ความดับลงแห่งกองทุกข์ มีได้เพราะการดับไปแห่งความเพลิน
Group Blog
 
<<
กันยายน 2553
 1234
567891011
12131415161718
19202122232425
2627282930 
 
6 กันยายน 2553
 
All Blogs
 
เวทนาคือทางไปแห่งจิตของสัตว์




เวทนาคือทางไปแห่งจิตของสัตว์


..........ภิกษุ ท.! คำที่เรากล่าวว่า "พึงรู้จักทางไป (แห่งจิต) ของสัตว์ ๓๖อย่าง" ดังนี้นั้น, ข้อนั้น เรากล่าวอาศัยหลักเกณฑ์อะไรเล่า ?

..........ภิกษุ ท.! ข้อนั้น เรากล่าวอาศัยหลักเกณฑ์คือ ความโสมนัสเนื่องด้วยเหย้าเรือน ๖ อย่าง,ความโสมนัสเนื่องด้วยการหลีกออกจากเหย้าเรือน ๖ อย่าง, ความโทมนัส เนื่องด้วยเหย้าเรือน ๖ อย่าง, ความโทมนัสเนื่องด้วยการหลีกออกจากเหย้าเรือน ๖ อย่าง, อุเบกขาเนื่องด้วยเหย้าเรือน ๖ อย่าง, อุเบกขาเนื่องด้วยการหลีกออกจากเหย้าเรือน ๖ อย่าง.

..........ภิกษุ ท.! ในเวทนาทั้งหลายเหล่านั้น, ความโสมนัสเนื่องด้วยเหย้าเรือน ๖ อย่าง เป็นอย่างไรเล่า ?

..........ภิกษุ ท.! เมื่อคนเรามองเห็นการได้ซึ่ง รูป อันน่าปรารถนา น่ารักใคร่ น่าพอใจ น่ารื่นรมย์ใจ อันเนื่องในความเป็นเหยื่อโลก ในทางตา ว่า เป็นสิ่งที่ตนกำลังได้อยู่ก็ตาม, หรือว่าเมื่อระลึกถึงรูป เช่นนั้น อันตนเคยได้แล้วแต่กาลก่อน ซึ่งล่วงแล้ว ดับสิ้น แปรปรวนไปแล้วก็ตาม แล้วเกิดความโสมนัสขึ้น. ความโสมนัสใด มีลักษณะเช่นนี้ความโสมนัสนี้ เรียกว่า ความโสมนัสเนื่องด้วยเหย้าเรือน (เคหสิตโสมนัส).(ในกรณีที่เกี่ยวกับ เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ และธรรมารมณ์ อีก ๕ อย่าง ก็ตรัสทำ นองเดียวกับ ข้อ ว่า รูป ผิด กัน แต่ชื่อ เท่านั้น ).

..........ภิกษุ ท .! เหล่านี้คือ ความ โสม นัสเนื่องด้วยเหย้าเรือน ๖ อย่าง.

..........ภิกษุ ท.! ในเวทนาทั้งหลายเหล่านั้น, ความโสมนัสเนื่องด้วยการหลีกออกจากเหย้าเรือน ๖ อย่าง เป็นอย่างไรเล่า ?

..........ภิกษุ ท.! เมื่อคนเรารู้แจ้งถึงความเป็นของไม่เที่ยงของรูปทั้งหลาย ความแปรปรวน ความจางคลายความกำหนัดยินดี และความดับไม่เหลือของรูปทั้งหลาย เห็นอยู่ด้วยปัญญาอันชอบ ตรงตามที่เป็นจริงอย่างนี้ ว่า "รูปทั้งหลาย ในกาลก่อนหรือในบัดนี้ก็ตามรูปทั้งหมดเหล่านั้น เป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา"ดังนี้ แล้วเกิดความโสมนัสขึ้น. ความโสมนัสใด มีลักษณะเช่นนี้ ความโสมนัสนี้ เรียกว่า ความโสมนัสเนื่องด้วยการหลีกออกจากเหย้าเรือน ( เนกขัมม-สิตโสมนัส). (ในกรณีที่เกี่ยวกับ เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ และธรรมารมณ์ อีก ๕ อย่างก็ตรัสทำนองเดียวกับข้อว่า รูป ผิดกันแต่ชื่อเท่านั้น).

..........ภิกษุ ท.! เหล่านี้คือ ความโสมนัสเนื่องด้วยการหลีกออกจากเหย้าเรือน ๖ อย่าง.

..........ภิกษุ ท.! ในเวทนาทั้งหลายเหล่านั้น, ความโทมนัสเนื่องด้วยเหย้าเรือน ๖ อย่าง เป็นอย่างไรเล่า ?

..........ภิกษุ ท.! เมื่อคนเรามองเห็นการไม่ได้ ซึ่งรูป อันน่าปรารถนา น่ารักใคร่ น่าพอใจ น่ารื่นรมย์ใจ อันเนื่องในความเป็นเหยื่อโลกในทางตา ว่า เป็นสิ่งที่ตนไม่ได้ก็ตาม, หรือว่า เมื่อระลึกถึง รูป เช่น นั้น อัน ตน ยังไม่เคยได้แต่กาล ก่อน ซึ่งล่วงลับ ดับ สิ้นแปรปรวนไปแล้วก็ตาม แล้วเกิดความโทมนัสขึ้น. ความโทมนัสใดมีลักษณะเช่นนี้ ความโทมนัสนี้ เรียกว่า ความโทมนัสเนื่องด้วยเหย้าเรือน (เคหสิต-โทมนัส). (ในกรณ ีที่เกี่ยวกับ เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ และธรรมารมณ ์ อีก ๕ อย่างก็ตรัสทำ นองเดียวกับ ข้อว่า รูป ผิดกันแต่ชื่อเท่านั้น).

..........ภิกษุ ท.! เหล่านี้คือ ความโทมนัสเนื่องด้วยเหย้าเรือน ๖ อย่าง.

..........ภิกษุ ท.! ในเวทนาทั้งหลายเหล่านั้น, ความโทมนัสเนื่องด้วยการหลีกออกจากเหย้าเรือน ๖ อย่าง เป็นอย่างไรเล่า?

...........ภิกษุ ท.! เมื่อคนเรารู้แจ้งถึงความเป็นของไม่เที่ยงของรูปทั้งหลาย ความแปรปรวน ความจางคลายความกำหนัดยินดี และความดับไม่เหลือของรูปทั้งหลาย เห็นอยู่ด้วยปัญญาอันชอบตรงตาที่เป็นจริงอย่างนี้ ว่า "รูปทั้งหลาย ในกาลก่อนหรือในบัดนี้ ก็ตามรูปทั้งหมดเหล่านั้นเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา"ดังนี้แล้ว เขา ย่อมเข้าไปตั้งไว้ ซึ่งความกระหยิ่ม ในอนุตตรวิโมกข์ทั้งหลายว่า "เมื่อไรหนอ ! เราจักเข้าถึงอายตนะนั้น แล้วแลอยู่ อันเป็นอายตนะที่พระอริยเจ้าทั้งหลาย เข้าถึงซึ่งอายตนะนั้นแล้วแลอยู่ ในบัดนี้" ดังนี้. เมื่อเขาเข้าไปตั้งไว้ ซึ่งความกระหยิ่ม ในอนุตตรวิโมข์ทั้งหลาย อยู่ดังนี้ ย่อมเกิดความโทมนัสขึ้น เพราะความกระหยิ่มนั้นเป็นปัจจัย. ความโทมนัสใด มีลักษณะเช่นนี้ ความโทมนัสนี้ เรียกว่าความโทมนัสเนื่องด้วยการหลีกออกจากเหย้าเรือน (เนกขัมมสิตโทมนัส) (ในกรณีที่เกี่ยวกับ เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพและธรรมารมณ์ อีก ๕ อย่าง ก็ตรัสทำ นองเดียวกับข้อว่า รูป ผิดกันแต่ชื่อเท่านั้น).

