One Love One Life ... For You... Harley Babie and Bowling
<<
ธันวาคม 2552
 
 12345
6789101112
13141516171819
20212223242526
2728293031 
14 ธันวาคม 2552

การดูแลสุนัขตั้งครรภ์

การดูแลสุนัขตั้งครรภ์

การวินิจฉัยสุนัขตั้งครรภ์
การวินิจฉัยครรภ์สุนัขสามารถทำได้หลายวิธี การคลำ อัลตราซาวด์ หรือภาพถ่ายรังสี การคลำสามารถตรวจ ได้ตั้งแต่วันที่ 21 ถึง 28 ของการตั้งท้อง ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความหนาของชั้นกล้ามเนื้อ หรือความอ้วน ของแม่สุนัขด้วย การอัลตราซาวด์ สามารถพบลักษณะถุงน้ำของตัวอ่อนได้ตั้งแต่วันที่ 17 ของการตั้งครรภ์ แต่จะเห็นได้ ชัดเจนขึ้นประมาณวันที่ 25 ถึง 30 ซึ่งช่วงนี้จะเริ่มพบการเต้นของหัวใจของ ลูกสุนัขได้ เพียงแต่ความ ถูกต้องแม่นยำของการนับจำนวนของตัวอ่อน จะไม่ดีเท่าที่ควรในช่วงท้ายของการ ตั้งครรภ์วันที่ 50 ขึ้นไป สามารถถ่ายภาพรังสี ตรวจเพื่อนับจำนวนลูกสุนัข ได้อย่างถูกต้อง

อาหารในสุนัขตั้งท้อง
ในอายุครรภ์สัปดาห์ที่สาม สุนัขอาจมีอาการแพ้ท้องได้เช่นกัน โดยแสดงอาการเบื่ออาหาร น้ำหนักลด และอาจมีภาวะคลื่นเหียน อาเจียน แต่อาการเหล่านี้ควรจะหมดไปภายในหนึ่งสัปดาห์ ซึ่งถ้าไม่ดีขึ้น ควรนำสุนัขไปตรวจกับสัตวแพทย์ แม่สุนัขตั้งครรภ์ไม่มีความจำเป็น ที่ต้องเพิ่มปริมาณอาหาร สารอาหารที่รับมากเกินไป ทำให้สุนัข อ้วนมากขึ้น โดยจะเกิดปัญหาคลอดยากตามมา การเพิ่มปริมาณอาหาร สามารถเพิ่มได้ที่อายุการ ตั้งครรภ์สามสัปดาห์สุดท้าย สัดส่วนที่เหมาะสม คือเพิ่ม 30 ถึง 40 เปอร์เซนต์ จากปริมาณ อาหารปกติ โดยควรเพิ่มในอาหารหมวด โปรตีน คาร์โบไฮเดรต และไฟเบอร์ ทั้งนี้สามารถเบ่งให้ได้เป็น สามถึงสี่มื้อต่อวัน การเสริมอาหาร ประเภทวิตามินต่างๆ และ แร่ธาตุแคลเซียม เป็นสิ่งที่ไม่จำเป็น ซึ่งอาจจะมีผลเสีย เช่น การเสริม แคลเซียม ปริมาณมากๆ ในระหว่างการตั้งครรภ์ จะทำให้สมดุล ของฮอร์โมนที่ควบคุมระดับ แคลเซียม ในเลือดเสียไป โดยจะไปกด ฮอโมนพาราไทรอยด์ และเหนี่ยวนำให้เกิดภาวะ ไข้น้ำนมหลังการคลอด ได้ง่าย.. ซึ่งสารเสริมอาหารทั้งหลายนั้น ถ้าอาหารสุนัขที่ให้มีคุณภาพดี สิ่งเหล่านี้ล้วนเพียบพร้อมอยู่ในอาหารอยู่แล้ว การเสริม กรดไขมันโอมากา 3 นับว่ามีผลดี คือจะทำให้การเติบโตของสมองเป็นไปได้อย่างมาก ม่านตาเจริญได้อย่างรวดเร็ว

