ความดับลงแห่งกองทุกข์ มีได้เพราะการดับไปแห่งความเพลิน
Group Blog
 
<<
มกราคม 2554
 
 1
2345678
9101112131415
16171819202122
23242526272829
3031 
 
17 มกราคม 2554
 
All Blogs
 

ปฏิจจสมุปบาท ทำให้อยู่เหนือความมี และความไม่มีของสิ่งทั้งปวง




ปฏิจจสมุปบาท ทำให้อยู่เหนือความมี และความไม่มีของสิ่งทั้งปวง


ชาณุสโสณิพรหมณ์ ได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า แล้วทูลถามว่า

.........."ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ! สิ่งทั้งปวง มีอยู่หรือหนอ?"

..........พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสตอบว่า

.........."ดูก่อนพราหมณ์! คำกล่าวที่ยืนยันลงไปด้วยทิฏฐิว่า 'สิ่งทั้งปวง มีอยู่' ดังนี้ : นี้ เป็นส่วนสุด (มิใช่ทางสายกลาง) ที่หนึ่ง".

.........."ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ! ก็สิ่งทั้งปวง ไม่มีอยู่หรือ?"

..........ดูก่อนพราหมณ์! คำกล่าวที่ยืนยันลงไปด้วยทิฏฐิว่า "สิ่งทั้งปวง ไม่มีอยู่"ดังนี้ : นี้ เป็นส่วนสุด (มิใช่ทางสายกลาง) ที่สอง.

..........ดูก่อนพรหมณ์! ตถาคต ย่อมแสดงธรรมโดยสายกลาง ไม่เข้าไปหา
ส่วนสุดทั้งสองนั้น คือตถาคต ย่อมแสดงดังนี้ว่า

"เพราะมี อวิชชา เป็นปัจจัย จึงมี สังขารทั้งหลาย;
เพราะมี สังขาร เป็นปัจจัย จึงมี วิญญาณ
เพราะมีวิญญาณเป็นปัจจัยจึงมี นามรูป
เพราะมีนามรูปเป็นปัจจัยจึงมี สฬายตนะ
เพราะมีสฬายตนะ เป็นปัจจัยจึงมี ผัสสะ
เพราะมี ผัสสะ เป็นปัจจัยจึงมี เวทนา
เพราะมี เวทนา เป็นปัจจัยจึงมี ตัญหา
เพราะมี ตัญหา เป็นปัจจัยจึงมี อุปาทาน
เพราะมี อุปาทาน เป็นปัจจัยจึงมี ภพ
เพราะมี ภพ เป็นปัจจัยจึงมี ชาติ
เพราะมีชาติเป็นปัจจัย, ชรามรณะ
โสกะปริเทวะทุกขุโทมนัสอุปายาสทั้งหลาย จึงเกิดขึ้นครบถ้วน :
ความเกิดขึ้นพร้อมแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมี ด้วยอาการอย่างนี้.

เพราะความจางคลายดับไปโดยไม่เหลือแห่งอวิชชานั้นนั่นเทียว, จึงมีความดับแห่งสังขาร;
เพราะมีความดับแห่งสังขาร จึงมีความดับแห่งวิญญาณ ; ...ฯลฯ ฯลฯ...
เพราะมีความดับแห่งชาตินั่นแล ชรามรณะ
โสกะปริเทวะทุกขะโทมสัสอุปายาสทั้งหลาย จึงดับสิ้น :
ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมี ด้วยอาการอย่างนี้", ดังนี้.

พราหมณ์นั้น กล่าวสรรเสริญพระธรรมโอวาทนั้นแล้ว ประกาศตนเป็นผู้รับนับถือ พระพุทธศาสนา จนตลอดชีวิต, ดังนี้ แล.


ไม่มีผู้นั้น หรือผู้อื่น ในปฏิจจสมุปบาท


ครั้งหนึ่ง ที่พระเชตวัน พราหมณ์คนหนึ่งได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ แล้วได้ทูลถามว่า

.........."ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ! ผู้นั้นกระทำ ; ผู้นั้นเสวย (ผล) ดังนั้นหรือ
พระเจ้าข้า?"

..........พระผู้มีพระภาคเจ้า ได้ตรัสตอบว่า

.........."ดูก่อนพราหมณ์! คำกล่าวที่ยืนยันลงไปด้วยทิฏฐิว่า 'ผู้นั้นกระทำ; ผู้นั้นเสวย (ผล)' ดังนี้ : นี้เป็นส่วนสุด (ไม่ใช่สายกลาง)ที่หนึ่ง".

.........."ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ! ก็ผู้อื่นกระทำ ; ผู้อื่นเสวย (ผล) หรือพระเจ้าข้า?"

..........ดูก่อนพราหมณ์! คำกล่าวที่ยืนยันลงไปด้วยทิฏฐิว่า "ผู้อื่นกระทำ; ผู้อื่นเสวย (ผล)" ดังนี้ : นี้เป็นส่วนสุด (ไม่ใช่สายกลาง) ที่สอง.

..........ดูก่อนพราหมณ์! ตถาคต ย่อมแสดงธรรมโดยสายกลาง ไม่เข้าไปหาส่วนสุดทั้งสองนั้น คือตถาคต ย่อมแสดงดังนี้ว่า

เพราะมีอวิชชาเป็นปัจจัย จึงมีสังขารทั้งหลาย;
เพราะมีสังขารเป็นปัจจัย จึงมีวิญญาณ ; ...ฯลฯ...ฯลฯ...;
เพราะมีชาติเป็นปัจจัย, ชรามรณะ
โสกะปริเทวะทุกขะโทมนัสอุปายาสทั้งหลาย จึงเกิดขึ้นครบถ้วน :
ความเกิดขึ้นพร้อมแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมี ความอาการอย่างนี้.

เพราะความจางคลายดับไปโดยไม่เหลือแห่งอวิชชานั้นนั่นเทียว, จึงมีความดับแห่งสังขาร;
เพราะมีความดับแห่งสังขาร จึงมีความดับแห่งวิญญาณ; ...ฯลฯ…..ฯลฯ...
เพราะมีความดับแห่งชาตินั่นแล ชรามรณะ
โสกะปริเทวะทุกขะโทมนัสอุปายาสทั้งหลาย จึงดับสิ้น :
ความดับลงแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมี ด้วยอาการอย่างนี้", ดังนี้.

พราหมณ์นั้น กล่าวสรรเสริญพระธรรมโอวาทนั้นแล้ว ประกาศตนเป็นอุบาสกผู้รับนับถือพระพุทธศาสนา จนตลอดชีวิต, ดังนี้ แล.




 

Create Date : 17 มกราคม 2554
27 comments
Last Update : 17 มกราคม 2554 14:01:52 น.
Counter : 1877 Pageviews.

 







 

โดย: พธู 19 มกราคม 2554 11:13:21 น.  

 

นิสมฺม กรณํ เสยฺโย
คิดให้รอบคอบก่อนแล้วจึงทำดีกว่า

มีความสุขในการดำเนินชีวิตด้วยความรอบคอบ ตลอดไป..นะคะ



ปอป้าเพิ่งไปขุดหนังสือปฏิจจสมุปบาทของท่านพุทธทาสมาอ่านใหม่
กำลังเพลินได้ที่เลย..ค่ะ อ่านกี่ที ๆ ก็ไม่เบื่อ..ค่ะ

 

โดย: พรหมญาณี 19 มกราคม 2554 12:34:06 น.  

 

#################

...นั่นไง บอกแล้ว ว่าผมเคยได้ยินครับ คือคำถามที่ถามไปว่า ก้าภิกษุ นั่งสมาธิและเดินจงกรม และมีเจตนาที่จะไห้ผู้อื่นเห็นเพื่ออวดว่าตนเก่ง กำลังเข้าฌาณ หรือ อะไรประมาณนี้ ถูกปรับอาบัติ (ทุกกฏ) ครับ 555 คือ...เมื่อวานได้ฟังวิทยุคลื่นธรรมะ โดยบังเอิญ แต่อัดเสียงใว้ไม่ทัน แต่เป็นการอ่านจาก พระไตรปิฏก นั่นแหละ จำไม่ได้หมด หาในโปรแกรมก็ไม่เจอ...คือมันเกี่ยวกับ อริยาบท๔ อะไรประมาณนี้ ผมจำไม่ได้ แต่ เรียบเรียงคำเอง ได้เนื้อความ ประมาณนี้นะครับก็คือว่า...

[ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุ จัก(ยืน)อยู่โดยมีเจตนาว่า ไห้ผู้อื่นเห็น เพียงเพื่อไห้เขาเลื่อมใสศัทธาตน ด้วยอาการยืนอยู่เช่นนี้ๆ เพื่อหวังไห้ผู้อื่น ถวายลาภปัจจัย เพื่อประโยชน์แก่ตน นั้น ต้องอาบัติ ทุกกฏ ] ...และคำในวงเล็บว่า (ยืน) ก็จะเปลื่ยนไปเป็น (เดิน) (นั่ง) (นอน) โดยมีข้อความทั้งหมดเหมือนกัน ครับ...

...คุณ นนท์หาได้ไหมครับ ว่า มาจากส่วนไหน น่าจะมาจาก วินัยปิฏก แต่หาไม่เจอครับ....

#################

{...คำตอบคราวก่อนยังงงๆอยู่แต่อาจจะไม่ใช่ประเด็นสำคัญอะไรมาก คือที่บอกว่า หลับแต่ไม่ฝันเป็นสัญญาได้ไงแล้วเป็นสัญญาอะไร และ สัญญาเวทยิตนิโรธ เป็นสัญญาอะไร เพราะชื่อ ก็บอกอยู่แล้วว่า สัญญาดับ แล้วที่งงคือ ขณะที่เข้า สัญญาเวทยิตนิโรธอยู่ แล้วจิตจะไปเพลินใน ขณะที่เข้า สัญญาเวทยิตนิโรธอยู่ ได้ไงครับ 555...}

(((...และมีข้อสงสัยไหม่ที่ไม่เข้าใจคือ...)))

1. อยากถามว่า...คำว่า (ความเพลิน) นั้น หมายถึงตัวจิต ที่ไปหลงเพลินกับ (รูป เวทนา สัญญา สังขาร) อีก ๔ ขันธุ์ เพราะฉะนั้น...อยากถามว่า ถ้าขณะจิตที่ยังไม่ไปรับรู้อารมณ์ต่างๆ อีก ๔ ขันธุ์ นั้น จะเรียกว่าเป็นความเพลินด้วยไหม...เช่น พอ ผัสสะ เกิด แต่ขณะนั้น จิตยังไม่มีอะไรเลยเป็นอารมณ์ยกตัวอย่างเช่น...

...เช่น เราเดินไปเรื่อยๆ สวนกับคนนั้น คนนี้ เห็นสิ่งนั้น สิ่งนี้ ได้ยินเสียงนั้น เสียงนี้ และได้กลิ่น ลิ้มรส หรือสำผัส ทางกาย แต่ขณะนั้น การปรุงแต่งยังไม่เกิดขึ้น เป็นแต่เพียง แค่ ผัสสะเกิด เช่น เราเดินไปที่สาธรณะเรื่อยๆ เดินผ่านคนนั้นคนนี้ แต่เราไม่ได้สนใจว่า เป็นใคร ผู้หญิงหรือชาย สูงต่ำดำขาว แต่จิตไปมองดูเพื่อไห้เดินตรงทาง และเพื่อไม่ได้เดินชนกับคนที่สวนมา คือจิตไม่ได้ไปปรุงแต่งต่อ ว่าเป้นอะไรยังไง หรือจะข้ามถนน เราก็มองดูว่า มีรถมาหรือไม่ แต่ไม่ได้ไปสนใจว่า เป็นรถอะไรสีอะไร เป็นรถ เก๋งหรือกระบะ หรือรถเทล์ อะไรยังไงทั้งสิ้น แต่จะดูว่าถนนว่างไหมเพื่อจะข้ามไป ไม่ไห้รถมาชน...

...สรุปก็คือ จิตที่เป้นแค่ผัสสะ แต่จิตขณะนั้น เป้นเพียงแค่ เห็น ได้ยิน รู้กลิ่น รู้รส รู้โผธัพะ และที่สำคัญ ยังไม่มีปรุงแต่ง และ จิตก็ยังไม่มี รูป เวทนา สัญญา สังขาร เป็นอารมณ์นั่นเอง หรือคุณนนท์อาจจะแย้งว่า นั่นแหละ จิตต้องเกิดมีขันธ์ตัวใดตัวนึงเป็นอารมณ์แล้ว เราอาจจะไม่รู้เพราะจิตมันเกิดดับไปเร็วมาก ถ้างั้นถามว่า (จิตขณะที่เป็นแค่ผัสสะ ที่ยังไม่มี ขันธ์อีก ๔ ตัวเป็นอารมณ์นั้น จะเรียกได้ว่าเป็น ความเพลิน หรือยังครับ เพราะ (นันทิ) ความเพลิน คือเพลินในอารมณ์ คือ เวียนไปใน ขันธ์อีก ๔ ตัว นั่นเอง...แต่แค่ผัสสะเกิด นั้น จิตเพลินตัวเองได้ไหมครับ...

