มีนาคม 2554

 
 
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
 
 
การจัดหมวดหมู่หนังสือ
เรื่องการจัดหมวดหมู่หนังสือ

สาระสำคัญ
การจัดหมวดหมู่หนังสือ เป็นการจัดหนังสืออย่างมีแบบแผน โดยจัดหนังสือที่มีเนื้อเรื่องเหมือนกันหรือคล้ายคลึงกันไว้ด้วยกัน แล้วใช้สัญลักษณ์แทนเพื่อให้เกิดความสะดวกแก่ผู้ใช้ ในการค้นหาหนังสือ ซึ่งมีอยู่หลายระบบด้วยกัน แต่ที่นิยมใช้สำหรับห้องสมุดโรงเรียน คือ ระบบทศนิยมของดิวอี้ และห้องสมุดมหาวิทยาลัยคือระบบรัฐสภาอเมริกัน
จุดประสงค์การเรียนรู้
1. บอกความหมายและความสำคัญของการจัดหมู่หนังสือได้
2. บอกประโยชน์ของการจัดหมู่หนังสือได้
3. บอกและอธิบายเกี่ยวกับการจัดหมวดหมู่หนังสือระบบทศนิยมของดิวอี้ได้
4. บอกอักษรย่อของการจัดหมวดหมู่หนังสือที่ไม่ใช้ตัวเลขเป็นสัญลักษณ์ได้
5. บอกและอธิบายเกี่ยวกับการจัดหมวดหมู่หนังสือระบบรัฐสภาอเมริกันได้
6. บอกและอธิบายความแตกต่างระหว่างการจัดหมวดหมู่หนังสือระบบทศนิยมของดิวอี้ กับระบบรัฐสภาอเมริกันได้
7. อธิบายและบอกส่วนประกอบของเลขเรียกหนังสือได้
8. อธิบายการเรียงหนังสือบนชั้นได้
1. ความหมายของการจัดหมวดหมู่หนังสือ
การจัดหมวดหมู่หนังสือ คือ การจัดกลุ่มหนังสือ โดยพิจารณาจากเนื้อหาสาระของหนังสือเป็นสำคัญ หรือลักษณะการประพันธ์อย่างเดียวกันไว้ด้วยกัน โดยมีสัญลักษณ์แสดงเนื้อหา ของหนังสือแต่ละประเภทโดยจะเขียนสัญลักษณ์แทนประเภทของหนังสือไว้ที่สันหนังสือแต่ละเล่ม เพื่อจะเป็นการบอกตำแหน่งของหนังสือที่อยู่ในห้องสมุด หนังสือที่เนื้อหาเหมือนกัน หรือ คล้ายคลึงกันจะจัดวางไว้ด้วยกันหรือใกล้ ๆ กัน
2. ความสำคัญของการจัดหมู่หนังสือ
2.1 ผู้ใช้ห้องสมุดและเจ้าหน้าที่ห้องสมุดสามารถค้นหาหนังสือที่ต้องการได้ง่าย และประหยัดเวลา เพราะเมื่อมีการจัดหมู่หนังสืออย่างเป็นระบบที่สันหนังสือทุกเล่มจะมีเลขหมู่หนังสือ ผู้ใช้ห้องสมุดสามารถค้นหนังสือได้โดยเปิดดูเลขจากบัตรรายการ แล้วตรงไปหาหนังสือจากชั้นได้อย่างรวดเร็ว เจ้าหน้าที่ห้องสมุดก็สามารถจัดเก็บหนังสือขึ้นได้ถูกต้องและรวดเร็ว
2.2 หนังสือที่มีเนื้อหาวิชาอย่างเดียวกัน หรือคล้ายคลึงกันจะรวมอยู่ในหมวดหมู่เดียวกัน ช่วยให้ผู้ใช้ห้องสมุดมีโอกาสเลือกหนังสือเนื้อเรื่องที่ต้องการจากหนังสือหลาย ๆ เล่มได้อย่างรวดเร็ว
2.3 หนังสือที่มีเนื้อเรื่องเกี่ยวเนื่องกัน หรือสัมพันธ์กันจะอยู่ใกล้ ๆ กัน ซึ่งจะช่วยให้ผู้อ่านสามารถหาหนังสือที่มีเรื่องราวเหมือนกันมาประกอบเนื้อหาให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น
2.4 ช่วยให้ทราบว่ามีจำนวนหนังสือในแต่ละหมวดมากน้อยเพียงใด
