ดาวน์โหลดโปรแกรม ดูละครย้อนหลัง อ่านเรื่องราวของความรู้รอบตัว วิทยาศาสตร์ ท่องเที่ยว สุขภาพ อาหาร รถยนต์ต่างๆ ไม่ทิ้งเรื่องราวความบันเทิงและเรื่องส่วนตัวอีกด้วย
Group Blog
 
 
พฤศจิกายน 2553
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
282930 
 
30 พฤศจิกายน 2553
 
All Blogs
 
ดวงดาวในวรรณคดีไทยและในล้านนา



เมื่อถึงเวลากลางคืน โดยเฉพาะคืนเดือนมืด ส่ิงที่ทำให้เด็กบ้านนอกหลายๆ คนได้เกิดจินตนาการก็คือ การแหงนหน้ามองดูดาว

ในขณะที่กำลังมองดูดาวในใจก็คิดไปว่า บนโน้นจะมีความเป็นอยู่อย่างไร เราจะไปได้ไหม หนาวไหม และหากบังเอิญมองดีๆ ก็จะเห็นดาวบางดวงเคลื่อนที่เร็วมากและเร็วกว่าดวงอื่นๆ ถ้าหากไม่ทราบคำตอบว่ามันคืออะไรก็จะเก็บคำถามนี้ไว้ในใจทำให้เป็นคนอยากค้นหาคำตอบในทุกๆ อย่างที่สังเกตเห็น ติดเป็นนิสัยและเป็นที่มาของการชอบวิทยาศาสตร์ดาราศาสตร์

ในวรรณคดีก็มีเรื่องของดวงดาวไปเกี่ยวข้องด้วย ดังต่อไปนี้

ดวงดาวในวรรณคดีไทย

คนไทยรู้จักการดูดาวมานานแล้ว ในสมัยก่อนเมื่อบ้านเมืองยังไม่ขยายใหญ่โตนัก ไฟฟ้าก็ยังไม่มีใช้ ตอนกลางคืนจึงค่อนข้างมืดสนิท ในยามค่ำคืนก็นั่งหรือนอนเล่นหรือพูดคุยกันที่นอกเรือนชาน ในยามฟ้าใสปราศจากแสงรบกวน ดวงดาวจะปรากฏระยิบระยับวับวาวบนท้องฟ้า ดุจดังเพชรพลอยหลากหลายขนาดและสี ความสวยงามของดาวบนท้องฟ้าทำให้คนไทยสนใจดูดาวต่าง ๆ ที่ปรากฏบนท้องฟ้า

ความรู้ทางดาราศาสตร์ของคนไทยมีความเป็นมาอย่างไรไม่เป็นที่แน่ชัด แต่หลักฐานการบันทึกเหตุการณ์ต่าง ๆ ทางประวัติศาสตร์ มีการกล่าวถึงปรากฏการบนท้องฟ้า เช่น การเกิดคราส การปรากฏของดาวหาง เป็นต้น ในตำราโหราศาสตร์มีการกล่าวถึง ดาวเคราะห์ และตำแหน่งปรากฏของดาวเคราะห์ตามกลุ่มดาว 12 ราศี กลุ่มดาวนักษัตร หรือกลุ่มดาวนักขัตตฤกษ์ทั้ง 27 กลุ่ม รวมทั้งการคำนวณตำแหน่งของดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ และดาวเคราะห์ อีกทั้งเวลาการเกิดสุริยคลาส หรือ จันทรคลาส เข้าใจว่าไทยได้รับอิทธิพลจากฮินดู ซึ่งมีการพัฒนาความรู้ทางด้านดาราศาสตร์ในระดับสูง

หนังสือวรรณคดีไทยหลานเล่ม กล่าวถึงกลุ่มดาว ดาวฤกษ์ และดาวเคราะห์ ที่ปรากฏบนท้องฟ้า มีการเรียกชื่อตามลักษณะปรากฏบนท้องฟ้า เช่น ดาวไถ ดาวจระเข้ ดาวธง เป็นต้น ดังบทกลอนดอกสร้อยของเก่าบทหนึ่งที่กล่าวถึง ดาวจระเข้ ดังนี้

