ความดับลงแห่งกองทุกข์ มีได้เพราะการดับไปแห่งความเพลิน
Group Blog
 
<<
ธันวาคม 2553
 
 1234
567891011
12131415161718
19202122232425
262728293031 
 
14 ธันวาคม 2553
 
All Blogs
 

สัญญาหก




สัญญาหก


..........ภิกษุ ท.! สัญญา เป็นอย่างไรเล่า ? หมู่แห่งสัญญาหกเหล่านี้คือ สัญญาในรูป, สัญญาในเสียง, สัญญาในกลิ่น, สัญญาในรส, สัญญาในโผฏฐัพพะ, และสัญญาในธรรมารมณ์.

..........ภิกษุ ท.! นี้ เรียกว่า สัญญา.

ความหมายของคำว่า "สัญญา"


..........ภิกษุ ท.! คนทั่วไปกล่าวกันว่า "สัญญา" เพราะอาศัยความหมายอะไรเล่า?

..........ภิกษุ ท.! เพราะกิริยาที่หมายรู้ได้พร้อมมีอยู่ในสิ่งนั้น(เช่นนี้แล ) ดังนั้น สิ่งนั้นจึงถูก เรียกว่า สัญญา . สิ่งนั้น ย่อมหมายรู้ได้พร้อมซึ่งอะไร ? สิ่งนั้น ย่อมหมายรู้ได้พร้อม ซึ่งสีเขียวบ้าง, ย่อมหมายรู้ได้พร้อม ซึ่งสีเหลืองบ้าง, ย่อมหมายรู้ได้พร้อมซึ่งสีแดงบ้าง, และย่อมหมายได้พร้อมซึ่งสีขาวบ้าง (ดังนี้เป็นต้น ).

.......... ภิกษุ ท .! เพราะ กิริยาที่หมาย รู้ได้พร้อมมีอยู่ใน สิ่งนั้น (เช่นนี้แล ) ดังนั้น สิ่งนั้น จึงถูกเรียกว่า สัญญา.อุปมาแห่งสัญญา

..........ภิกษุ ท .! เมื่อเดือนท้าย แห่งฤดูร้อน ยังเหลืออยู่, ในเวลาเที่ยงวันพยับแดด ย่อมไหวยิบยับ . บุรุษผู้มีจักษุ (ตามปกติ) เห็นพยับแดดนั้นก็เพ่งพินิจพิจารณาโดยแยบคาย. เมื่อบุคคลนั้นเห็นอยู่ เพ่งพินิจพิจารณาโดยแยบคายอยู่, พยับแดดนั้น ย่อมปรากฏเป็นของว่างของเปล่า และปรากฏเป็นของหาแก่นสารมิได้ไป. ภิกษุ ท.! ก็แก่นสารในพยับแดดนั้นจะพึงมีได้อย่างไร, อุปมานี้ฉันใด;

..........ภิกษุ ท .! อุปไมย ก็ฉันนั้นคือ สัญญา ชนิด ใดชนิดหนึ่ง มีอยู่จะเป็นอดีตอนาคตหรือปัจจุบันก็ตาม เป็นภายในหรือภายนอกก็ตาม หยาบหรือละเอียดก็ตามเลวหรือประณีตก็ตามมีในที่ไกลหรือที่ใกล้ก็ตาม; ภิกษุสังเกตเห็น (การบังเกิดขึ้นแห่ง) สัญญานั้น ย่อมเพ่งพินิจพิจารณาโดยแยบคายเมื่อภิกษุนั้นสังเกตเห็นอยู่ เพ่งพินิจพิจารณาโดยแยบคายอยู่, สัญญานั้นย่อมปรากฏเป็นของว่างของเปล่า และปรากฏเป็นของหาแก่นสารมิได้ไป.

..........ภิกษุ ท.!ก็แก่นสารในสัญญานั้น จะพึงมีได้อย่างไร.หลักที่ควรรู้เกี่ยวกับ สัญญา

..........ภิกษุ ท.! ข้อที่เรากล่าวว่า "พึงรู้จักสัญญา, พึงรู้จักเหตุเป็นแดนเกิดของสัญญา, ถึงรู้จักความเป็นต่างกันของสัญญา, พึงรู้จักผลของสัญญา,พึงรู้จักความดับไม่เหลือของสัญญา, และพึงรู้จักทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือของสัญญา" ดังนี้นั้น, เรากล่าวหมายถึงอะไรเล่า ?

