ดาวน์โหลดโปรแกรม ดูละครย้อนหลัง อ่านเรื่องราวของความรู้รอบตัว วิทยาศาสตร์ ท่องเที่ยว สุขภาพ อาหาร รถยนต์ต่างๆ ไม่ทิ้งเรื่องราวความบันเทิงและเรื่องส่วนตัวอีกด้วย
Group Blog
 
<<
พฤษภาคม 2553
 1
2345678
9101112131415
16171819202122
23242526272829
3031 
 
22 พฤษภาคม 2553
 
All Blogs
 
สังเกตอาการง่ายๆ ก่อนโรค "ไอพีดี" เข้าจู่โจมชีวิตลูก!

สังเกตอาการง่ายๆ ก่อนโรค "ไอพีดี" เข้าจู่โจมชีวิตลูก!


ขอบคุณภาพประกอบจาก //www.fotosa.ru


นับวันแขกที่ไม่รับเชิญอย่าง "โรคภัย" ต่างทยอยผลักประตูจู่โจมเข้าหาคนในบ้านอย่างไม่กลัวข้อหาบุกรุก โดยเฉพาะเด็กเล็กเป้าเสี่ยงของเหล่าเชื่อโรคทั้งหลาย เนื่องจากภูมิคุ้มกันยังไม่แข็งแรงเท่าที่ควร หนึ่งในโรคที่จะกล่าวถึงนี้ ก็คือ "โรคไอพีดี" โรคติดเชื้อนิวโมคอดคัสรุนแรง เป็นสาเหตุให้เกิดโรคติดเชื้อรุนแรงอื่นๆ ตามมา เช่น โรคปอดบวม (Pneumonia) โรคติดเชื้อในกระแสเลือด (Bacteremia) รวมไปถึงเยื้อหุ้มสมองอักเสบ

ถึงแม้ว่าปัจจุบัน "เชื้อนิวโมคอคคัส" มีวัคซีนป้องกันได้แล้ว แต่ก็ยังเป็นสาเหตุการเสียชีวิตมากเป็นอันดับ 1 ของเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 5 ขวบทั่วโลก ส่วนใหญ่เป็นเด็กที่อยู่ในประเทศที่กำลังพัฒนา ด้วยสภาพแวดล้อมของชุมชนแออัด สถานเลี้ยงเด็กไม่ได้มาตรฐาน และจัดเป็นกลุ่มเสี่ยงของการติดเชื้อ เนื่องจากเชื้อนิวโมคอคคัสนี้สามารถพบอยู่ในโพรงจมูก และลำคอของคนทั่วไป ทั้งในเด็ก และผู้ใหญ่ จึงทำให้เชื้อสามารถแพร่กระจายสู่คนอื่นได้ง่าย โดยการไอจาม ทำให้ละอองเสมหะแพร่กระจายออกไป ซึ่งเป็นการแพร่กระจายคล้ายโรคไข้หวัด ฉะนั้นเมื่อเชื้อเข้าสู่ร่างกาย ย่อมสามารถก่อให้เกิดเป็นโรคได้

นอกจากนี้ ยังพบด้วยว่า เด็กที่ไม่มีม้าม หรือม้ามบกพร่อง หรือเป็นโรคเรื้อรังต่างๆ เช่น โรคปอด โรคเบาหวาน โรคซิกเคิลเซลล์ และในกลุ่มเด็กที่มีภูมิต้านทานต่ำ เช่น ผู้ที่ตัดม้ามออก ผู้ป่วยติดเชื้อเอชไอวี เป็นต้น จัดเป็นกลุ่มเสี่ยงที่จะเกิดโรคไอพีดีได้ ดังนั้นการรู้ทันเชื้อก่อนลุกลาม เป็นสิ่งที่คุณพ่อคุณแม่สามารถสังเกตได้ง่ายๆ ดังนี้

สังเกตเชื้อก่อนลุกลามเกินเยียวยา

- การติดเชื้อในระบบประสาท เช่น เยื่อหุ้มสมองอักเสบ เด็กจะมีไข้สูง ปวดศีรษะรุนแรง คลื่นไส้ อาเจียน คอแข็ง ในเด็กทารกจะวินิจฉัยยาก อาจมีการงอแง ไม่กินนม และมีอาการชักได้ ถ้ารักษาไม่ทันท่วงทีอาจเสียชีวิตหรือเกิดความพิการเช่น เป็นโรคลมชัก หูหนวก ปัญญาอ่อน

- การติดเชื้อในกระแสเลือด เด็กจะมีไข้สูง ร้องกวน งอแง อาจเกิดภาวะแทรกซ้อนตามมา เช่น ช็อก เสียชีวิต นอกจากนี้เชื้ออาจกระจายไปสู่อวัยวะอื่นๆ เช่น เยื่อหุ้มสมอง ปอด กระดูกและข้อ เป็นต้น

- การติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนบน เช่น หูน้ำหนวก เด็กจะมีอาการไข้สูง บ่นปวดหู งอแง ถ้าไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกต้องการติดเชื้ออาจลุกลามไปที่อวัยวะใกล้เคียงหรือสมองได้ และสามารถเกิดหูน้ำหนวก เรื้อรัง แก้วหูทะลุ ทำให้การได้ยินบกพร่องซึ่งมีผลต่อพัฒนาการทางด้านภาษาของเด็กด้วย

- การติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนล่าง เช่น ปอดอักเสบ เด็กจะมีอาการไข้ ไอ หายใจเร็ว หอบ ซึ่งอาจรุนแรงถึงต้องใส่เครื่องช่วยหายใจและเสียชีวิตได้ถ้ารับการรักษาล่าช้า



ภาพประกอบจากอินเทอร์เน็ต



อาการข้างต้น เป็นสัญญาณเตือนล่วงหน้าที่พ่อแม่ควรรีบพาลูกไปพบแพทย์ เพื่อวินิจฉัยอีกครั้ง โดยแพทย์จะซักประวัติ ตรวจร่างกาย และอาจมีการเพาะเชื้อเพื่อตรวจยืนยันทางห้องปฏิบัติการอีกครั้ง แต่การเพาะเชื้อนั้นต้องใช้เวลา ขณะเดียวกันเชื้อก็ยังลุกลามเดินหน้าต่อไป ซึ่งอาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อน ทำให้การรักษาสลับซับซ้อนและยุ่งยาก ซึ่งแพทย์สามารถรักษาโรคติดเชื้อนิวโมคอคคัสได้ด้วยการให้ยาปฏิชีวนะร่วมกับวิธีทางการแพทย์อื่นๆ และมักได้ผลดีถ้าได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที

ปัจจุบันพบเชื้อนิวโมคอคคัสดื้อยาปฏิชีวนะเพิ่มขึ้น เป็นปัญหาในการรักษา เนื่องจากอาจเกิดภาวะแทรกซ้อนถึงแก่ชีวิต หรือพิการทางสมองได้ ดังนั้นการให้วัคซีนในทารก และเด็กเล็ก จึงเป็นวิธีป้องกันที่ดีที่สุด

นอกจากนี้การสอนให้เด็กๆ มีสุขอนามัยที่ดี ล้างมือบ่อยๆ และปิดปาก ปิดจมูกทุกครั้งที่ไอ จาม หรือหลีกเลี่ยงให้เด็กอยู่ในสภาพแวดล้อมที่แออัด ไม่ควรให้เด็กสัมผัสกับผู้ป่วยในสถานพยาบาลต่างๆ รวมทั้งการสร้างภูมิต้านทานให้กับลูกจากการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ อีกทั้งยังป้องกันด้วยวัคซีน ไอพีดี ที่สามารถป้องกันโรคปอดบวมในเด็กเล็ก และกลุ่มโรคติดเชื้อไอพีดีอื่นๆ ได้อีกด้วย

ถึงเวลาแล้วที่พ่อแม่ทุกบ้าน จะต้องตื่นตัวในการป้องกันโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ! เนื่องจากผู้ป่วยมีทั้งรักษาหาย และเสียชีวิต รวมถึงสมองพิการ และถ้าผู้ป่วยเป็นเด็กจะทำให้มีพัฒนาการช้า โอกาสปัญญาอ่อนค่อนข้างสูง หรือมีโรคลมชัก หูหนวก รวมถึงการสูญเสียด้านอื่นๆ ดังนั้น ทางออกที่ดีที่สุดของโรคติดเชื้อในเด็กคือ การป้องกันไม่ให้เกิดจะดีกว่า

ข้อมูลประกอบข่าว

วัคซีนไอพีดี (วัคซีนปอดบวม) เป็นวัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อนิวโมคอคคัสได้รับการบรรจุในแผนสาธารณสุขแห่งชาติใน 45 ประเทศ และได้ถูกนำมาใช้แล้วมากกว่า 98 ประเทศ รวมถึงประเทศไทยด้วย ซึ่งได้เริ่มมีการนำวัคซีนนี้เข้ามาใช้ในปี 2549 การฉีดวัคซีนป้องกันให้ได้ผลดีต้องฉีดตั้งแต่ยังเป็นทารก โดยเฉพาะเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 5 ขวบ เนื่องจากเป็นวัยที่เสี่ยงต่อการเกิดโรคติดเชื้อไอพีดีสูงที่สุด โดยเด็กต่ำกว่า 2 ขวบ ต้องฉีด 3-4 เข็ม



ที่มา
ผู้จัดการออนไลน์


Create Date : 22 พฤษภาคม 2553
Last Update : 22 พฤษภาคม 2553 14:04:01 น. 1 comments
Counter : 572 Pageviews.

 


โดย: Tonkra49 วันที่: 23 พฤษภาคม 2553 เวลา:8:34:53 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

scimovie
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 108 คน [?]




แหล่งรวบรวมความรู้ โปรแกรม เพลง หนัง เกมส์ วิทยาศาสตร์ ดูละคร เรื่องย่อ ภาพยนตร์ การเงิน และอื่นๆ อีกมากมาย สุดท้ายขอกำลังใจให้มีแรงอัพเดทตลอดๆ ครับ ขอบคุณทุกท่านที่เข้ามาเยี่ยมเยียนกันครับ
Friends' blogs
[Add scimovie's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.