สักวาดาวจระเข้ก็เหหก
ศีรษะตกหันหางขึ้นกลางหาว
เป็นวันแรมแจ่มแจ้งด้วยแสงดาว
น้ำค้างพราวปรายโปรยโรยละออง
ลมเรื่อย เรื่อย เฉื่อยฉิวต้องผิวเนื้อ
ความหนาวเหลือทานทนกมลหมอง
สกุณากาดุเหว่าก็เร่าร้อง
ดูแสงทองจับขอบฟ้าขอลาเอย


บทกลอนดอกสร้อยบทนี้ กล่าวถึงดาวจระเข้ ซึ่งตามแผนที่ดาวสากลก็คือ กลุ่มดาวหมีใหญ่ ( Ursa Major ) กลุ่มดาวนี้ปรากฏทางทิศเหนือ เคลื่อนที่รอบขั้วเหนือ ( ใกล้ดาวเหนือ ) ของท้องฟ้า ประกอบด้วยดาวสว่าง 7 ดวง

กลุ่มดาวนี้อาจมองเป็นรูป “ กระบวยตักน้ำ “ ก็ได้ ราวเดือนพฤษภาคม กลุ่มดาวจระเข้จะขึ้นตั้งแต่ช่วงหัวค่ำ อยู่บนท้องฟ้าเกือบตลอดทั้งคืน เมื่อจะตกลับขอบฟ้าในช่วงก่อนฟ้าสาง หัวจระเข้จะปักลงไปทางขอบฟ้า ทำให้เห็นบริเวณที่เป็นหางจระเข้ชี้ขึ้นกลางหาว

ดูโน่นแนะแม่อรุณรัศมี ตรงมือชี้ ดาวเต่า นั่นดาวไถ
โน่นดาวธงตรงหน้าอาชาไนย ดาวลูกไก่ เคียงคู่เป็นหมู่กัน
องค์อรุณทูลถามพระเจ้าป้า ที่ตรงหน้าดาวไถ ชื่อไรนั่น
นางบอกว่า ดาวธง อยู่ตรงนั้น ที่เคียงกันเป็นระนาวชื่อ ดาวโลง
แม้ดาวกา มาใกล้ในมนุษย์ จะม้วยมุดมรณาเป็นห่าโหง
ดาวดวงลำ สำเภา มีเสากระโดง สายระโยงระยางหางเสือดาว
นั่นแน่ แม่ดู ดาวจระเข้ ศีรษะเร่หกหางขั้นกลางหาว
ดาวนิดพิศพายัพดูวับวาว เขาเรียก ดาวยอดมหาจุฬามณี
หน่อนรินทร์สินสมุทรกับบุตรี เฝ้าเซ้าซี้ซักถามตามสงกา


คำกลอนสุนทรภู่บทนี้ กล่าวถึงดาวหลายดวง ดางธง ก็คือ กลุ่มดาวราศีพฤษก หรือดาววัวนั่นเอง โดยเฉพาะตรงหน้าวัว ซึ่งมีลักษณะเหมือนธงสามเหลี่ยม ดาวฤกษ์ที่สว่างที่สุดในกลุ่มดาวนี้ คือ ดาวอัลดีบาแรน หรือดาวโรหิณี และยังมีกระจุกดาวฮายเอเดส ( Hyades ) อยู่ในกลุ่มดาวนี้ด้วย ดาวโลง ได้แก่ กลุ่มดาวราศีมิถุน หรือกลุ่มดาวคนคู่ ซึ่งมีดาวเรียงกันหลายดวงมองเห็นคล้ายโลงศพ กลอนบทนี้ กล่าวถึง ดาวฤกษ์สว่างดวงหนึ่ง เรียก “ ดาวยอดมหาจุฬามณี “ หรือ ดาวดวงแก้ว หรือดาวอาร์คตุรุส ( Arcturus ) หรือดาวอัลฟา บูตีส ( Alpha Bootis ) ในกลุ่มดาวคนเลี้ยงสัตว์ ส่วนกลุ่มดาวคันชั่ง ได้แก่ กลุ่มดาวราศีตุลย์ ซึ่งมีดาว 4 ดวง วางตัวคล้ายรูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน มองดูคล้ายคันชั่ง