..........ภิกษุ ท.! ข้อนั้น เรากล่าวหมายถึง สัญญาหกเหล่านี้ คือ สัญญาในรูป สัญญาในเสียง สัญญาในกลิ่น สัญญาในรส สัญญาในโผฏฐัพพะ และสัญญาในธรรมารมณ์.

..........ภิกษุ ท.! เหตุเป็นแดนเกิดของสัญญา เป็นอย่างไรเล่า?

..........ภิกษุท! ผัสสะ (การประจวบกันแห่งอายตนะภายใน และภายนอก และวิญญาณ ) เป็นเหตุเป็นแดนเกิดของสัญญา.

..........ภิกษุ ท.! ความเป็นต่างกันของสัญญา เป็นอย่างไรเล่า?

..........ภิกษุท.! สัญญาในรูปก็เป็นอย่างหนึ่ง, สัญญาในเสียงก็เป็นอย่างหนึ่ง, สัญญาในกลิ่นก็เป็นอย่างหนึ่ง, สัญญาในรสก็เป็นอย่างหนึ่ง, สัญญาในโผฏฐัพพะก็เป็นอย่างหนึ่ง, และสัญญาในธรรมารมณ์ก็เป็นอย่างหนึ่ง,

..........ภิกษุ ท .!นี้ เรียกว่า ความเป็นต่างกันของสัญญา.

..........ภิกษุ ท .! ผลของสัญญา เป็น อย่างไรเล่า?

..........ภิกษุ ท .! เรากล่าวสัญญา ว่า มีถ้อยคำที่พูดออกมานั้นแหละ เป็นผล, เพราะบุคคลย่อมพูดไปตามสัญญา โดยรู้สึกว่า "เราได้มีสัญญาอย่างนี้ ๆ" ดังนี้.

..........ภิกษุ ท.!นี้ เรียกว่า ผลของสัญญา.

..........ภิกษุ ท.! ความดับไม่เหลือของสัญญา เป็นอย่างไรเล่า ?

..........ภิกษุท.! ความดับไม่เหลือของสัญญา มีได้ เพราะความดับไม่เหลือของผัสสะ.

..........ภิกษุ ท.! อริยมรรคมีองค์ ๘ นี้นั่นเอง เป็นทางดำ เนินให้ถึงความดับไม่เหลือของสัญญา, ได้แก่ ความเห็นชอบ ความดำริชอบ; การพูดจาชอบ การทำการงานชอบ การเลี้ยงชีวิตชอบ; ความพากเพียรชอบ ความระลึกชอบ ความตั้งใจมั่นชอบ. ....

..........ภิกษุ ท .! คำใด ที่เรากล่าวว่า "พึงรู้จัก สัญญา, พึงรู้จักเหตุเป็นแดนเกิดของสัญญา, พึงรู้จักความเป็นต่างกันของสัญญา, พึงรู้จักผลของสัญญา, พึงรู้จักความดับไม่เหลือของสัญญา, และพึงรู้จักทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือของสัญญา" ดังนี้นั้น, เรากล่าวหมายถึงความข้อนี้แล.

สัญญามีธรรมดาแปรปรวน


..........ภิกษุ ท.! สัญญาในรูปเป็นของไม่เที่ยง มีความแปรปรวน มีความเป็นโดยอย่างอื่นได้;ภิกษุ ท.! สัญญาในเสียง เป็นของไม่เที่ยง มีความแปรปรวน มีความเป็นโดยอย่างอื่นได้;

..........ภิกษุ ท.! สัญญาในกลิ่น เป็นของไม่เที่ยง มีความแปรปรวน มีความเป็นโดยอย่างอื่นได้;

..........ภิกษุ ท.! สัญญาในรส เป็นของไม่เที่ยง มีความแปรปรวน มีความเป็นโดยอย่างอื่นได้;

..........ภิกษุ ท.! สัญญาในโผฎฐัพพะ เป็นของไม่เที่ยง มีความแปรปรวนมีความเป็นโดยอย่างอื่นได้;

..........ภิกษุ ท.! สัญญาในธรรมารมณ์ เป็นของไม่เที่ยง มีความแปรปรวนมีความเป็นโดยอย่างอื่นได้ แล.