การออกกำลังกาย
การออกกำลังกายของสุนัขตั้งครรภ์ที่เหมาะสมที่สุด คือการจูงเดิน แบบเดินเร็ว ห้ามออกกำลังกายหักโหม ที่สำคัญควรควบคุมสิ่งแวดล้อม ที่ทำให้เกิดความเครียดน้อยที่สุด ถ้าเป็นไปได้ ภายในสามสัปดาห์ สุดท้ายของการตั้งท้อง ควรแยกสุนัข ออกมาจากสุนัขตัวอื่น

การทำวัคซีน
ไม่ควรทำวัคซีนขณะตั้งครรภ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง วัคซีนเชื้อเป็น เวลาที่เหมาะสมที่สุดในการทำวัคซีน คือช่วงก่อนตั้งครรภ์ หรือก่อนผสม เพื่อที่จะให้ภูมิคุ้มกันของแม่ถ่ายทอดไปสู่ลูก โดยผ่านทางน้ำนม น้ำเหลือง (colostrum) ในวันแรกหลังคลอด

การถ่ายพยาธิและภาวะปรสิต
มีปรสิตที่สามารถถ่ายทอดจากแม่ไปสู่ลูกได้ เช่น พยาธิไส้เดือน พยาธิปากขอ จึงควรมีการถ่ายพยาธิ เพื่อความปลอดภัยของลูกในครรภ์ ควรหลีกเลื่ยงยากำจัดปรสิตภายนอก เช่น กลุ่ม ออร์กาโนฟอสเฟต และ ไพริทรอยด์ เพื่อกำจัด เห็บ หมัด ตัวอ่อนพยาธิหนอนหัวใจ สามารถข้ามรก จากแม่ไปสู่ตัวลูกได้ จึงควรทำการตรวจสอบหาพยาธิหนอนหัวใจ ก่อนการผสม พบว่า การป้องกันพยาธิหนอนหัวใจด้วย ไอเวอร์เมคติน และ มิลบีมัยซิน ออกไซม์ นั้น สามารถใช้ได้อย่างปลอดภัย ต่อลูกในครรภ์


แนะนำขั้นตอนในการจัดการแม่พันธุ์หลังจากผสมพันธุ์ดังนี้
1 การวินิจฉัยการตั้งท้องในสุนัข
การวินิจฉัยการตั้งท้องในแม่สุนัขสามารถทำได้หลายวิธี ได้แก่
การคลำตรวจ เป็นวีธีที่สามารถทำได้ง่ายไม่ต้องใช้เครื่องมือ และสามารถmonitor ได้ต่อเนื่อง ตรวจพบได้ตั้งแต่วันที่ 20ถึง 30 หลังผสมครั้งแรก โดยจะคลำพบการบวมขยายของมดลูก และส่วนยึดเกาะของรกก็สามารถคลำได้ โดยในช่วงแรกจะคล้ายลูกแพรและจะค่อยๆกลมขึ้นเรื่อยๆตามระยะเวลา ในสุนัขที่น้ำหนักประมาณ20กิโลกรัม มดลูกอาจหนาประมาณ 2 นิ้วในช่วงวันที่ 28-30 ของการตั้งท้อง
ประมาณวันที่ 30 ถึง35 หลังการตั้งท้องมดลูกจะขยายใหญ่ และปีกมดลูกจะหย่อนไปอยู่ทางด้านหน้าในส่วนของชายโครงและทางด้านล่างทำให้ ยากในการคลำ หลังวันที่ 35เป็นต้นไปจะไม่สามารถคลำมดลูกได้เนื่องจากมดลูกจะมีขนาดใหญ่กว่า 3 cm ทอดยาวและหยุ่นๆมากกว่าแข็งทำให้ยากในการคลำ หลังจากวันที่ 50 เป็นต้นไปถึงจะเริ่มกลับมาคลำพบมดลูกอีกครั้ง เนื่องจากมดลูกมีการบวมลดลงทำให้คลำพบลูกแต่และตัวได้ง่ายขึ้น
อย่างไรก็ดีการคลำตรวจนั้นจำเป็นต้องอาศัยประสบการณ์และขึ้นอยู่กับสภาพของ สุนัขด้วย คือ สุนัขที่ผอมและไม่ค่อยเกรงเวลาคลำท้องย่อมตรวจได้ง่ายกว่า

