ความดับลงแห่งกองทุกข์ มีได้เพราะการดับไปแห่งความเพลิน
Group Blog
 
<<
พฤษภาคม 2553
 1
2345678
9101112131415
16171819202122
23242526272829
3031 
 
11 พฤษภาคม 2553
 
All Blogs
 
ความหมายของคำว่า "รูป"




ความหมายของคำว่า "รูป "


..........ภิกษุ ท.! : คนทั่วไป กล่าวกันว่า "รูป" เพราะอาศัยความหมายอะไรเล่า ?

..........ภิกษุ ท .! : เพราะกิริยาที่แตกสลายได้ มีอยู่ ใน สิ่งนั้น (เช่นนี้แล) ดังนั้น สิ่งนั้น จึงถูกเรียกว่า รูป. สิ่งนั้น แตกสลายได้ เพราะอะไร ?สิ่งนั้น แตกสลายได้เพราะความเย็นบ้าง, แตกสลายได้ เพราะความร้อนบ้าง, แตกสลายได้ เพราะความหิวบ้าง, แตกสลายได้ เพราะความกระหายบ้าง,แตกสลายได้ เพราะถูกต้องกับเหลือบ ยุง ลม แดด และสัตว์เลื้อยคลานบ้าง,(ดังนี้เป็น ต้น )

..........ภิก ษุ ท .! : เพราะ กิริยา ที่แตกสลายได้ มีอยู่ในสิ่งนั้น(เช่นนี้แล) ดังนั้น สิ่งนั้น จึงถูกเรียกว่ารูป

อุปมาแห่งรูป


..........ภิกษุ ท.! : แม่น้ำคงคานี้ ไหลพาเอา ฟองน้ำ ก้อนใหญ่ก้อนหนึ่งมา, บุรุษผู้จักษุ (ตามปกติ) เห็นฟองน้ำ ก้อนใหญ่ก้อนนั้น ก็พึงเพ่งพินิจพิจารณา โดยแยกคาย เมื่อบุรุษ ผู้นั้นเห็น อยู่ เพ่งพินิจพิจารณาโดยแยบ คายอยู่, ก้อนฟองน้ำนั้น ย่อมปรากฏเป็นของว่างของเปล่าและปรากฏเป็นของหาแก่น-สารมิได้ไป .

..........ภิกษุ ท.! : ก็แก่นสารในก้อนฟองน้ำนั้น จะพึงมีได้อย่างไร,อุปมานี้ฉันใด;

..........ภิกษุ ท.! : อุปไมยก็ฉันนั้น คือ รูปชนิดใดชนิดหนึ่ง มีอยู่ จะเป็นอดีตอนาคตหรือปัจจุบันก็ตาม เป็นภายในหรือภายนอกก็ตาม หยาบหรือละเอียดก็ตาม เลวหรือประณีตก็ตาม มีในที่ไกลหรือที่ใกล้ก็ตาม.ภิกษุเห็นรูปนั้นย่อมเพ่งพินิจพิจารณาโดยแยบคาย. เมื่อภิกษุนั้นเห็นอยู่ เพ่งพินิจพิจารณาโดยแยบคายอยู่, รูปนั้น ย่อมปรากฏเป็นของว่างของเปล่า และปรากฏเป็นของหาแก่นสารมิได้ไป.

..........ภิกษุ ท.! : ก็แก่นสารในรูปนั้น จะพึงมีได้อย่างไร.

อัสสาทะของรูป


..........ภิกษุ ท.! : อัสสาทะ (รสอร่อย) ของรูป เป็นอย่างไรเล่า ?

..........ภิกษุ ท.! : เปรียบเหมือนนางสาวน้อยแห่งกษัตริย์ก็ดี นางสาวน้อยแห่งพราหมณ์ก็ดี และนางสาวน้อยแห่งคฤหบดีก็ดี ที่มีวัยอันบุคคลพึงแสดงว่าอายุสิบห้าหรือสิบหก ไม่สูงนัก ไม่ต่ำ นัก ไม่ผอมนัก ไม่อ้วนพีนัก ไม่ดำนักไม่ขาวนัก.

..........ภิกษุ ท .! : เหล่านางสาวน้อยนั้น ๆ จักมีสีส รรแห่งวรรณะอันงดงาม ในสมัยนั้น เป็นอย่างยิ่ง มิใช่หรือ ?