..........ภิกษุ ท.! เหล่านี้คือ ความโทมนัสเนื่องด้วยการหลีกออกจาเหย้าเรือน ๖ อย่าง.

..........ภิกษุ ท.! ในเวทนาทั้งหลายเหล่านั้น, อุเบกขาเนื่องด้วยเหย้าเรือน(เคหสิตอุเบกขา) ๖ อย่าง เป็นอย่างไรเล่า ?

..........ภิกษุ ท.! เพราะเห็นรูปด้วยตาแล้วอุเบกขาก็เกิดขึ้นแก่คนพาล ผู้หลง ผู้เขลา ผู้บุถุชน ผู้ยังไม่ชนะกิเลส ผู้ยังไม่ชนะวิบาก ผู้ไม่เห็นโทษ ผู้ไม่ได้ยินได้ฟัง. อุเบกขาใด ซึ่งเป็นอุเบกขาของบุถุชนอุเบกขานั้น ไม่อาจจะเป็นไปล่วง ซึ่งวิสัยแห่งรูป เพราะเหตุนั้นเราเรียกอุเบกขานั้น ว่า อุเบกขาเนื่องด้วยเหย้าเรือน. (ในกรณีที่เกี่ยวกับ เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ และธรรมารมณ์ อีก ๕ อย่าง ก็ตรัสทำนองเดียวกับข้อว่า รูป ผิดกันแต่ชื่อเรียกเท่านั้น).

..........ภิกษุ ท.! เหล่านี้คือ อุเบกขาเนื่องด้วยเหย้าเรือน ๖ อย่าง.

..........ภิกษุ ท.! ในเวทนาทั้งหลายเหล่านั้น, อุเบกขาเนื่องด้วยการหลีกออกจาเหย้าเรือน ๖ อย่าง เป็นอย่างไรเล่า ?

...........ภิกษุ ท.! เมื่อคนเรารู้แจ้งถึงความเป็นของไม่เที่ยงขอรูปทั้งหลาย ความแปรปรวน ความจางคลายความกำหนดยินดี และความดับไม่เหลือของรูปทั้งหลาย เห็นอยู่ด้วยปัญญาอันชอบตรงตามที่เป็นจริงอย่างนี้ว่า "รูปทั้งหลาย ในกาลก่อน หรือในบัดนี้ ก็ตามรูปทั้งหมดเหล่านั้น เป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา"
ดังนี้ แล้วเกิดอุเบกขาขึ้น. อุเบกขาใด มีลักษณะเช่นนี้ อุเบกขานั้น ไม่
อาจจะเป็นไปล่วง ซึ่งวิสัยแห่งรูป เพราะเหตุนั้น เราเรียกอุเบกขานั้น ว่าอุเบกขาเนื่องด้วยการหลีกออกจากเหย้าเรือน (เนกขัมมสิตอุเบกขา). (ในกรณีที่เกี่ยวกับ เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ และธรรมารมณ์ อีก ๕ อย่าง ก็ตรัสทำนองเดียวกับข้อว่า รูป ผิดกันแต่ชื่อเรียกเท่านั้น).

..........ภิกษุ ท.! เหล่านี้คือ อุเบกขาเนื่องด้วยการหลีกออกจากเหย้าเรือน ๖ อย่างแล.

..........ภิกษุ ท.! คำ ใดที่เรากล่าวว่า "พึงรู้จักทางไป (แห่งจิต) ของสัตว์๓๖ อย่าง" ดังนี้นั้น, คำนั้น เรากล่าวอาศัยความข้อนี้แล.







Create Date : 06 กันยายน 2553
Last Update : 6 กันยายน 2553 19:09:15 น. 23 comments
Counter : 678 Pageviews.

 
อนุโมทนาบุญค่ะ


โดย: นาฬิกาสีชมพู วันที่: 6 กันยายน 2553 เวลา:19:36:06 น.  

 
มา Say hello !! อานนท์ วันนี้อ่านอริยสัจ ภาคต้น + ปฏิจจ สองเล่มควบ ทำให้เข้าใจสาย ปฏิจจ มากขึ้นแต่ยังไม่กระจ่างแจ้ง แต่ขอบอกว่า มันผัสสะกันจนยุ่งเหมือนหญ้าอะไรนะ จำไมได้ อิอิ ถ้าเข้าใจแระจะมา อธิบายให้ฟังน๊า อานนท์ อิอิ


โดย: ครีม IP: 124.120.56.129 วันที่: 7 กันยายน 2553 เวลา:16:28:56 น.  

 
หญ้า มุญชะ และ หญ้า ปัพพชะ ถ้าแปลให้เข้าใจง่ายก็คือ หญ้ามุงกระต่าย และ หญ้าปล้อง อิอิ อาครีม

ถ้า ไม่เข้าใจ มาถามที่นี่ก็ได้ คนอื่นเขาจะได้อ่านด้วย เผื่อจะเป็นประโยชน์ ต่อ คนอื่น

วันนี้ สมาธิ เราก้าวหน้า ไป อีกขั้น เพราะมีความเข้าใจ มากขึ้น แต่ยังไม่ได้เห็น ขวดน้ำ อิอิ


โดย: อานนท์ IP: 125.25.37.19 วันที่: 7 กันยายน 2553 เวลา:17:11:33 น.  

 
อานนท์ค้น คำว่า อามิส ให้เราหน่อยว่า มีอะไรบ้าง


โดย: ครีม IP: 124.120.48.244 วันที่: 9 กันยายน 2553 เวลา:14:54:20 น.  

 
อามิส แปลว่า เครื่องล่อใจ เหยื่อ สิ่งของ

เช่น เราบูชา ด้วยสิ่งของ ดอกไม้ ธูป เทียน อาหาร

นี่เรียกการบูชานี้ว่า อามิส บูชา

ซึ่งสิ่งของ เครื่องล่อใจ ก็ มีมากมาย

แต่ที่จะถามนี่ หมาย ถึง อุเบกขา ที่ อิง อามิส รึเปล่า

อุเบกขา ที่ อิงอามิส ก็ คือ อุเบกขา ที่ประกอบด้วยเหย้าเรือน เครื่องล่อ หรือ อามิส ของตา ก็ คือ รูป
หู ก็ คือ เสียง พอตา กระทบรูปปุ๊ป เฉยๆๆ อาการเฉยๆนี้ เรียกว่า อุเบกขาที่อิงอามิส

ส่วน อุเบกขา ที่ ไม่อิงอามิส คือ อุเบกขา ใน สมาธิ ตั้งแต่ ฌาน ที่ 1 ขึ้น ไป เรียกว่า อุเบกขาที่ ไม่อิงอามิส


โดย: อานนท์ IP: 125.25.22.7 วันที่: 9 กันยายน 2553 เวลา:15:45:31 น.  

 
งั้น อุเบขา ที่ประกอบด้วยเเหย้าเรือน คือ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏจัพพะ หรือป่าว


โดย: ครีม IP: 124.120.48.244 วันที่: 9 กันยายน 2553 เวลา:16:04:18 น.  

 
ถูกแล้ว ถูกแล้ว อาครีม อิอิ


โดย: อานนท์ IP: 125.25.9.102 วันที่: 9 กันยายน 2553 เวลา:17:15:50 น.  

 
สจจํ เว อมตา วาจา
คำสัตย์แล เป็นวาจาไม่ตาย

ขอความสุข สวัสดี จงมีแก่เพื่อนบล็อกทุกท่าน..นะคะ




โดย: พรหมญาณี วันที่: 10 กันยายน 2553 เวลา:12:09:20 น.  

 

...โสดาปัตติมรรคจิต นี่ มันดำรงอยู่นาน ขนาดไหนครับ หรือว่า เพียงระยะสั้นๆ แค่ ขณะจิตเดียว แล้ว โสดาปัตติผลจิต ก็เกิดต่อเลย หรือว่ายังไงครับ เพราะถ้าแค่ ขณะจิตเดียว ก็เพียงเสี้ยว วินาทีเอง หรือครับ ไม่น่าสั้นแค่นั้น...

