ตัวของเรา สไตล์ของเรา ทำไมต้องเหมือนใคร
Group Blog
 
<<
กรกฏาคม 2563
 
 1234
567891011
12131415161718
19202122232425
262728293031 
 
24 กรกฏาคม 2563
 
All Blogs
 
ทำไมผมถึงต้องเล่าอะไรยาวๆ

สวัสดีครับ
ก่อนหน้านี้ผมไม่มีเวลามาอัพบล๊อกไปนานมาก ตอนนี้มีเวลามากขึ้นแต่ก็ไม่ได้มีเวลามากขนาดนั้น เพราะงั้นถ้ามีเวลาเมื่อไหร่ผมก็จะรีบมาทำเรื่องที่เคยเขียนค้างไว้ให้จบแล้วอัพซะน่ะครับ ระยะนี้เลยอาจดูเหมือนอัพบ่อยหน่อย ที่จริงมันเขียนค้างไว้แล้วก็แค่มาเขียนต่อให้เสร็จไม่ได้เขียนใหม่ทั้งหมด ว่าแล้วก็มาเข้าเรื่องของวันนี้กันเลยดีกว่า


หลายครั้งเวลาที่เขียนบล๊อกหรือเล่าอะไรอธิบายอะไรให้คนอื่น ผมมักจะต้องเล่ายาวซึ่งผมเองก็รู้ครับว่าคนอื่นมักจะคิดว่าทำไมต้องเล่ายาวขนาดนั้น

ที่จริงผมก็อยากจะเล่าสั้นๆ เหมือนกัน แต่หลายครั้งที่คนเรามีความเข้าใจในสิ่งหนึ่งต่างกัน การจะจำกัดวงความเข้าใจให้ตรงกันได้อย่างถูกต้องมันก็ไม่สามารถพูดหรืออธิบายแบบสั้นๆ ได้ ทำให้การพูดยาวขึ้นเพื่อให้เข้าใจตรงกันด้อย่างถูกต้องกลายเป็นสิ่งที่ต้องทำ เหมือนอย่างที่ผมเคยพูดถึงเอาไว้ในเรื่อง "การสื่อสาร...ใครว่าง่าย" (คลิกหรือแตะที่ชื่อเรื่องเพื่อลิงค์ไปอ่านได้ครับ)


บางครั้งสิ่งที่ผมพูดถึงก็เป็นการแก้ความเข้าใจที่ผิดไปของคนอื่น เพื่อที่จะแก้ความเข้าใจผิดที่มีมานานทำให้จำเป็นต้องอธิบายทุกอย่างใหม่หมดตั้งแต่ต้นเพราะถ้าเริ่มต้นด้วยความเข้าใจที่ผิดก็ไม่มีทางที่ส่วนต่อยอดหรือต่อขยายจะเป้นไปอย่างถูกต้องได้ ก็เลยต้องเล่ากันแบบยาวๆ

ตัวอย่างเช่นเรื่อง Idol (คลิกหรือแตะเพื่อลิงค์ไปอ่านได้ครับ) ที่ผมเพิ่งอัพไปล่าสุดก็ยาวมากเหมือนกัน เพราะมีหลายคนที่ไม่เข้าใจ เข้าใจผิด ไม่รู้หรือรู้มาผิดๆ อยู่มาก (ไม่ได้บอกว่าคนที่รู้ไม่มีนะครับ คนที่รู้มากกว่าผมก็มี) การจะแก้ความเข้าใจผิดเหล่านั้นจึงจำเป็นต้องอธิบายเล่ากันแบบยาวๆ ให้เข้าใจไม่ใช่แค่พูดว่า "มันไม่ใช่แบบนั้นนะ มันต้องเป็นแบบนี้ต่างหาก" ซึ่งสุดท้ายมันก็จะกลยเป็นการเถียงกันไปไม่จบเพราะไม่เกิดความเข้าใจ อย่างเช่นมีหลายคนคิดว่า (เรื่องของบันเทิง) ญี่ปุ่นกำลังทำตามเกาหลี หลายคนคิดว่าสิ่งที่ญี่ปุ่นทำอยู่เป็นการทำตามเกาหลี อย่างละครทีวีที่เดินเรื่องเร็วเรื่องสั้นแค่ราว 10 ตอน และเพลงที่ญี่ปุ่นมีไอดอลวงใหญ่ก็เกิดจากการตามเกาหลี หรือไอดอลที่ไม่ได้เป็นแบบ AKB48 ก็เป็นการเอารูปแบบเกาหลีมาผสม แต่ที่จริงญี่ปุ่นทำในแบบของตัวเองหรือแบบที่ญี่ปุ่นเคยทำมาก่อนเกาหลีซะอีก มันเป็นเพราะหลายๆ คนโตมากับช่วงที่กระแสเกาหลีเข้าไทยและบันเทิงญี่ปุ่น (ที่ไม่เคยเป็นกระแสหลักในไทยอยู่แล้ว) แผ่วลงอย่างมากและมาเห็นหรือรู้จักละครญี่ปุ่นเอาหลังจากเห็นเกาหลีก่อน ไอดอลญี่ปุ่นก็มารู้จักเอาในยุคของ AKB48 และ BNK48 เท่านั้น