การถ่ายภาพรังสี เป็น การวินิจฉัยที่แน่นอน ในช่วง 2 สัปดาห์แรกของการตั้งท้อง x-ray จะเริ่มเห็นภาวะที่มดลูกขยายใหญ่ x rayจะไม่เห็นโครงสร้างกระดูกของลูก จนกว่าจะถึงวันที่ 42ถึง50 ส่วนโครงสร้างส่วนกะโหลกของลูกจะเริ่มมองเห็นตั้งแต่วันที่ 44-46นับแต่วันที่ระดับฮอร์โมน LH ขึ้น (ประมาณวันที่2 หลังมีอาการยืนนิ่งยอมรับการผสม) ส่วนเชิงกรานจะเริ่มมองเห็นตั้งแต่วันที่53-57 ส่วนของฟันจะเริ่มมองเห็นตั้งแต่วันที่ 58-61 ซึ่งตรงนี้ใช้เป็นเกณฑ์ในการตัดสินใจเกี่ยวกับเรื่องการผ่าคลอดด้วยว่าควร ทำหลังจากที่ x ray พบฟันแล้ว
นอกจากนี้การ x ray ยังช่วยในการวินิจฉัยจำนวนของลูก รวมถึงภาวะในการคลอดยากด้วย การนับจำนวนลูกจะดูจากจำนวนของกะโหลกเพราะจะทำให้รู้ตำแหน่งของลูกและโอกาส ที่จะนับผิดพลาดค่อนข้างน้อย
การพบว่าโครงสร้างกระดูกของลูกยุบตัวบ่งบอกว่าลูกตายแล้ว ส่วนการประเมินภาวะคลอดยากการดูขนาดของกะโหลกลูกเทียบกับขนาดช่องเชิงกราน ของแม่เป็นวิธีการที่ไม่สามารถบ่งบอกภาวะการคลอดยากได้แน่ชัด เนื่องจากอาจจะมีการหย่อนตัวของช่องคลอดได้อีก แต่ภาวะตรงนี้ไม่ค่อยแน่นอน นอกจากนี้ท่าของลูกที่จะคลอดได้ง่ายควรอยู่ในท่านอนคว่ำ

การอัลตราซาวน์ ใน การประเมินวันที่จะต้องอัลตราซาวน์ เราควรดูจากวันที่ระดับฮอร์โมน LH ขึ้น เป็นช่วงก่อนที่จะมีการตกไข่ หรือประมาณวันที่ 2 ที่สุนัขเริ่มมีอาการยืนนิ่ง จะได้วันที่ถูกต้องยิ่งขึ้น เพราะหากนับจากวันผสมย่อมบอกยากว่าจะเกิดการปฏิสนธิจริงวันไหนเป็นเพียง การนับวันโดยประมาณ
ถุงหุ้มตัวอ่อนสามารถตรวจพบได้เร็วที่สุดประมาณวันที่ 20 นับจากวันที่ระดับฮอร์โมน LH ขึ้น การเต้นของหัวใจลูกจะพบวันที่ 23-25 และการเคลื่อนไหวของตัวลูกจะพบวันที่34-36
การอัลตร้าซาวน์เป็นวิธีการที่สามารถตรวจพบการตั้งท้องได้ค่อนข้างเร็วและเป็นวิธีที่ปลอดภัยมากกว่าวิธีอื่น

การตรวจเลือดหรือปัสสาวะ เป็น การตรวจวัดระดับของฮอร์โมน relaxin เป็นฮอร์โมนที่สร้างจากรังไข่และมีส่วนน้อยที่สร้างจากตัวรก การตรวจใช้ชุดทดสอบ ที่ใช้วิธีทาง immunoassays เป็นฮอร์โมนที่ตรวจพบเฉพาะในสุนัขที่ท้องโดยจะพบตั้งแต่ช่วงกลางของการตั้ง ท้องเป็นต้นไป ฮอร์โมนนี้จะไม่พบในสุนัขที่ท้องเทียม
ผู้สนใจสามารถสอบถามเพื่อตรวจสอบได้ตามโรงพยาบาลสัตว์ทั่วไป