...แต่รู้ว่า พอ โสดาปัตติผลจิต เกิด สืบต่อ ก็คือเข้าสู่กระแสแห่งนิพพาน คือเป็นสภาวะของ โสดาบัน ใช่ไหมครับ ตกลง ตัวโสดาปัตติมรรคจิต นี่ยังไงครับ ?

...ส่วนการปฏิบัติ ตอนนี้ ก็ดีมากขึ้นครับ !!! ผมจะพยายามเจริญ สติ ให้ได้ ตลอดเวลา คือ ดีใจมากเลย เพราะตอนเช้า ทุกวัน พอลืมตาตื่นนอนขึ้นมา สิ่งแรกที่มันคิดได้เองอัตโนมัติเลย ก็คือ คิดถึงการเจริญสติก่อนเลยครับ ไม่ได้พูดเล่น แต่เป็นแบบนี้จริงๆ ครับ ผมจะเตือนตัวเองเลยว่า ตลอดเวลาอย่าลืม ไม่งั้น ดำรงอยู่ในความประมาททันที !!! อันตราย ต้องรีบเร่ง เหมือนกับ ไฟไหม้ที่หัว อย่าเพิ่งดับ แต่ต้อง มารู้อริยสัจ ก่อน !!!

...ยกเว้นตอนนอนหลับ แต่ยังไม่เคยฝันว่าได้เจริญสติ นะครับ 555 แต่ เดี๋ยวคงฝันว่าได้เจริญสติในฝันแน่เพราะว่า ตอนตื่น ได้ทำบ่อยๆ เนืองๆ เป็นผู้มีปรกติเจริญสติปัฐฐาณ จิตมันก็จะเก็บไปฝันเอง !!...0_o...

...และตั้งแต่อาทิตย์ที่แล้ว ที่บอกว่า ผมลอง สมมุติ ให้จิตเราเป็น วิมุติญาณทรรศนะก่อน และยึดอยู่ที่ ตรงนั้น และ พยายามดู สภาวะทั้งหมด ที่มันไปหลงยึดถือว่าเป็นของมันอยู่ และเป็นผู้เฝ้าดูเฉยๆ และ ทำในใจให้เป็นเพียงสักแต่ว่า...

...พอสมมุติให้เป็นแบบนั้น และลองปฏิบัติดู เลยทำให้ผมเข้าใจตัวสติ มากขึ้นโดยไม่ได้ตั้งใจ คือ ทำให้ผม ทำอะไรไปด้วยได้ทุกอย่างเลยครับ !!! และเจริญสติไปด้วพร้อมๆกัน คือจากเดิม ก็คือว่า ถ้าทำงานอะไรไปด้วย โดยเฉพาะที่ต้องใช้ความคิดไปด้วย มันจะ เจริญสติไม่ได้ แต่ตอนนี้ทำได้แล้วครับ พบว่า เรา ยังเข้าใจตัว สติ ยังไม่แจ่มแจ้งเอง จึงยังทำไม่ได้ และพอมา กำหนดจิตแบบเดิมคือ (ทำในใจให้เป็นเพียง สักแต่ว่า) ก็ ทำให้ผมทำอะไรทุกอย่าง และ เจริญสติไปได้แบบ เป็นเนื้อเดียวกันได้เลยครับ...!!!

... เลยทำให้ผม เจริญวิปัสสนา ได้ ตลอดเวลาส่วนใหญ่ของวัน แต่ไม่ใช่ สติเกิดตลอดนะครับ หมายถึงเฉพาะขณะที่ ไม่หลงลืมสติ และนึกได้น่ะครับ ก็จะรีบกำหนดจิตไห้อยู่กับสติทันที ทำบ่อยๆ เนืองๆ ....เพราะที่เคยฟังมาคือ ถ้ายังไม่ใช่ พระอรหันต์ ก็เป็นไปไม่ได้ ที่ สติจะเกิดตลอด 24 ชั่วโมง ใช่ไหมครับ แต่แค่เป็น ส่วนใหญ่ของวันตรงนี้ก็สุดยอดแล้ว...

...คือว่าตรงนี้ผมเข้าใจเองนะครับ ว่า จะเป็นแบบนี้ และรู้สึกดี ที่ทำได้แบบนี้ คือ ไม่ว่าจะทำอะไรทุกอย่าง เช่น ดูโทรทัศน์ ไปซื้อของที่ตลาด หรือ อ่านหนังสือธรรมะ หรือ ฟังพระอาจารณ์ คึกฤทธิ์ ก็จะ เจริญสติไปได้พร้อมๆกันเลยตลอด คือ มันรู้สึกว่า ใช่เลยแบบนี้ ไม่เคย เข้าใจได้แบบนี้มาก่อน...

...คือมันจะเป็นแบบ เรารู้แบบ คุมมันได้อยู่ตลอด เช่นกำลังคิดนึกก็รู้ว่าจิตกำลังคิดนึก คือถ้าไม่มีสติ ก็คือ จะรู้สึกว่า มีแต่คิดนึก แต่ไม่มี จิตที่ กำลังเฝ้าดูควบคู่อยู่ด้วย นั่นเองแต่ความต่างคือ ถ้าสติเกิด คือ มันจะมี สภาวะจิต ที่ กำลังรู้ ควบคู่อยู่ตลอด ซึ่งลักษณะที่พิเศษ ของมันก็คือ เฝ้าดูอยู่แบบ สักแต่ว่า ด้วยนะครับ ไม่ใช่ว่า เพลิน...

...แต่ก็ เป็นเข้าใจของผมเองนะครับ ...แต่ถ้าจะมีรายละเอียดตรงไหนที่ยังไม่ถูกต้องตาม หลักการ เจริญสติปัฐฐาณ ตามพระพุทธพจน์ คุณนนท์ ช่วยบอกหน่อยนะครับ...จะได้ปรับ...เพราะ เราอาจจะนึกไปเองก็ได้ เป็นวิปัสนึก อะไรทำนองนี้ 55 เพราะเป็นเรื่องละเอียดอ่อนใช่ไหมครับ...เพราะเราเป็นเพียง ผู้เดินตามมรรค แต่พระพุทธองค์เป็นผู้ค้นพบมรรค และ ฉลาดในมรรค.....

...อีกนิดนึงคือ อยากจะอธิบาย ความเข้าใจ คำว่า สติของผม ก็คือว่า...(กระทำในใจให้เป็นเพียงสักแต่ว่า) คำจำกัดความที่ผมเข้าใจคือ...

[ ...ไม่หนี และ ไม่ตาม... ]
[...ไม่สนใจ แต่ก็ไม่ใช่ว่า หนี...]

(และ มีความรู้ทั้งหมดเป็นตัวพิจรณา...เช่น สภาวะธรรมทั้งหลาย ก็เกิดขึ้นเพราะปัจจัยปรุงแต่ง คือเมื่อสิ่งนี้มี จึงมีสิ่งนี้ ทุกอย่างเป็นเหตุหนุนเนืองกัน และ เป็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ทุกสิ่งมันก็แค่นั้นเอง ไม่มี สาระอะไรเลย ก็วนเวียนอยู่แบบนี้ แต่มีทุกข์ เพราะการเกิดเป็นทุกนั้น นี่คือ โทษ(อาทีนวะ) เพราะฉะนั้น เราต้องดับการเกิดไห้ได้ เมื่อไม่มีการเกิด ก็ไม่ต้องมีอะไรมาเป็นทุกข์อีกต่อไป....)