การเกิดของสัญญาเท่ากับการเกิดของทุกข์


..........ภิกษุ ท.! การเกิดขึ้น การตั้งอยู่ การเกิดโดยยิ่ง และความปรากฏของสัญญาในรูป สัญญาในเสียง สัญญาในกลิ่น สัญญาในรส สัญญาในโผฏฐัพพะ และสัญญาในธรรมารมณ์ ใด ๆ นั่นเท่ากับ เป็นการเกิดขึ้นของทุกข์, เป็นการตั้งอยู่ของสิ่งซึ่งมีปรกติเสียดแทงทั้งหลาย, และเป็นความปรากฏของชราและมรณะ แล.

ข้อควรกำหนดเกี่ยวกับ สัญญา


..........ภิกษุ ท.! สุข โสมนัส ใดๆ ที่อาศัย สัญญา แล้วเกิดขึ้น, สุขโสมนัส นี้แล เป็นรสอร่อย (อัสสาทะ) ของสัญญา; สัญญาไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ด้วยอาการใด ๆ, อาการนี้แล เป็นโทษ(อาทีนพ) ของสัญญา; การนำออกเสียได้ ซึ่งความกำหนัดด้วยอำนาจความพอใจ ในสัญญา การละเสียได้ ซึ่งความกำหนัดด้วยอำนาจความพอใจ ในสัญญา ด้วยอุบายใด ๆ, อุบายนี้แล เป็น เครื่องออกพ้นไปได้ (นิสสรณะ)จากสัญญา.สัญญาขันธ์โดยนัยแห่งอริยสัจสี่

..........ภิกษุ ท .! สัญญา เป็นอย่างไรเล่า ?

..........ภิกษุ ท .! หมู่แห่งสัญญาหกเหล่านี้ คือ สัญญาในรูป, สัญญาในเสียง, สัญญาในกลิ่น,สัญญาในรส, สัญญาในโผฏฐัพพะ, และสัญญาในธรรมารมณ์.

..........ภิกษุท.! นี้ เรียกว่า สัญญา. ความเกิดขึ้นแห่งสัญญา มีได้ เพราะความเกิดขึ้นแห่งผัสสะ; ความดับไม่เหลือแห่งสัญญา มีได้ เพราะความดับไม่เหลือแห่งผัสสะ; อริยมรรคมีองค์ ๘ นี้นั่นเอง เป็น ทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งสัญญา, ได้แก่ ความเห็นชอบ ความดำริชอบ; การพูดจาชอบการทำ การงานชอบ การเลี้ยงชีวิตชอบ; ความพากเพียรชอบ ความระลึกชอบ ความตั้งใจมั่นชอบ.




 

Create Date : 14 ธันวาคม 2553
8 comments
Last Update : 14 ธันวาคม 2553 19:02:23 น.
Counter : 1295 Pageviews.

 

...0_o...อ๋อ เรื่อง สัญญา น่าสนใจครับ !!! งั้นเดี๋ยวขออ่านให้ละเอียด และพิจรณาดูก่อนนะครับ...ตอนนี้ขอถามสักนิดนึงก่อนครับ...

...คือผมอ่าน ในหนังสือ เกี่ยวกับเรื่องของ (คุณธรรมของความเป็นพระโสดาบัน) และพิจรณาโดยละเอียดดูแล้ว โดยรวมก็เข้าใจ แต่สงสัยอยู่ 2-3 ข้อ น่ะครับ ก็คือว่า...

1. อยากถาม เกี่ยวกับเนื้อหาของสูตรนึง ผมอ่านแล้วแต่ดันหาไม่เจอ ที่มีเนื้อหา ประมาณว่า (กรรม หรือ วิบากกรรม ไม่ใช่ตนเองกระทำ ไม่ใช่ผู้อื่นกระทำ ไม่ใช่ทั้งตนและผู้อื่นกระทำ แต่เกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัย เช่น เมื่อมีสิ่งนี้ จึงมีสิ่งนี้) อะไรประมาณนี้ น่ะครับ ก็คือ พระโสดาบัน เห็นความเป็น ปฏิจจสมุปบาท แบบนี้ หมายความว่าเป็นพื้นฐาณของ เหตุปัจจัย ที่เป็นเหตุเป็นผลกันในลักษณะนี้...