...และแบบนี้เรียกว่าเป็น นันทิ(ความเพลิน) ไหมครับ เช่น พอจิตเห็น จิตได้ยิน จิตรู้กลิ่น จิตรู้รส จิตรู้โผธัพะ จิตคิดนึก ...มันจะเกิดก็เกิดไป แต่เรา ไม่คิดว่า มันเป็นเรา พิจรณาว่าเป็นเพียง ขันธ์ หรือเป็นการผลักดันปัจจัย ของธาตุต่างๆ หนุนเนืองกันไปเรื่อยๆ ที่ไม่ใช่เรา คือ เราไม่เข้าไปเป็นมัน ไม่ยึดว่ามันเป็นเรา แบบนี้จะเรียกว่า (ไม่เพลิน) ได้ไหมครับ เพราะ (เพลิน) คือ เข้าไปเป็นมันอย่างไม่รู้เนื้อรู้ตัว เพราะมีอวิชชา เพราะฉะนั้น ที่บอกว่า มี นันทิ(ความเพลิน) ไม่ได้หมายความว่า ถ้าไม่เพลิน ก็คือ สามารถดึงจิตกลับมาอยู่ที่ลมหรืออุเบกขาได้ไว แต่ไม่ต้องดึงก็ได้ แต่ ไห้มันเกิดไป แต่เราไม่ไปยึดมันว่าเป็นเรา ก็คือไม่เพลินเหมือนกัน ได้ใช่ไหมครับ.....???

2.1 ข้อนี้ งงมากที่สุด เท่าที่เคยถามมาเลยครับ ทั้งงง ทั้งน่าตกใจมาก !!! เพราะยังไม่เข้าใจ ก็คือว่า...ผม ฟังพระอาจารณ์ คึกฤทธิ์ บอกว่า วิมุติญาณทัสนะ เพลินในนิพพานได้ พอมันเพลิน ในนิพพานหรือวิมุติ ได้ มันก็เพลินในสมมุติ ได้ พอเพลินในสมมุติ มันจึงยึด ตัวสมมุติคือ ขันธ์๕ ว่าเป็นตัวมัน จึงต้องเกิดดับไปกับมัน จึงเกิดอวิชชา คือไม่รู้นึกว่าป็นตัวมัน จึงต้องเวียนไหว้ตายเกิด ผมฟังมาแบบนี้ ใช่ไหมครับ และอยากถามว่า จิตที่เพลินในนิพพาน นั้นเป็นจิตที่มีอยู่กับร่างกายที่ยังไม่แตกดับ หรือว่า ร่างกายแตกดับไปแล้ว ค่อยเพลินในนิพพานครับ...???

2.2...และถ้าเราปฏิบัติไป บรรลุอรหันต์แล้ว คือ ตัววิมุติญาณทัสนะ มันเกิด วิชชา ปล่อยวางขันธ์๕ได้แล้ว และ มันก็เพลินในนิพพานได้อีกคือพอร่างกายนี้ แตกดับ วิมุติญาณทัสนะ ก็มีที่ตั้งอาศัยคืออยู่ใน วิมุตหรือนิพพานอีกที แต่ไม่มี มิติขนาดความกว้างยาว และไม่เกิดไม่ดับ อะไรประมาณนี้ ...แต่อยากถามว่า อ้าวงั้น เรา ปฏิบัติมาแทบตาย กว่าจะบรรลุอรหันต์ได้ เล่นเอาเลือดตาแทบกระเด็น !!!.....0_o!...และ พอบรรลุอรหันต์ และพอร่างกายแตกดับ ตัววิมุติญาณทัสนะ มันก็สามารถ เพลินใน นิพพานได้อีก...

...พอเพลินในวิมุติได้ ก็เพลินในสมมุติ อีก อ้าวก็วนเวียนกลับมาอีกแบนี้หรือครับ งั้นก็บรรลุอรหันต์ ไม่จริงน่ะสิครับ เพราะ พอมันเพลินในนิพพานก็เวียนกลับมายึด ขันธุ์๕ อีก ...อ้าวถ้างั้น จะปฏิบัติไปทำไมครับ...เพราะเดี๋ยวก็เวียนกลับมาได้อีก งงงที่สุดเลยครับ บอกตามตรง แต่ผมคิดว่าไม่ได้เป็นแบบที่ผมเข้าใจหรอก เพียงแต่ผมยังไม่เข้าใจว่า มันเป็นยังไงกันแน่...คุณนนท์ช่วยตอบหน่อยนะครับ ข้อนี้ สงสัยมากที่สุดในโลก...

3...พิมพ์หาคำว่า คุรุกรรม ไม่เห็นมีเลยครับ มีแต่ ครุธรรม คือ ฟังพระอาจารณ์ คึกฤทธิ์ บอกว่า คุรุกรรม ในฝ่ายดีกับฝ่ายชั่ว คืออยากรู้ว่า คุรุกรรม คือกรรมหนัก ในฝ่ายดี ที่บอกว่า เป็น สมาบัติ๘ ใช่ไหมครับ ก็คือตั้งแต่ฌาณที่ ๑ ขึ้นไปนั่นเอง ผมสงสัย ว่า เป็น คุรุกรรม ในฝ่ายดี ในลักษณะไหนหรือครับ หรือหมายความว่า เช่นเรา เข้าฌาณได้แต่ละขั้น ก็เสวยผลของฌาณนั้นได้ทันที ก็คือเป็นกรรมที่ไห้ผลได้แบบทันที จึงจัดเป็นกรรมหนักในฝ่ายดีแบบนี้ ใช่ไหมครับ หรือว่า เป็นแบบไหน...แล้วก็งงว่า มีอีกอย่างไม่เห็นพูดถึงเลยก็คือ ถวายทานกับ ผู้ที่เพิ่งออกจากนิโรธสมาบัติ และอธิฐาณอะไร ก็จะไห้ผลได้ทันทีเลย ไม่ใช่หรือครับ แล้วไม่เห็นเอามารวมใว้ใน คุรุกรรมในฝ่ายดีเลยครับ ทำไมบอกแค่ การเข้าสมาบัติ หรือครับ งง...???

4...ผมเข้าใจถูกไหมครับเกี่ยวกับประโยคที่ว่า [นิพพานัง ปรมังสุขขัง] นิพพานเป็นสุขอย่างยิ่ง คือคำว่า (สุข) ในที่นี้ คือไม่มีทุกข์ เพราะไม่เกิดไม่ดับ ไม่มีมิติรูปร่างสัณฐาณ แต่คำว่า (สุข) ในที่นี้ ไม่ได้หมายถึง สุขที่เป็น (เวทนา) ใช่ไหมครับ เพราะว่า จริงๆแล้วคำว่า (สุข) ไม่มีจริง มีแต่ทุกข์เท่านั้นที่ เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป ๆ แต่เราได้บรรเทาทุกข์ อยู่ตลอด เช่นตื่นมาก็ต้องกินข้าว หรือ นั่งเมื่อย ก็เลยเปลื่ยนอริยาบทไปเรื่อยๆ และอื่นๆต่างๆนาๆ เพื่อไห้ ความทุกข์คลายยลง เราก็ไปเหมาเอาว่านั่นคือความสุข แต่ที่จริงเรา แก้ทุกข์อยู่ตลอดเวลา เพราะความสุขไม่มีจริง ใช่ไหมครับ...แต่คำว่า (สุข) ที่มีจริง จะหมายความว่า ไม่เกิดไม่ดับ เมื่อไม่เกิดไม่ดับ ก็ไม่มีอะไรที่จะมาเป็นทุกข์ ก็เลยเป็นสุงอย่างแท้จริง.....

5...คือยังเข้าใจไม่แจ่มแจ้งระหว่างคำว่า (ภพ) กับ (ชาติ) ผมลองคิดดูเป็นแบบนี้ ถูกต้องไหมครับ ...(ภพ) คือ สถานที่ตั้งอาศัยเกิดของจิต ซึ่งไม่ใช่ จิต แต่เป็น อารมณ์ และ (ชาติ) นี่ก็คือ เป็นตัว จิต ที่เกิด คือตั้งอยู่ในอารมณ์ คือ (ภพ) นั่นเอง ฉะนั้น (ภพ) คือ ขันธ์ทั้ง๔ และ (ชาติ) ก็คือ ตัว วิญญาณขันธุ์ ที่เหลือ อีก ๑ รวมเป้น ๕ ถูกต้องไหมครับ ถ้าถูกต้อง แล้วทำไม สายปฏิจจ จึงเอา (ภพ) มาก่อน เพราะ (ชาติ) คือ จิต หรือ วิญญาณ น่าจะต้องมาก่อน อารมณ์ คือ (ภพ) คือ ขันธ์ทั้ง ๔ รูปเวทนา สัญญา สังขาร นั่นเอง เอ๊ หรือว่า จิต มาก่อนแล้ว ตั้งแต่ ผัสสะ หรือตั้งแต่ อวิชชา 55555 ยิ่งคิดยึ่งงงครับ คุณ นนท์ ช่วยอธิบายไห้หน่อยนะครับ ระหว่าง (ภพ) กับ (ชาติ) แตกต่างกันยังไงครับ....หรือคำตอบอาจจะง่ายๆ แต่ผมคิดมากไปเอง 555....???

6...คือว่า การเจริญ มรรคมีองค์๘ นั้น พูดย่อลงก็คือ (ศีล สมาธิ ปัญญา) แบ่งย่อลงมาอีกคือ (สมถะและวิปัสนา) ...แต่ผมสงสัยว่า พอตอนปฏิบัติ นั้น ผมก็จะรู้สึกเหมือน ศีลมันหายไป เหมือนกับไม่ได้ ปฏิบัติศีล ยังไงไม่รู้ เพราะ ไม่ได้ไปสนใจเลย เพราะถ้าย่อลงเหลือแค่ (สมถะและวิปัสนา) จะดำเนินไปตาม (ศีล สมาธิ ปัญญา) เหมือนกัน ...แต่ ผมก็ไม่ได้ไปคิดถึงศีลเลย แต่ว่า มันเป็นปกติอยู่ในใจ คือหนักแน่น อยู่ในศีลเฉยๆ ว่าไม่ล่วงศีล หรือถ้าจะ ชัดเจนหน่อยก็ตอนที่ มีเหตุที่จะต้องมีการทำผิดศีลแบบเหตุการเฉพาะหน้าที่ไม่มีการไปสมาทานใว้ก่อน มันก็จะรู้อยู่ในใจเป็นปกติอัตโนมัติ อยู่แล้วว่า เราหนักแน่นอยู่ในศีล ไม่ล่วงศีล โดยที่ ตอนที่ไม่มีเหตุการที่ทำไห้เราจะต้อง ทำผิดศีล เช่น ขณะนั้น ไม่ได้มียุง มากัดเรา เราก็จะไม่ได้ไปคิดถึงศีล แต่จะคิดแค่ตอนมีเหตุการณ์เฉพาะหน้าเท่านั้น ซึ่งถ้าไม่มีเหตุการเฉพาะหน้าที่เป้นเหตุทำไห้เราไปทำผิดศีล มันก็จะยังไม่นึกถึง...

...จึง งง ว่า การเจริญ (ศีล สมาธิ ปัญญา) คือ ในส่วนของ (ศีล) นั้น เจริญ ยังไง หมายความว่า ต้อง ไปจุดธูปเทียน และนั่งพนมมือ หน้าหิ้งพระ และทำการ เปล่งเสียง สมาทาน ว่าข้าพเจ้าของดเว้น อะไรประมาณนี้ไหมครับ...หรือหมายความว่า มันเป็นโดยอัตโนมัติ เป็นแบบนั้น ใช่ไหมครับ เช่น อยู่ฌาณที่ 1 ก็คือ เป็นศีลโดยอัตโนมัติแล้ว โดยที่ไม่ต้องไปนึกถึง หรือต้องไปสมาทานใว้ก่อน จึงจะได้ชื่อว่า เจริญ (ศีล) แบบนี้ ใช่ไหมครับ...???

...ถ้าใช่ งั้นถามต่อว่า งั้น คนปกติขณะที่ เขาเหล่านั้น อาจจะเป็น ใครก็ได้ที่ไม่ได้สนใจเรื่อง ศีล หรืออาจจะเป็น โจร แต่ขณะที่ โจรยังไม่ออกปล้น ก็ได้ชื่อว่า โจรผู้นั้น มีศีล น่ะสิครับ เพราะขณะนั้น ยังไม่มีการทำทุจริต ในการลักโขมย ใช่ไหมครับ เพราะโจรก็ไม่ได้สมาทานวิรัตเจตนา ใว้ก่อน แต่ก็ยังไม่ได้ไปโขมยทรัพสินใคร...เพราะฉะนั้นอยากถามว่า โจร หรือนักฆ่า ที่ณขณะนั้น ยังไม่ได้ทำผิดศีล จะแตกต่างจาก ผู้ที่อยู่ในฌาณที่ 1 อย่างไรครับ แตกต่างแค่ คนได้ฌาณ1คือสงบจากุศล ถึงโจร ไม่สงบจากอกุศล แต่ก็ยังไม่ได้ผิดศีล 5 แล้วจะเรียกได้ว่า ขณะนั้น มีศีลเหมือนกันได้ไหมครับ...???

 

โดย: อะไรกัน !!! IP: 192.168.1.57, 110.77.226.194 19 มกราคม 2554 15:53:37 น.  

 

สวัสดี ครับ น้องพู อ่านรู้เรื่องใหมครับนี่ ปฏิจจสมุปบาท

สวัสดี ครับ ปอป้า อนุโมทนา ด้วยครับ ปฏิจจสมุปบาท เป็นเรื่องที่ยาก แต่ถ้า มีพื้นฐาน มีความรู้พอสมควรแล้ว อ่านปฏิจจฯ จะสนุกมากครับ สาธุ ครับ

 

โดย: จูปีเตอร์เทพแห่งดาวพฤหัส 19 มกราคม 2554 21:43:09 น.  