...ตอนนี้กลับกลายเป็นว่า ผมเลยกลัวเลย คือ กลัวต่อความเพลิน คือ กลัวจิตใจตัวเองว่า เวลา เห็น ได้ยิน ได้กลิ่น ลิ้มรส สำผัส อะไร กลัวว่าจิตจะไปหลงเพลินอยู่ ในรูป เสียง กลิ่น รส โผฐฐัพะ มันน่ากลัวจริงๆ ครับ เพราะว่า จิตมันไปสร้างความเคยชินแบบนั้น อยู่ตลอดมาเป็นเวลา หลายแสน หลายล้าน ๆ ๆ ๆ ๆ นับชาติไม่ถ้วน กลัวว่า ถ้าไม่รีบ เจริญสติ ไห้รู้แจ้ง อริยสัจธรรมแล้ว กลัวว่า จะไม่บรรลุ น่ะครับ เพราะเพลินบ่อยเหลือเกิน 555 เฮ้อออออออ

...แต่ว่าเห็นภัยในวัฏสงสารจริงๆ แต่จริงๆแล้ว ตอนนี้ผมก็ยังไม่พร้อม ที่จะตัดขาดจากทุกสิ่ง ไม่งั้นก็คงไปบวชแล้ว 555 ก็ค่อยๆทำกันไป.........ขออนุโมทนาครับ....


โดย: อะไรกัน 0-> IP: 118.174.191.185 วันที่: 13 กันยายน 2553 เวลา:1:52:20 น.  

 
ตอบ คุณ อะไรกัน

ข้อ 1 โสดาปัตติมรรค ก็ คือ วิธี การปฎิบัติเพื่อการบรรลุเป็นพระโสดาบัน ปฎิบัติอย่างไร ถึงจะเป็นพระโสดาบัน เราก็ มาดู คุณสมบัติของพระโสดาบันก่อนว่า พระโสดาบัน ต้องมีคุณสมบัติอย่างไร

คุณสมบัติ ของพระโสดาบัน ก็คือ ต้องละสังโยชน์ ได้ 3 ประการ

1.ละสักกายะทิฐิ ( ความเห็นที่ว่าเป็นตัวตน )
2.ละวิจิกิจฉา ( ความลังเลสงสัย ในพระรัตนตรัย )
3.ศีลพรตปรามาส ( ศีลพรต ตามแบบของสมณะพราหมเหล่าอื่น )

การ ปฎิบัติ เพื่อละความเห็นผิดว่า ตัวตนเป็นเรา คือการได้ รู้ธรรมะ พอได้รู้ธรรมะ แล้วถึงกับ เปลี่ยนความเห็นผิดได้ คือเปลี่ยนแค่ความเห็นน๊ะ ก็ ถือว่า ละสักกายะทิฐิแล้ว

ส่วน วิจิกิจฉาและ ศีลพรตปรามาส จะพูดรวมๆกันก็คือ ความไม่หวั่นไหว ในพระรัตนตรัย และ มีศีล 5บริบูรณ์ หวั่นไหวยังไง เช่น เรา เดินผ่าน ศาลพระภูมิ ถ้าไม่ยกมือไหว้ จะเสียวว่าเค๊าจะมาหักคอเรามั๊ยละ แล้วเรายังกลัว จนต้องยกมือไหว้ นี่คือยังหวั่นไหว ไม่เชื่อมั่นใน พระรัตนตรัย และ ถือว่า เป็น ศีลพรตปรามาสด้วย ต้องบูชา ฆ่าหมู แกะ ไก่ ไปเซ่นไหว้ นี่ยังหวั่นไหว ไปดูหมอดู หมอดูทักว่า ห้ามใช้รถสีเขียว ต้องใช้รถสีแดง ไม่งั้นจะเกิดอุบัติเหตุ ก็เลยติด สติ๊กเกอร์ รถคันนี้ สีแดง เป็นต้น นี่ คือ หวั่นไหวและ เป็น ศีลพรตปรามาสด้วย คือ ต้องมีความเชื่อมั่นในพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ว่ามีอยู่จริง ปฎิบัติได้จริง มีพระสงฆ์ที่ทำได้ นี่คือ ไม่ลังเลสงสัยและ ประกอบด้วย การมีศีล 5 ก็ จะละสังโยชน์ 2ข้อนี้ได้ มีศีล 5 บริบูรณ์ มีความเพียรที่ไม่ถอยกลับ คือจิตตกกระแส แห่งพระนิพพานแล้ว จะไหลไปสู่นิพพานแน่นอน

นี่คือ โสดาปัตติมรรค ถามว่า แล้ว เราจะทราบได้อย่างไร ว่า เป็นโสดาปัตติผล ก็คือ เราก็ ใช้เครื่องวัดความเป็นพระโสดาบันมาวัดสอบ ถ้า เช่น ถ้าเรายังหวั่นไหว อยู่ มีศีล5 ยังผิดบ่อย ก็ ยังไม่ใช่ แต่ยังมีความพยายามที่จะปฎิบัติอยู่ ก็ยังอยู่ในขั้นตอนของโสดาปัตติมรรค แต่ถ้าทุกอย่าง สมบูรณ์เพอร์เฟคแล้ว ก็ ให้พยากรณ์ตนและตน ว่าเป็นโสดาบันได้เลย

ส่วนคำถาม ที่เอามาเกี่ยวพันกับจิต มันไม่เกี่ยวกัน นั่น อภิธรรม เขาเอามาพันกันให้มันยุ่งจนคนไม่เข้าใจเอง

ข้อ 2 การทำในใจเพียง สักแต่ว่า [ ...ไม่หนี และ ไม่ตาม... ][...ไม่สนใจ แต่ก็ไม่ใช่ว่า หนี...]ก็ ถูกอยู่ แต่ที่ถูกจริงๆคือ ตามดูไม่ตามไป ครับ คือ แค่ดูมันเฉยๆอย่าไปเป็นตัวมัน แค่นั้น สักแต่ว่าเห็นมัน ไม่ต้องไปรู้ก็ได้ว่ามันอยู่ใหน แค่มองมันเฉยๆพอ ถ้าหนี นั่นคือเราไปเพลินกับอย่างอื่นแล้ว ฉะนั้น เราต้องดูมันเฉยๆแต่ไม่ต้องไปสนใจมัน นี่คือ ตามดูไม่ตามไป ข้อนี้ ทำถูกแล้วครับ

สรุปข้อปฎิบัติ ก็ ทำมาถูกแล้วครับ ที่อยากจะให้ทำเพิ่มคือ ลองนั่งสมาธิให้ มากขึ้น อย่าไปกลัวว่าจะเป็นสมถะ อย่าไปกลัวว่าจะติดสุขในสมาธิ เพราะพระพุทธเจ้าบอกว่า สุขในสมาธิ เป็นสุขที่ไม่ควรกลัวควรจะทำให้มากเจริญให้มากจะลาดเอียงโน้มเอียงไปสู่นิพพาน ข้อสำคัญคือ เมื่อจิตเป็นสมาธิแล้วให้ เห็นการเกิดดับของขันธ์ทั้ง 5 แล้วจะปล่อยวางขันธ์ 5ได้เองครับ ส่วนในชีวิตประจำวัน ก็ ทำมาถูกทางแล้วครับ ไม่ต้องแก้ไขปรับปรุงอะไร

ก็ต้องขออนุโมทนาสาธุด้วยน๊ะครับ ขอให้สำเร็จมรรคผลนิพพานในอนาคตกาลอันใกล้นี้เทอญ




โดย: จูปีเตอร์เทพแห่งดาวพฤหัส วันที่: 13 กันยายน 2553 เวลา:11:08:10 น.  

 
ครุ โหติ สคารโว
ผู้เคารพผู้อื่น ย่อมมีผู้เคารพตนเอง

มีความสุขในการดำเนินชีวิต ตลอดไป..นะคะ




โดย: พรหมญาณี วันที่: 13 กันยายน 2553 เวลา:11:31:06 น.  

