ดาวน์โหลดโปรแกรม ดูละครย้อนหลัง อ่านเรื่องราวของความรู้รอบตัว วิทยาศาสตร์ ท่องเที่ยว สุขภาพ อาหาร รถยนต์ต่างๆ ไม่ทิ้งเรื่องราวความบันเทิงและเรื่องส่วนตัวอีกด้วย
Group Blog
 
<<
มกราคม 2551
 12345
6789101112
13141516171819
20212223242526
2728293031 
 
16 มกราคม 2551
 
All Blogs
 
การฟื้นฟูชุมชนเวียงกุมกาม

การฟื้นฟูชุมชนเวียงกุมกาม

เวียงกุมกาม อาจจะยังเป็นชื่อที่ยังไม่แพร่หลายเป็นที่รู้จักกันมากนัก แต่เมื่อประมาณต้นปี พ.ศ.2527 ที่ผ่านมานั้นได้มีการสำรวจและขุดค้นทางโบราณคดีในบริเวณเวียงกุมกาม ปรากฏว่าได้พบหลักฐานที่สำคัญและน่าสนใจเป็นอันมาก ซึ่งหลักฐานดังกล่าวเหล่านั้นจะช่วย คลี่คลายเรื่องราวทางประวัติศาสตร์บางตอน โดยเฉพาะในช่วงระยะเวลาหัวเลี้ยวหัวต่อระหว่างแคว้นหริภุญไชยมาสู่แคว้นล้านนา และโดยเฉพาะอย่างยิ่งศิลาจารึกที่ขุดค้นพบที่บริเวณแหล่ง ขุดค้นเวียงกุมกามนี้นั้น เป็นหลักฐานชิ้นที่สำคัญที่สุดเกี่ยวกับวิวัฒนาการของอักษรไทย ซึ่งยังไม่ปรากฏพบที่แห่งใดมาก่อนด้วยเหตุนี้บทความ ดังกล่าวจึงมุ่งเน้นที่จะแสดงเรื่องราวของเวียง กุมกามให้รู้จัก และแสดงหลักฐานที่สำคัญที่ค้นพบดังกล่าว ให้เป็นที่ประจักษ์แจ้ง ต่อไป


wiangkoomkam

เห็นระดับพื้นดินกับร่องรอยของเวียงอย่างชัดเจนนะครับ

เรื่องราวของเวียงกุมกามนั้นมีปรากฏเป็นหลักฐานในเอกสาร ตำนานที่เกี่ยวข้องกับแคว้นล้านนาอย่างชัดเจน โดยกล่าวว่า เป็นเมืองที่พญามังรายทรงโปรดให้สร้างขึ้น หลังจากที่กรีฑาทัพจากเชียงรายมายึดลำพูนจากพญายีบาได้ใน พ.ศ.1824 และต่อมาทรงมอบเมืองลำพูนให้อ้ายฟ้าปกครองลำพูนแทนพระองค์เมื่อ พ.ศ.1826 จากนั้นพระองค์ก็เสด็จ ไปสร้าง เมือง ณ ทิศเบื้องตะวันออกเฉียงเหนือของเมืองลำพูน ประทัพอยู่ได้ 3 ปี เห็นเป็นที่ลุ่มเป็นที่ลำบากจึงทรง ย้ายมาสร้างเมืองใหม่เรียกว่า เวียงกุมกาม เมื่อ พ.ศ.1829 ณ ใกล้ลำน้ำปิงโดยโปรดให้ขุดคูเวียงทั้งสี่ด้านไขน้ำแม่ปิงให้ขังไว้ในคูเวียงและตั้งลำเวียงรอบทุกเบื้อง พญามังรายทรงประทับอยู่จนถึง พ.ศ.1835 ก็ทรงพบชัยภูมิที่จะสร้างเมืองใหม่บริเวณ เชิงดอยสุเทพ และต่อมาทรงสร้างเหมืองใหม่คือ เมืองเชียงใหม่ เมื่อ พ.ศ.1839 นับแต่นั้นมาเชียงใหม่ก็เป็นราชธานี และศูนย์กลางของแคว้นล้านนาตลอดมา