2 การดูแลและการให้อาหาร
การ ดูแลการให้อาหารแม่สุนัขในช่วงหลังผสมมีความสำคัญ เพราะเกี่ยวข้องกับการเจริญเติบโตของลูกในท้อง ถ้าสุนัขน้ำหนักน้อยกว่าปกติเราควรต้องเพิ่มปริมาณอาหารที่มีคุณภาพเพื่อ ใช้ในการเจริญเติบโตของลูกในท้อง ถ้าแม่ไม่ได้อาหารที่เหมาะสมเพียงพอจะทำให้น้ำหนักลูกแรกคลอดต่ำและมีอัตรา การตายสูง ในทางกลับกันถ้าเราให้อาหารมากเกินไปทำให้แม่น้ำหนักตัวเกินและลูกตัวใหญ่ เกินไปอาจมีปัญหาเรื่องคลอดยาก
ในสุนัขตั้งท้องเราควรให้อาหารที่มีคุณภาพสูง ย่อยง่ายและดูดซึมได้ง่าย ซึ่งจะให้เป็นอาหารเฉพาะสำหรับแม่สุนัขตั้งท้องและให้นม หรืออาหารสำหรับลูกสุนัขก็ได้
ในสุนัขตั้งท้อง ลูกสุนัขในช่วง 1-6 สัปดาห์แรก จะมีการเจริญเติบโตประมาณ 30 เปอร์เซ็นต์ หลังจากนั้นลูกสุนัขจะมีการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว และจะช้าลงในช่วงสัปดาห์สุดท้ายของการตั้งท้อง
ถ้าแม่สุนัขน้ำหนักตัวเหมาะสม ไม่ควรจะเพิ่มปริมาณอาหารจนกว่าจะถึงประมาณสัปดาห์ที่5 หรือ 6ของการตั้งท้อง เพราะไม่จำเป็นต้องให้ก่อน5 สัปดาห์แรกเพราะลูกสุนัขยังไม่มีการพัฒนามาก จะทำให้แม่มีน้ำหนักมากเกินไปทำให้คลอดยาก
สำหรับช่วงหลังจากสัปดาห์ที่ 5-6 ควรเพิ่มปริมาณอาหารจากความต้องการปกติ 25-50 เปอร์เซ็นต์ ขึ้นอยู่กับจำนวนลูกและขนาดแม่ น้ำหนักของแม่ควรเพิ่มจากปริมาณปกติ 15-25 เปอร์เซ็นต์ เช่น ก่อนตั้งท้องมีน้ำหนักประมาณ15 กิโลกรัม ควรมีน้ำหนักประมาณ 17-19 กิโลกรัม
ในช่วงสัปดาห์สุดท้ายของการตั้งท้อง ขนาดของลูกในมดลูกจะใหญ่เต็มที่ ทำให้เบียดช่องว่างภายในทางเดินอาหารของตัวแม่ ดังนั้นในช่วงนี้ควรให้อาหารแก่แม่สุนัขทีละน้อยๆ วันละหลายๆครั้ง แล้วที่สำคัญในช่วง 1-5 วันก่อนคลอดเต้านมจะเจริญอย่างรวดเร็วเพี่อเร่งการสร้างน้ำนม เราควรต้องให้ความสำคัญกับอาหารในช่วงสัปดาห์สุดท้ายของการตั้งท้องด้วย