 
อ๋อ...โสดาปัตติมรรค ก็ คือ เป็น วิธีการปฎิบัติเพื่อการบรรลุเป็นพระโสดาบัน และ มีความเพียรที่ไม่ถอยกลับ นี่ก็คือ เป็น โสดาปัตติมรรค แล้ว ถึงผลยังไม่เกิด ก็ตาม...เข้าใจแล้วครับ ผมก็นึกว่า มันจะ ปิ๊ง ขึ้นมา แค่ขณะจิตเดียว !!! แต่หมายความว่า กระบวนการต่อเนื่อง ที่เป็นลักษณะนี้นี่เอง.....เข้าใจแล้วครับ

...และผมจะพยายามลองทำ สมาธิ ดูเรี่อยๆ ครับ เพราะเราไม่ควรเหินห่างจากฌาณใช่ไหมครับ แต่ ผมทำในใจเป็น้พียงสักแต่ว่า ก็เป็น ฌาณที่ 1 โดยอัตโนมัตินะครับ แต่ถ้าได้ฌาณสูงขึ้นยิ่งดี เพราะ พระพุทธเจ้าบอกว่า สุขในสมาธิ เป็นสุขที่ไม่ควรกลัวควรจะทำให้มากเจริญให้มากจะลาดเอียงโน้มเอียงไปสู่นิพพาน นี่เอง ก็จะลองทำดูไห้มากขึ้นครับ....

....(เมื่อจิตเป็นสมาธิแล้วให้ เห็นการเกิดดับของขันธ์ทั้ง 5 แล้วจะปล่อยวางขันธ์ 5ได้เอง)...น่าสนใจครับ เพราะศัทธา เต็มเปี่ยมอยู่แล้ว จะลองทำสลับกันไปครับ...


โดย: อะไรกัน 0-> IP: 118.174.191.128 วันที่: 13 กันยายน 2553 เวลา:12:15:46 น.  

 
โหห อะไรกันปฏิบัติไปได้เยอะแล้วเชียว...ตอนนี้ครีมติดอยู่ที่ เวทนา----->อุเบขา------->ไม่อิงอามิส

ตอนนี้แทบจะไม่เห็นว่าอะไรเกิดอะไรดับ จับเอาการเข้า ฌาน 1 /2/3/4 หรือถ้าวันไหนวัด ฌานไม่ได้ก็เอาการเปลี่ยนแปลงของ อารมณ์ในอุเบขา ว่าอะไรไม่มีก็มีอะไรเคยมีก็หายไป จับเอาแบบนี้ดูว่ามันมีเกิดดับ ตอนนี้รู้สึกว่าเราเป็นฆราวาส มันมีสิ่งที่จะทำให้มีอุปทานเยอะมากๆ...กลัวว่าถ้าวันนึงเราเผลอไปยึด พวก กามคุณ 5 แล้วความเพียรของเราจะถอยกลับ เลยรู้สึกเป็นทุกข์นิดหน่อยต่อการดำเนินชีวิตแบบฆราวาส แต่จะละไปก็ไมได้ต้องมีหน้าที่รับผิดชอบ เลยไม่รู้จะทำไง

... วันนี้รู้สึกกังวลเล็กน้อยแต่ไม่ถึงกะเป็นทุกข์สะทีเดียว
รู้สึกแปลกใจว่าสองสามวันมานี้เราคิดเรื่องเกี่ยวกะชีวิตทางโลกเยอะ คิดเรื่องอยากมี อยากเป็น อยากทำ ล้วนแต่เป็นตัณหาทั้งสิ้น เลยรู้สึกว่าความเพียรมันถอยกลับ..หรือว่าเราไปยึดอุปทานสะแล้ว ตอนนี้เหมือนมันกำลังตีกันยุ่งไปหมดเลย สับสนอะ อยากลางานสัก 7 วันไปต่อสู้กะ ตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจ รู้สึกว่า ใจมันกำลังชนะเราแระ เฮออ mg
src=https://www.bloggang.com/emo/emo11.gif>
อานนท์มีไรแนะนำเราปะ อาครีมกำลังจะแย่แล้ว


โดย: Thank a lot วันที่: 13 กันยายน 2553 เวลา:13:01:40 น.  

 
5555 อาครีม เป็นไร กำลังจะแย่ อิอิ

ไม่เห็นอะไรเกิดดับ ก็ ให้เห็นการเปลี่ยนแปลงของสมาธิ ก็ ได้เหมือนกัน

หรือ มีอีกวิธีหนึ่ง คือ การพลิกมุม เช่น เราดูจิต รู้ลม ให้พลิกมาดู อุเบกขา พอ ดู อุเบกขาได้สักพัก ก็ พลิกมาดูจิต หรือมารู้ลม มันก็จะได้เห็น การ เกิดดับของจิต และอุเบกขา แทนที่จะรอให้มันดับเอง เราทำให้มันดับซ๊ะ ก็หมดเรื่อง อิอิ ดูๆมันไป เดี๋ยวมันก็เกิดนิพิททาเอง พอมันเบื่อ มันก็ ไม่เอาเองนั่นแหละ

อย่าไปคิดว่า อยู่ในโลก แล้ว อุปาทานมันเยอะ ให้อยู่อย่างเนื้อที่นอนจมบ่วงแต่ไม่ติดบ่วงไง อิอิ แต่คนพูด ก็ยัง ติดบ่วงอยู่เหมี๋ยนกัน 5555


โดย: อานนท์ IP: 125.25.84.224 วันที่: 13 กันยายน 2553 เวลา:14:40:01 น.  

 
อานนท์ อย่าหัวเราะเราแบบนั้น ....
เดี๋ยววันนี้เราจะปิดคอม ตั้งแต่หกโมง ไปนั่งสมาธิ บอกตรงๆกลัวยังไงไม่รู้บอกไม่ถูก ทุกข์เพราะกลัวธรรมะจะถอยกลับ นี่ไง ขนาดแค่เรื่องนี้ยังทำให้ทุกข์ได้ แล้วสักวันอานนท์จะเป็นเหมือนเรา


โดย: Thank a lot วันที่: 13 กันยายน 2553 เวลา:17:13:22 น.  

 
อ๋อ...ผมเข้าใจแล้วครับ คือ คิดตรรกะง่ายๆว่า แบบไหนจะดีกว่ากัน ระหว่าง เจริญ วิปัสนา เพรียวๆ กับ ได้ฌาณ 1/2/3/4 ไปด้วย ก็ต้อง ได้ฌาณด้วย นี่เอง ต้องดีกว่า เพราะ จะทำให้จิตทำงานช้าลง ทำไห้จับการเคลื่อนไหวได้ง่าย ควรแก่การงานมากกว่า และง่ายกว่าที่จะเป็นปัจจัย ทำให้จิต เข้าใจสรรพสิ่งตามความเป็นจริง ได้เร็วกว่า...

...คุณ ครีม กลัว ความเพียรจะถอยกลับ นี่ไงครับ ตรงกับผมเลย ผมก็ถอยตลอด ยิ่ง สมาธิยิ่งไม่เอาเลย 555 เฮ้ออออออออ ปกติ จะเน้นแต่ ปัญญาวิมุติ แต่เพิ่งเริ่มเดินหน้า ตอนนี้เองครับ 55 เพราะเข้าใจ ตัวสติมากขึ้น...มันเลยไปได้ เรื่อยๆ....

... แต่ถ้า เอาตามประสบการณ์ของผมคือ ผมจะต้องรู้ หลักการสำคัญพื้นฐาณ พอสมควร และให้มันเชื่อมโยงได้ก่อน มันจะดำเนินไปได้ แต่ถ้า ไปต่อไม่ได้ คือเปรียบหมายถึง เรายังเชื่อมโยง ไม่ได้ แต่พอเชื่อมโยงได้หมด และ เข้าใจ มันก็จะเริ่มได้ผล และ พอได้ผล มันก็จะมีกำลังใจ ทำต่อไป เพราะเริ่ม เห็นผลนิดๆ...