"ข้อนั้น เป็นเช่นนั้นแล พระเจ้าข้า !"

..........ภิกษุ ท.! : สุข โสมนัส ใด ๆ ที่อาศัยสีสรรแห่งวรรณะอันงดงาม
แล้วบังเกิดขึ้น. สุข โสมนัสนี้แล เป็นอัสสาทะของรูป.

อาทีนพของรูป


..........ภิกษุ ท.! : อาทีนพ (โทษ) ของรูป เป็นอย่างไรเล่า ?

..........ภิกษุ ท.! : บุคคล จะได้เห็นน้องหญิง ในกรณีนี้นั่นแหละ โดยกาลต่อมา มีอายุได้ ๘๐ ปีก็ตาม ๙๐ ปีก็ตาม ๑๐๐ ปีก็ตาม ชราทรุดโทรมแล้ว มีหลังงอดุจไม้โคปาณสิแห่งหลังคา มีกายคดไปคดมา มีไม้เท้ายังไป ในเบื้องหน้า เดินตัวสั่นเทิ้ม กระสับกระส่าย ผ่านวัยอันแข็งแร่งไปแล้ว มีฟันหักแล้ว มีผมหงอกแล้ว มีผมตัดสั้นอย่างลวก ๆ มีผิวหนังหย่อนยาน และมีตัวเต็มไปด้วยจุด.

..........ภิกษุ ท.! : พวกเธอเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร ? สีสรรแห่งวรรณะอันงดงามที่มีแต่เดิม ใด ๆ สีสรรแห่งวรรณะอันงดงามนั้น ย่อมอันตรธานหายไป,โทษ ย่อมบังเกิดปรากฏ มิใช่หรือ ?


"ข้อนั้น เป็นเช่นนั้น พระเจ้าข้า!"

..........ภิกษุ ท.! : นี้แล เป็นอาทีนพของรูป.

...........ภิกษุ ท.! โทษอย่างอื่นยังมีอีก : บุคคล จะได้เห็นน้องหญิงนั้น-แหละ อาพาธลง ได้รับทุกข์ทรมาน เป็นไข้หนัก นอนกลิ้งเกลือกอยู่ในมูตร และคูถของตนเอง อันบุคคลต้องช่วยพะยุพยุงให้ลุกและให้นอน.

..........ภิกษุ ท.! : พวกเธอเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร ? สีสรรแห่งวรรณะ อันงดงามที่มีแต่เดิมใด ๆ สีสรรแห่งวรรณะอันงดงามนั้น ย่อมอันตรธานหายไป, โทษ ย่อมบังเกิดปรากฏ มิใช่หรือ ?

"ข้อนั้น เป็นเช่นนั้น พระเจ้าข้า !"

..........ภิกษุ ท.! : โทษอย่างอื่นยังมีอีก : บุคคล จะได้เห็นน้องหญิงนั้น-แหละ อันเขาทิ้งแล้ว ในป่าช้าเป็นที่ทิ้งศพ ตายแล้ววันหนึ่ง ก็ตามตายแล้วสองวันก็ตาม ตายแล้วสามวันก็ตาม หรือกำลังขึ้นพอง มีสีเขียว มีหนองไหล.

..........ภิกษุ ท.! : พวกเธอเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร ? สีสรรแห่งวรรณะอันงดงาม ที่มีแต่เดิม ใด ๆ สีสรรวรรณะอันงดงามนั้น ย่อมอันตรธานหายไป, โทษย่อมบังเกิดปรากฏ มิใช่หรือ?

"ข้อนั้น เป็นเช่นนั้น พระเจ้าข้า !"

..........ภิกษุ ท.! : แม้นี้แล เป็นอาทีนพของรูป.ย่อมบังเกิดปรากฏ มิใช่หรือ?


..........ภิกษุ ท.! : โทษอย่างอื่นยังมีอีก : บุคคล จะได้เห็นน้องหญิงนั้น-แหละ อันเขาทิ้งแล้ว ในป่าช้าเป็นที่ทิ้งศพ เป็นชิ้นกระดูก มีสีขาวดั่งสีสังข์ ก็ตาม เป็นชิ้นกระดูกกองเรี่ยรายอยู่นานเกินกว่าปีหนึ่งไปแล้วก็ตาม เป็นกระ-ดูกเปื่อยผงละเอียดไปแล้วก็ตาม.

