กรรมของ " ทักษิณ " คือ // ท่านอธิฐานบารมี เป็นพระโพธิสัตว์ ท่านมาจาก พุทธภูมิ // ท่านเลยต้องเที่ยวตะเวณช่วยเหลือ คนนับแสนนับล้าน
 
เมษายน 2551
 12345
6789101112
13141516171819
20212223242526
27282930 
21 เมษายน 2551

(2) ปรัชญาภควัทคีตา 2.2.4 หลักปรัชญาอินเดียที่สำคัญ

(2) ปรัชญาภควัทคีตา

คัมภีร์ภควัทคีตา เป็นส่วนหนึ่งใน มหากาพย์มหาภารตะ เกิดขึ้นราว ๆ ปี 200 ปี ก่อนคริสตกาล มีปรัชญาที่อธิบายเรื่อง กรรม ชญาณะ (ความรู้) และความภักดี ต่อพระเจ้าสูงสุด ประกอบด้วยตำนานเกี่ยวกับ ศรีกฤษณะ ที่เชื่อกันว่าเป็นอวตารของ พระนารายณ์พระผู้เป็นเจ้า และ มาเป็นราชสารถีช่วย พระอรชุน ทำศึกสงครามครั้งสำคัญ

ภควัทคีตาเริ่มต้นด้วยการกล่าวถึง พระอรชุน กษัตริย์แห่งราชวงศ์ปาณฑพ ที่ต้องเข้าสู่สงครามรบพุ่งกับ ทุรโยชน์แห่งราชวงศ์เการพ เพื่อแย่งชิงราชบัลลังก์ แห่งนครหัสตินาปุระ ที่ทุรโยชน์ ยึดครองอย่างไม่เป็นธรรม ราชวงศ์ทั้งสองเป็นญาติกัน สงครามครั้งนี้กระทำกันที่ ทุ่งกุรุเกษตร ญาติกับญาติทำการประหัตประหารกัน เมื่อออกสู่สนามรบ พระอรชุน มองเห็นข้าศึกที่ล้วนแล้วแต่เป็นญาติกัน ก็บังเกิดความรู้สึกสลดหดหู่ใจ จึงได้กล่าวกับ ศรีกฤษณะ ที่ทำหน้าที่ราชสารถีว่าตนมองไม่เห็นประโยชน์อันใด ที่จะพึงบังเกิดขึ้น จากการประหัตประหารข้าศึก ที่ล้วนแต่เป็นพระญาติกัน จึงไม่ขอรบ และไม่ขอฆ่าฟันคนเหล่านั้น แม้ว่าตนเองจะต้องถูกคนเหล่านั้นฆ่าก็ตาม ศรีกฤษณะ เห็นความท้อถอยของพระอรชุน จึงได้บรรยาย สั่งสอนพระอรชุนว่า ในฐานะผู้อยู่ใน วรรณะกษัตริย์ มีหน้าที่ในการเป็นนักรบ และในฐานะแห่ง สาธุชน ก็มีหน้าต้องทำสงคราม ขจัดอธรรม นำสันติสุข กลับคืนมาสู่สังคมมนุษย์ ทำให้พระอรชุน ได้คลายจากความหดหู่ และคิดได้ถึงหน้าที่ของพระองค์ จึงกระทำสงครามจนได้ชัยชนะ (สุนทร ณ รังษี , 2537 , หน้า 51)

ปรัชญาในภควัทคีตา ประกอบด้วย หลักอภิปรัชญา หลักภักติโยคะ ชญาณโยคะ กรรมโยคะและหลักโมกษะหรือความหลุดพ้น