...แต่คุณ ครีม บอกว่า ( อยากลางานสัก 7 วันไปต่อสู้กะ ตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจ ) ...เอ๊ตรงนี้เหมือนกับ ถ้า จิตยังไม่ถึงขั้น อะไรสักอย่าง อย่าเพิ่งเข้าป่า หรือเปล่าครับ เหมือนที่ พระพุทธองค์บอก...???

...แต่ว่าก็มีหลายมรรควิธี ใช่ไหมครับ คือต้องเลือกเอา ที่เราคิดว่า เหมาะกับเราแบบนี้ ก็ปฏิบัติไปแบบนี้เลยแบบเดียว ให้ชำนาญไปเลย จะทำให้ดีกว่า ไปจับหลายวิธี หลายเครื่องมือ...แต่สำหรับผมเจอแล้ว มรรควิธีที่เหมาะกับผมคือ...

(กระทำในใจให้เป็นเพียงสักแต่ว่า).........นั่นเอง.......แต่เดี๋ยวจะลอง เจริญสมาธิดูสักหน่อย ว่าจะเป็นยังไง เพราะ ไม่เคยได้ฌาณที่ 2 เลยน่ะครับ.....เพราะไม่ค่อยสนใจที่จะเจริญสมถะ...

...เพราะ ไปติดภาพพจน์ว่า เขาก็ทำกันมาเยอะแยะ ไม่เห็นจะดียังไงเลย เช่น วัดธรรมกายก็ เห็น แต่งชุดขาวสวยงาม นั่งสมาธิ กัน เยอะแยะ...นะจ๊ะ 5555555 เฮ้อออออออ...แล้วตกลง ศูนย์กลางกาย ฐาณที่ 7 นี่มันอยู่ส่วนไหน หรือครับ 555.....เฮ้อออออ....0_o

...แต่ผมก็เข้าใจแล้วว่า สมาธิของเขา ไม่เหมือนกับที่พระพุทธองค์สอนใช่ไหมครับ เพราะดูภายนอก ไม่มีอะไรต่างกัน ก็เห็น แต่งชุดขาว นั่งสมาธิเหมือนกัน ทั่วประเทศไทย...และทั่วโลก...แต่ตอนนี้เข้าใจแล้วว่า มันอยู่ที่ จิตต่างหาก ไม่จำเป็นต้องไปนั่ง หรือว่า หลับตาอย่างเดียว ...แต่ได้ทุกอริยาบท ...

...แต่ว่า ผู้ที่เริ่มต้อง นั่งก่อนใช่ไหมครับ และหลับตา ช่วยไปก่อน ใช่ไหมครับ เพราะ ก็เหมือนกับช่วยตัดการปรุงแต่งทางตาไปได้เยอะ และผมเข้าใจว่า ถ้าอริยาบทอื่น สะเป็นสำหรับผู้ที่ชำนาญแล้ว ใช่ไหมครับ และไม่ต้องหลับตา....

...แล้ว ที่ พระพุทธองค์บอกว่า ไม่ควรเหินห่าง จากฌาณ นั้น หมายถึง ฌาณขั้นไหนครับ ถ้าได้แค่ ฌาณที่1 ก็ถือว่าเพียงพอ คือไม่เหินห่างแล้วใช่ไหมครับ....แล้วอยากถามว่า คุณ นนท์ เคยได้ถึง ฌาณ ขั้นไหน หรือครับ ..??

...เคยอ่าน แต่ลืมไม่ได้ จำใว้ว่าอยู่ ตรงไหน ที่เป็นพระสูตร ที่ พระพุทธองค์ บอกประมาณว่า ถ้า ได้ฌาณแล้ว เราจะได้พบความสุขแบบที่ ดีละเอียดปราณีต กว่า ความสุขแบบกามคุณธรรมดา และจะไม่อยากหวนกลับมาสู่ความสุขแบบเดิมๆอีก เพราะได้สำผัสความสุขที่ดีกว่า เมื่อบุคคลได้ พบสิ่งที่ดีกว่าแล้ว ก็ย่อมไม่อยากหวนกลับมาสู่ สิ่งที่ เป็นความสุขแบบ กามคุณ ประมาณนี้....


โดย: อะไรกัน IP: 118.174.190.25 วันที่: 13 กันยายน 2553 เวลา:17:19:39 น.  

 
ตอบ คุณอะไรกัน

ใช่แล้วครับ การเจริญวิปัสนา เพียวๆที่จริงมันไม่เพียวหรอก แต่ มี สมาธิเข้าไปจับเหมือนกัน แต่เป็นสมาธิอย่างหยาบ ถ้าคุณไม่มีสมาธิ ก็ จะเจริญวิปัสนา ไม่ได้หรอก ที่เจริญวิปัสนาได้ คือ นั่นมีสมาธิแล้ว แต่เป็น ฌานในระดับฌานที่ 1 สมถะกับ วิปัสนา เป็นของคู่กัน และติดกัน แยกกันไม่ได้

เพียงแต่ คนที่เจริญสมถะ เขาไม่รู้ว่า วิปัสนาคืออะไร ส่วนคนที่เจริญ วิปัสนา เขาไม่รู้ว่า ในนั้น ก็มีสมถะอยู่ ที่จริงมันอยู่ติดกัน อยู่ที่ เราจะเห็นมันรึเปล่าเท่านั้น

คุณอะไรกัน เริ่มจะเข้าใจถูกแล้วว่า ที่คุณเจริญสติ ในชีวิตประจำวัน มันก็ถูกอยู่ แต่ถ้าได้ปฎิบัติสมาธิในระดับที่สูงขึ้นไปได้ มันจะช่วยให้ สติ ในชีวิตประจำวันเราเร็วขึ้นมาก อย่างที่คุณบอกว่า ไม่มีสติต่อเนื่องทั้งวัน คุณลองนั่งสมาธิบ่อยเข้ามากเข้า จะรู้ว่าในชีวิตประจำวัน สติเราจะเร็วมาก และ แทบไม่ขาดสายไม่ขาดตอนเลย

แล้ว ยิ่งคุณทำแบบต่อเนื่องไม่ขาดตอน สมาธิคุณก็ยิ่งจะเจริญขึ้น การที่มีสมาธิที่ สูงขึ้น เราก็จะเห็นว่าเหมือน จิตมันทำงานช้าลงแต่ มันก็ทำงานเหมือนเดิมแหละครับ เพียงแต่ สติ เราไวขึ้นจนตามการทำงานของจิตทัน

ทีนี้ พอเราตามทันแล้ว ขั้นตอนต่อไป ให้เราสังเกตุอาการของจิตเลย เวลามันจะขยับ มันจะดับ จะเกิด ให้สังเกตุให้ดีดี พอมันดับปุ๊บ ให้หยุดภาพตรงนั้นไว้ แล้ว อย่าให้อะไรไปเกิด นั่นคือ สภาวะของวิมุติ แล้ว คือ ไม่ปรากฎการเกิด ไม่ปรากฎการดับ วิมุติญาณทัศนะ ไม่มีอะไรให้ตั้งอาศัย มันก็ จะแยกตัวออกมา ต่อจากนั้นก็ปล่อยให้จิตมันทำงานไปตามปรกติ แต่วิมุติญาณทัศนะ มัน รู้แล้วว่า สิ่งที่มันไปยึด มัน ดับหมดเลย มันก็จะเข้าใจของมันเองว่า ไม่มีอะไรที่ มันจะเข้าไปยึดถือได้เลย

มรรควิธี มีหลากหลาย มากมาย อยู่ที่ใครถนัดอย่างไหน อะไรกันเลือกมรรควิธี สักแต่ว่า แสดงว่า ฉลาดมาก เพราะสะดวกสบายต่อการเข้ามรรคผลนิพพานเป็นมรรควิธีที่ง่าย เหมาะกับ ฆาราวาส เป็นอย่างยิ่ง ไม่ต้องใช้สมาธิมาก