2.5 เมื่อได้หนังสือใหม่เข้ามาในห้องสมุด ก็สามารถจัดหมวดหมู่ แล้วนำออกขึ้นชั้นรวมกับหนังสือที่มีอยู่ก่อนแล้วเพื่อให้บริการได้อย่างรวดเร็ว
3. ประโยชน์ของการจัดหมวดหมู่หนังสือ
3.1 หนังสือแต่ละเล่มจะมีสัญลักษณ์แทนเนื้อหาของหนังสือ
3.2 หนังสือที่มีเนื้อหาวิชาอย่างเดียวกัน หรือคล้ายคลึงกันจะรวมอยู่ในหมวดหมู่เดียวกัน ช่วยให้ผู้ใช้มีโอกาสเลือกหนังสือหรือเนื้อเรื่องตามที่ต้องการจากหนังสือได้หลายเล่ม
3.3 หนังสือที่มีเนื้อเรื่องเกี่ยวเนื่องกัน หรือสัมพันธ์กันจะอยู่ใกล้ ๆ กัน ซึ่งจะช่วยให้ผู้อ่านสามารถหาหนังสือที่มีเรื่องราวเหมือนกันมาใช้ประกอบเนื้อหาได้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น
3.4 หนังสือที่มีลักษณะคำประพันธ์แบบเดียวกันจะอยู่รวมกันตามภาษาของคำประพันธ์ นั้น ๆ
3.5 ช่วยให้ผู้ใช้ห้องสมุดสามารถค้นหาหนังสือได้อย่างสะดวกและรวดเร็ว และช่วยประหยัดเวลาเพราะที่สันหนังสือทุกเล่มจะปรากฏเลขเรียกหนังสือ เจ้าหน้าที่สามารถจัดเก็บเข้าที่ ได้ถูกต้อง รวดเร็ว
3.6 ช่วยให้ทราบจำนวนหนังสือแต่ละสาขาวิชาว่ามีจำนวนมากน้อยเท่าใด หากวิชาใดยังมีจำนวนน้อยไม่เพียงพอกับความต้องการจะได้จัดหาเพิ่มเติมให้เหมาะสม
3.7 เพิ่มประสิทธิภาพในการสืบค้นวัสดุห้องสมุด ลดความผิดพลาดในการสืบค้น สามารถค้นได้อย่างถูกต้อง สมบูรณ์ รวดเร็วและประหยัดเวลา
4. ระบบการจัดหมวดหมู่หนังสือที่ควรทราบ
ระบบการจัดหมวดหมู่หนังสือที่สำคัญ การจัดหมวดหมู่หนังสือในปัจจุบันมีการจัดในระบบต่างๆ ดังนี้
4.1 ระบบเอ็กซ์แพนซีพ (Expansive Classification) ของ ชาร์ลส์ แอมมิ คัดเตอร์ (Chartes Ammi Cutter)
4.2 ระบบทศนิยมของดิวอี้ (Dewey Decimal Classification) หรือ DC หรือ DDC ของ เมลวิล ดิวอี้ (Melvil Dewey)
4.3 ระบบหอสมุดรัฐสภาอเมริกัน (Library of Congress Classification ) หรือ LC ของ เฮอร์เบิร์ท พุทนัม (Derbert Putnam) และคระบรรณารักษ์หอสมุดรัฐสภาอเมริกัน
4.4 ระบบทศนิยมสากล (Universal Decimal Classification) หรือ UDC ของ พอล อ๊อตเล็ต (Paul Otlet) และอองรี ลา ฟอนแตน (Henri La Fontaine)
4.5 ระบบซับเจค (Subject Classification) หรือ SC ของ เจมส์ ดัฟฟ์ บราวน์ (James Duff Brown)
4.6 ระบบโคลอน (Colon Classification) หรือ CC ของ เอส. อาร์. แรงกานาธาน (S.R. Ranganathan)
4.7 ระบบบรรณานุกรม (Bibliographic Classification) หรือ BC ของ เฮนรี่ เอฟเวลิน บลิสส์ (Henry Evelyn Bliss)
ระบบการจัดหมวดหมู่หนังสือทั้ง 7 ระบบ บางระบบมีการนำมาใช้น้อยมาก แต่บางระบบมีการนำมาใช้แพร่หลายในประเทศต่างๆ รวมทั้งประเทศไทยด้วย ได้แก่ ระบบหอสมุดรัฐสภาอเมริกัน และระบบทศนิยมของดิวอี้ ทั้งสองระบบนี้ห้องสมุดได้นำมาใช้แตกต่างกันตามลักษณะและขนาดของห้องสมุด ซึ่งนับว่าเป็นระบบการจัดหมวดหมู่ที่สำคัญ และเป็นที่นิยมใช้มากที่สุด
