ธันวาคม 2553

 
 
 
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
 
 
14 ธันวาคม 2553
พระพุทธเจ้าหลวง
สมเด็จพระพุทธเจ้าหลวง



พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์ ซึ่งประชาชาติไทยได้พร้อมใจกันถวายพระนามแด่พระองค์ว่า สมเด็จพระพุทธเจ้าหลวง หรือ สมเด็จพระปิยมหาราช และพากันน้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณอันยิ่งใหญ่ของพระองค์ อันเนื่องมาจากพระมหากรุณาธิคุณของพระองค์ท่าน เช่น
ทรงปฎิรูปการปกครองของประเทศไทย จากแผนโบราณมายังแผนอารยใหม่ทั้งหมด การที่พระองค์ทรงปฎิรูปการปกครองแบบแผนใหม่เนื่องมาจากมูลเหตุบางประการคือ
มูลเหตุจากปัญหาภายนอกประเทศ คือในช่วงรัชกาลที่ 3 ถึงรัชกาลที่ 5 ประเทศต่าง ๆ ที่อยู่รอบประเทศของเราในคาบสมุทรอินโดจีน ล้วนตกอยู่ภายใต้อิทธิพลการปกครองของประเทศมหาอำนาจตะวันตกคือ ฝรั่งเศสและอังกฤษ
มูลเหตุจากภายในประเทศ ประเทศไทยเรายังใช้ระบบแผนโบราณมาปกครองประเทศ ทำให้การบริหารงานปกครองแผ่นดินอืดอาดล่าช้า
ก่อนการปฎิรูประเบียบการบริหารราชการแผ่นดินของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว นับตั้งแต่ พ.ศ.2435 นั้น ดินแดนที่ไทยเราปกครองอยู่แบ่งเป็น 2 ส่วนด้วยกัน คือ ดินแดนที่เป็นของดั้งเดิมของไทย หรือดินแดนชั้นใน แบ่งการปกครองออกเป็น 2 ส่วนใหญ่ คือ หัวเมืองชั้นใน อันเป็นที่ตั้งราชธานีคือ กรุงเทพฯ หัวเมืองชั้นในนั้นต้องอยู่ภายในระยะที่จะติดต่อกันได้ภายใน 2 วัน กับหัวเมืองชั้นนอก ดินแดนใหม่ที่ได้ผนวกเข้ามาคือ เมืองประเทศราชนั่นเอง
• หัวเมืองชั้นในได้แก่ จังหวัดราชบุรี เพชรบุรี ประจวบคีรีขัน์ กาญจนบุรี
สมุทรสงคราม สุพรรณบุรี สมุทรสาคร นครสวรรค์ ชัยนาท ฉะเชิงเทรา ปราจีนบุรี และนครนายก
• หัวเมืองชั้นนอก ได้แก่ หัวเมืองที่อยู่ถัดออกไปจากหัวเมืองชั้นในทั้งหมด แบ่งออกเป็นเมืองพระยามหานคร ซึ่งมีฐานะเป็นเมืองเอก โท ตรี

ก่อนที่จะมีการปฎิรูปการปกครองในสมัยรัชกาลที่ 5 รูปแบบการปกครองใน
สมัยก่อนได้มีเสนาบดี ตำแหน่งสูงสุด 3 ตำแหน่งคือ
1.สมุหนายก
2.สมุหกลาโหม
3.พระยาโกษาธิบดี

ในทางทฤษฎีนั้น อำนาจของเจ้าเมืองอยู่ภายใต้ขอบเขตตามที่พระราชกำหนดบัญญัติไว้ แต่ในทางปฎิบัติแล้ว อำนาจของเจ้าเมืองมีมากมาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งเจ้าเมืองที่อยู่ไกล ๆ ราชธานีออกไป และความสวามิภักดิ์ต่องค์พระมหากษัตริย์ซึ่งปกครองราชธานีก็มีเพียงแต่ผิวเผินเท่านั้น การปกครองบังคับบัญชาตลอดจนการปฎิบัติหน้าที่ของข้าแผ่นดินก็ปฎิบัติกันในรูปแบบหรือใช้ลัทธิเจ้าขุนมูลนาย เกิดช่องว่างกันมากระหว่างข้าราชการกับราษฎร
ในบรรดางานทั้งหลายที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงทำเป็นความสำเร็จอันยิ่งใหญ่ ปลดเปลื้องทุกข์ยากของประชาราษฎร์ เป็นเรื่องสำคัญที่ทำให้ประชาชนชาวเราทั้งหลายถวายพระนามสัญญาว่า “ปิยมหาราช” นั้น งานเลิกทาสดูเหมือนจะนำหน้างานใด ๆ ทั้งสิ้น
ในปัจจุบัน การเรียกพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 นั้นว่า “เสด็จพ่อ” นั้น เป็นคำพูดที่มักได้ยินเสมอในปัจจุบันซึ่งอาจเป็นเพราะว่า ประชาชนทุกคนในแผ่นดินไทยนั้นให้ความเคารพรักท่าน และยกย่องขึ้นไว้เหนื่อหัว กล่าวขานว่าเป็น “พ่อ” ของแผ่นดิน จึงมีความหมายในทางยกย่องสรรเสิญ ไม่ได้หมายความถึงในเชิงของการลบหลู่หรือเป็นการยกตนเสมอพระองค์ท่าน
ประชาชนส่วนใหญ่มักกราบไว้บูชาท่าน ด้วยดอกกุหลาบสีชมพู และ บูชาด้วยพระคาถา ว่า

พระสยามมินทร์โธ วะโรอิติ พุทธะสังมิ อิติ
อะระหัง สะหัสสะกายัง วะรังพุทโธ นะโมพุทธายะ


ขอขอคุณที่มาของข้อมูลและรูปภาพจาก

//www.dhammajak.net/suadmon-kata/13.html
//sufficiencyeconomy.panyathai.or.th/wiki/index.php/%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%8A%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A5%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88_5



Create Date : 14 ธันวาคม 2553
Last Update : 14 ธันวาคม 2553 14:32:53 น.
Counter : 1360 Pageviews.

2 comments
  
ขออนุญาติก๊อบพระคาถานะคะ

โดย: นาฬิกาสีชมพู วันที่: 14 ธันวาคม 2553 เวลา:16:25:35 น.
  
ครับผม....ยินดีครับ
โดย: Watcharawat วันที่: 15 ธันวาคม 2553 เวลา:8:19:18 น.
ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
 *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

Watcharawat
Location :
กรุงเทพฯ  Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]



New Comments