 

ตอบ คุณ อะไรกัน

หาไม่เจอนะครับ นั่งสมาธิ เดินจงกลม เพื่ออวดหน่ะ ผมดูหมดแล้วใน อาบัติทุกกฏ ก็ไม่มี ยังไง เดี๋ยวคงต้องค้นหาต่อไป หรือ ถ้ามีโอกาส ผมจะไปถามพระอาจารย์ให้ ครับแต่ผมลองหาหลายๆคีย์แล้ว ทั้ง ทุกกฎ ทั้ง อวด ทั้งเลื่อมใส ทั้ง ลาภ ก็ ไม่พบ นะครับ

ส่วนเรื่องหลับ คือ สัญญา ก็คือ เราจำได้ไงครับ เราเคยหลับมาก่อน เราเคยง่วงมาก่อน ความง่วง ความหลับ จึงเป็นสัญญา คือ จำได้ หมายรู้

ส่วนที่ถามว่า เข้าสัญญาเวทยิตนิโรธแล้ว จะเพลินได้อย่างไร ในเมื่อสัญญาดับ

ตอบ ก็ สัญญาดับ แต่ สังขาร ยังอยู่ไง ครับ จิตจับอยู่ที่สังขาร ก็ เพลินในสังขาร ไม่ไปใหนเลย จิตจับที่สังขาร ก็ ถือว่าเพลินครับ ยังไม่หลุดพ้น เพราะวิญญาณ ยังมีที่ตั้งอาศัยอยู่ครับ

1.อยากถามว่า...คำว่า (ความเพลิน) นั้น หมายถึงตัวจิต ที่ไปหลงเพลินกับ (รูป เวทนา สัญญา สังขาร) อีก ๔ ขันธุ์ เพราะฉะนั้น...อยากถามว่า ถ้าขณะจิตที่ยังไม่ไปรับรู้อารมณ์ต่างๆ อีก ๔ ขันธุ์ นั้น จะเรียกว่าเป็นความเพลินด้วยไหม

ตอบ ถ้าจิต ยังไม่เข้าไปรับรู้อารมณ์ ไม่เรียกว่าเพลินครับ ก็ จิตยังไม่ผูกติดกับอารมณ์เลยจะเพลินได้อย่างไร หรือถ้า จิต ไปรับรู้ รูป คือ กาย หรือ อุเบกขา พระพุทธเจ้าเรียก มีสติ ที่จริง ก็คือ เพลินเหมือนกันแหละครับ แต่เรียกให้ดูดีขึ้น เป็นลำดับขั้นในการปล่อยวาง

คือ พระพุทธเจ้าให้ ปล่อยวาง 3 ขันธ์ ก่อน คือ เวทนา สัญญา สังขาร ถ้าจิต ไปจับ 3 ขันธ์นี้ เรียกเพลิน ถ้า จิตไปจับที่รูป กาย ลมหายใจ หรือ อุเบกขา ทรง เรียกว่า มีสติ คือให้ ดูดีขึ้น แต่สุดท้าย สติ ก็ต้องปล่อยอยู่ดี แต่เป็นการปล่อยในขั้นสุดท้าย

1.1...สรุปก็คือ จิตที่เป็นแค่ผัสสะ แต่จิตขณะนั้น เป็นเพียงแค่ เห็น ได้ยิน รู้กลิ่น รู้รส ฯลฯ และที่สำคัญ ยังไม่มีปรุงแต่ง และ จิตก็ยังไม่มี รูป เวทนา สัญญา สังขาร เป็นอารมณ์นั่นเอง หรือคุณนนท์อาจจะแย้งว่า นั่นแหละ จิตต้องเกิดมีขันธ์ตัวใดตัวนึงเป็นอารมณ์แล้ว เราอาจจะไม่รู้เพราะจิตมันเกิดดับไปเร็วมาก ถ้างั้นถามว่า (จิตขณะที่เป็นแค่ผัสสะ ที่ยังไม่มี ขันธ์อีก ๔ ตัวเป็นอารมณ์นั้น จะเรียกได้ว่าเป็น ความเพลิน หรือยังครับ เพราะ (นันทิ) ความเพลิน คือเพลินในอารมณ์ คือ เวียนไปใน ขันธ์อีก ๔ ตัว นั่นเอง...แต่แค่ผัสสะเกิด นั้น จิตเพลินตัวเองได้ไหมครับ...

ตอบ จิตมีผัสสะ ถ้าไม่มีขันธ์ทั้ง๔ จะไปผัสสะกับอะไรละครับ จิตอยู่เดี่ยวๆไม่ได้ ต้องมีขันธ์ทั้ง ๔ เป็นที่ตั้งอาศัย ในขณะตา เห็นรูป หู ได้ยินเสียง เกิด ผัสสะแล้ว จิตไปอยู่ใหนละครับ สังเกตให้ดี ถ้า ตาเห็นรูป ปุ๊บ สวย ชอบ เกิดขึ้น หรือ ไม่สวย เลย น่ารังเกียจ นี่เรียกว่า เพลินแล้ว แป๊บนึง แต่ถ้า ตาเห็น รูปุป๊บ เฉยๆ ไม่รู้สึกอะไร นี่เป็น อุเบกขา เรียกว่า สติ

ฉะนั้น ต้องแยกกันให้ดีดี ระหว่าง สติ กับ เพลิน นะครับ สุข ทุกข์ พอใจ ไม่พอใจ สัญญา สังขาร นี้ เรียกเพลิน ถ้า จิตอยู่กับ กาย หรือ อุเบกขา เรียก สติ อยู่กับสติได้ ไม่เป็นไรครับ

พระพุทธเจ้าบอกว่า สติเป็นที่แล่นไปสู่วิมุตติ อยู่กับมันไปก่อน เหมือน เรือแพ เมื่อถึงจุดหมาย ค่อยทิ้ง ขั้นตอนสุดท้าย ไม่ต้องแบกเรือขึ้นฝั่งไปด้วย
ฉะนั้น ดูจิต ให้ดีดี ว่าอยู่ขันธ์ใหน ถ้าอยู่กับ รูป กาย ลมหายใจ อุเบกขา ไม่เพลินครับ เรียกว่าสติ ถ้า อยู่ นอกเหนือจากนี้ คือ เพลิน ต้องละความเพลินครับ

1.2 และแบบนี้เรียกว่าเป็น นันทิ(ความเพลิน) ไหมครับ เช่น พอจิตเห็น จิตได้ยิน จิตรู้กลิ่น จิตรู้รส ฯลฯ จิตคิดนึก ...มันจะเกิดก็เกิดไป แต่เรา ไม่คิดว่า มันเป็นเรา พิจรณาว่าเป็นเพียง ขันธ์ หรือเป็นการผลักดันปัจจัย ของธาตุต่างๆ หนุนเนืองกันไปเรื่อยๆ ที่ไม่ใช่เรา

คือ เราไม่เข้าไปเป็นมัน ไม่ยึดว่ามันเป็นเรา แบบนี้จะเรียกว่า (ไม่เพลิน) ได้ไหมครับ เพราะ (เพลิน) คือ เข้าไปเป็นมันอย่างไม่รู้เนื้อรู้ตัว เพราะมีอวิชชา เพราะฉะนั้น ที่บอกว่า มี นันทิ(ความเพลิน) ไม่ได้หมายความว่า ถ้าไม่เพลิน ก็คือ สามารถดึงจิตกลับมาอยู่ที่ลมหรืออุเบกขาได้ไว แต่ไม่ต้องดึงก็ได้ แต่ ไห้มันเกิดไป แต่เราไม่ไปยึดมันว่าเป็นเรา ก็คือไม่เพลินเหมือนกัน ได้ใช่ไหมครับ.....???

ตอบ ได้ ครับ แต่ทำได้ยากนะ เพราะ นั่น สติต้องไวมาก ส่วนมาก จิต จะไปจับ อุเบกขาแล้ว แต่เราไม่รู้ คิดว่า มันยังไม่จับอะไร แต่ ไม่ใช่หรอกครับ มันไปจับอุเบกขา ไม่ใช่ ไม่จับอะไรเลย ถ้าไม่จับอะไรเลย ก็ บรรลุ เป็นอรหันต์ เลย ครับ เหมือน พาหิยะ ที่ใช้สักแต่ว่าปุ๊บ บรรลุเลย แต่ ให้จับอุเบกขาไว้ ก็ไม่เป็นไร ถือว่า ดีแล้วครับ ทำความรู้จัก กับ อุเบกขาให้ดี ไม่จับอะไรเลย มันก็ดีครับ แต่ ไม่ง่าย ถ้าทำได้ บรรลุเป็น อรหันต์เลย

2.ข้อนี้ งงมากที่สุด เท่าที่เคยถามมาเลยครับ ทั้งงง ทั้งน่าตกใจมาก !!! เพราะยังไม่เข้าใจ ก็คือว่า...ผม ฟังพระอาจารย์ คึกฤทธิ์ บอกว่า วิมุติญาณทัศนะ เพลินในนิพพานได้ พอมันเพลิน ในนิพพานหรือวิมุติ ได้ มันก็เพลินในสมมุติ ได้ พอเพลินในสมมุติ มันจึงยึด ตัวสมมุติคือ ขันธ์๕ ว่าเป็นตัวมัน จึงต้องเกิดดับไปกับมัน จึงเกิดอวิชชา คือไม่รู้นึกว่าป็นตัวมัน จึงต้องเวียนไหว้ตายเกิด ผมฟังมาแบบนี้ ใช่ไหมครับ และอยากถามว่า จิตที่เพลินในนิพพาน นั้นเป็นจิตที่มีอยู่กับร่างกายที่ยังไม่แตกดับ หรือว่า ร่างกายแตกดับไปแล้ว ค่อยเพลินในนิพพานครับ...???

ตอบ ยังไม่แตกดับ ครับ พระพุทธเจ้า ไม่ให้เพลินอย่างยิ่งซึ่งนิพพาน ไม่ให้สำคัญมั่นหมายในนิพพาน ไม่ให้สำคัญมั่นหมายว่า นิพพานเป็นเราอีก พระ พุทธเจ้า จึงสั่งไว้ ว่า นิพพาน ก็ ยังเพลินไม่ได้ เลย และอย่าไปสำคัญมั่นหมาย เพราะถ้าไปเพลิน ก็ ไม่สำเร็จ ไม่บรรลุ จะเป็นแค่ อนาคามี

2.1...และถ้าเราปฏิบัติไป บรรลุอรหันต์แล้ว คือ ตัววิมุติญาณทัศนะ มันเกิด วิชชา ปล่อยวางขันธ์๕ได้แล้ว และ มันก็เพลินในนิพพานได้อีกคือพอร่างกายนี้ แตกดับ วิมุติญาณทัศนะ ก็มีที่ตั้งอาศัยคืออยู่ใน วิมุตหรือนิพพานอีกที แต่ไม่มี มิติขนาดความกว้างยาว และไม่เกิดไม่ดับ อะไรประมาณนี้ ...แต่อยากถามว่า อ้าวงั้น เรา ปฏิบัติมาแทบตาย กว่าจะบรรลุอรหันต์ได้ เล่นเอาเลือดตาแทบกระเด็น !!!.....0_o!...และ พอบรรลุอรหันต์ และพอร่างกายแตกดับ ตัววิมุติญาณทัศนะ มันก็สามารถ เพลินใน นิพพานได้อีก...

ตอบ คือ หลุดพ้นแล้ว มีวิชชา วิมุติ แล้ว จะไปเพลินอีกทำไมหละ พระอรหันต์ทั้งหลายก็ไม่เพลินแล้วหละครับ เหมือนคนตาบอด ถูกหลอก ให้เชื่อ อะไรซักอย่าง แล้วก็ เชื่อ เพราะตัวเองไม่รู้และมองไม่เห็น พอรักษาตาให้มองเห็นแล้ว อ้าวจะไปหลงมันอีกใหม ก็ไม่แล้ว แบบนี้

2.2...พอเพลินในวิมุติได้ ก็เพลินในสมมุติ อีก อ้าวก็วนเวียนกลับมาอีกแบนี้หรือครับ งั้นก็บรรลุอรหันต์ ไม่จริงน่ะสิครับ เพราะ พอมันเพลินในนิพพานก็เวียนกลับมายึด ขันธุ์๕ อีก ...อ้าวถ้างั้น จะปฏิบัติไปทำไมครับ...เพราะเดี๋ยวก็เวียนกลับมาได้อีก งงงที่สุดเลยครับ

ตอบ อย่างที่บอกอะ พอเราตาดี มองเห็นทุกอย่างแล้ว อยากจะกลับมาตาบอดอีกใหม อยากจะเชื่อในสิ่งที่เราโดนหลอกอยู่รึเปล่า

3...พิมพ์หาคำว่า คุรุกรรม ไม่เห็นมีเลยครับ มีแต่ ครุธรรม คือ ฟังพระอาจารย์ คึกฤทธิ์ บอกว่า คุรุกรรม ในฝ่ายดีกับฝ่ายชั่ว คืออยากรู้ว่า คุรุกรรม คือกรรมหนัก ในฝ่ายดี ที่บอกว่า เป็น สมาบัติ๘ ใช่ไหมครับ ก็คือตั้งแต่ฌาณที่ ๑ ขึ้นไปนั่นเอง ผมสงสัย ว่า เป็น คุรุกรรม ในฝ่ายดี ในลักษณะไหนหรือครับ หรือหมายความว่า เช่นเรา เข้าฌาณได้แต่ละขั้น ก็เสวยผลของฌาณนั้นได้ทันที ก็คือเป็นกรรมที่ไห้ผลได้แบบทันที จึงจัดเป็นกรรมหนักในฝ่ายดีแบบนี้ ใช่ไหมครับ หรือว่า เป็นแบบไหน...แล้วก็งงว่า มีอีกอย่างไม่เห็นพูดถึงเลยก็คือ ถวายทานกับ ผู้ที่เพิ่งออกจากนิโรธสมาบัติ และอธิษฐานอะไร ก็จะไห้ผลได้ทันทีเลย ไม่ใช่หรือครับ แล้วไม่เห็นเอามารวมใว้ใน คุรุกรรมในฝ่ายดีเลยครับ ทำไมบอกแค่ การเข้าสมาบัติ หรือครับ งง...???