เพราะอย่างนั้นถ้าผมพูดไปแค่ว่า "ไม่ใช่อย่างนั้นนะ ญี่ปุ่นทำตามแบบของตัวเองต่างหาก ไม่ได้ตามเกาหลีซะหน่อย" คนส่วนใหญ่ก็จะไม่มีใครเชื่อและจะมองว่าผมคลั่งญี่ปุ่นจนไม่รู้เรื่องเอาซะเลย ผลที่ตามมาก็คือจะไม่ฟังที่ผมอธิบายอะไรเอาด้วยซ้ำ ผมเลยจำเป็นต้องให้ข้อมูลให้มากพอว่าญี่ปุ่นเริ่มทำสิ่งไหนตั้งแต่เมื่อไหร่ เช่น ละครเรื่องสั้นเดินเรื่องเร็วญี่ปุ่นเริ่มทำมาตั้งแต่ยุค 90 แล้ว เช่นเรื่อง 1 2 3...ไอดอลวงใหญ่ญี่ปุ่นมีมาตั้งแต่ยุค 80 แล้วนะ เช่นวง 1 2 3 แล้วมันมาถึงปัจจุบันได้ไง...รูปแบบไอดอลที่ต่างไปจาก AKB48 ญี่ปุ่นก็มีมาตั้งยุค 90 แล้วนะ AKB48 เป็นรูปแบบที่ต่อยอดมา วงใหม่ๆ ก็แค่กลับไปหารูปแบบเดิมที่ก่อนจะมาเป็น AKB48 อะไรแบบนี้ เพื่อให้เห็นได้ว่าญี่ปุ่นเริ่มทำแบบนี้มานานแค่ไหน แล้วเกาหลีเริ่มทำเมื่อไหร่ซะก่อนแล้วเราถึงจะมาคุยกันได้ว่าที่จริงแล้วญี่ปุ่นก็ทำมานานมากแล้วเพียงแต่มันอาจจางไปจากการรับรู้ของคนไทยในระยะหนึ่งและทุกวันนี้เขาก็ทำตามแบบของเขาเองนั่นแหละไม่ได้ตามเกาหลีหรอก ถึงจะคุยกันรู้เรื่องครับ

อีกตัวอย่างหนึ่งคือ ถ้าผมบอกว่าไม้สนไม่ได้เป็นไม้เนื้ออ่อนเสมอไปนะ (วัดกันที่ความแข็งของเนื้อไม้....การเรียกไม้เนื้ออ่อนหรือแข็งมีการเรียกตามลักษณะใบด้วย) หลายคนก็จะเถียงว่าไม่ใช่แล้วมองว่าผมไม่รู้เรื่องทันที เพราะคนไทยเราทั่วไปรู้จักไม้สนอยู่ชนิดเดียวคือสนพวกไพน์ (Pine) แต่ที่จริงแล้วไม้สนมีอยู่ 3 กลุ่มใหญ่ๆ คือ Pine (ไพน์), Cedar (ซีดาร์), Cypress (ไซเพรส) ....Pine คือกลุ่มที่คนไทยส่วนใหญ่คุ้นเคยกัน Cedar คือกลุ่มที่คนไทยค่อนข้างคุ้นเพราะได้ยินฝรั่งพูดถึงบ่อย ส่วน Cypress เป็นอะไรที่คนไทยไม่คุ้นเลย หลายครั้งเห็นเรียกเป็นไซปรัสด้วยซ้ำครับ ซึ่งแต่ละกลุ่มแต่ละสายพันธุ์ก็มีเนื้อไม้ที่มีความแข็งไม่เท่ากัน บางชนิดอ่อน บางชนิดก็แข็งปานกลาง แต่โอเคครับมันไม่มีแบบแข็งไปเลยอย่างประดู่ มะค่า พะยูง ชิงชัน แน่นอน