3 การดูแลช่วงใกล้คลอด
พบว่าในช่วงใกล้คลอด แม่สุนัขจะมีการเปลี่ยนแปลงทางร่างกายนอกเหนือจากช่องท้องที่ขยายดังนี้
1. เต้านมมีการขยายตัวทุกเต้า พบว่าก่อนการคลอดประมาณตั้งแต่ 2 อาทิตย์ก่อนคลอด พบว่ามีน้ำนมไหล
2. การไม่ยอมทานอาหารก่อนการคลอด พบว่า ระยะเวลาประมาณ 12 ชั่วโมงก่อนคลอดเป็นช่วงที่เจ้าของสุนัขควรเฝ้าจับตาดูเพื่อช่วยคลอด
3. อุณหภูมิลดลงก่อนการคลอด มักพบว่าเกิดก่อนการคลอด 12-18 ชั่วโมงก่อนการ

Author by น.สพ.วรวิทย์ อนุวงศ์นุเคราะห์
จาก//www.mormakaset.com/pet.htm
เเล้วก็เสริมเรื่องการอาบน้ำน่ะครับว่าควรอาบน้ำหมาท้องป่าวพี่หมอบอกว่า

การห้ามอาบน้ำในสุนัขท้องอาจเป็นเพราะการกลัวสุนัขไข้ขึ้นจนป่วยละผลอาจทำให้ สภาพแม่สุนัขโทรมมากกว่านะงับ ง่ายๆปรับการอาบน้ำให้ไวละอาบตอนมีแดดก้อพอไหวนะงับ อีกอย่างอย่าให้ไปลงน้ำสกปรก+ติดเห็บมาละโอกาสแท้งสูงก้อจะมาละงับ

แล้วก็ผมมีข้อมูลการตรวจการท้องว่าท้องหรือป่าวน่ะครับ
//www.bloggang.com/viewdiary.php?id=honghong&month=10-2006&date=21&group=4&blog=1
ขออภัยที่ไม่สามารถเอาบทความนี้มาลงในเว็บได้น่ะครับ

ย้ายมาจาก board เก่าโดยคุณ honghong
-------------------------------------------------------

เอาแบบไม่วิชาการ แต่อิงประสบการ์แล้วกันนะคะ
1 ให้อาหารพรีเมี่ยม แต่เปลี่ยนเป็นสูตรลูกสุนัขค่ะ
2. Solid Gold Flax Seed & Solid Gold Sea Meal ให้ดีอยู่แล้ว
3. แคลเซี่ยมไม่ต้องให้ค่ะ (สำหรับปอมไว้ให้ตอนแม่เค้าคลอดแล้ว) อาจให้ทานนมแพะเสรีมบ้างนิดหน่อยพอ(นิดหน่อย ไม่ต้องทุกวัน) ไม่งั้นให้แคลเซียม ลูกสุนัขตัวใหญ่ คลอดไม่ได้
4. ยาบำรุงขน พวก Omega 3 และ 6 ค่อยเริ่มให้หลังจากผสม 30 วัน จนถึงคลอด
5.พวกสารเคมี ยาถ่ายพยาธิ Heart Guard แนะนำว่าให้งดไปก่อนเลยค่ะ (ถ่ายพยาธิควรทำก่อนผสมค่ะ)
นอกจากนั้นก็
6. ให้ยาบำรุงเลือด (ได้ทุกยี่ห้อ ไม่ว่าจะ Puppy Drops 0.5 cc. หรือของคน Nutro Plex 0.5 - 1 cc)
7. ไม่จำเป็นไม่ต้องให้อาหารเพิ่มขึ้นจากเดิมเยอะ ถ้าแม่หมาอ้วนเกิน จะคลอดลำบาก ให้มาบำรุงลูกสุนัขหลังคลอดได้
8. พาไปอัลตร้าซาวล์ หลังตั้งครรภ์ประมาณ 30 วันขึ้นไป ในกรณีนี้ก็นับไปเลยค่ะ จากนี้ 30 วัน (ของพี่พาไปตอน 45 วัน)

จากนั้นคุณหมอจะประมาณได้ว่าอายุครรภ์ประมาณกี่สัปดาห์ จากการเต้นของหัวใจของตัวอ่อน ขนาดของเค้า และจำนวนโดยประมาณ แต่ยังไม่ชัวร์ เค้าอาจนอนทับกันอยู่เลยไม่เห็น