ตอบ ที่จริง คำว่า ครุกรรม พระพุทธองค์ไม่ได้ตรัสไว้โดยตรงหรอกครับ เพียงแต่ว่า มีคนถามว่า ในเมื่อ มี อนันตริยกรรม กรรมหนัก ฝ่ายไม่ดี แล้วที่ให้ผลในทิฐธรรม คือ ทำกรรมเช่นนี้แล้วจะได้รับผลนั้นๆก่อน แล้ว กรรมหนักฝ่ายดี มีใหม คือ ไม่มีตรัสไว้โดยตรง แต่ มีบอกไว้ ว่าทำอะไร ที่ให้ผลมากที่สุด และดีที่สุด เมื่อดูแล้ว ก็ คือ การเจริญอนิจสัญญา หรือ ทำสมาธิ วิปัสสนา นั่นเอง มีผล มาก กว่า ทำทาน ไม่รู้กี่เท่า นับไม่ได้เลย

มีพระสูตรตรัสไว้ ตอนที่พระองค์ไปเกิดเป็น พราหมณ์ ชื่อ เวลามะ ที่ พระองค์ถวายถาดเงินถาดทอง ช้าง ม้า ผ้าไหม แม่โค ฯลฯ จำนวนมากมาย ยังไม่เท่า กับ ทำแก่พระโสดาบัน ทำแก่พระโสดาบัน ร้อย ยังไม่เท่า สกทาคามี รูปเดียว ทำแก่ พระสกทาคามี ร้อย ไม่เท่าทำกับ พระอนาคามี รูปเดียว ทำกับ พระอนาคามี ร้อย ไม่เท่าทำกับอรหันต์ องค์เดียว ทำกับ พระอรหันต์ร้อยองค์ ไม่เท่า ทำกับพระปัจเจก พุทธเจ้า องค์เดียว

ทำแก่ พระปัจเจกฯ ร้อยองค์ ไม่เท่าทำทานแก่พระพุทธเจ้า องค์เดียว ทำแก่ พระพุทธเจ้า องค์เดียว ไม่เท่ากับ ทำทาน ให้กับ สงฆ์ ที่มีพระพุทธเจ้าเป็นประธาน ทำทานแก่ สงฆ์ที่มีพระพุทธเจ้าเป็นประธาน ไม่เท่ากับ สร้าง กุฏิ วิหาร ถวายสงฆ์ที่มาจาก ทิศทั้งสี่ ถวาย กุฏิ วิหาร ยัง ไม่เท่า มีจิตเลื่อมใส ในพระรัตนะไตร มีจิตเลื่อมใส ยังไม่เท่ากับ รักษาศีล

ไล่ ไป ยัน เจริญ เมตตาจิต สุดท้าย คือ เจริญ อนิจสัญญา ก็ ดูเอาแล้วกันว่า มันมากมายกว่า ที่ทำทานแก่ ผู้ เข้าสัญญาเวทยิตนิโรธ เท่าไร ซึ่ง พระพุทธเจ้าไม่เคยเอ่ยถึงเลย ยังไม่เท่ากับทำทานแก่ โสดาบัน ด้วยซ้ำ ไป และนี่ คือ กรรมหนักฝ่ายดี ที่พระองค์แสดงไว้ แต่ ไม่ได้ตรัสไว้โดยตรงหรอกครับ เพียงแต่ พระอาจารย์ หามาตอบว่า ควรจะทำกรรมฝ่ายดีอะไรที่ให้ผลก่อน เท่านั้นเอง


4...ผมเข้าใจถูกไหมครับเกี่ยวกับประโยคที่ว่า [นิพพานัง ปรมังสุขขัง] นิพพานเป็นสุขอย่างยิ่ง คือคำว่า (สุข) ในที่นี้ คือไม่มีทุกข์ เพราะไม่เกิดไม่ดับ ไม่มีมิติรูปร่างสันฐาณ แต่คำว่า (สุข) ในที่นี้ ไม่ได้หมายถึง สุขที่เป็น (เวทนา) ใช่ไหมครับ เพราะว่า จริงๆแล้วคำว่า (สุข) ไม่มีจริง มีแต่ทุกข์เท่านั้นที่ เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป ๆ แต่เราได้บรรเทาทุกข์ อยู่ตลอด เช่นตื่นมาก็ต้องกินข้าว หรือ นั่งเมื่อย ก็เลยเปลื่ยนอริยาบทไปเรื่อยๆ

และอื่นๆต่างๆนาๆ เพื่อไห้ ความทุกข์คลายยลง เราก็ไปเหมาเอาว่านั่นคือความสุข แต่ที่จริงเรา แก้ทุกข์อยู่ตลอดเวลา เพราะความสุขไม่มีจริง ใช่ไหมครับ...แต่คำว่า (สุข) ที่มีจริง จะหมายความว่า ไม่เกิดไม่ดับ เมื่อไม่เกิดไม่ดับ ก็ไม่มีอะไรที่จะมาเป็นทุกข์ ก็เลยเป็นสุงอย่างแท้จริง.....

ตอบ ข้อนี้เข้าใจถูกแล้วครับ

5...คือยังเข้าใจไม่แจ่มแจ้งระหว่างคำว่า (ภพ) กับ (ชาติ) ผมลองคิดดูเป็นแบบนี้ ถูกต้องไหมครับ ...(ภพ) คือ สถานที่ตั้งอาศัยเกิดของจิต ซึ่งไม่ใช่ จิต แต่เป็น อารมณ์ และ (ชาติ) นี่ก็คือ เป็นตัว จิต ที่เกิด คือตั้งอยู่ในอารมณ์ คือ (ภพ) นั่นเอง ฉะนั้น (ภพ) คือ ขันธ์ทั้ง๔ และ (ชาติ) ก็คือ ตัว วิญญาณขันธุ์ ที่เหลือ อีก ๑ รวมเปน ๕ ถูกต้องไหมครับ

ถ้าถูกต้อง แล้วทำไม สายปฏิจจ จึงเอา (ภพ) มาก่อน เพราะ (ชาติ) คือ จิต หรือ วิญญาณ น่าจะต้องมาก่อน อารมณ์ คือ (ภพ) คือ ขันธ์ทั้ง ๔ รูปเวทนา สัญญา สังขาร นั่นเอง เอ๊ หรือว่า จิต มาก่อนแล้ว ตั้งแต่ ผัสสะ หรือตั้งแต่ อวิชชา 55555 ยิ่งคิดยึ่งงงครับ คุณ นนท์ ช่วยอธิบายไห้หน่อยนะครับ ระหว่าง (ภพ) กับ (ชาติ) แตกต่างกันยังไงครับ....หรือคำตอบอาจจะง่ายๆ แต่ผมคิดมากไปเอง 555....???

ตอบ ภพ คือ ที่ตั้งอาศัย ของวิญญาณ ชาติ คือ การเกิด ที่เกิดจาก นันทิ หรือ ความเพลินนั่นเอง พอเพลินในภพ ทำให้เกิดชาติ พระองค์ เปรียบ ภพ เหมือน ผืนนา วิญญาณ เปรียบเหมือน เมล็ด พืช เมื่อ เมล็ดพืช (วิญญาณ) ตก ลงใน ผืนนา(ภพ) น้ำ เปรียบเสมือน นันทิ หรือ ความเพลิน ไป รด ให้ ต้นไม้งอกขึ้นมา(ชาติ) ต้นไม้ ที่งอกนี่แหละ คือ ชาติ ( การเกิด ) อุปมานี้ น่าจะทำให้เข้าใจ ความแตกต่างระหว่างภพ กับ ชาติ ได้มากขึ้น

ฉะนั้น วิญญาณ ไม่ใช่ ชาติ อย่างที่เข้าใจนะครับ ถ้ายัง งง ก็ มาถามใหม่นะครับ

6...คือว่า การเจริญ มรรคมีองค์๘ นั้น พูดย่อลงก็คือ (ศีล สมาธิ ปัญญา) แบ่งย่อลงมาอีกคือ (สมถะและวิปัสสนา) ...แต่ผมสงสัยว่า พอตอนปฏิบัติ นั้น ผมก็จะรู้สึกเหมือน ศีลมันหายไป เหมือนกับไม่ได้ ปฏิบัติศีล ยังไงไม่รู้

ตอบ ศีลไม่ได้หายไปไหน ตอนทำสมาธิ เราผิดศีลข้อไหนละครับ ไม่ผิดเลย ทำสมาธิ วิปัสสนา ศีล มัน ถูกต้องหมดอยู่ในตัว จึงไม่ต้องพูดถึงศีลก็ได้ ครับ ศีลมันมีอยู่แล้วใน สมถะ และ วิปัสสนา

6.1..จึง งง ว่า การเจริญ (ศีล สมาธิ ปัญญา) คือ ในส่วนของ (ศีล) นั้น เจริญ ยังไง หมายความว่า ต้อง ไปจุดธูปเทียน และนั่งพนมมือ หน้าหิ้งพระ และทำการ เปล่งเสียง สมาทาน ว่าข้าพเจ้าของดเว้น อะไรประมาณนี้ไหมครับ...

ตอบ ไม่ต้อง ทำอะไรเลย ศีลมันมีอยู่แล้ว ครับ ศีล มัน เป็น ปรกติ ที่เรา ทำมันเป็นปรกติ อยู่แล้ว ตอนเราทำสมาธิ ศีลก็ ไม่ผิดอะไรนี่ครับ ทำสมาธิ เห็นเกิด ดับ มรรค มีองค์ แปด ครบหมดเลย ศีล สมาธิ ปัญญา

6.2.ถ้าใช่ งั้นถามต่อว่า งั้น คนปกติขณะที่ เขาเหล่านั้น อาจจะเป็น ใครก็ได้ที่ไม่ได้สนใจเรื่อง ศีล หรืออาจจะเป็น โจร แต่ขณะที่ โจรยังไม่ออกปล้น ก็ได้ชื่อว่า โจรผู้นั้น มีศีล น่ะสิครับ

เพราะขณะนั้น ยังไม่มีการทำทุจริต ในการลักโขมย ใช่ไหมครับ เพราะโจรก็ไม่ได้สมาทานวิรัตเจตนา ใว้ก่อน แต่ก็ยังไม่ได้ไปโขมยทรัพสินใคร...เพราะฉะนั้นอยากถามว่า โจร หรือนักฆ่า ที่ขณะนั้น ยังไม่ได้ทำผิดศีล จะแตกต่างจาก ผู้ที่อยู่ในฌาณที่ 1 อย่างไรครับ แตกต่างแค่ คนได้ฌาณ1คือสงบจากุศล ถึงโจร ไม่สงบจากอกุศล แต่ก็ยังไม่ได้ผิดศีล 5 แล้วจะเรียกได้ว่า ขณะนั้น มีศีลเหมือนกันได้ไหมครับ...???

ตอบ โจรยังไม่ได้ปล้น ก็ ไม่ผิดศีลนี่ครับ จะผิดก็ต่อเมื่อปล้น ส่วนเรื่อง สมาทาน ไม่เกี่ยวครับ สมาทานเป็นแค่ เราตั้งใจ เราจะสมาทาน หรือไม่สมาทาน ก็ ได้ อยู่ที่เรา ทำผิดรึเปล่า ถ้า ทำผิดก็คือ ผิด จะสมาทานหรือไม่ก็ไม่เกี่ยว ถ้าเราทำไม่ผิดศีล เราไม่ต้องสมาทานก็ได้ มันก็มีผลเหมือนกันครับ

ส่วน ถ้าไม่ผิดศีล ต่างกับ ผู้มีฌานหนึ่ง อย่างไร ต่างสิครับ แค่ คิดจะปล้น นี่ อกุศลแล้ว ไม่ได้ ฌาน แต่ ศีล ยังไม่ผิด แต่ผิดทางมโน เป็นมโนกรรม แต่ศีล คือ ความผิดทางกายหรือวาจา แต่ถ้า อกุศล นี่ แค่คิด ก็ ผิดแล้ว ไม่ได้ ปฐมฌาน ครับ ถ้า อยู่ใน ฌาน ขนาดคิดยังไม่คิดเลย ขณะนั้นศีลมันบริสุทธิ์อยู่ ถ้า คิด เมื่อไหร่ ฌานหาย พอไปปล้น ผิดศีลทันที

ไม่ทราบ คำตอบ เคลียร์ไหมครับ ถ้าไม่เคลียร์ ก็ ถามใหม่ได้ครับ

อนุโมทนาครับ

 

โดย: จูปีเตอร์เทพแห่งดาวพฤหัส 20 มกราคม 2554 16:22:46 น.  