5. การจัดหมู่หนังสือระบบทศนิยมของดิวอี้
การจัดหมวดหมู่หนังสือระบบทศนิยมของดิวอี้ (Dewey Decimal Classification) เรียกย่อ ๆ ว่า ระบบ D.C. หรือ D.D.C. ระบบนี้ตั้งชื่อตามผู้คิดค้น คือ นายเมลวิล ดิวอี้ ( Melvil Dewey) บรรณารักษ์ชาวอเมริกัน ดิวอี้มีความสนจานห้องสมุดเป็นพิเศษ ในขณะที่เป็นนักศึกษาชั้นปีที่ 3 ในวิทยาลัยแอมเฮิร์สต์ ในรัฐแมสซาซูเสตต์ ได้สมัครเข้าทำงานห้องสมุดของวิทยาลัยนั้น ในตำแหน่งผู้ช่วยบรรณารักษ์ ดิวอี้ได้ไปดูงานด้านการจัดหนังสือให้สะดวกแก่การใช้ในห้องสมุดต่างๆ ถึง 50 แห่ง แล้วจึงได้เริ่มคิดระบบการจัดหมวดหมู่แบบทศนิยมขึ้นในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2416 (ค.ศ. 1873) ได้นำเสนอต่อคณะกรรมการห้องสมุดของวิทยาลัยนั้น จัดพิมพ์เป็นรูปเล่มครั้งแรกเมื่อปี ค.ศ. 1876 และได้มีการปรับปรุงแก้ไขเพิ่มเติมเลขหมู่ให้ทันสมัยอยู่เสมอ และจัดพิมพ์ใหม่ครั้งหลังสุดเมื่อปี พ.ศ. 2534 เป็นการพิมพ์ครั้งที่ 20 ระบบนี้ใช้ตัวเลขเป็นสัญลักษณ์แทนชนิดของหนังสือ โดยใช้ตัวเลขสามหลัก และยังสามารถใช้จุดทศนิยมหลังเลขหลักร้อย ช่วยในการแบ่งย่อยเนื้อหาวิชาได้อีกด้วย ระบบนี้ใช้ง่าย เข้าใจและจำได้ง่าย จึงเป็นระบบการจัดหมู่ ที่นิยมใช้กันแพร่หลายในห้องสมุดโรงเรียน ห้องสมุดประชาชน ในทุก ๆ ประเทศทั่วโลก รวมทั้ง ประเทศไทยเราด้วย ระบบทศนิยมของดิวอี้ แบ่งหนังสือเป็นหมวดหมู่ใหญ่ไปหาหมวดย่อย ๆ ดังนี้
5.1 หมวดใหญ่ (Classes) หรือการแบ่งครั้งที่ 1 คือ การแบ่งความรู้ต่าง ๆ ออกเป็น 10 หมวดใหญ่ โดยใช้ตัวเลขหลักร้อยเป็นสัญลักษณ์ ดังต่อไปนี้
หมวด 000 เบ็ดเตล็ด ความรู้ทั่วไป บรรณารักษศาสตร์
หมวด 100 ปรัชญา จิตวิทยา
หมวด 200 ศาสนา
หมวด 300 สังคมศาสตร์
หมวด 400 ภาษาศาสตร์
หมวด 500 วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์
หมวด 600 เทคโนโลยี หรือวิทยาศาสตร์ประยุกต์
หมวด 700 ศิลปกรรม และนันทนาการ
หมวด 800 วรรณคดี
หมวด 900 ภูมิศาสตร์และประวัติศาสตร์
5.2 หมวดย่อย (Division) หรือการแบ่งครั้งที่ 2 คือ การแบ่งหมวดใหญ่แต่ละหมวดออกเป็น 10 หมวดย่อย โดยใช้ตัวเลขหลักสิบแทนสาขาวิชาต่างๆ ดังต่อไปนี้
. 000 เบ็ดเตล็ด
010 บรรณานุกรมและแค็ตตาล็อกหนังสือ
020 บรรณารักษศาสตร์และสารนิเทศศาสตร์
030 สารานุกรมทั่วไป
040 (ยังไม่กำหนด)
050 สิ่งพิมพ์ต่อเนื่องและดรรชนี
060 องค์กรต่างๆ และพิพิธภัณฑวิทยา
070 วารสารศาสตร์ การพิมพ์ หนังสือพิมพ์
080 รวมเรื่องทั่วไป
090 ต้นฉบับตัวเขียนและหนังสือหายาก
. 100 ปรัชญาและจิตวิทยา
110 อภิปรัชญา
120 ทฤษฎีแห่งความรู้ ความเป็นมนุษย์