แต่ก็ลอง สลับกับ มรรควิธีอื่นๆบ้างก็ได้ครับ เผื่อเราจะนำมาประยุกต์ใช้ได้ และมันจะเกื้อหนุนกันในการเจริญมรรค เช่น อะไรกัน ใช้มรรค สักแต่ว่า แต่สังเกตุดูว่า สติ จะไม่ต่อเนื่อง เพราะอะไร เพราะ สติไม่ต่อเนื่อง สติช้า สติช้านี่เพราะ เราไม่เจริญสมาธิ ไม่อบรมจิต ถ้าเราฝึกอบรมจิตให้มีสมาธิสูงขึ้นไป จะเห็นว่า สติเราจะไวมาก และจะต่อเนื่องกัน ไม่ขาดสายทั้งวันยังสามารถทำได้เลย ทดลองทำดูน๊ะครับ

ส่วน สมาธิ พระพุทธเจ้าก็ ไม่ได้บอกว่าต้องหลับตา ทำแบบลืมตาก็ได้ แต่หลับตา ก็ จะเห็นลมได้ชัดเจนกว่า

ส่วนเรื่อง ไม่เหินห่างจากฌาน ก็ ตั้งแต่ ฌาน 1 ขึ้นไป ครับ แค่รู้ลมหายใจเพียงครั้งเดียว ก็ ถือว่าเป็นผู้ไม่เหินห่างจากฌาน แล้ว ป่วยกล่าวไปใยกับการเจริญให้มากซึ่งอานาปานสติ มีผลมากอานิสงค์มาก

ส่วนที่ถามว่าผมได้ฌานใหน อิอิ ที่จริงผมก็ เดินมรรคมาทางปัญญาวิมุติ มาก่อน จึงไม่ได้สมาธิสูงมากเท่าไร แต่ในระยะหลังเริ่มมาเห็นความสำคัญของสมาธิ ก็เลยเริ่มปฎิบัติแบบเอาจริง เมื่อไม่นานนักฌานที่ใช้ เป็นวิหารธรรม ก็ ประมาณ ฌาน 2 และ ฌาน 3 ครับ ส่วน ฌาน 4 ยังทำไม่ถึง

ส่วนคุณอาครีม เขามาทางสายเจโตวิมุติ เลย ชำนาญจนได้ฌาน 4 บ้าง ฌาน3 บ้าง ไม่ได้ ฌาน 4ตลอด เลยกลัวเจโตจะเสื่อม ก็เป็นทุกข์ เข้าอีก เหอๆๆ

..........ดูกรอานนท์ เราไม่ยอมรับรู้ถ้อยคำของผู้ที่กล่าวอย่างนี้ว่า สัตว์ทั้งหลายย่อมเสวยสุขโสมนัส มีกามสุขนี้เป็นอย่างยิ่ง ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะสุขอื่นที่ดียิ่งกว่าและประณีตกว่าสุขนี้ยังมีอยู่.

..........ดูกรอานนท์ สุขอื่นที่ดียิ่งกว่าและประณีตกว่าสุขนี้เป็นไฉน

..........ดูกรอานนท์ กามคุณ ๕ เหล่านี้ กามคุณ ๕ เป็นไฉน คือ รูปที่พึงรู้แจ้งได้ด้วยจักษุ อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ น่ารัก ชักให้ใคร่ชวนให้กำหนัด ฯลฯ โผฏฐัพพะที่พึงรู้แจ้งด้วยกาย น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจน่ารัก ชักให้ใคร่ ชวนให้กำหนัด กามคุณ๕ เหล่านี้แล ดูกรอานนท์ สุขโสมนัสย่อมเกิดขึ้นเพราะอาศัยกามคุณ ๕ เหล่านี้ นี้เราเรียกว่ากามสุข ฯ

..........ดูกรอานนท์ ชนเหล่าใดแลพึงกล่าวอย่างนี้ว่า ชนทั้งหลาย ย่อมเสวยสุข
โสมนัสนั่นอันเป็นเยี่ยมและละเอียด ดังนี้ เราไม่ยอมตามคำนี้แก่ชนเหล่านั้น ข้อนั้นเพราะเหตุ
อะไร เพราะสุขอื่นอันน่าใคร่ยิ่งกว่าและประณีตกว่าสุขนั่น มีอยู่ ฯ


..........ดูกรอานนท์ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม บรรลุปฐมฌาน มีวิตก มีวิจาร มีปีติและสุข เกิดแต่วิเวกอยู่ นี้แล อานนท์ สุขอื่นที่ดียิ่งกว่าและประณีตกว่าสุขนี้ เราไม่ยอมรับรู้ถ้อยคำของผู้ที่กล่าวอย่างนี้ว่า สัตว์ทั้งหลายย่อมเสวยสุขโสมนัส มีกามสุขนี้เป็นอย่างยิ่ง ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะสุขอื่นที่ดียิ่งกว่า และประณีตกว่าสุขนี้ยังมีอยู่.

ใช่พระสูตรนี้รึเปล่าครับ อิอิ


โดย: จูปีเตอร์เทพแห่งดาวพฤหัส วันที่: 13 กันยายน 2553 เวลา:18:55:40 น.  

 
...โอ้โห เหลือเชื่อเลย ผมกะจะถามอยู่แล่วว่า คุณ ครีม เคยได้ ฌาณที่ 4 แล้วหรือ เพราะ เห็น พิมพ์ ว่า (จับเอาการเข้า ฌาน 1/2/3/4) เลย งง อ๋อ เพราะเคยได้แล้ว นั่นเอง...

...และ ผมลองทำสมาธิ ดูแล้ว ก็ดีครับ เลยตั้งใจเลยว่า ต่อจากนี้ จะทำสลับกันไป ให้ได้ฌาณระดับสูงขึ้น เพราะ มันเกื้อกูลกับวิปัสนา อย่างเห็นได้ชัด ตามที่ คุณ นนท์ อธิบายมา ดีมากเลยครับ ขอบคุณที่บอก....ดรมากๆเลยครับ........ขออนุโมทนา...


...ความรู้สึกผมคือ เวลา ได้ฌาน 1 มันจะรู้สึกแบบว่า ทรงอยู่ได้ น่ะครับ


โดย: อะไรกัน IP: 118.174.191.119 วันที่: 13 กันยายน 2553 เวลา:23:03:46 น.  

 
...จากที่ลอง เจริญสมาธิดู แล้วนั้น ที่ผมเคยสงสัยว่า เราจะรู้ได้ไง ว่าได้ ฌาณขั้นนั้น นั้นนี้ หรือยัง วัดยังไง คำตอบคือ เราจะรู้ได้เอง ใช่ไหมครับ ผมก็สรุปความรู้สึกของผมได้แบบนี้ก็คือ ผมเดาเอาเองนะครับ ไม่รู้ว่าถูกไหม คุณนนท์ และ คุณครีม ลองอ่านดูนะครับ ว่าถูกไหม บอกด้วยนะครับ....

...คือการได้ฌาณในระดับไหนก็แล้วแต่ มันจะเป็นสภาวะของจิตที่ รักษา องค์ฌาณนั้นๆ ใว้ได้ แบบคงที่ ในระดับที่เราจะรู้ว่า นี่แหละคือ ฌาณ 1 หรือ 2/3/4 แต่ก็ไม่ได้หมายความว่า จิต มีองค์ฌาณ นั้นๆ เป็นอารมณ์ ทุกขณะจิต ติดต่อกันเลยใช่ไหมครับ คือ...