แล้วคุณหมอจะนัดวัน เอ็กเรย์ ช่วงใกล้ๆคลอด พยายามให้เกิน 50 วันไปแล้วจะดีที่สุด เพื่อดูจำนวนของลูกสุนัข และขนาดเมื่อเทียบกับ เชิงกรานของแม่สุนัข

วันไปเอ็กเรย์ อาจขอให้คุณหมอเจอะเลือดเผื่อไว้ในกรณีต้องผ่าคลอดด้วยก็ดีนะคะ แล้วคุณหมอจะนัดวันฝากคลอดอีกทีค่ะ

ย้ายมาจาก board เก่าโดยคุณ Dre@m
-------------------------------------------------------

ทีนี้ ก็มาถึงความเห็นของผมละกัน

จริงๆ แล้ว ที่เขาบอกกันว่า ฮีทแรกให้ปล่อย อย่าเพิ่งผสม ก็เพราะเกรงว่าตัวแม่ จะยังโตไม่เต็มที่
ร่างกายยังต้องการสารอาหารเพื่อการเติบโตอยู่ การมีลูกจะทำให้ตัวแม่กระทบกระเทือนในเรื่องนี้ ซึ่งก็ยังไม่ใช่เรื่องร้ายแรงมาก
ถ้าเราไม่ได้ให้เขาตั้งท้องถี่ และบ่อยๆ ในอนาคต
อีกอย่าง เขาก็ว่ากันว่า อายุน้อยๆ กระดูกเชิงกรานมันยังขยายไม่เต็มที่ การคลอดอาจจะยาก ถ้าลูกๆ ตัวโต

ตอนนี้ ก็ต้องเปลี่ยนอาหารอย่างที่คุณดรีมว่าไว้แหละ คือให้สูตร puppy ได้เลย
พร้อมกับให้เขาออกกำลังกายบ้างตามสมควร จะได้แข็งแรง

ช่วงแรกนี้ ลองชั่ง นน. เป็นช่วงๆ สิครับ ว่าเพิ่มขึ้นเท่าไหร่
พอสัก 4-6 สัปดาห์ ก็พาไป ultra sound ดูได้เลย
ตอนนี้ ก็จะเห็นหัวใจดวงเล็กๆ เต้นตุบๆ แล้วหละครับ
พอใกล้ๆ 2 เดือนค่อย x-ray
เพื่อดูว่า ลูกตัวใหญ่แค่ไหน แม่มีช่องเชิงกรานโตแค่ไหน
พอจะคลอดไหวหรือเปล่า ถึงตรงนี้ หมอคงพอวางแผนล่วงหน้าได้แล้วครับ ถ้าเห็นขนาดจากการ x-ray

ที่นี้ ผมแนะนำให้หาหมอที่จะสามารถดูแลเรื่องการคลอด การผ่าได้ ที่สะดวกๆ ที่สุดแหละ
ถ้ายากลำบากมากเรื่องการเดินทาง
หมายถึงว่า ถ้าเกิดจับเวลาตั้งแต่ถุงน้ำคร่ำแตก จนกระทั่ง ไปถึงมือหมอเพื่อทำคลอด ใช้เวลาเกิน 60-75 นาที
ก็วางแผน ผ่า ได้เลยครับ
แต่ถ้าการเดินทางไม่ลำบาก ใช้เวลาไม่มากนัก และถ้ามาลู่ มีขนาดเชิงกรานที่พอจะคลอดได้
ก็อยากแนะนำให้คลอดเอง
เพราะ การคลอดเอง ถ้าไม่มีอะไรผิดปกติทั้งแม่ ทั้งลูก ผมใช้เวลาพักฟื้นที่ รพส. แค่ 2 ชม. เองครับ
คืนนั้น ก็พากลับบ้านได้เลย

ถ้าไม่อย่างนั้น พอประมาณ วันที่ 58 เป็นต้นไป
ต้องเสียบปรอทวัดอุณหภูมิทางก้นของแม่สุนัข ทุกวัน เช้า เย็น
เพื่อดูว่า temp เปลี่ยนแปลงหรือไม่
ถ้าเริ่มเปลี่ยนแปลง บวกกับมีอาการ กระวนกระวาย
หงุดหงิด เริ่มขุดทำรัง หามุมสงบ
ก็อาจจะพาไปฝากหมอได้เลย