130 จิตวิทยาสาขาต่างๆ ศาสตร์เกี่ยวกับความลึกลับ
140 ปรัชญาระบบต่าง ๆ
150 จิตวิทยา
160 ตรรกวิทยา
170 จริยศาสตร์ จริยธรรม ศีลธรรม
180 ปรัชญาสมัยโบราณ ปรัชญาสมัยกลาง และปรัชญาตะวันออก
190 ปรัชญาตะวันตกสมัยใหม่
. 200 ศาสนา
210 ศาสนาธรรมชาติ
220 คัมภีร์ไบเบิล
230 เทววิทยาตามแนวคริสตศาสนา
240 ศีลธรรมของชาวคริสเตียน
250 ระเบียบแบบแผนของศาสนาคริสต์
260 สังคมของชาวคริสเตียน
270 ประวัติคริสต์ศาสนาในประเทศต่าง ๆ
280 คริสต์ศาสนาและนิกายต่าง ๆ
290 ศาสนาเปรียบเทียบและศาสนาอื่น ๆ
. 300 สังคมศาสตร์
310 สถิติทั่วไป
320 รัฐศาสตร์
330 เศรษฐศาสตร์
340 กฎหมาย
350 รัฐประศาสนศาสตร์ การบริหารรัฐกิจ การบริหารกองทัพ
360 ปัญหาสังคม สวัสดิภาพสังคม
370 การศึกษา
380 การพาณิชย์ การสื่อสาร การขนส่ง
390 ขนบธรรมเนียม ประเพณี คติชนวิทยา
. 400 ภาษาศาสตร์
410 ภาษาศาสตร์เปรียบเทียบ
420 ภาษาอังกฤษ
430 ภาษาเยอรมันและภาษาในกลุ่มเยอรมัน
440 ภาษาฝรั่งเศส
450 ภาษาอิตาเลียน ภาษารูเมเนียน
460 ภาษาสเปน ภาษาโปรตุเกส
470 ภาษาละติน
480 ภาษากรีก
490 ภาษาอื่น ๆ
. 500 วิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์
510 คณิตศาสตร์
520 ดาราศาสตร์
530 ฟิสิกส์
540 เคมี โลหะวิทยา
550 ธรณีวิทยา
560 บรรพชีวินวิทยา ชีวิตโบราณศึกษา
570 วิทยาศาสตร์ชีวภาพ
580 พฤกษศาสตร์
590 สัตววิทยา
. 600 เทคโนโลยีและวิทยาศาสตร์ประยุกต์
610 แพทยศาสตร์
620 วิศวกรรมศาสตร์
630 เกษตรศาสตร์
640 คหกรรมศาสตร์
650 ธุรกิจและการจัดการธุรกิจ
660 วิศวกรรมเคมี
670 โรงงานอุตสาหกรรม
680 โรงงานผลิตสินค้าเบ็ดเตล็ดอื่น ๆ
690 การก่อสร้างและวัสดุก่อสร้าง
. 700 ศิลปะและนันทนาการ
710 สิลปะการออกแบบบริเวณพื้นที่
720 สถาปัตยกรรม
730 ประติมากรรม และศิลปะพลาสติก
740 มัณฑนศิลป์และการวาดเขียน
750 จิตรกรรม
760 ศิลปะการพิมพ์ ศิลปะกราฟิก
770 การถ่ายภาพ และภาพถ่าย
780 ดนตรี
790 ศิลปะการแสดง นันทนาการ การกีฬา
. 800 วรรณคดี
810 วรรณคดีอเมริกัน
820 วรรณคดีอังกฤษ
830 วรรณคดีเยอรมัน
840 วรรณคดีฝรั่งเศส
850 วรรณคดีอิตาเลียน
860 วรรณคดีสเปน วรรณคดีโปรตุเกส
870 วรรณคดีละติน
880 วรรณคดีกรีก
890 วรรณคดีภาษาอื่น ๆ
. 900 ภูมิศาสตร์ และประวัติศาสตร์
910 ภูมิศาสตร์และการท่องเที่ยว
920 ชีวประวัติและสกุลวงศ์
930 ประวัติศาสตร์โลกโบราณ
940 ประวัติศาสตร์ทวีปยุโรป
950 ประวัติศาสตร์ทวีปเอเชียตะวันออก ตะวันออกไกล
960 ประวัติศาสตร์ทวีปแอฟริกา
970 ประวัติศาสตร์ทวีปอเมริกาเหนือ
980 ประวัติศาสตร์ทวีปอเมริกาใต้
990 ประวัติศาสตร์ส่วนอื่น ๆ ของโลก