..........ภิกษุ ท.! : พวกเธอเข้าความข้อนั้นว่าอย่างไร : สีสรรแห่งวรรณะอันงดงามที่มีแต่เดิมใดๆสีสรรแห่งวรรณะอันงดงามนั้น ย่อมอันตรธานหายไป, โทษ ย่อมบังเกิดปรากฏ มิใช่หรือ ?

ข้อนั้น เป็นเช่นนั้น พระเจ้าข้า !"

..........ภิกษุ ท.! : แม้นี้แล ก็เป็นอาทีนพของรูป.





Create Date : 11 พฤษภาคม 2553
Last Update : 11 พฤษภาคม 2553 15:08:38 น. 12 comments
Counter : 641 Pageviews.

 
ทักทายยามเย็น ทานข้าวให้อร่อยนะคะ :)


โดย: หาแฟนตัวเป็นเกลียว วันที่: 11 พฤษภาคม 2553 เวลา:17:36:03 น.  

 
ขอบคุณธรรมดี ๆ ครับ


โดย: อัสติสะ วันที่: 12 พฤษภาคม 2553 เวลา:8:06:03 น.  

 
อโรคยา ปรมา ลาภา (อะโรคะยา ปะระมา ลาพา)
ความไม่มีโรคเป็นลาภอันประเสริฐ

ขอขอบคุณในทุกความห่วงใยและกำลังใจที่มอบให้ปอป้า
และขอให้เพื่อนบล็อกทุกท่าน มีความสุขกายสุขใจ ตลอดไป..นะคะ




โดย: พรหมญาณี วันที่: 12 พฤษภาคม 2553 เวลา:11:14:50 น.  

 
ปจฺเจกจิตตา ปุถู สพฺพสตฺตา
นานาทิฏฐิเก นานยิสสสิ เต
กาตุ มนุสเสน ตถา มนุสสา

คนทุกคน ต่างคนก็ต่างจิตต่างใจ
จะให้ทุกคนคิดเหมือนกันหมด ไม่ได้
จะทำให้คนเหมือนกันหมดทุกคน ไม่ได้

มีความสุขกับทุกสิ่งที่เป็นตัวตนของตน..นะคะ




โดย: พรหมญาณี วันที่: 13 พฤษภาคม 2553 เวลา:10:12:56 น.  

 
อะไรกัน o->...คุณ นน ฟังหนี่หน่อยสิครับ...มีนิดเดียว

//www.dhammahome.com/front/audio/show.php?tof=pl&id=4136

...และอยากถามความคิดเห็นว่า จริงหรือไม่อย่างไร ครับ ผมม งง ครับ 555 เฮ้อออออ


โดย: อย่านะ วันที่: 13 พฤษภาคม 2553 เวลา:19:44:22 น.  

 
ตเถเวกสฺส กลฺยาณํ ตเถเวกสฺส ปาปกํ สพฺพํ น กลยาณํ วาปิ ปาปกํ

สิ่ง ๆ หนึ่งอาจดีสำหรับคน ๆ หนึ่ง.. สิ่ง ๆ หนึ่งอาจเสียสำหรับอีกคนหนึ่ง
ไม่มีสิ่งใดดีไปทั้งหมด..หรือ..เสียไปทั้งหมด

มีความสุขกับความพอใจในสิ่งดี ๆ ที่มีอยู่กับเราตลอดไป..นะคะ




โดย: พรหมญาณี วันที่: 14 พฤษภาคม 2553 เวลา:10:46:57 น.  

 
ตอบคุณเก่ง ครับ

อ.สุจินต์ ไม่รู้อะไรเลย แต่ อธิบายไปเป็นฉากๆ

อธิบายตาม คัมภรี วิสุทธิมรรคบ้างอรรถกถาจารย์ บ้าง ซึ่ง ก็ สอน ผิด

ไม่ใช่ สิ่งที่พระพุทธเจ้าสอนเลย คุณเก่ง ก็ ไปฟังอยู่ได้

เฮ้อออ แล้ว แต่ บุญแต่กรรม ครับ พระพุทธเจ้า สอน ก็ ไม่ฟัง ไม่เรียน ไม่ศึกษา แต่ไปศึกษา กับใคร ไม่รู้ที่สอนผิดๆๆ ก็ ตามใจ ครับ แล้ว แต่คุณ


โดย: จูปีเตอร์เทพแห่งดาวพฤหัส วันที่: 14 พฤษภาคม 2553 เวลา:13:51:49 น.  