อีกสักตัวอย่างหนึ่งนะครับ ในการทำงานถ้าผมพูดถึงการทำ Feedback control (ศัพท์ทางวิศวะ บางครั้งผมก็เอาหลักการนี้ไปใช้กับวงการอื่น) ถ้าเป็นคนที่เข้าใจระบบแบบนี้ก็จะมองออกทันทีว่ามันมีองค์ประกอบอะไรบ้างและเรากำลังจะจัดการยังไง ผมไม่ต้องอธิบายอะไรมากเขาก็พร้อมจะเข้าใจว่าเรามีตัวแปรอะไรแล้วตัวแปรไหนคืออะไร แต่ถ้าคนที่ไม่เข้าใจก็จะมองไม่ออกแล้วก็ไม่เข้าใจว่าทำไมจะต้องทำแบบนั้น ก็ต้องอธิบายกันก่อนว่า Feedback control คืออะไรแล้วต้องมีตัวแปรอะไร สิ่งไหนคือตัวแปรไหน ซึ่งหลักการ Feedback control คือการเอาผลที่ปลายทางกลับมาปรับแต่งต้นทางเพื่อให้ได้ผลที่ปลายทางตามต้องการ แต่ถ้าคนที่ฟังคิดว่ามันคือการควบคุมหรือคัดกรองคำวิจารณ์ล่ะ นั่นคือความเข้าใจผิด แล้วถ้าคุยกันต่อไปทั้งอย่างนั้นไม่แก้ให้ถูกก็ไปกันคนละทางแน่นอนจริงมั้ยล่ะครับ

ยังมีอีกหลายเรื่องครับที่ผมเจอปัญหาแบบนี้มาจนทำให้ผมตัดสินใจพูดอะไรยาวๆ ให้เข้าใจไปเลยดีกว่า แทนที่จะพูดสั้นๆ นึกว่าเข้าใจกันแต่กลายเป็นไม่เข้าใจ หลายครั้งคนฟังคิดว่าเข้าใจแต่พอคุยกันไปผมก็รู้ได้ว่าเข้าใจผิดซึ่งพอถึงตรงนั้นพอผมพยายามจะแก้หลายคนก็จะไม่ค่อยยอมฟังหรือไม่ยอมรับว่าเข้าใจผิด ทำให้เรื่องที่น่าจะพูดกันจบใน 10-20 นาที กลายเป็น 2-3 ชั่วโมงก็มี หรือบางทีก็กลายเป็นเกือบๆ จะทะเลาะกันไปเลยก็มี

ก็เป็นเหตุผลว่าทำไมผมถึงต้องเล่าอะไรยาวๆ ทั้งที่จริงๆ ถ้าเล่าสั้นๆ ได้ผมก็อยากเล่าสั้นๆ มากกว่าแหละครับ แต่ถ้าสั้นแล้วทำให้คนไม่เข้าใจหรือเป็นการไปต่อยอดความเข้าใจที่ผิดนั้นและทำให้ความเข้าใจที่ผิดไม่ถูกแก้ไขมันก็ยิ่งทำให้เข้าใจผิดไปกันใหญ่ บางทีอาจเถียงกันไม่จบก็ได้ เพราะงั้นการยอมเล่าหรือพูดให้ยาวอีกสักหน่อยแต่ไม่ผิดพลาดจะดีกว่าน่ะครับ


โดย นาย nyo


Create Date : 24 กรกฎาคม 2563
Last Update : 24 กรกฎาคม 2563 22:45:47 น. 0 comments
Counter : 774 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

nyo
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 20 คน [?]




สงวนลิขสิทธิ์ ตามพรบ.ลิขสิทธิ์ 2539 ห้ามผู้ใดทำการคัดลอก ส่วนใดส่วนหนึ่งของบล๊อกนี้ไปเผยแพร่โดยไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าของบล็อค


ติดต่อผมได้ที่
naai.nyo@gmail.com

____________________

บล๊อกนี้ผมเขียนขึ้นมาจากสิ่งที่ผมไปรู้ไปเห็นมาก็เลยเอามาเล่าต่อเพื่อเป็นการแชร์ความรู้กัน หวังว่าจะเป็นประโยชน์กับคนอื่นบ้างไม่มากก็น้อยครับ


กรูณาใช้ภาษาให้เหมาะสมในการแสดงความคิดเห็นด้วยนะครับ
Friends' blogs
[Add nyo's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.