปุรุษะ ซึ่งเป็นวิญญาณ บริสุทธิ์เข้าถึง สถานะแห่งโมกษะ ปรัชญาโยคะ จึงหมายถึงวิธีการบำเพ็ญเพียร โดยการควบคุมอินทรีย์ได้แก่ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ปลดเปลื้องร่างกายและจิตใจจากความเศร้าหมอง โดยมีการหลุดพ้นทุกข์จากการเวียนว่ายตายเกิดเป็นจุดหมายปลายทาง

โยคะของปตัญชลีเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า “ราชโยคะ” ได้แก่การยุติพฤติภาพทั้งมวลของจิต ให้หยุดนิ่งไม่ สัญจรเร่ร่อนไปอย่างไม่มีขอบเขต ด้วยการบำเพ็ญสมาธิโยคะ ทั้งนี้เพราะ จิตเป็นสิ่งแรกที่มีวิวัฒนา การแยกออกจากประกฤติ มีส่วนผสมของสัตตวะ มากกว่า รชัสและตมัส จิตในสถานะแห่งเหตุ เป็นสิ่งที่แผ่สร้าน อยู่ทั่วไปเช่นเดียวกับอากาศ จิตในสถานะนี้เรียกว่า “การณจิต” ปุรุษะ หรือวิญญาณบริสุทธิ์ จึงมีนับไม่ถ้วน จิตสามารถ หดตัวหรือขยายตัวได ้ตามสภาพแวดล้อม หรือตามร่างที่สิงสถิต สถานะนี้เรียก “การยจิต” ที่สำแดงพฤติภาพ ให้ปรากฏในขั้นแห่งสัมปชัญญะ จิตทั้งสองสถานะนี้ต่างเป็น จิตอย่างเดียวกันแต่จำแนกเป็น 2 สถานะคือสถานะแห่งเหตุและสถานะแห่งผล จิตเป็นสิ่งที่แนบเนื่องกับปุรุษะอยู่เสมอ การยจิต เป็นสถานะของจิต จิตที่สถิตอยู่ในร่างกายร่วมกับ

ปุรุษะ จึงเหมือน ถูกจำกัดขอบเขต ไปไหนมาไหนได้ เฉพาะตามร่างที่สถิตอยู่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งจิตที่ไปอยู่ในร่างกายสัตว์ เหมือนถูกคุมขังอยู่ในที่คับแคบ การณจิต เป็นจิตในสถานะที่มีเสรีภาพเต็มที่ ไม่ถูกจำกัดหรือจองจำ

หลักปฏิบัติของปรัชญาโยคะ จึงต้องการ ที่จะทำให้จิต ที่อยู่ในสถานะเป็นการยจิตกลับคืน สู่สถานแห่งการณจิต โดยการ ขจัดอำนาจของรชัส และตมัส เมื่อโยคีบำเพ็ญ ถึงขั้นนี้ก็จะบรรล ุสัพพัญุตญาณ จิตจะเป็นสิ่งท ี่บริสุทธิ์ เช่นเดียวกับปุรุษะแล้วปุรุษะก็จะบรรลุโมกษะ ตลอดไป หลุดพ้นจากการเวียนว่ายตายเกิด

การที่ปุรุษะ ต้องมาเวียนว่ายตายเกิด ทั้งที่ โดยธรรมชาติ จริงแท้เป็นสิ่งบริสุทธิ์ เพราะจิตไปติดข้องอยู่กับร่างกาย ที่ไปเวียนว่ายตายเกิดสถิตอยู่ ปุรุษะแท้จริงไม่มีการเกิด ไม่มีการตาย และไม่มีการแตกดับ

แต่เพราะไปติดข้องอยู่ด้วยอำนาจกิเลส 5 อย่าง ได้แก่

(1) อวิทยา-ความเขลา
(2) อัสมิตา-ความยึดมั่นในตนเอง
(3) ราคะ- ความหลงใหล
(4) ทเวษะ,โทษะ-ความโกรธ และ
(5) อภินิเวศะ-ความรักชีวิต กลัวความตาย