 



โอ๊ะ โอ๋ ลุงนนท์
แต่งกลอนเก่งนะเนี่ย
ขอบคุณมากนะคะ
พูเอาดอกพวงชมพูมาฝากค่ะ





 

โดย: พธู 21 มกราคม 2554 9:21:20 น.  

 

################

อ๋อ...เข้าใจแล้วครับที่ถามว่า (ไม่ต้องดึงจิตกลับมาที่กายหรืออุเบกขาก็ได้ แต่ ไห้มันเกิดไป แต่เราไม่ไปยึดมันว่าเป็นเรา ก็คือไม่เพลินเหมือนกัน) ...คุณนนท์ ตอบว่า (ได้ ครับ แต่ทำได้ยากนะ เพราะ นั่น สติต้องไวมาก ส่วนมาก จิต จะไปจับ อุเบกขาแล้ว แต่เราไม่รู้ คิดว่า มันยังไม่จับอะไร แต่ ไม่ใช่หรอกครับ มันไปจับอุเบกขา ไม่ใช่ ไม่จับอะไรเลย ถ้าไม่จับอะไรเลย ก็ บรรลุ เป็นอรหันต์ เลย )...

...คือตรงนี้หมายความว่า มันเป็นผล ด้วยใช่ไหมครับ คือ เป็นผลของการบรรลุแล้ว คือ [กิจที่ควรทำทำสำเร็จ กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มีอีก] ก็คือ พระอรหันต์ไม่ต้องมา พยายามละอกุศล ดึงจิต มาอยู่กายคตาสติ อีก แต่ทุกขณะจิต ไม่มีการไปยึดอีกเลย มันก็เกิดดับ ไปตามเหตุตามปัจจัย แต่ ไม่ได้เข้าไปเป็นมัน โดยอัตโนมัติ แต่ผมก็ งงนะครับ ว่า เมื่อเป็นแบบนี้แล้ว ทำไมยังต้อง ใช้ อานาปานสติ เป็นวิหารธรรม อีกครับ...???

################

...แล้วที่บอกว่า [พระพุทธเจ้า ไม่ให้เพลินอย่างยิ่งซึ่งนิพพาน ไม่ให้สำคัญมั่นหมายในนิพพาน ไม่ให้สำคัญมั่นหมายว่า นิพพานเป็นเราอีก] หมายความว่า...อย่าไปเพลินในนิพพาน ในขณะที่ ยังไม่เป็น อรหันต์ หรือ บรรลุ เป็น อรหันต์ แล้วครับ งง ...หรือเป็นอรหันต์แล้ว และ ร่างกายแตกดับหมดแล้ว และไม่ไห้ วิมุติญาณทัสนะ เพลินในนิพพาน ตกลงเป็นแบบไหนครับ...555...งงติ๊บ...ผมเดาเอาว่าเป้นแบบแรกใช่ไหมครับ......???

################

...ส่วนอีก จุดนึง ต้องเข้าใจแบบนี้ ใช่ไหมครับ ถึงจะถูก ก็คือว่า ตัว (วิมุติญาณทัศนะ) ที่มัน เพลินใน (นิพพาน) และมาเพลิน ยึดใน ขันธ์๕ ว่าเป็นตัวมัน ก็คือ เป็นขณะแรกที่มันมายึดใว้ คือก็ตั้งแต่เมื่อไหร่ไม่รู้ นับไม่ถ้วน เพราะ เราเวียนไหว้ตายเกิดกันมาแล้วนับชาติไม่ถ้วน ฉะนั้น นั่นหมายถึง เฉพาะ ขณะแรกที่มันมายึด สังขตธรรม ใว้ แต่ผมนึกว่า พอตัว (วิมุติญาณทัศนะ) ปล่อยขันธ์๕ ได้แล้ว ก็อาจจะ กลับมาเพลินได้อีก สรุปก็คือไม่ใช่ แต่เป็นเฉพาะ ขณะแรก เท่านั้น ถ้าบรรลุ อรหันต์ แล้ว ก็ไม่ยึดอีก ต่อไป แบบนี้ ใช่ไหมครับ...

...เหมือนกับที่ อุปมาว่า [เราถูกลูกษรยิงมาปักที่อก และไม่สนใจว่า ลูกษรนั้น ใครเป็นคนยิงมา ยิงมาจากไหน มาได้ยังไง แต่เรามีหน้าที่ในการเอาลูกษรนั้นออกจากอก ก็พอ ไม่ต้องไปหาต้นเหตุ] อะไรประมาณนั้น...ก็ไม่ต้องไปสนใจใช่ไหมครับ ว่า จิตเดิม คือ (วิมุติญาณทัศนะ) นั้น มัน ยึด ขันธ์๕ มาตั้งแต่เมื่อไหร่ แต่เรามีหน้าที่ในการปล่อยวางขันธ์๕ นั่นเอง และที่สำคัญคือ ถ้าปล่อยวางได้แล้ว...

...แต่ที่ผมสงสัยคือ จิตเดิม ในขณะที่ มันอยู่ใน วิมุติ หรือ นิพพาน นั้นนั่นมันจะกลับมายึด ขันธ์๕ ได้อีกไหม เพราะ ขณะแรก มันยังยึดได้เลย ซึ่งไม่รู้ ยึดมาตั้งแต่เมื่อไหร่ ใช่ไหมครับ แล้วขณะแรกมัน ก็ยังยึดได้เลย แสดงว่า ขณะแรก มันไม่บริสุทธุ์ หมดจดจากกิเลส ใช่ไหมครับ จึงมายึดได้ แต่ก็เข้าใจแล้ว ว่า ตรงนั้นอาจจะไม่ต้องไปสนใจ เพราะ ประเด็นคือ ถ้า (วิมุติญาณทัศนะ) มัน ปล่อยวางขันธุ์๕ ได้แล้ว ก็เป็นอัน ไม่ไปยึดอีก เพราะมี วิชชา เกิดขึ้นแล้ว นั่นเอง ถูกต้องแบบนี้ใช่ไหมครับ.......

################

 

โดย: อะไรกัน@งงติ๊บ!!! IP: 118.174.190.250 21 มกราคม 2554 10:57:03 น.  

 

ขอบคุณครับ น้องพู ดอกพวงชมพู สวยมากครับ

 

โดย: จูปีเตอร์เทพแห่งดาวพฤหัส 21 มกราคม 2554 11:56:05 น.  

 


ตอบ คุณ อะไรกัน

1.หมายความว่า มันเป็นผล ด้วยใช่ไหมครับ คือ เป็นผลของการบรรลุแล้ว คือ [กิจที่ควรทำทำสำเร็จ กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มีอีก] ก็คือ พระอรหันต์ไม่ต้องมา พยายามละอกุศล ดึงจิต มาอยู่กายคตาสติ อีก แต่ทุกขณะจิต ไม่มีการไปยึดอีกเลย มันก็เกิดดับ ไปตามเหตุตามปัจจัย แต่ ไม่ได้เข้าไปเป็นมัน โดยอัตโนมัติ แต่ผมก็ งงนะครับ ว่า เมื่อเป็นแบบนี้แล้ว ทำไมยังต้อง ใช้ อานาปานสติ เป็นวิหารธรรม อีกครับ

ตอบ คือ มันเป็น ออโต้ แล้วครับ พระอรหันต์ ละ กาม พยาบาท ได้ตั้งแต่ เป็น อนาคามีแล้ว แล้ว ส่วน เบียดเบียน ไม่มีในจิต ของท่านอยู่แล้ว อกุศล ในจิต ตั้งแต่ อนาคามีก็ไม่มีแล้วครับ ไม่มีโดยอัตโนมัติ แล้ว ส่วน อานาปา ก็ เป็น ออโต้ เช่นกัน สติ สมบูรณ์ ก็เป็น ออโต้ อีก คือ มันเป็นไปเอง โดยที่ไม่ต้องมีความเพียรพยายามหรือตั้งใจที่จะกระทำแบบเราๆ ท่าน จึงอยู่ด้วยวิหารธรรมเหล่านั้นตลอดเวลา

2.แล้วที่บอกว่า [พระพุทธเจ้า ไม่ให้เพลินอย่างยิ่งซึ่งนิพพาน ไม่ให้สำคัญมั่นหมายในนิพพาน ไม่ให้สำคัญมั่นหมายว่า นิพพานเป็นเราอีก] หมายความว่า...อย่าไปเพลินในนิพพาน ในขณะที่ ยังไม่เป็น อรหันต์ หรือ บรรลุ เป็น อรหันต์ แล้วครับ งง ...หรือเป็นอรหันต์แล้ว และ ร่างกายแตกดับหมดแล้ว และไม่ไห้ วิมุติญาณทัสนะ เพลินในนิพพาน ตกลงเป็นแบบไหนครับ...555...งงติ๊บ...ผมเดาเอาว่าเป้นแบบแรกใช่ไหมครับ

ตอบ คือ พระพุทธองค์ ยกตัวอย่างว่า ขนาด นิพพาน ยังเพลินไม่ได้เลย แล้วนับประสาอะไร กับธรรมที่ไม่ใช่นิพพาน ส่วน นิพพาน กินความหมายกว้างครับ ไม่เหมือน วิมุติ แต่นิพพาน กิน ความหมายได้ ตั้งแต่ ปฐมฌาน ขึ้นไปเลย คือ อะไร ที่มัน ดับ ไป ก็เรียก มันนิพพาน เช่น ใน ปฐมฌาณ อกุศล ดับ ก็ เรียก อกุศล มันนิพพาน อะไรดับ ก็ เรียกว่า มันนิโรธ หรือ มันนิพพาน นิโรธเองก็เป็นชื่อแทนนิพพานได้เช่นกัน แต่มันยังไม่นิพพาน ออโต้ ครับ

ส่วน ที่พระพุทธองค์ ไม่ให้เพลินอย่างยิ่งซึ่งนิพพานไม่ สำคัญมั่นหมายในนิพพาน ไม่สำคัญมั่นหมายว่า เป็นเรา แสดงว่า ผู้นั้น สำคัญผิด คิดว่า ตนบรรลุแล้ว แต่พระพุทธเจ้าบอกว่านิพพาน ก็ เพลินไม่ได้ สำคัญมั่นหมายไม่ได้ ถ้า ท่าน ยังเพลินอยู่ แสดงว่า ท่านยังไม่บรรลุ แล้วพระองค์ก็จึงทรงตรัสพระสูตรนี้ ว่า เมื่อ เป็นพระอรหันต์ขีณาสพแล้ว พระอรหันต์ จะ ไม่เพลินอย่างยิ่งซึ่งนิพพาน ไม่สำคัญมั่นหมายในนิพพาน ฯลฯ คือ ถ้า เพลินอยู่ก็ยังไม่ใช่ ยังไม่บรรลุ ยังได้แค่อนาคามีอยู่ แต่สำคัญผิดว่า บรรลุแล้ว ถ้ายังไปสำคัญมั่นหมายแสดงว่าไม่ใช่ แค่เข้าใจผิด พระอรหันต์ จะไม่เพลิน ไม่สำคัญมั่นหมาย ในนิพพานแล้ว ยังจะงง อีกใหมครับ อิอิ

3....ส่วนอีก จุดนึง ต้องเข้าใจแบบนี้ ใช่ไหมครับ ถึงจะถูก ก็คือว่า ตัว (วิมุติญาณทัศนะ) ที่มัน เพลินใน (นิพพาน) และมาเพลิน ยึดใน ขันธ์๕ ว่าเป็นตัวมัน ก็คือ เป็นขณะแรกที่มันมายึดใว้ คือก็ตั้งแต่เมื่อไหร่ไม่รู้ นับไม่ถ้วน เพราะ เราเวียนไหว้ตายเกิดกันมาแล้วนับชาติไม่ถ้วน ฉะนั้น นั่นหมายถึง เฉพาะ ขณะแรกที่มันมายึด สังขตธรรม ใว้ แต่ผมนึกว่า พอตัว (วิมุติญาณทัศนะ) ปล่อยขันธ์๕ ได้แล้ว ก็อาจจะ กลับมาเพลินได้อีก สรุปก็คือไม่ใช่ แต่เป็นเฉพาะ ขณะแรก เท่านั้น ถ้าบรรลุ อรหันต์ แล้ว ก็ไม่ยึดอีก ต่อไป แบบนี้ ใช่ไหมครับ...