wiang koomkam


แต่อย่างก็ตามเวียงกุมกามก็ยังเป็นเมืองที่มีความสำคัญเป็นชุมชนใหญ่ควบคู่กับเมืองเชียงใหม่มาตลอด มีเรื่องราว ปรากฎในเอกสาร ตำนานตลอดมา จนกระทั่งเข้าสู่ยุคเสื่อมโทรมถูกปล่อยทิ้งไว้ในช่วงระยะเวลาเดียวกับเมืองเชียงใหม่ ที่เข้าสู่ยุคเข็ญในพุทธศตวรรษ ที่ 24 ปัจจุบันเวียงกุมกามตั้งอยู่ในเขต ตำบลท่าวังตาล อำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่ หรือ ทิศตะวันออกเฉียงใต้ของเมืองเชียงใหม่ประมาณ 5 กิโลเมตร ร่องรอยของแนวกำแพงดินเวียง กุมกามยังปรากฏให้เห็นชัด อยู่เป็นช่วงๆ และจะสามารถเห็นได้ชัดเจนจากการตรวจสอบ ภาพถ่ายทางอากาศ โดยมีรูปแบบเป็น รูปสี่เหลี่ยมผืนผ้ายาวไปตามทิศตะวันออกสู่ทิศตะวันตก สิ่งที่น่าสนใจที่สุดจากการขุดค้นทั้งนี้ มีอยู่สองประการ คือ

ประการที่หนึ่ง พระพิมพ์ดินเผาที่ถูกขุดพบอันเป็นมูลเหตุให้ทำการขุดค้นทางโบราณคดีครั้งนี้นั้นเป็น การพระพิมพ์ ดิน เผาศิลปแบบลำพูน ได้ขุดพบบริเวณภายใต้รากฐานของสถูปเจดีย์ขนาดเล็ก ด้านหลังวิหารโถงและ ซุ้มปราสาท จากการศึกษาลักษณะของกระจายของพระพิมพ์ดินเผาที่ฝังอยู่และตรวจสอบชั้นดินทางโบราณคดีพบว่า กลุ่มพระพิมพ์ดินเผาดังกล่าวเป็นสิ่งที่มีอยู่มาก่อน และไม่มีความสัมพันธ์กับการก่อสร้างวิหารกานโถมและสถูปเจดีย์ หลักฐานดังกล่าวค่อนข้างจะแน่ชัดและเป็นสิ่งสะท้อนให้เห็นว่า ก่อนที่พญามังรายจะมาสร้างเวียงกุมกามในบริเวณแห่งนี้เคยเป็นชุมชนสมัยหริภุญชัย มาก่อนอย่างน้อยก็ตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 17 เป็นต้นมา และหลักฐานดังกล่าวก็สอดคล้อง หลักฐานที่สำคัญอีกอันหนึ่งคือศิลาจารึก ดังที่จะได้กล่าวต่อไป หลักฐานดังกล่าวนี้สะท้อนให้เห็นว่ากลุ่มประชากรที่มีวัฒนธรรมแบบหริภุญชัยหรือลำพูนนั้น ได้มีพื้นฐานตั้งรกรากกระจายอยู่โดยทั่วไปในแถบที่ลุ่มแม่น้ำปิงเชิงดอยสุเทพก่อนที่พญามังรายจะเข้ามาตั้งบ้านสร้างเมืองอย่างมั่นคง ดังเราจะพบว่าหลักฐานได้จากอีกหลายๆ แห่งเช่น ที่บนยอดดอยสันกู่เหนือดอยสุเทพ ที่วัดดอยคำและกลุ่มโบราณ สถานร้างเชิงเขาดอยสุเทพหลายๆ แห่ง เป็นต้น และพื้นฐานเหล่านี้เองที่หล่อหลอมประชาชน รูปแบบทางศิลปกรรม และสถาปัตย กรรมเข้ามาเป็นแบบฉบับล้านนาในที่สุด และหลักฐานที่น่าสนใจอีกประการหนึ่งใน การขุดค้นที่ซุ้มปราสาทหรือซุ้มโขง ที่ประดิษฐานพระพุทธรูปที่ต่อเชื่อมกับตัววิหารนั้น จากการขุดลึกลงไปในรากฐานของแท่นฐาน พบว่าภาย ใต้แท่น ฐานนั้นมีร่องรอยของกองกระดูกสัตว์ใหญ่ประเภท วัด ควาย หรือม้าถูกเผาปน เถ้าถ่าน มีประทีปดินเผา และชิ้นส่วนพระพิมพ์ดิน เผาปนอยู่ในหลุมรวมกัน ดูเหมือนเป็นพิธีกรรมทำนองคล้ายยัญพิธีบางอย่าง ซึ่งลักษณะดังกล่าวเป็น สิ่งที่ค่อนข้าง แปลกที่ยังไม่เคยพบในโบราณสถานแห่งใดมาก่อน ลักษณะเช่นนี้อาจจะสะท้อนให้เห็นถึงลัทธิความ เชื่อที่มีลักษณะผสมผสานกันระหว่างพุทธศาสนากับความเชื่อบางประการ ในช่วงระยะหัวเลี้ยวหัวต่อที่กลุ่มชนชาวโยนก ที่รับเอาอิทธิพลวัฒนธรรม พุทธศาสนาของหริภุญชัยมาใหม่ๆ ก็เป็นได้