จึงเกิดความหลงผิดว่า เป็นอันหนึ่งอันเดียวกับกายที่สถิตอยู่ เมื่อขจัดสิ่งเหล่านี้ให้หมดไป ปุรุษะ จึงจะบรรลุโมกษะ การเวียนว่ายตายเกิดในสังสารวัฏตลอดกาล (สุนทร ณ รังษี, 2537, หน้า 243)

ปรัชญาโยคะมีวิธีปฏิบัติอยู่ 8 ประการ ได้แก่
(1) ยมะ-การสำรวมระวัง 5 ประการ ได้แก่ อหิงสา-ไม่เบียดเบียนประทุษร้ายชีวิต อัสเตยะ-ไม่ลักขโมย พรหมจริยะ-รักษาพรหมจรรย์ งดเว้นกิจกรรมเพศสัมพันธ์ ควบคุมจิตใจไม่ให้ตกอยู่ในอำนาจ ของความรู้สึกทางเพศ และ อปรครหะ-ไม่โลภสิ่งที่ไม่จำเป็นแก่การครองชีพ

(2) นิยมะ-การฝึกอบรมตนเองให้บริสุทธิ์ ทั้งภายในและภายนอก ด้วยการชำระล้างร่างกายและบริโภคอาหารที่บริสุทธิ์ปราศจากโทษ ควบคุมอารมณ์ และดำรงอยู่ในคุณธรรม 4 อย่างได้แก่ สันโดษ-ยินดีในปัจจัยเลี้ยงชีพที่ตามมีตามได้ ตบะ-เข้มงวด ในการปฏิบัติตามหลักคำสอนของ โยคะและอดทนต่อทุกสภาพการณ์ สวาธยะ-ตั้งใจศึกษาหลักธรรมคำสอนทางศาสนาอย่างสม่ำเสมอ และ อีศวรประนิธาน-การเจริญสมาธิทำใจให้มุ่งมั่นต่อพระผู้เป็นเจ้า

(3) อาสนะ-การควบคุมร่างกายให้อยู่ในอิริยาบถ ที่สบาย และเป็นประโยชน์แก่การเจริญสมาธิ มีมากมากหลายท่า หลายแบบ

(4) ปราณายามะ-การกำหนดและควบคุมหายใจเข้าออก

(5) ปรัตยาหาระ-การควบคุมประสาทสัมผัส โดยการปิดประตูที่มาของอารมณ์จากภายนอก 5 ทาง คือ ตา หู จมูก ลิ้น ผิวกาย

(6) ธารณะ-การกำหนดจิตให้จดจ่อแน่วในอารมณ์ของสมาธิ

(7) ธยานะ เป็นการฝึกทำจิตให้แน่วแน่แนบแน่นอยู่กับสิ่งใดสิ่งหนึ่ง โดยปราศจากการชงักตลอดเวลาที่ปฏิบัติอยู่ และ

(8) สมาธิ-การกำหนดจิตใจดื่มด่ำแนบเป็นหนึ่งเดียวกับอารมณ์สมาธิ จิตที่เพ่งอารมณ์สมาธิ เป็นขั้นที่ความสัมพันธ์ กับโลกภายนอกทางประสาทสัมผัส ของผู้ปฏิบัติ ได้ถูกตัดขาดลง โดยสิ้นเชิงเป็นขั้นสำคัญก่อนที่จะบรรลุโมกษะ (สุนทร ณ รังษี, 2537, หน้า 245-248)






Create Date : 21 เมษายน 2551
Last Update : 21 เมษายน 2551 18:51:38 น. 0 comments
Counter : 1413 Pageviews.  

VikingsX
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 4 คน [?]




[Add VikingsX's blog to your web]