ตอบ ใช่แล้วครับ เมื่อ มีวิชชา วิมุตุ แล้ว ก็ ไม่กลับมาแล้ว ครับ เหมือน คุณ ขี่จักรยาน เป็น คุณ ไหว้น้ำได้ แล้ว คุณ จะกลับ มาขี่จักรยานไม่เป็น ไหว้น้ำไม่ได้ อีกใหม หรือ คุณ พ้น จาก ความทุกข์ แล้ว อยากจะกลับไปทุกข์อีกใหม ก็เช่นเดียวกัน

4.แต่ที่ผมสงสัยคือ จิตเดิม ในขณะที่ มันอยู่ใน วิมุติ หรือ นิพพาน นั้นนั่นมันจะกลับมายึด ขันธ์๕ ได้อีกไหม เพราะ ขณะแรก มันยังยึดได้เลย ซึ่งไม่รู้ ยึดมาตั้งแต่เมื่อไหร่ ใช่ไหมครับ แล้วขณะแรกมัน ก็ยังยึดได้เลย แสดงว่า ขณะแรก มันไม่บริสุทธุ์ หมดจดจากกิเลส ใช่ไหมครับ จึงมายึดได้ แต่ก็เข้าใจแล้ว ว่า ตรงนั้นอาจจะไม่ต้องไปสนใจ เพราะ ประเด็นคือ ถ้า (วิมุติญาณทัศนะ) มัน ปล่อยวางขันธุ์๕ ได้แล้ว ก็เป็นอัน ไม่ไปยึดอีก เพราะมี วิชชา เกิดขึ้นแล้ว นั่นเอง ถูกต้องแบบนี้ใช่ไหมครับ

ตอบ พระพุทธเจ้าก็สงสัยประเด็นนี้เหมือนกัน จึงทรงใช้ญาณหยั่งรู้โดยไม่มีประมาณที่เป็น คุณสมบัติของท่าน ใช้ญาณหยั่งรู้ไปโดยไม่มีประมาณ พระองค์ ก็จึงทรงตรัสว่า ญาณหยั่งรู้ของท่านไม่มีประมาณ วัฏฏะ ก็ ไม่มีประมาณเช่นกัน ถึงจะใช้ญาณหยั่งรู้โดยไม่มีประมาณไปซักร้อยปี ก็ยังไม่เจอ ที่สุด ของวัฏฏะ ว่า ระบบ สมมุติ มันเริ่มมาจากใหน

พระองค์จึงทรงตรัสว่า เพราะตถาคต จะบังเกิดขึ้น หรือ ไม่ได้บังเกิดขึ้นก็ตาม ธรรมธาตุนั้น ย่อมตั้งอยู่แล้วนั่นเทียว คือ มันเป็นของมันอย่างนั่น มันไม่ผิดไปจากความเป็นอย่างนั้น และมันไม่เป็นไปโดยประการอื่น คือ เมื่อมีสิ่งนี้ สิ่งนี้ เป็น ปัจจัย สิ่งนี้ สิ่งนี้ จึงเกิดขึ้น

คือ มันเป็นของมันอยู่อย่างนั้น หาต้นหาปลาย มันไม่ได้ พระองค์จึงบอกว่า เบื้องต้น ของ อวิชชา ย่อมไม่ปรากฏ คือ ไม่รู้ว่ามันมาได้ยังไง ก็ อย่าไปรู้มันเลย ว่า วิมุติญาณทัศนะ มันหลุดมาระบบสมมุติยังไง คนแรก อวิชชามันมาได้ยังไง คือ ระบบสมมุติเนี่ย มันเป็นอย่างนี้มานานมากแล้ว เราอย่าไปสงสัยมัน เรามีหน้าที่ ทำ วิชชาให้ปรากฏ ก็เท่านั้นเอง พอ เรา มีความรู้ แล้ว ความไม่รู้ มันก็หายไป พอเรารู้แล้ว เราก็ ไม่สามารถ กลับมาไม่รู้ได้อีก ก็แค่นั้นเอง

สงสัย อะไร อีกใหมครับ อิอิ ถ้ายังสงสัย ก็ มาถามใหม่ได้ครับ

 

โดย: จูปีเตอร์เทพแห่งดาวพฤหัส 21 มกราคม 2554 12:42:11 น.  

 



*~*~* แวะมาทักทายจ๊ะ..สุขสันต์วันสดใส ขอหัวใจเบิกบาน *~*~*

 

โดย: *~ต้นกล้า...ของหัวใจ~* 21 มกราคม 2554 14:37:33 น.  

 

เจอ แล้ว ครับ

[๒๘๖] ๑. ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งเดินจงกรมอยู่ด้วยตั้งใจว่า คนจักยกย่องเราด้วยวิธีนี้ คนยกย่องภิกษุนั้นแล้ว เธอมีความรังเกียจ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคพระผู้มีพระภาคตรัสว่า

..........ดูกรภิกษุ เธอไม่ต้องอาบัติปาราชิก ภิกษุทั้งหลาย อันภิกษุไม่พึงเดินจงกรมด้วยตั้งใจเช่นนั้น ภิกษุใดเดินจงกรมด้วยตั้งใจเช่นนั้น ต้องอาบัติทุกกฏ.

๒. ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งยืนอยู่ด้วยตั้งใจว่า คนจักยกย่องเราด้วยวิธีนี้ คนยกย่องภิกษุนั้นแล้ว เธอมีความรังเกียจ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค พระผู้มีพระภาคตรัสว่า

..........ดูกรภิกษุเธอไม่ต้องอาบัติปาราชิก ภิกษุทั้งหลาย อันภิกษุไม่พึงยืนด้วยตั้งใจเช่นนั้น ภิกษุใดยืนด้วยตั้งใจเช่นนั้น ต้องอาบัติทุกกฏ.

๓. ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งนั่งอยู่ด้วยตั้งใจว่า คนจักยกย่องเราด้วยวิธีนี้ คนยกย่องภิกษุนั้นแล้ว เธอมีความรังเกียจ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค พระผู้มีพระภาคตรัสว่า

..........ดูกรภิกษุ เธอไม่ต้องอาบัติปาราชิก ภิกษุทั้งหลาย อันภิกษุไม่พึงนั่งด้วยตั้งใจเช่นนั้น ภิกษุใดนั่งด้วยตั้งใจเช่นนั้น ต้องอาบัติทุกกฏ.

๔. ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งนอนอยู่ด้วยตั้งใจว่า คนจักยกย่องเราด้วยวิธีนี้ คนยกย่องภิกษุนั้นแล้ว เธอมีความรังเกียจ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค พระผู้มีพระภาคตรัสว่า

..........ดูกรภิกษุ เธอไม่ต้องอาบัติปาราชิก ภิกษุทั้งหลาย อันภิกษุไม่พึงนอนด้วยตั้งใจเช่นนั้น ภิกษุใดนอนด้วยตั้งใจเช่นนั้น ต้องอาบัติทุกกฏ.

 

โดย: จูปีเตอร์เทพแห่งดาวพฤหัส 21 มกราคม 2554 22:18:18 น.  

 

##################

(((...โอ้โห...เจอแล้ว !!! 55 อันนี้เลยครับ พออ่านแล้วจำได้เลยครับ ...แต่ที่ฟังรู้สึกจะมี ประโยคประมาณว่า [เพื่อหวังไห้ผู้อื่น ถวายลาภปัจจัย เพื่อประโยชน์แก่ตน ] แทรกอยู่ด้วยหรือเปล่าไม่รู้ หรือว่าคิดไปเอง จำไม่ค่อยได้ครับ แต่ไม่เป็นไร เพราะอันนี้ก็ถือว่า ส่วนไหญ่ตรงเหมือนกันแล้วครับ ขอบคุณคุณ พุทธโฆษนนท์ ที่หามา ไห้ดูนะครับ....)))

...แต่อ่านแล้ว ก็ งงนะครับ ที่พระพุทธองต์ทรงตรัสตอบว่า [ดูกรภิกษุ เธอไม่ต้องอาบัติปาราชิก]...แต่ถ้ามีความ ตั้งใจเช่นนั้น ต้องอาบัติทุกกฏ. แล้ว ทำไมถึงกล่าว (ปาราชิก) ขึ้นมาก่อน หรือว่า ภิกษุ ที่ไปถามอาจจะกลัวว่า ความผิดอาจจะหนักเทียบเท่า (ปาราชิก) อะไรประมาณนี้ หรือเปล่า และผมถึงได้ถาม ไงครับ เพราะผมก็สงสัยและรู้สึกว่า ถ้ามีเจตนาอย่างนั้นจริงๆ ถึงขนาด อยากไห้ผู้อื่นรู้ว่า นั่งเข้าฌาณที่ 4 อยู่ เพื่ออวด อะไรประมาณนี้ ก็น่าจะเป็นเจตนา คล้ายๆกัน แต่ก็ยังไม่เข้าข่าย (ปาราชิก) นั่นเอง....

##################

...คือผมคิดว่า คุณนนท์ ก็สามารถ เทศสอน ได้เหมือนพระอาจารร์ นั่นแหละ ใช่ไหมครับ (ถ้าจับหลักการและเชื่อมโยงธรรมะต่างๆได้แบบครอบคลุม) หมายความว่า เราอาจจะทำได้ง่ายๆ ซึ่งไม่จำเป็นต้อง จำพระสูตรได้ หลายๆพระสูตร ...ตามที่ผมเห็นพระอาจารณ์ จำได้ ก็รู้สึก ฟังแล้ว มหัสจรรย์ดีนะครับ ว่า จำได้ตั้งเยอะ และเป็นคำของพระพุทธเจ้า พอพูดออกมา ก็จะน่าเชื่อถือ เพราะเหมือนเป็น พระธรรมวินัย เคลื่อนที่ หรือเป็น พุทธโฆษ และ ธรรมโฆษ นั่นเอง ...แต่ผมคิดว่า เราอ่านเอาก็ได้ ไม่จำเป็นต้อง ท่องจำใว้ในใจ ใช่ไหมครับ ประเด็นคือ เราจำได้ แต่ไม่ต้อง ท่องบทพยัญชนะ ได้แบบ เป๊ะๆ เหมือนพระอาจารณ์หรอก เพราะมันยากและต้องใช้เวลานาน ที่จะทำไห้จำได้ หลายๆพระสูตร...

...คืออาจจะมีวิธีการ ที่เราหาพระสูตร จากสารบัญที่เรารวบรวม และ เรียบเรียงใว้ในแบบของเราเอง และพอต้องการหาเนื้อหาที่ จำเป็นต้องเอาพระสูตร บทนั้นบทนี้ ขึ้นมาอธิบาย เราก็เปิดหาจากสารบัญที่เราทำใว้ ได้อย่างรวดเร็ว หรือไห้เร็วมากขึ้น ก็ใช้คอมพิวเตอร์ เหมือนพระรูปที่อาจารณ์คึกฤทธิ์ เรียกว่า อาวุโสมาร์ก ที่ใส่แว่นตา นั่นใช่ไหมครับ ไม่แน่ใจ...ก็คือ กดคอม หาพระสูตร ที่ตรงกับประเด็นที่เราต้องการ มาได้ อย่างรวดเร็ว แต่ พระมาร์ก ก็ไม่ได้จำบทพยัญชนะ ได้ เป๊ะๆ และมากเท่า พระอาจารณ์ ใช่ไหมครับ คือผมกำลังสงสัยว่า เราเองอาจจะไม่จำเป็นต้องต้องจำไห้ได้เยอะๆ ก็อ่านเอาก็ได้...

...หรือว่า ถ้าเป็นแบบนั้น มันจะดู แปลกๆ 55 เช่นจะไปเทศก์ หรือบรรยาย ที่ไหน ก็เอาหนังสือ หรือคอมพิวเตอร์ไป ก็เปิดอ่านบรรยาย หรือตอบพระสูตรไห้ฟัง ก็จะเหมือนกับว่า มานั่งอ่าน พระไตรปิฏกไห้ฟัง ก็จะดูแปลกๆ ใช่ไหมครับ 555 นั่นคือเหตุผลที่ พระอาจารณ์ ต้องจำใว้ในใจ และมาเทศก์สอน แบบไม่อ่าน จะดูน่าเชื่อถือ ว่าจำธรรมะได้มาก และทำไห้ดูมีปฏิสัมพันธ์ กับผู้ฟังมากกว่า ไม่ใช่ก้มหน้าก้มตาอ่านอย่างเดียว ใช่ไหมครับ เลยต้องจำใว้ในใจ...

...อีกข้อนึงที่ผม งงมากครับ คุณนนท์รู้ไหม คือ ตอนที่เขาเอา เนื้อหาจาก พระไตรปิฏกสยามรัฐ มาลงในโปรแกรมคอมพิวเตอร์ E-Tipitaka เขาทำไมไม่เอาเนื้อหาเฉพาะ ที่เป็นพุทธวจณ มาลงล่ะครับ เอา อรรถกถา มาลงด้วยทำไม ในเมื่อต้องการเฉพาะ ที่เป็นคำของพระพุทธเจ้าเท่านั้น ก็ถ้างั้นเอามาลงใว้หมดทำไม หรือว่าคนทำตอนแรก ไม่รู้หรือครับเลยเอามาลงหมด มันก็เลยมีปัญหาที่ว่า เช่น พอต้องการค้นหาหนื้อหา หรือคำใดคำนึง ก็มานั่งแยกดูว่า คำไหน มีใน ฉบับภาษาไทย และแยกว่าเป็นอรรกถาหรือเปล่า หรือมีในบาลีหรือเปล่า อะไรประมาณนี้ แล้วจะมานั่งแยกทำไม ก็ ตอนแรกทำไมไม่เอาเฉพาะ ที่เป็น พุทธวจณมาลงในโปรแกรม ก็หมดเรื่อง ใช่ไหมครับ 555 งงติ๊บ...ในฐานะที่ คุณ นนท์ เป็นแฟนพันธุ์แท้ พระอาจารณ์คึกฤทธิ์ โสตถิผโล รู้ไหมครับ บอกหน่อย 55555....0_o....???