หลักฐานประการที่สอง และสำคัญที่สุดที่ได้จากการขุดค้นบริเวณซากวิหารกานโถมครั้งนี้ก็คือ ได้พบชิ้นส่วนของศิลาจารึกจำนวน 5 ชิ้น สลักบนศิลาทรายสีแดง จากการศึกษาของ ดร.ฮันส์ เพนธ์ ผู้เชี่ยวชาญชาวต่างประเทศของ สถาบัน วิจัยสังคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้สรุปว่า ศิลาจารึกทั้ง 5 ชิ้นนี้เดิมคงเป็นจารึกอยู่ในหลักเดียวกันและ จารึกในช่วงระยะเวลาที่แตกต่างกัน แต่ต่อมาได้แตกกระจายออกจากกันไม่สามารถนำมาประกอบรวมกันได้ และมีส่วนที่ขาดหายไปหลายชิ้นทั้งนี้เนื่องจาก เดิมซากโบราณสถานดังกล่าวเป็นเนินดินสูงเมื่อประมาณ 60 กว่าปีมาแล้ว ได้มีการไถปรับพื้นที่ดังกล่าว ให้เรียบเป็นสนามหน้าโรงเรียน ดังนั้นบรรดาหลักฐานต่างๆ ตลอดจนศิลาจารึกก็ถูกกวาดกระจัดกระจายฝังอยู่ในดินทั่วไปจากการศึกษาชิ้นส่วนของจารึกทั้ง 5 ชิ้น ปรากฎว่ามีลักษณะอักษรแบ่งออกได้เป็น 3 ชนิดคือ
1. อักษรมอญ ซึ่งเป็นอักษรที่เก่าที่สุดประมาณว่ามีอายุที่จารึกขึ้นในราว พ.ศ.1750-1850
2. อักษรที่มีลักษณะระหว่างอักษรมอญกับอักษรไทย ซึ่งนับได้ว่าเป็นหลักฐานที่สำคัญ มากที่สุดที่ยัง ไม่เคย ปรากฎพบในที่แห่งใดมาก่อน เป็นลักษณะของอักษรที่แสดงวิวัฒนาการในช่วงเวลาที่คนไทยยืม อักษรมอญมาเปลี่ยนแปลงเป็นอักษร ไทยใหม่ๆ เพื่อใช้เขียนเป็นภาษาไทยประมาณว่าจารึกในราว พ.ศ.1820-1860 นับเป็นอักษรไทยยุคต้น ที่ยังไม่เคยพบที่ใดมาก่อน
3. อักษรสุโขทัยและฝักขามรุ่นแรก เป็นจารึกครั้งหลังสุดก่อนประมาณ พ.ศ.1940


wiang koomkam

วัดที่เก็บเครื่องปั้นดินเผาและข้าวของเครื่องใช้ที่ขุดค้นพบ


wiang koomkam

ตัวอย่างสิ่งที่ขุดพบ

คลิกดูภาพเพิ่มเติมที่นี่


Create Date : 16 มกราคม 2551
Last Update : 26 สิงหาคม 2552 14:07:37 น. 0 comments
Counter : 1025 Pageviews.

scimovie
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 108 คน [?]




แหล่งรวบรวมความรู้ โปรแกรม เพลง หนัง เกมส์ วิทยาศาสตร์ ดูละคร เรื่องย่อ ภาพยนตร์ การเงิน และอื่นๆ อีกมากมาย สุดท้ายขอกำลังใจให้มีแรงอัพเดทตลอดๆ ครับ ขอบคุณทุกท่านที่เข้ามาเยี่ยมเยียนกันครับ
Friends' blogs
[Add scimovie's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.