ที่มา
//www.astroschool.in.th/public/story/thaimythindex_ans_inc.php

ดวงดาวในล้านนา

ภูมิปัญญาทางดาราศาสตร์สะท้อนให้เห็นถึงวัฒนธรรมของมนุษย์อยู่หลายประการ วิถีชีวิตมนุษย์มีความผูกพันกับวัตถุท้องฟ้าและปรากฏการณ์ธรรมชาติบนฟากฟ้ามานับเป็นเวลาช้านานแล้ว ทุกเช้าดวงอาทิตย์ลูกไฟดวงใหญ่ปรากฏที่ขอบฟ้าด้านตะวันออกให้ความสว่างและความอบอุ่นแก่พื้นพิภพ ทำให้มนุษย์ดำเนินกิจวัตรประจำวันได้อย่างสะดวกสบาย พอตกเย็นดวงอาทิตย์เคลื่อนที่คล้อยลับขอบฟ้าด้านตะวันตก ความมืดแผ่ปกคลุมพื้นดิน ดาวจำนวนมหาศาลปรากฏระยิบระยับบนท้องฟ้า กลุ่มดาวกลุ่มแล้วกลุ่มเล่าทะยอยปรากฏจากขอบฟ้าด้านตะวันออก บางคืนก็ปรากฏดวงจันทร์ที่ให้ความสว่างแก่พื้นพิภพในยามค่ำคืน เต็มดวงบ้าง เป็นเสี้ยวบ้าง หมุนเวียนผลัดเปลี่ยนกันไป ปรากฏการณ์บนท้องฟ้าเหล่านี้เกิดขึ้นซ้ำแล้วซ้ำเล่าต่อเนื่องกันอย่างสม่ำเสมอเป็นวัฏจักร


เนื่องจากมนุษย์มีความสามารถพิเศษเหนือสัตว์โลกชนิดอื่น ๆ กล่าวคือ มนุษย์ช่างสังเกตและรู้จักคิดอย่างมีเหตุผล สามารถสังเกตและเข้าใจวัฏจักรแห่งธรรมชาติเหล่านั้นได้ และรู้จักดำเนินชีวิตให้สอดคล้องกับวัฏจักรเหล่านั้น มนุษย์สามารถสังเกตตำแหน่งการขึ้น-ตก ของดวงอาทิตย์ และปรากฏการณ์ของกลุ่มดาวสัมพันธ์กับการเปลี่ยนแปลงของฤดูกาล ชีวิตความเป็นอยู่ของมนุษย์เริ่มดีขึ้น เมื่อพวกเขารู้ว่า เมื่อใดควรเริ่มเพาะปลูก เมื่อใดควรเริ่มเก็บเกี่ยว เมื่อใดควรเริ่มสะสมอาหารเพื่อเตรียมไว้บริโภคในฤดูหนาว มนุษย์เริ่มรู้จักใช้ดาวเป็นสิ่งกำหนดเวลา โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อมนุษย์เริ่มเปลี่ยนสภาพการดำรงชีวิตแบบป่าเถื่อน มาอยู่ในระดับที่เจริญขึ้น โดยมีการดำรงชีวิตที่เน้นทางด้านกสิกรรม หรือ เกษตรกรรม มนุษย์ยิ่งต้องมีความเข้าใจอย่างลึกซึ้งต่อการเปลี่ยนแปลงอย่างเป็นจังหวะของธรรมชาติเหล่านั้นมากขึ้น

ที่มา
//www.astroschool.in.th/public/story/lannaindex_ans_inc.php




Create Date : 30 พฤศจิกายน 2553
Last Update : 30 พฤศจิกายน 2553 15:53:02 น. 0 comments
Counter : 4390 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

scimovie
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 108 คน [?]




แหล่งรวบรวมความรู้ โปรแกรม เพลง หนัง เกมส์ วิทยาศาสตร์ ดูละคร เรื่องย่อ ภาพยนตร์ การเงิน และอื่นๆ อีกมากมาย สุดท้ายขอกำลังใจให้มีแรงอัพเดทตลอดๆ ครับ ขอบคุณทุกท่านที่เข้ามาเยี่ยมเยียนกันครับ
Friends' blogs
[Add scimovie's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.