ย้ายมาจาก board เก่าโดยคุณ บูรพา
-------------------------------------------------------

การบำรุงสุนัขหลังผสมพันธุ์แล้ว
เมื่อพบว่าสุนัขท้องแน่ คุณควรบำรุงแม่สุนัขด้วยอาหารโปรตีนสูง รวมทั้งแคลเซียม วิตามิน และเกลือแร่ต่างๆ ประมาณ 1 ใน 3 ของอาหารที่ให้ 2 อาทิตย์สุดท้ายก่อนคลอด อาจเพิ่มปริมาณอาหารเสริมเป็น 1 ใน 2 ทั้งนี้จะขึ้นกับขนาดและน้ำหนักของสุนัขด้วย

เมื่อแม่สุนัขคลอด
หลังคลอดสัก 2-3 ชั่วโมง ควรให้กินน้ำนมหรืออาหารเหลวอุ่นสัก 1 ถ้วย และมีน้ำให้กินตลอดเวลา

การดูแลสุนัขตั้งท้อง
ควรให้อาหารที่มีคุณภาพในปริมาณที่เพียงพอต่อความต้องการ ควรให้ออกกำลังกายเบาๆ เช่นจูงเดินเล่น และหลีกเลี่ยงการกระโดดโลดเต้น การวิ่ง หรือการเล่นรวมกับสุนัขอื่น เพราะอาจทำให้แท้งได้

ที่นอนของลูกสุนัข
คุณอาจหากล่องกระดาษ ขนาดกำลังดีสักใบ ปูกระดาษหนังสือพิมพ์ลง จากนั้นจึงหาผ้าห่มเก่าๆ วางทับอีกที แค่นี้ลุกสุนัขก็จะได้มีที่นอนอบอุ่น

จะรู้ได้อย่างไรว่าสุนัขท้อง
อาจใช้วิธีการคลำผ่านหน้าท้อง หลังจากที่สุนัขทำการผสมพันธุ์ได้ 20-30 วัน หากสังเกตดูจะพบว่ามดลูกมีลักษณะขยายใหญ่

การทำความสะอาดลูกสุนัข
หากลูกสุนัขอายุต่ำกว่าเดือนหรือเดือนครึ่ง ยังไม่ควรอาบน้ำให้ แต่ควรทำความสะอาดด้วยการใช้ผ้าชุบน้ำอุ่นบิดพอหมาดๆ เช็ดคราบสกปรกให้แทน หากจะอาบน้ำให้ควรรอให้ลูกสุนัขอายุ 3 เดือนขึ้นไปก่อน

นมน้ำเหลือง
ลูกสัตว์แรกคลอดควรได้กินนมน้ำเหลืองจากแม่ภายใน 12 ชั่วโมง ซึ่งจะช่วยให้โปรตีน สารอาหารที่จำเป็น ถูกดูดซึมสู่ผนังลำไส้เข้าสู่ระบบน้ำเหลืองได้โดยตรง หากลูกสัตว์ได้รับน้ำนมช้า ภูมิคุ้มกันก็จะลดลงไปด้วย

ควรให้นมสุนัขบ่อยแค่ไหน
เราควรให้นมแก่ลูกสุนัขวันละ 4 ครั้ง ที่เหมาะสมที่สุดควรห่างกันครั้งละ 6 ชั่วโมง จะเป็นการดีถ้าให้นมปริมาณน้อยในแต่ละครั้งแต่ให้บ่อย ๆ

ย้ายมาจาก board เก่าโดยคุณ Pecan



Create Date : 14 ธันวาคม 2552
Last Update : 23 เมษายน 2553 9:33:48 น. 0 comments
Counter : 12934 Pageviews.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

mooaoun
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 12 คน [?]




One Love One Life...
Love Harley Babie Angie and the Gangs
& Bowling...2 ka
Background.MyEm0.Com
[Add mooaoun's blog to your web]