5.3 หมู่ย่อย (Section) หรือการแบ่งครั้งที่ 3 คือ การแบ่งหมวดย่อยแต่ละหมวดออกเป็น 10 หมู่ย่อย โดยใช้เลขหลักหน่วยแทนสาขาวิชา ดังตัวอย่างต่อไปนี้
หมวดย่อย 640 คหกรรมศาสตร์
641 อาหารและเครื่องดื่ม
642 การจัดเลี้ยง
643 บ้านพักอาศัย และอุปกรณ์ภายในบ้าน
644 เครื่องอำนวยความสะดวกภายในบ้าน
645 เครื่องประดับบ้าน
646 การตัดเย็บเสื้อผ้า การตกแต่งร่างกาย
647 การจัดการบ้านเรือน
648 การสุขาภิบาลในบ้าน
649 การเลี้ยงดูเด็ก การพยาบาลในบ้าน
5.4 จุดทศนิยม หรือการแบ่งครั้งที่ 4 หลังจากการแบ่งเป็นหมู่ย่อยแล้ว ยังสามารถแบ่งย่อยละเอียดเพื่อระบุเนื้อหาวิชาให้เฉพาะเจาะจงลงไปได้อีก โดยการใช้ทศนิยมหนึ่งตำแหน่งไปจนถึงหลายตำแหน่ง ตัวอย่างเช่น
959 ประวัติศาสตร์ประเทศในเอเชียอาคเนย์
959.1 ประวัติศาสตร์ประเทศพม่า
959.3 ประวัติศาสตร์ประเทศไทย
959.31 ประวัติศาสตร์ไทยสมัยโบราณถึง พ.ศ. 1780
959.32 สมัยกรุงสุโขทัย
959.33 สมัยกรุงศรีอยุธยา
959.34 สมัยกรุงธนบุรี
959.35 สมัยรัตนโกสินทร์ – ปัจจุบัน
จะเห็นได้ว่าการจัดหมู่หนังสือระบบทศนิยมของดิวอี้นี้ จะใช้วิธีแบ่งหนังสือจากหมวดหมู่ใหญ่กว้าง ๆ ไปหาหมวดหมู่ย่อย ๆ ต่อไปได้อีกโดยใช้จุดทศนิยมแบบไม่รู้จบ ซึ่งผู้อ่านไม่จำเป็น
จำให้ได้ทั้งหมด แต่ควรจำให้ได้เฉพาะหมวดใหญ่ 10 หมวดว่าแต่ละหมวดเกี่ยวกับสาขาวิชาอะไร และจำเลขหมู่ของหนังสือบางเล่มที่ผู้อ่านใช้เป็นประจำก็เพียงพอแล้ว เพราะผู้ใช้ห้องสมุดเป็นต้องรู้จักวิธีการใช้ห้องสมุดเพื่อการศึกษาค้นคว้าอย่างมีประสิทธิภาพ
6. การจัดหมู่หนังสือที่ไม่ใช้ตัวเลขเป็นสัญลักษณ์
หนังสือบางประเภทผู้อ่านให้ความสนใจด้านการใช้ภาษา ตลอดจนวิธีการดำเนินเรื่องมากกว่าสาระทางวิชาการ ห้องสมุดจึงใช้อักษรย่อของคำที่บอกประเภทหนังสือนั้น ๆ แทนการให้เลขหมู่แต่ละเล่ม ซึ่งห้องสมุดแต่ละแห่งอาจจะใช้ตัวอักษรย่อแตกต่างกันสำหรับหนังสือประเภทเดียวกัน เช่น
เพื่อความสะดวกและรวดเร็วในการจัดหมู่หนังสือ ห้องสมุดส่วนมากนิยมใช้ตัวอักษร เป็นสัญลักษณ์แทนการให้เลขหมู่หนังสือบางประเภท เพราะห้องสมุดพิจารณาเห็นว่าหนังสือประเภทนั้นๆ ผู้อ่านมิได้ให้ความสนใจสาระทางวิชาการมากเท่ากับการใช้ถ้อยคำ ภาษา ตลอดจนวิธีการดำเนินเรื่อง ห้องสมุดจึงใช้อักษรย่อของคำที่บอกประเภทหนังสือนั้น ๆ แทนการใช้สัญลักษณ์สำหรับหนังสือเหล่านี้ แต่ละห้องสมุดอาจจะใช้ตัวอักษรแตกต่างกัน สำหรับหนังสือประเภทเดียวกัน สำหรับห้องสมุดโรงเรียนกบินทร์วิทยาใช้สัญลักษณ์ดังนี้
น แทน นวนิยาย (นวนิยาภาษาไทย)
Fic แทน Fiction (นวนิยายภาษาต่างประเทศ)
รส แทน รวมเรื่องสั้น
ยว แทน หนังสือสำหรับเยาวชน
พ แทน หนังสือพ็อคเก็ตบุ๊ค
อ แทน หนังสืออ้างอิง
Ref แทน หนังสืออ้างอิงภาษาต่างประเทศ (Reference Book)
บ แทน แบบเรียน