##################

...มีข้อข้องใจ ข้อนึง อยากถามว่า ที่กล่าวว่า ผลของ วิบากกรรม คือ ให้ผล(ในปัจจุบัน และในเวลาถัดมา และในเวลาถัดมาอีก) ...และที่ผมเคยศึกษามาคือ (วิบากกรรม) คือ กรรมที่ให้ผล ในขณะที่ ( ตาเห็นรูป หูฟังเสียง จมุกได้กลิ่น ลิ้นลิ้มรส กายกระทบสำผัส ) เช่น เห็นสิ่งที่ไม่ดี ก็เป็นผลของ (อกุศลวิบากกรรม) ที่เคยทำมาในอดีต เห็นสิ่งที่ดี ก็เป็นผลของ (กุศลวิบากกรรม) ที่เคยทำมาในอดีต ได้กลิ่นที่ดี ก็เป็นผลของ (กุศลวิบากกรรม) ได้กลิ่นที่ไม่ดี ก็เป็นผลของ (อกุศลวิบากกรรม) ที่เคยทำมาในอดีต และ จมูก ลิ้น กาย...ก็เช่นเดียวกัน คือลักษณะแบบนี้ ก็คือ อยู่ภายใต้ ระบบของการที่ วิบากกรรมให้ผล (ในปัจจุบัน และในเวลาถัดมา และในเวลาถัดมาอีก) อีกทีนึง ถูกต้องตาม พุทธวจณ ใช่ไหมครับ..??

...และผมอยากรู้ว่า วิบากกรรม นั้น มันคือกรรมที่ไห้ผล เฉพาะ ร่างกาย แต่ไม่เกี่ยวกับ จิต ใช่ไหมครับ เช่น ตาเห็นสิ่งที่ดีหรือไม่ดี หรือ กายกระทบสำผัสที่สบาย หรือ เจ็บปวด ก็เป็นผลของ วิบาก ถ้างั้น เราก็สามารถ เลื่อน การไห้ผลของกรรมได้ในระดับนึง สิครับ...

...เช่น (ตากระทบรูป)(หูกระทบเสียง)(จมูกกระทบกลิ่น)(ลิ้นกระทบรส)(กายกระทบสำผัส) ...นี่คือผลของวิบากกรรม...แต่เราเลื่อนการไห้ผลของวิบากกรรมคือ เอาจิตไปรู้ลมหรืออุเบกขา เป็นอารมณ์เดียว ก็ไม่ต้องรับวิบากกรรม โดยการ ที่ ตากระทบรูป หูกระทบเสียง...ฯลฯ เหมือน พระอรหันต์ ถูกลูกษรแทงแค่ดอกเดียว น่ะครับ คือแบบนี้ ถือเป็นการ ที่วิบากกรรมให้ผลไปแล้วแต่เรา ไม่ไปรับรู้ เช่น วิบากกรรมส่งผลให้เราต้องเห็นสิ่งที่น่ารังเกียจ แต่เราหลับตา ก็ถือว่าไม่ต้องรับวิบากกรรมไหมครับ หรือวิบากกรรมส่งผลให้เราต้องได้ยินเสียงด่า แต่เราอุดหู หรือ เอาหูฟังครอบหู และเปิดเพลงฟังดังๆ ก็ไม่ได้ยินเสียง แบบที่อธิบายมานี้ จะถือว่า เป็นการ ที่ไม่ต้องรับ วิบากกรรมไหมครับ เพราะ วิบากกรรมส่งผล แต่เรา เอาจิตไปรู้อย่างอื่นแทน วิบากกรรมนั้นจะถือว่า ไห้ผลไปแล้ว แต่เราไม่ต้องเสวยผล หรือถ้าไม่เสวยผล วิบากกรรมจะยังคง เลื่อนออกไปหรือว่ายังไงครับ...??

(((...ผมว่าคุณนนท์ อาจจะบอกว่า พระพุทธองค์ ไม่ไห้ไปสนใจ เกี่ยวกับรายละเอียด ของกรรม และวิบาก ตรงนี้ มากเกินไปใช่ไหมครับ แต่ผมว่าตรงนี้ไม่น่าเกี่ยวนะครับ มันน่าจะอธิบายได้อย่างละเอียด เพราะ พระอภิธรรม ก็อธิบายละเอียดน่ะครับ แต่ผมไม่แน่ใจว่า เป็น พุทธวจณ หรือเปล่า และยังเข้าใจไม่แจ่มแจ้งด้วย จึงถามน่ะครับ...)))

 

โดย: อะไรกัน@งง??? IP: 192.168.1.57, 110.77.226.121 24 มกราคม 2554 15:46:35 น.  

 



ลุงนนท์
พูเอาดอกมณฑาทิพย์
ที่มีคนเล่าว่า เป็นดอกไม้จากสวรรค์
ไม่รู้จริงป่าวนะคะ พูว่าคงเพราะกลิ่นที่หอมมั้ง
เลยทำให้คนคิดว่า มาจากสวรรค์ เน๊าะ






 

โดย: พธู 24 มกราคม 2554 16:17:28 น.  

 

นตฺถิ สนฺติ ปรํ สุขํ
สุขอื่นยิ่งกว่าความสงบ ไม่มี

มีความสุขกับความสงบที่มีในใจตน ตลอดไป..นะคะ


 

โดย: พรหมญาณี 24 มกราคม 2554 18:34:18 น.  

 

สวัสดีครับ น้องพู ดอกมณฑาทิพย์ สวยมากเลยครับ ขอบคุณนะครับ สำหรับดอกไม้สวยๆ

สวัสดี ครับ ปอป้า ขอบคุณนะครับ ที่แวะมาเยี่ยมเยือนกันบ่อยๆ

ทีนี้ ก็ ถึงคิว คุณ อะไรกัน แล้วครับ ต้องไว้สุดท้าย เพราะต้องตอบยาว อิอิ

ตอบ คุณอะไรกัน

สำหรับพระสูตร ที่นั่งสมาธิ และ เดินจงกลม เพื่อที่จะให้คนยกย่อง พระองค์ทรงไม่ปรับ อาบัติ ปาราชิก เพราะ ไม่ได้อวดคุณวิเศษที่ไม่มีในตน จึงปรับ แค่ อาบัติทุกกฏ ถ้าเจตนา เพื่อให้คนยกย่อง แต่ถ้า ไม่ได้มีเจตนาเช่นนั้น ก็ ไม่ถือเป็นอาบัติ ครับ ดูที่เจตนา

สำหรับ เรื่องทรงจำ พระสูตร ถือเป็นความ มหัศจรรย์ มากเช่นกัน ที่พระอาจารย์ทรงจำได้ มาก แล้วนำมาถ่ายทอดอย่างคล่องปากขึ้นใจ ถ้าทำได้ เราจะถ่ายทอดเชื่อมโยงธรรมะ เชื่อมโยงพระสูตร ได้ แล้ว จะทำให้คนฟังเกิดศรัทธา ในคำพระพุทธเจ้า ว่าพระพุทธเจ้าสอนอย่างนี้ ตรัสตรงกันหลายพระสูตร ไม่ใช่สิ่งที่สาวกคิดขึ้นเอง แล้วก็ ไม่ตรงกับพระพุทธเจ้า หรือ เป้นสิ่งที่พระพุทธเจ้าไม่ได้สอนเลย

ส่วนเรื่อง โปรแกรม กำลังจะทำครับ แต่ต้องรอ ต้นฉบับ ที่เป็น พุทธวจน ล้วนๆ ออกมาก่อน ซึ่งมี 33 เล่ม คือ นำพระไตรปิฏกฉบับ บาลีสยามรัฐ มาเขี่ยเอา อรรถกถา ออก เอาแต่พุทธวจนล้วนๆ พอได้พุทธวจน ล้วนๆแล้ว ก็จะทำเป็นโปรแกรม ออกมา ที่ผ่านมา ยังไม่มี พุทธวจน ล้วนๆ จะมีแต่ 5 เล่ม ที่ท่านพุทธทาส แปล และ รวบรวมไว้เท่านั้น

พระอาจารย์ คึกฤทธิ์ จึงสานต่อ งานของท่านพุทธทาส โดย ทำทั้งพระไตรปิฏกเลย ต่อไปนี้ ก็ จะมีแต่ พุทธวจน ล้วนๆ 33 เล่ม มี ภาษาไทย และ บาลี อยู่ ในนั้น หน้าต่อหน้า ไว้สำหรับเทียบเคียงด้วย เผื่อมีการแปลที่คลาดเคลื่อนเราจะได้รู้ว่า นี่แปลผิด

พอข้อมูล 33 เล่ม ออกมาแล้ว ทีนี้ เราก็ จะมี โปรแกรม ตรวจเช็ค ที่เป็น พุทธวจนล้วนๆ กันแล้วทีนี้ การแสกนก็จะไวขึ้น แล้วก็จะ มีแต่พุทธวจนเท่านั้น สุดยอดเลย ทีมงานกำลัง เร่งทำอย่างเร่งด่วนอยู่ ครับ อด ใจรอสักนิด

ถ้า 33 เล่ม ออกมา พุทธวจน จะ แพร่กระจาย ไป อย่างรวดเร็วอย่างแน่นอน และ ยังมี โปรเจ็ค ที่จะทำเป็น พุทธวจนสมาคม มีโปรเจ็ค พุทธวจนสถาบัน ซึ่งได้ ทำไปแล้ว มีโปรเจ็ค จะ ถ่ายทอด ออกทีวีช่องดาวเทียม ซึ่งกำลังทำอยู่ โปรเจ็ค ถ่ายทอดสด ออก อินเตอร์เน็ต ถ่ายทอดไปทั่วโลก ก็ ทำแล้ว เช่นกันครับ

ระบบ ของ วิบาก กรรม คือ ให้ ผลใน ปัจจุบัน ในเวลาถัดมา และ ในเวลาถัดมาอีก เป็น พุทธวจน อยู่ครับ พระพุทธองค์ ตรัสว่า กรรม เกิดจากผัสสะ ถ้า เราดับผัสสะ เสีย ก็เท่ากับ เราดับกรรม ในปัจจุบัน ส่วน กรรม ในเวลาถัดมา ถ้า เราดับ ผัสสะ ต่อ มันก้ดับ กรรม ไปเรื่อย ถ้า เราดับ ผัสสะ ได้ตลอด เป็น ออโต้ กรรมก็หมด เราก็ไม่ต้องรับกรรมอีกต่อไป เพราะ ไม่มีใคร ที่เป็นตัวเราให้ไปรับกรรมอีก

ฉะนั้น ถ้าจะทำอย่างที่คุณอะไรกันว่า คือ ดับผัสสะ ก็ ถือ เป็นการกรรมนิโรธคามินีปฏิปทา คือ ปฏิปทา ให้ถึงความสิ้นกรรม สามารถ ทำได้ครับ ส่วน จะว่า กรรม มันเลื่อนไปรึเปล่าหรือ กรรมนั้นมันหมดไป อันนี้ คิดว่าคงไม่หมดไปหรอกครับ เพราะ เราเกิดมา ไม่รู้กี่ อสงไขย กี่ แสนกี่ล้านชาติ กรรม มันมีมาอยู่เรื่อยๆแน่นอน แต่เราก็ดับกรรมที่เกิดในปัจจุบันได้ โดยการดับผัสสะ เพราะผัสสะ เป็นเหตุให้เกิดกรรม ครับ

ส่วนที่อภิธรรม อะธิบายละเอียด เพราะอภิธรรมเขาคิดเอง พระพุทธเจ้า ตรัสไว้ กรรมวิบาก เป็นเรื่อง อจินไตยคนแต่ง อภิธรรม ก็คงจะเก่งกว่าพระพุทธเจ้ากระมังครับ อิอิ ใครจะเชื่อ อภิธรรม ก็ เชื่อไป แต่ผมเชื่อ พระพุทธเจ้าเท่านั้น ครับ




 

โดย: จูปีเตอร์เทพแห่งดาวพฤหัส 25 มกราคม 2554 12:25:15 น.  

 

(((...อ๋อ แสดงว่า เรื่อง กรรม ที่ผมอธิบาย นั้น ยังไม่ตรงทั้งหมด เพราะ พระอภิธรรม แต่มเติมไปเยอะ พะรุงพะรังหรือครับ อ๋อเข้าใจแล้วครับ...)))

...แต่...เหลือเชื่อเลยครับ คุณ นนท์ ...ผมกำลังสงสัยว่า กลุ่มของ พระอาจารณ์ คึกฤทธิ์ จะเป็นคณะสงฆ์ ชุดแรก ในประเทศไทยหรือในโลก เลยหรือเปล่า ที่ มาริเริ่มทำแบบนี้ คือ เน้นคัดกรองเอาเฉพาะ พุทธวจณ และ สอนเฉพาะ ที่เป็นคำของพระพุทธเจ้าแบบล้วนๆ เลย หรือว่า มีมาก่อนแล้ว เช่น ท่าน พุทธทาส แล้วมีคนอื่นอีกไหมครับ ที่เคย สอนแบบ เน้นเฉพาะ พุทธจณ ล้วนๆ แบบไม่ไห้ไปสนใจคำของสาวกเลย...แต่ที่ผมเห็นก็มีนะครับ แต่ไม่รุ้เยอะหรือเปล่า แต่ ที่จะทำ พระไตรปิฏก 33 เล่ม ลักษณะ ที่เป็น พุทธวจณล้วนๆ และบาลี หน้าต่อหน้า แบบนี้..น่าจะเป้นที่แรก นะครับ....

...แต่ผมพิจรณาดูแล้ว ก็จริงนะครับ เพราะว่า ส่วนไหญ่ ทั้ง พระ และ ฆารวาส ที่สอนธรรมะ หรือแม้แต่พระในสายพระวัดป่า ดังๆ เอง หลายๆรูป ก็ไม่ได้สอนแบบ พุทธวจณ ล้วนๆอยู่ดี ก็ยังได้ยิน คำว่า ขณิกสมาธิ อะไรประมาณนี้ รวมอยู่อีก...และผมกลับไป คิดดู โอ้โห จริงเลยครับ เพราะว่า ที่ผมเคยศึกษามา จาก หลายอาจารณ์ เช่น อาจารณ์ สันชัย ปริพาชก อุ๊ย พิมพ์ผิดครับ ไม่ไช่ 555 ...สันชัย พรหมฤษี ครับ เมื่อเปรียบเทียบกับ อาจารณ์ สุจินต์ ซึ่งเป็นอาจารณ์ที่ สอนพระอภิธรรมเหมือนกัน แต่ดัน มีรายละเอียดที่ไม่ตรงกัน...