หลักอภิปรัชญาในภควัทคีตา เป็นแนวคิดพื้น ฐานที่สำคัญ ได้อภิปรายไว้ว่า ในบรรดาสิ่งซึ่งไม่มีความจริงแท้นั้นไม่มี “สัต” (Being) และในบรรดาสิ่งซึ่งมีความจริงแท้ก็ไม่มี “อสัต” (Non-being) “ตัวตน- อาตมัน” เป็นสิ่งที่อยู่ยงคงกระพัน ไม่มีอะไรทำอันตรายได้ เที่ยงแท้ ไม่มีการเกิด ไม่มีการแตกดับ ดำรงอยู่ทั่วไปไม่เปลี่ยนแปร ไม่เสื่อม อยู่เหนือพ้น ส่วนที่สลายไป หรือถูกทำลายได้เป็นเพียงร่างกาย แม้ว่าร่างกายจะถูกทำลายไป แต่ไม่มีอะไรจะมาทำลาย อาตมันได้ การเคลื่อนออกจากร่างเก่า ไปสู่ร่างใหม่ของอาตมัน จึงเหมือนกับการที่คนเรา เปลี่ยนเสื้อผ้าจากชุดเก่า ไปสวมใส่ชุดใหม่ แต่อาตมันก็ไม่มีการเปลี่ยนแปลงใด ๆ การเกิดขึ้นการแตกดับ ของร่างกาย จึงไม่มีผลกระทบอะไร ต่อเอกภาพของอาตมัน ผู้ใดเห็นแจ้งเช่นนี้ เป็นการรู้แจ้งระดับอันติมะ สัจจะ ย่อมเป็นผู้ที่ได้ชื่อว่า เห็นตามความเป็นจริงและย่อมเข้าถึงอมตะภาวะ (สุนทร ณ รังษี , 2537 , หน้า 52)

หลักปรัชญาโยคะ ความภักดี และความรู้ ที่ผสมผสานกัน ปรากฏอยู่ในปรัชญาภควัทคีตา ในทรรศนะของภควัทคีตาแล้ว “มนุษย์” เป็นสิ่งมีชีวิตที่ ประกอบด้วย สติปัญญา เจตจำนง และอารมณ์ ในการดำรงชีวิต มนุษย์ใช้ความคิดมีความรู้สึกต่ออารมณ์ต่าง ๆ ที่มากระทบสติปัญญา ทำให้เกิดปรัชญาแห่งความรู้ เจตจำนง ทำให้เกิดปรัชญา แห่งการกระทำ และอารมณ์ทำให้เกิดปรัชญา แห่งความภักดี ทั้งเจตจำนง สติปัญญา และอารมณ์ เป็นสิ่งที่อยู่รวมกัน ไม่อาจแยกออกจากกันได้ สิ่งสัมบูรณ์ จะเปิดเผยตัวเอง แก่ผู้แสวงหาความรู้เกี่ยวกับตัวตน ในรูปของแสงสว่าง ที่ดำรงอยู่เป็นนิตย์นิรันดร์ สำหรับผู้ที่แสวงหาความดี สิ่งสัมบูรณ ์จะปรากฏเป็นความถูกต้องนิรันดร์ และสำหรับผู้ที่ปฏิบัติความภักดี สิ่งสัมบูรณ์ก็จะปรากฏออกมา เป็นความรักนิรันดร์ ดังนั้นการบรรลุโมกษะ จึงมีได้หลายวิธี แล้วแต่บุคคลจะเลือกว่า ด้วยความรู้ ด้วยกรรม / การกระทำ หรือด้วยความภักดี ในที่สุด แล้วทางทั้งสาม ก็จะมารวมเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันที่เรียกว่า โยคะ ที่แปลว่า รวม (สุนทร ณ รังษี , 2537 , หน้า 53) ผู้บำเพ็ญโยคะ เรียกว่า โยคี ที่หมายถึง ผู้บรรลุสู่ดุลยภาพแห่งจิตด้วย จึงเป็นผู้ไม่หวั่นไหวไปตามกระแสอารมณ์ จิตมีความสงบสงัดมั่นคง โยคี ที่บำเพ็ญเพียรทางจิต จะเกิดภาวะสมาธินิ่ง สงบมั่นคงไม่มีความหวั่นไหวยินดียินร้ายใด ๆ อีก เรียกว่า ภาวะสถิตปรัชญา และบรรลุความเป็นเอกภาพกับพรหมัน (สุนทร ณ รังษี , 2537 , หน้า 54)

