กรรมของ " ทักษิณ " คือ // ท่านอธิฐานบารมี เป็นพระโพธิสัตว์ ท่านมาจาก พุทธภูมิ // ท่านเลยต้องเที่ยวตะเวณช่วยเหลือ คนนับแสนนับล้าน
 
เมษายน 2551
 12345
6789101112
13141516171819
20212223242526
27282930 
21 เมษายน 2551

(3) ปรัชญาวัตถุนิยมของอินเดีย(จารวาก) 2.2.4 หลักปรัชญาอินเดียที่สำคัญ

(3) ปรัชญาวัตถุนิยมของอินเดีย

ปรัชญาจารวาก ปรัชญาวัตถุนิยมลัทธินี้บางทีเรียก ว่า “โลกายัต” เพราะมีแนวคิดโน้มนำไปในทางดึงดูดความสนใจของชาวโลก แต่ปรากฏว่า เป็นปรัชญาที่ไม่ค่อยได้รับความนิยมนัก ประวัติความเป็นมาของการเกิดปรัชญานี้ เชื่อกันว่า พระพฤหัสบดี อาจารย์ของพวกเทวดาและอสูร เป็นปฐมาจารย์ของลัทธิวัตถุนิยมจารวาก ได้สั่งสอนลัทธินี้ให้แก่พวกอสูร เพื่อจะได้ทำให้พวกอสูรมีความพินาศเสื่อมโทรมไป แต่ในอีกด้านหนึ่งกล่าวว่า จารวาก เป็นชื่อศิษย์คนสำคัญของพระพฤหัสบดี หรืออาจจะเป็นชื่อเรียกลัทธิวัตถุนิยม ที่ถือคติว่า “กินดื่มและรื่นเริงสำราญ”

หลักแนวคิดจารวาก มีสาระสำคัญว่า ธาตุทั้งหลายมีเพียง 4 คือดิน น้ำ ไฟ ลม ร่างกาย ประสาทสัมผัส และสิ่งที่รับรู้ได้ด้วยประสาทสัมผัส เป็นผลที่เกิดขึ้นจากการรวมตัวของธาตุต่าง ๆ เมื่อวัตถุรวมตัวกันอย่างถูกส่วนก็เกิด “สัมปชัญญะ-consciousness” ขึ้นมา ส่วนที่เรียกว่าวิญญาณ หรือ อาตมัน ก็คือร่างกายที่มีสัมปชัญญะ จุดหมายของชีวิต จึงอยู่ที่ความสุขสำราญเริงรมย์ และความตายคือ โมกษะ (สุนทร ณ รังษี , 2537 , หน้า 65) นักปรัชญาจารวาก ไม่เชื่อเรื่องความหลุดพ้นใด ๆ ไม่มีวิญญาณ ไม่มีสวรรค์ ไม่มีกฎแห่งกรรมที่ส่งผลแก่ผู้กระทำ พิธีกรรมบูชายัญ เป็นเรื่องหลอกหลวง ของพวกพราหมณ์ที่ต้องการหาเลี้ยงชีพ และเป็นเรื่องงมงายของพวกที่โง่เขลา ผู้ที่แต่งคัมภีร์พระเวท จึงเป็นคนลวงโลก แนวคิดเชิงญาณวิทยาจารวาก จึงเห็นว่า ความประจักษ์ คือ ความรู้ที่รับรู้ได้ทางประสาทสัมผัส ส่วนความรู้วิธีอื่นใด เช่น วิธีอนุมาน เป็นความรู้ที่ไม่ถูกต้องเพราะ การอนุมาน เป็นเพียงการอ้างเหตุผล จากความรู้เก่าที่หาความแน่นอนไม่ได้ จึงกล่าวได้ว่า จารวาก เป็นปรัชญาวัตถุนิยมที่ปฏิเสธ ความมีอยู่ของจิต วิญญาณ อาตมัน กฎแห่งกรรม คนเราเกิดและตายหนเดียว ปฏิเสธความมีอยู่ของพระเป็นเจ้า ไม่มีพระผู้เป็นเจ้าสร้างโลก ทุกสิ่งเป็นปรากฏการณ์ธรรมชาติ พระผู้เป็นเจ้าไม่มีอยู่จริง ไม่เห็นด้วยกับหลักชีวิต 4 ขั้นตอน โดยเน้นว่า คนเราควรแสวงหาทรัพย์สมบัติ หาความเพลิดเพลินในชีวิต หาความสุขทางเนื้อหนังและกามารมณ์ให้เต็มที่ คุณธรรมไม่ใช่สิ่งที่จำเป็นสำหรับชีวิต คนเราไม่จำเป็น ต้องทุกข์ทรมาน บำเพ็ญชีวิต เพื่อแสวงหาความหลุดพ้นเพราะไม่มีความหลุดพ้น นอกจากความตาย

นักคิดจารวากมีหลายท่านได้แก่

อชิตะ เกสกัมพล ผู้ประกาศลัทธิที่เรียกว่า “ตายแล้วสูญ” จิตและวิญญาณเป็นผลพลอยได้ของร่างกาย ปฏิเสธเรื่องความดี ความชั่ว บุญ-บาป ว่าไม่มีอยู่จริง ไม่ก่อเกิดผลแก่ผู้กระทำ และปฏิเสธว่า บิดามารดาไม่มี เท่ากับปฏิเสธพันธะ ทางศีลธรรมในหมู่มนุษย์ (สุนทร ณ รังษี , 2537 , หน้า 82)

ปกุธะ กัจายนะ เสนอหลักแนวคิดว่าด้วย สภาวะ 7 กอง ได้แก่ ธาตุทั้ง 4 และ สุข ทุกข์ และชีวะ สิ่งต่าง ๆ ถ้าไม่มีชีวิตประกอบด้วย 4 ธาตุ และถ้ามีชีวิตประกอบด้วย สภาวะ 7 กอง ทฤษฎีสภาวะ 7 กองนี้ จึงเป็นทฤษฎีปรมาณู ที่อธิบายว่า ตัวสภาวะเอง เป็นสิ่งที่เที่ยงและไม่มีการผันแปรไป






Create Date : 21 เมษายน 2551
Last Update : 21 เมษายน 2551 18:46:12 น. 0 comments
Counter : 1133 Pageviews.  

VikingsX
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 4 คน [?]




[Add VikingsX's blog to your web]