...และ ผมมีความรู้สึกว่า มันยากอยู่นะครับในการที่ จะไปแนะนำไห้คนเปิดอ่าน พระไตรปิฏก ที่มีเนื้อหากระจายกันอยู่ คือ เช่นคนไปเปิดอ่าน และแนะนำว่า อ่านเฉพาะ ที่เป็น คำของพระพุทธเจ้านะ ก็อาจจะไม่รู้ว่าจะเริ่มตรงไหนก่อน เพราะ เนื้อหามันกระจายอยู่ ไม่เหมือนกับ หลักสูตร ที่ เขากำหนดใว้อย่างเป็นระเบียบเรียบร้อย และเรียงลำดับง่ายไปหายาก และเป็นหลักสูตร ของ นักธรรม ตรี โท เอก เปรียญ ...อะไรประมาณนี้ ก็ จะ ง่ายและสะดวก เป็นระบบระเบียบดี...

...และผมเดาเอาว่า นี่คือเหตุผลที่ คณะสงฆ์ วัดนาป่าพง จึง จะเอาเฉพาะ พุทธวจณ มาทำไห้เป้นระบบ แบบนี้ ใช่ไหมครับ เช่นจะตั้งเป็น พุทธวจนสมาคม และ พุทธวจนสถาบัน อะไรประมาณนี้...ก็เหมิอนกับว่า จะเอาเนื้อหา ที่เป็นเฉพาะ พุทธวจณ มาจัดไห้ศึกษา และอธิบาย อย่างเป็นระบบระเบียบ เหมือนกับ ที่เขาจัดใว้เป็น ระดับ นักธรรม ตรี โท เอก อะไรประมาณนี้ แต่ ไม่เอา อรรถกถา มารวมด้วย นั่นเอง...แต่จะไห้ คัดเฉพาะ ที่เป็น พุทธวจณ และ อธิบายหลักการ ที่อยู่ภายใต้ พุทธวจณ เท่านั้น...ก็เลย สงสัย ว่า จะเป็นมิติไหม่ ในโลกเลยหรือเปล่าที่ยังไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน ก็ไม่รู้นะครับ...เพราะที่มีมาส่วนไหญ่ ก็คือ ก็ยังคงเอา อรรถกถา มาสอนควบคู่กัยพุทธวจณ ไปด้วยกัน ไม่มากก็น้อย นั่นเอง...

...แต่ก็น่าประหลาดใจนะครับ เพราะ อาจารณ์ ที่สอนอภิธรรม ต่างๆ ทั้ง พระ และ ฆารวาส หลายๆท่าน ก็บอกอยู่ตลอด และ เน้นตลอดเวลาว่า ก็เป็นคำสอนของพระพุทธเจ้านั่นแหละ ให้ยึดคำสอนของพระพุทธเจ้า อย่ามายึดว่าผมเป็นอาจารณ์ แต่ไห้ยึดพระพุทธเจ้าใว้ ให้เอาพระพุทธเจ้าเป็นอาจารณ์ แต่ขณะเดียวกัน ก็เอาอรรถกถา มาสอนด้วยควบคู่กันไป ผมก็เลยงง ตรงนี้นะครับ ว่า เอ๊ !!! ยังไง หรืออาจจะเป็นไปได้ว่า อาจารณ์สอนธรรมะหลายๆท่าน ยังไม่เคย อ่านเจอพระสูตรที่ว่า [สุตตันะเหล่าใดที่นักกวีแต่งขึ้นไหม่ ไม่ควรศึกษา] และบทอื่นๆ ...อะไรประมาณนี้ ...หรืออาจจะเพิ่งเจอ แต่คิดว่า เลยตามเลย เพราะถ้าหันหัวกลับ เปลื่ยนทิศทางการสอนไหม่ อาจจะ แปลกๆยังไงอยู่ 555 เพราะสอนแบบนี้มานาน...อะไรประมาณนี้น่ะครับ...กลัวเสียฟอร์ม หรืออาจจะคิดว่า ก็ไม่เป็นไร เพราะบรรลุนิพพานได้เหมือนกัน ใช่ไหมครับ...แหะ ๆ ๆ ......0_o...

...แต่ดูแล้ว น่าอนุโมทนาจริงๆเลยนะครับ ที่ ทาง วัดนาป่าพง มีผู้สนับสนุนมาก มีทุนมากใช่ไหมครับ เพราะ แน่นอน ไม่ได้ยึดว่าเป็นคำสอนของตัวเอง แต่ เน้นว่า ไห้ ยึด พระพุทธเจ้าเป็น อาจารณ์ของเราเลย และก็ทำจริงๆ แบบที่ ไม่สนใจ อรรถกถา เลย จึงมีผู้ศัทธา สนับสนุน มากขึ้นๆ แต่คงยังไม่มีทุนมากเท่า วัดธรรมกาย กระมังครับ มามะ สร้างจานบินขนาดยัก ไป ดุสิตบุรีด้วยกัน นะจ๊ะ !!! ฮี่ฮี่ฮี่ 5555555......เฮ้อออออออ...

...แต่ผมคิดว่า ต่อไป วัดธรรมกาย สู้ วัดนาป่าพง ไม่ได้หรอกครับ 555 เพราะว่า สิ่งที่จะดึง ศัทธาของมนุษย์ได้อย่างแท้จริง และ มั่นคง ยืนยาว นั่นต้องเป็น สิ่งที่เขานำไปปฏิบัติ และ เบื่อหน่ายคลายความกำหนัดได้อย่างแท้จริง จึงเกิดศัทธา ถวายเงินสนับสนุน ที่ไม่ใช่เป็นการลงทุน เพื่อไห้ได้อะไรสักอย่าง เช่น อยากได้บุญ มากๆ อยากได้สวรรค์ อะไรประมาณนี้ ก็คือเอาเงินไปซื้อจองที่นั่งในสวรรค์ และหลุดจากสวรรค์ เขาก็ไม่รู้ว่า อาจจะต้องไปเกิด ในทุกคติภูมิได้อีก นั่นเอง...แต่ก้ไม่แน่ เพราะ (ปุถุชนผู้มิได้สดับ) นั้นมีมาก (ผู้มีธุลีในดวงดตน้อย)...นั้นมีน้อยกว่า ฉะนั้น ทางด้านเงินทุน จึงอาจจะ สู้วัดธรรมกาย ไม่ได้ เพราะทุกสิ่งเป็นไปตามเหตุปัจจัย นั่นเอง ใช่ไหมครับ...แต่เนื้อหาสาระต้องดูที่ ใครสามารถ รื้อขนสัตว์ ออกจากวัฏสงสาร ได้มากกว่ากัน นั่นเอง ใช่ไหมครับ นั่นคือ เนื้อหาสาระ ที่วิเศษสุด !!!....

...และส่วนนึงผมคิดว่า อาจจะเป็นผลของ คณะสงฆ์ ที่วัดนาป่าพง นั้น เป้นผู้ที่ มั่นคงในศีล ไม่เหินห่างจากฌาณ ปฏิบัติอยู่ในศีล สมาธิปัญญา เป็นอย่างดี จึงทำไห้ มีแต่ดีขึ้นในทางดีเท่านั้น ไม่มีตกต่ำ อฐิฐาณหวังอะไร ก็เป็นผลดี จึงมีผู้มาสนับสนุนทางด้านการเผยแพร่ธรรมะ อะไรประมาณนี้ ผมว่าก็มีผลส่วนนึงมาจากส่วนนี้นะครับ...

...สรุป ก็คือ ที่ผมอาจะพูด กระทบกับผู้อื่น หรือวัดอื่น หรือ ก็ไม่ได้เป้นไปเพื่อ กระทบกระเทียบ โดยที่ไม่มีจุดมุ่งหมาย นะครับแต่เป้นการ (ติเพื่อก่อ) ใช่ไหมครับ คือ อย่างน้อย คนมาอ่านก็ไห้รู้ว่อาจจะตาสว่างขึ้นมาอีกนิดนึง และรู้ว่า ที่ถูกควรเป็นยังไง ใช่ไหมครับ ไม่ได้มีเจตนาในการ พูดส่อเสียด แต่อย่างใด...ครับ.........ขออนุโมทนา.......0_o...

 

โดย: อไรกัน@หายงง IP: 118.174.190.143 25 มกราคม 2554 17:34:12 น.  

 

อนุโมทนาสาธุครับ

 

โดย: shadee829 26 มกราคม 2554 0:59:32 น.  

 

ยาทิสํ วปเต พีชํ ตาทิสํ ลภเต ผลํ
บุคคลหว่านพืชเช่นใด ย่อมได้ผลเช่นนั้น

มีความสุขกับการหว่านคุณงามความดี ตลอดไป..นะคะ


 

โดย: พรหมญาณี 26 มกราคม 2554 10:53:33 น.  

 



พยายามอ่าน พยายามทำความเข้าใจอ่ะลุง






 

โดย: พธู 27 มกราคม 2554 14:03:24 น.  

 

หนังสือ พุทธวจน ปฐมธรรม ดาวน์โหลดไม่ได้ครับ คุณ นนท์ ไม่รู้ทำไง มันเป็นไฟล์ pdf ยังไงก็ไม่รู้ ก๊อปเก็บใว้ในเครื่องก็ไม่ได้ ต้อง ต่อเนตเปิดอ่านทางคอมได้อย่างเดียว

 

โดย: อะไรกัน IP: 192.168.1.58, 110.77.226.198 27 มกราคม 2554 18:40:34 น.  

 

เดี๋ยว ผม ส่งทางไปรษณีย์ไปให้ ก็ได้ ครับ

 

โดย: จูปีเตอร์เทพแห่งดาวพฤหัส 28 มกราคม 2554 12:21:33 น.  

 

...อ๋อหรือครับ งั้น เอา 5 เล่มนี้นะครับ...

พุทธวจน ๑ ตามรอยธรรม
พุทธวจน ๓ ก้าวย่าง อย่างพุทธะ
พุทธวจน ๕ แก้กรรม โดยตถาคต
พุทธวจน ๙ ปฐมธรรม
พุทธวจน ๑๐ สาธยายธรรม

...ถ้าได้ไม่ครบก็เอาเท่าที่มีนะครับ......

 

โดย: อะไรกัน IP: 192.168.1.57, 110.77.226.210 28 มกราคม 2554 12:55:56 น.  

 

วิริเยน ทุกฺขม จฺเจติ
คนพ้นจากความทุกข์ได้เพราะความเพียร

ขอให้คงความเพียรไว้ได้ตลอดเวลา และตลอดไป..นะคะ



ฝันดี ราตรีสวัสดิ์...ค่ะ

 

โดย: พรหมญาณี 29 มกราคม 2554 23:40:55 น.  

 

สวัสดีค่ะพี่นนท์ ตามมาอ่านปฏิจจสมุปบาท แล้วต้องค้นซีดี มานั่งฟังต่อ ด้วยความขยันอ่านที่มากล้น
พี่นนท์สบายดีนะคะ

 

โดย: ม่านแพร IP: 223.205.39.245 31 มกราคม 2554 12:45:28 น.  

 

สิตมโต สเว เสยโย
คนมีสติ เป็นผู้ประเสริฐทุกวัน

มีความสุขกับการเป็นผู้ประเสริฐ ตลอดไป..นะคะ


 

โดย: พรหมญาณี 31 มกราคม 2554 13:32:33 น.  

 

โอ้วว ลมอะไร พัด น้องม่าน มาถึงนี่ ครับ อิอิ

พี่สบายดี ครับ ดีใจจัง ที่น้องม่านก็ สนใจธรรมะ

สวัสดี ครับ ปอป้า สบายดีนะครับ

 

โดย: จูปีเตอร์เทพแห่งดาวพฤหัส 31 มกราคม 2554 16:41:07 น.  

 

พี่ครับผมได้ฟังธรรม จากยูทูป ของท่านพระอาจารย์คึกฤทธิ์ เกี่ยวกับเรื่องพุทธวจนะ ผมตื่นเต้นและสนใจมาก ตอนนี้ต้องฟังทุกวัน แต่อยากรบกวนถามเรื่องหนังสือที่ว่า มี เล่มเล็กเล็ก 10 เล่ม ถ้าสนใจอยากได้ แต่อยู่ฟิลิปปินส์ จะจัดส่งให้ได้หรือเปล่าครับ แล้วจะโอนเงินไปที่ไหนได้ ครับ มีเพื่อนที่ออฟฟิตหลายคนสนใจครับ

 

โดย: คนไทยในฟิลิปปินส์ IP: 121.127.8.50 30 ตุลาคม 2554 23:42:21 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 


จูปีเตอร์เทพแห่งดาวพฤหัส
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 5 คน [?]




ดูกรภิกษุทั้งหลาย : บัดนี้ เราขอเตือนพวกเธอว่า สังขารทั้งหลายมีความเสื่อมไปเป็นธรรมดา พวกเธอจงยังความไม่ประมาทให้ถึงพร้อมเถิด ฯ
Friends' blogs
[Add จูปีเตอร์เทพแห่งดาวพฤหัส's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.