Create Date : 20 มีนาคม 2554
Last Update : 20 มีนาคม 2554 13:05:42 น.
Counter : 11499 Pageviews.

8 comments
  
94949469
โดย: สื่อๆๆนิ IP: 110.77.247.229 วันที่: 20 กรกฎาคม 2555 เวลา:14:26:21 น.
  
ได้ความรู้มากเลยค่ะ
สนุกมาก มาก
โดย: ญาญ่า IP: 118.173.108.81 วันที่: 28 ธันวาคม 2555 เวลา:12:50:33 น.
  

เหียๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆมากกกกกกกกก
โดย: เหียๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆมากกกกกกกกก IP: 203.113.102.242 วันที่: 2 กรกฎาคม 2556 เวลา:10:47:29 น.
  
จินรักน้ำจินรักน้ำจินรักน้ำจินรักน้ำจินรักน้ำจินรักน้ำจินรักน้ำจินรักน้ำจินรักน้ำจินรักน้ำจินรักน้ำจินรักน้ำจินรักน้ำจินรักน้ำจินรักน้ำจินรักน้ำจินรักน้ำจินรักน้ำจินรักน้ำจินรักน้ำจินรักน้ำจินรักน้ำจินรักน้ำจินรักน้ำจินรักน้ำจินรักน้ำจินรักน้ำจินรักน้ำจินรักน้ำจินรักน้ำจินรักน้ำจินรักน้ำจินรักน้ำจินรักน้ำจินรักน้ำจินรักน้ำจินรักน้ำจินรักน้ำจินรักน้ำจินรักน้ำจินรักน้ำจินรักน้ำจินรักน้ำจินรักน้ำจินรักน้ำจินรักน้ำจินรักน้ำจินรักน้ำจินรักน้ำจินรักน้ำจินรักน้ำจินรักน้ำจินรักน้ำจินรักน้ำจินรักน้ำจินรักน้ำจินรักน้ำจินรักน้ำจินรักน้ำจินรักน้ำจินรักน้ำจินรักน้ำจินรักน้ำจินรักน้ำจินรักน้ำจินรักน้ำจินรักน้ำจินรักน้ำจินรักน้ำจินรักน้ำจินรักน้ำจินรักน้ำจินรักน้ำจินรักน้ำจินรักน้ำจินรักน้ำจินรักน้ำจินรักน้ำจินรักน้ำ
จินรักน้ำ
โดย: 55555 IP: 203.113.102.242 วันที่: 2 กรกฎาคม 2556 เวลา:10:48:45 น.
  
ใครจิน ใครนำ้
โดย: เด็กเก่ง IP: 203.113.102.242 วันที่: 2 กรกฎาคม 2556 เวลา:10:53:25 น.
  
มิกกากกากกากกากากาก
โดย: มิกกาก IP: 203.113.102.242 วันที่: 2 กรกฎาคม 2556 เวลา:10:54:26 น.
  
มิกบ้ามิกบ้าบ้าบ้าบ้า
โดย: มิกบ้า IP: 203.113.102.242 วันที่: 2 กรกฎาคม 2556 เวลา:10:55:21 น.
  
ขอบคุณมากๆค่ะ

โดย: keawta IP: 110.77.216.242 วันที่: 7 กันยายน 2560 เวลา:10:10:46 น.
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

Watcharawat
Location :
กรุงเทพฯ  Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]



New Comments