...ยกตัวอย่าง ฌาณที่ 2 จิตไม่คิดนึก(วิตก วิจาร) ระยะเวลาของจิตที่ไม่คิดนึก และมี ปีติ เป็นอารมณ์ นั้น ถ้าคิดเป็นเวลา 1 นาที นั้น ก็ไม่ได้หมายความว่า จิตไม่คิดนึกเลย ทุกขณะจิต เป็นเวลาติดต่อกับ 1 นาที แต่อาจจะเผลอไปคิดนึกด้วย แต่เป็นส่วนน้อย และเป็นการคิดนึกที่เรามีสติรู้อยู่ด้วย ไม่ใช่ เพลิน และเช่น ใน 1 นาที มี ปีติเป็นอารมณ์ 55 วินาที อีก 5 วินาที ก็เฉลี่ยสลับไปกับจิตเผลอไปคิดนึก ที่กระจายอยู่ ใน 1 นาที นั้นๆ แต่เป็นการคิดนึกที่เรา ควบคุมได้ แบบนี้ เป็น คำจำกัดความของการได้ฌาณที่ 2 ไหมครับ ???

...และ ฌาณทุกระดับ ก็อธิบาย ในความหมายเดียวกันนะครับ เป็นในลักษณะที่ผมอธิบายมา พอไช่ไหมครับ เพราะว่า ผมเดาเอาเองจากการปฏิบัติดูน่ะครับ 55...หรือว่าไม่ใช่...เพราะผมลองดูแล้ว จะเป็นลักษณะนี้ เลยไม่แน่ใจครับ ???


โดย: อะไรกัน IP: 118.174.191.119 วันที่: 13 กันยายน 2553 เวลา:23:23:09 น.  

 
ตอบ คุณอะไรกัน

ปรกติแล้ว ฌานที่ได้ มักจะทรงอารมณ์นั้นๆได้ นานพอสมควร จิตที่นิ่งจดจ่ออยู่กับ รูป กาย หรือ ลมหายใจ ถ้ามันจดจ่ออยู่ในรูปขันธ์ นั้น เป็นระยะเวลานาน จะเป็นสมาธิ ถ้าจิตยังวิ่งไปจับ ความคิดอดีต ความจำ หรือ ความคิดอนาคต ฟุ้งซ่านปรุงแต่ง สิ่งที่เรา ต้องทำคือ ดึงมันกลับมารู้อยู่ที่กาย หรือ ลมหายใจ

ทีนี้ มันก็ ยังไปอีก สิ่งที่ต้องทำคือ วิตก วิจาร คำว่า วิตก หมายถึงให้จิตจดจ่ออยู่กับอารมณ์ คือ วิ่งตามอย่างกัดไม่ปล่อย เช่น เราหายใจ นี่ให้เราวิ่งตามลมตลอดเลย ตั้งแต่ลมเข้าจากจมูก ไปสุดที่ท้อง แล้วหายใจออก ก็วิ่งตามลมจากที่ท้อง มายังออกจากจมูก นี่เรียกว่าวิตก วิจาร อาจจะมีคำพูดในใจอยู่กำกับอยู่กับลมหายใจไปด้วย

พอจิตเริ่มไม่ค่อยไปใหนเราก็ ผ่อนลงมา จากที่เคยวิ่งตามทีนี้ ทดลองไม่ต้องวิ่งตามแล้ว แค่ดูมันอยู่ที่ปลายจมูกก็พอ ดูมันแค่นี้ แล้วคำพูดในใจ ที่เรากำกับอยู่กับลมเริ่มจะหายไป นี่ วิตกวิจาร เริ่มดับไปแล้ว

ทีนี้ พอเราเฝ้าดูมันอยู่ที่ปลายจมูก มันไม่ไปใหนแล้ว จิตมันเริ่ม นิ่งอยู่กับที่ มัน ก็ จะเกิด ปิติ และ สุข ตามมา

นี่คือ ระดับ ของ องค์ฌาน ส่วนเครื่องวัด ก็คือ

ฌานที่ 1 อกุศลดับ
ฌานที่ 2 วิตก วิจาร ดับ
ฌานที่ 3 ปิติ ดับ
ฌานที่ 4 สุข ดับ ลมหายใจ เริ่มดับ หรือ มีก็ แผ่วบางมาก

สมาธิในระดับต่างๆ จะต้องทรงอารมณ์ ได้นานพอสมควร ถ้ายังทรงอารมณ์ ไม่ได้ ก็ ถือว่า ยังไม่ได้ สมาธิในระดับองค์ฌานนั้นๆ ครับ ลองสังเกตุดูได้ด้วยตัวเอง ว่าเราทรงอารมณ์ใหนได้เป็นระยะเวลา นานๆ นั้นคือสมาธิ แต่ในทุกอารมณ์ แห่งสมาธิ ถ้าเราสังเกตุดีดี มันก็ ยังมีขันธ์ 5 ทำงานอยู่ ถ้าเราไม่สังเกตุ มันก็เป็นสมถะ แต่ถ้าเราสังเกตุ แล้วเห็นการทำงานเห็นการเกิดดับ ของขันธ์ทั้ง 5 ก็เป็นวิปัสนา

ลองไปฝึกดูน๊ะครับ คุณ อะไรกัน มีพื้นฐานมาพอสมควร น่าจะไม่ยาก เพียงแต่ต้องพยามลบคำของอรรถกถาออกไปจากจิตทุกขณะจิต ออกเสียบ้าง อิอิ ^_^

ขออนุโมทนาครับ ถ้าไม่เข้าใจก็มาถามใหม่ ครับ



โดย: จูปีเตอร์เทพแห่งดาวพฤหัส วันที่: 14 กันยายน 2553 เวลา:1:08:33 น.  

 
ของเรา ฌาน 1 2 แล้วกระโดดไป 4 ไม่ค่อยจะมี 3 เลย ปิติ เป็นไงไม่เคยรู้เลยอะ เซ็งเป็ด


โดย: ครีม IP: 124.122.131.236 วันที่: 14 กันยายน 2553 เวลา:17:42:26 น.  

 
ลืมบอกไป วันนี้ จิต happy นิดหน่อย แต่มีสติรู้ตลอดวันไม่หลุดไม่เพลิน งานเยอะแต่มีสมาธิทำงาน วันนี้ถือว่า โอเคผ่าน.... ปล.เมื่อเช้านั่งสมาธิตั้งแต่ 08.00 - 0.856
ไม่อยากจะลุกเลยแต่ต้องทำงาน แต่ถือว่า เจโตยังไม่เสื่อมนะ อิอิ


โดย: ครีม IP: 124.122.131.236 วันที่: 14 กันยายน 2553 เวลา:17:48:27 น.  

 
อิอิ นึกว่าเจโตเสื่อมแระ อิอิ

ปิติ มีอาการ หลายอย่าง อาจจะมีแต่เราไม่รู้ว่านั่นคือ ปิติ ก็ได้

เช่น มือชา มือเย็น แขนเย็น ขนลุกซู่ แขนแข็งเหมือนท่อนไม้ น้ำตาไหล ตัวแข็งทื่อ อาการ พวกนี้ คือ อาการของปิติ ถ้าจิตเป็นสมาธิ คงต้องมีซักอาการหนึ่งแหละ ยกเว้น มันกระโดด ไป ฌาน 3 เลย ปิติดับ เหลือ แต่ สุข ซึ่ง สุข ก็ คล้ายๆปิติ แต่ จะเริ่มเบาบางลงจางคลายลงกว่าปิติ

เราเข้าสมาธิ ทีไร เจอแต่ปิติ อิอิ เซงเป็ดเลย ปิติ ไม่ยอมดับ


โดย: อานนท์ IP: 125.25.52.70 วันที่: 14 กันยายน 2553 เวลา:18:47:47 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

จูปีเตอร์เทพแห่งดาวพฤหัส
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 5 คน [?]




ดูกรภิกษุทั้งหลาย : บัดนี้ เราขอเตือนพวกเธอว่า สังขารทั้งหลายมีความเสื่อมไปเป็นธรรมดา พวกเธอจงยังความไม่ประมาทให้ถึงพร้อมเถิด ฯ
Friends' blogs
[Add จูปีเตอร์เทพแห่งดาวพฤหัส's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.