 
สวัสดี ครับ ปอ ป้า ขอบคุณน๊ะครับ ที่มาเยื่ยม กัน เสมอๆๆ


โดย: จูปีเตอร์เทพแห่งดาวพฤหัส วันที่: 14 พฤษภาคม 2553 เวลา:13:53:05 น.  

 

...อ๋อ ก็ผมยังไม่ได้เชื่อ แต่ยังสงสัยอยู่ ไงครับ เลยถาม ว่า เป็นยังไง แต่ต่อจากนี้ ก็ต้องดูให้ดี ว่า จุดไหน ใช่ หรือ
ไม่ใช่ พระพุทธพจน์ และเทียบเคียง ว่า ตรงกับ พระพุทธ
พจน์ หรือไม่ ถ้าไม่ก็ตรง ก็อย่าเพิ่งเชื่อ ให้นำไปปฎิบัติ
และพิจรณา ดูก่อนว่า ได้ผลเป็นยังไง ใช่ไหมครับ แต่
ปกติผมก็ เชื่อมั่น ใน พระรัตนตรัย อยู่แล้วครับ...


...แต่ว่า คุณ นน หักดิบ เกินไป 555 เพราะว่า แม้เราเอง
เวลาอ่าน พระพุทธวจณ ก็ อาจจะตีความผิดก็ได้ใช่ไหม
ครับ เพระเป็นเรื่อง สุขุม ละเอียด ลึกซึ้ง...ก็ อาจารณ์
ต่างๆ ท่านก็ศึกษามาก่อนเรา และรู้แตกฉานมากกว่าเรา
เยอะ...

...แต่ถ้าดูแล้วอาจารณ์ต่างๆนั้น สอนผิด เพราะอาจจะ เข้า
ใจผิด หรือ เข้าใจถูก แต่ อธิบายผิด หรือ อธิบาย ไม่
ชัดเจน เพราะ คำจำกัดความต่างๆนั้น ขึ้นอยู่กับคนพูด หรืออะไรก็แล้วแต่ มีปัจจัยเยอะ ...แต่ถ้าเรา รู้ว่าแบบนี้ผิด และรู้ในสิ่งที่ถูก ก็ ไม่ต้องศึกษา และ ปฏิบัติตาบอาจารณ์นั้นๆ ...แต่ไป ศึกษา และปฏิบัติ ในสิ่งที่ เป็น พระพุทธพจน์ ที่ คำของพระพุทธเจ้า ใช่ไหมครับ...แต่ไม่ต้องไปว่าท่าน เพราะเราก็ เคยได้ยินได้ฟังและเข้าใจธรรมะ จากท่านเหล่านั้นมา ไม่มากก็น้อย จะผิดจะถูก ก็พิจรณา กันต่อไป ก็ ใช่ไหมครับ 555...

(( สรุปก็คือเข้าใจแล้วครับ ขออนุโมทนา)))))))))))))))



โดย: อย่านะ วันที่: 14 พฤษภาคม 2553 เวลา:18:52:11 น.  

 
อุปสนฺโต สุขํ เสติ
ผู้สงบใจได้ ย่อมนอนเป็นสุข

มีความสุข สวัสดี ทั้งยามหลับและยามตื่น..นะคะ
ฝันดี ราตรีสวัสดิ์..ค่ะ




โดย: พรหมญาณี วันที่: 15 พฤษภาคม 2553 เวลา:20:26:22 น.  

 
มาอ่านคะ มีข้อมูลใหม่ๆอีกแล้วนะคะ แล้วจะมาอ่านอีกนะคะพี่นนท์


โดย: เย็นแล้วนะ IP: 124.120.77.243 วันที่: 15 พฤษภาคม 2553 เวลา:22:30:03 น.  

 


โดย: นนนี่มาแล้ว วันที่: 16 พฤษภาคม 2553 เวลา:22:49:06 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

จูปีเตอร์เทพแห่งดาวพฤหัส
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 5 คน [?]




ดูกรภิกษุทั้งหลาย : บัดนี้ เราขอเตือนพวกเธอว่า สังขารทั้งหลายมีความเสื่อมไปเป็นธรรมดา พวกเธอจงยังความไม่ประมาทให้ถึงพร้อมเถิด ฯ
Friends' blogs
[Add จูปีเตอร์เทพแห่งดาวพฤหัส's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.