ปรัชญาชญาณโยคะ เป็น ปรัชญาญาณวิทยา ว่าด้วย มรรควิธี การเข้าถึงความจริงอันติมะ ด้วยความรู้แจ้ง ซึ่งจะช่วยให้ โยคีบำเพ็ญ การขจัดกิเลสตัณหา ให้หมดไปอย่างเด็ดขาดสิ้นเชิง กรรมโยคะ จะเป็นไปได้อย่างสมบูรณ์ ก็ต่อเมื่อมีชญาณโยคะที่สมบูรณ์แล้ว เพราะไม่มีผู้ใดที่จะสามารถ สลัดกรรมหรือการกระทำเสียได้ โดยสิ้นเชิง การที่บุคคลมัวเมาแสวงหาความสุขทางเนื้อหนัง จึงได้ชื่อว่า ประกอบบาปกรรม และดำรงชีวิตอยู่ในความว่างเปล่า หลักปรัชญานี้ ไม่ใช่การปฏิเสธโลก หรือหนีโลก หรือปฏิเสธชีวิตสามัญชน ด้วยการไปออกบวชเป็นฤๅษีชีไพร ไม่ใช่เป็นการปฏิเสธการกระทำ แต่เป็นมรรควิธี การอยู่ในโลก และปฏิบัติภารกิจ ตามหน้าที่ด้วยความรู้สึกที่ปล่อยวาง ไม่มีอุปาทาน ที่มักจะประกอบด้วย ผลประโยชน์และตัณหา ที่เป็นพันธะมาพันธนาการ มนุษย์ให้ติดข้องอยู่ในโลก ดังนั้นปรัชญาภควัทคีตา จึงเสนอแนวทาง การดำรงอยู่ที่การกระทำของบุคคลไม่ ไม่อาจผูกพันเขาได้ การกระทำมี 2 ประเภท ได้แก่ การกระทำที่หวังผลตอบแทน เรียกว่า “ประวฤติกรรม” และการกระทำด้วยความปล่อยวางหรือไม่หวังผลตอบแทนใด ๆ เรียกว่า “นิวฤติกรรม” ดังนั้น ผู้มีความรู้เท่านั้นที่กระทำได้ ด้วยความรู้สึกปล่อยวาง กระทำ เพื่อประโยชน์ของมนุษยชาติ และส่วนรวม โดยไม่หวังผลตอบแทนใด ๆ การกระทำ เพื่อประโยชน์สุขของชาวโลกเรียกว่า “โลกสงเคราะห์” การปฏิบัติที่ ไม่หวังผลตอบแทนใดเลย จึงเป็นการกระทำที่ไม่แปดเปื้อนด้วยมลทิน และเป็นการกระทำ ด้วยสำนึกว่าตนเอง เป็นเพียงเครื่องมือ หรืออุปกรณ์ของพระเจ้า ดังเช่น การกระทำของ พระอรชุน ที่กระทำไปตามหน้าที่ของกษัตริย์ การปรากฏตัวของบุคคลที่กระทำ เพื่อยังประโยชน์สุข ให้แก่มวลมนุษย์ จึงเปรียบได้กับ การปรากฏขึ้นของดวงอาทิตย์ ซึ่งย่อมยังประโยชน์ในเกิดขึ้นกับสิ่งมีชีวิตทั้งปวง

สำหรับหลักภักติโยคะ หมายถึง การประกอบความภักดี ได้แก่ การบริการแก่ พระเจ้าด้วยความบริสุทธิ์ใจ ด้วยหลักแห่งศรัทธา เชื่อมั่นต่อพระผู้เป็นเจ้าที่ว่า “ผู้ภักดีต่อเราย่อมไม่มีวันวิบัติ” และ “ผู้ทำกรรมดีจะไม่มีวันพบกับความเศร้าโศก” การประกอบความภักดี ด้วยความรู้เรียกว่า “ชญานี” เป็นความรู้ว่า พระเจ้า ทรงสถิตในสรรพสิ่งในเอกภพ และพระเจ้าทรง ควบคุมทุกสิ่งจากภายใน ดังมีคำกล่าวไว้ในภควัทคีตาตอนหนึ่งว่า:

“เมื่อความจงรักภักดีมีความสมบูรณ์เต็มที่แล้ว บุคคลที่มีความภักดี ก็จะเข้ารวมเป็นอันหนึ่งอันเดียวกับพระเป็นเจ้า แล้วดำรงอยู่ในฐานะแห่งความสุขทางจิตอันสูงสุด จากนั้นพระเป็นเจ้า และผู้จงรักภักดีจะปรากฏเป็นชีวิตอันเดียวกัน”

อ้างโดย (สุนทร ณ รังษี , 2537 , หน้า 60)






Create Date : 21 เมษายน 2551
Last Update : 21 เมษายน 2551 18:42:54 น. 0 comments
Counter : 4270 Pageviews.  

VikingsX
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 4 คน [?]




[Add VikingsX's blog to your web]