...แต่ที่สงสัยคือ เหตุปัจจัย(เมื่อมีสิ่งนี้ สิ่งนี้จึงมี) นั้น มันจะเชื่อมโยงกับ กรรมและการไห้ผลของกรรม ด้วยใช่ไหมครับ เช่นยกตัวอย่าง...เดินทางไปที่ไหนสักแห่ง เกิดปวดฉี่ จอดรถ ออกมาฉี่ ข้างทางหรือในป่า และแถวนั้น มีศาลเจ้า หรือเจ้าที่ อยู่ ซึ่งก็ อาจจะเป็นพวก เทวดาชั้นจาตุมมหาราชิกา ทั้งหลาย ที่อาจจะเป็นเป็น มิจฉาทิฏฐิ หรืออาจจะเป็นพวก เปรต อสุรกาย ที่เป้น มิจฉาทิฏฐิ มาแกล้ง ทำไห้เราปวดท้อง เพราะเราไปฉี่แล้วไม่ยกมือไหว้ คือเป็นการไปลบหลู่โดยไม่รู้ตัว ทำไห้ เทวดา หรือเปรต อสุรกาย ที่เป็น มิจฉาทิฏฐิ เกิดโกรธ แกล้งทำไห้เรา ปวดท้อง หรือป่วยเป็นนั่นเป็นนี่ ต่างๆนานา...

...เพราะฉะนั้น อยากถามว่า ตรงนี้เป็นเรื่องที่ก็ได้ยินได้ฟังกันมา แต่ตรงนี้ ผมเรียบเรียงเรื่องราวขึ้นเอง จากการที่ได้ยินมาประมาณนี้นะครับ แต่ไม่รู้ว่าเป็นเรื่องจริงหรือเปล่า แค่เรื่องเล่า...แต่เรื่องลึกลับเหนือธรรมชาติอีกเยอะแยะ ลักษณะแบบพวกนี้ ก็มีจริง ถูกต้องไหมครับ...เพราะฉะนั้น ที่บอกว่า พระโสดาบัน จะมีสัมมาทิฏฐิ ที่ว่า กรรมไม่ใช่ผู้อื่นบันดาล นั้น แต่เพราะ มีสิ่งนี้เป็นปัจจัย จึงมีสิ่งนี้...นั้น...

...มันก็จะเชื่อมโยงกันในลักษณะที่ว่า...ถ้า ณขณะนั้น ยังไม่ถึงคราวที่ อกุศลวิบากกรรม ที่เราเคยทำมาในอดีต ถึงคราวส่งผลแล้วนั้น เทวดาก็ทำอะไรเราไม่ได้ ถูกไหมครับ เพราะมันอยู่ที่ อกุสลวิบากกกรรม ของเราที่เคยทำมา ถึงคราวส่งผลหรือยัง แต่ถ้าถึงคราวส่งผลพอดี และ มีเทวดา เปรต อสุรกาย มาแกล้งเราพอดี เราก็จะได้รับอกุศลวิบากกกรรม ใช่ไหมครับ แต่จะอยู่บนความเข้าใจที่ถูกต้องที่ว่า เป็น (กัมมัสสกตาญาณ) นั่นเอง และอยู่บนพื้นฐานของ กฏอิทัปปัจยตา อีกทีนึงซึ่งเชื่อมโยงกันหมด แบบนี้ ถูกต้องใช่ไหมครับ...

...และในส่วนของ กุศลวิบากกรรม ในฝ่ายดี เช่น ณขณะนั้น ถึงคราวที่ กุศลวิบากกรรม ที่เราเคยทำมาในอดีต แก่รอบ ถึงคราวส่งผล และขณะนั้นเราไป ขูดต้นโพธิ์ หาเลขหรือเขย่าติ้ว ขอหวย รางวัลที่ 1 เทวดาก็อาจจะสงเคราะไห้เรา เห็นเลขที่ขูด หรือเขย่าติ้วได้เลข ที่ถูกรางวัลที่ 1 ก็เป็นไปได้ใช่ไหมครับ 55555 แต่ทั้งหมด ต้องอยู่บนพื้นฐาณของกรรม และ การไห้ผลของกรรม ของเราด้วย ว่าประจวบพร้อมกันหรือเปล่า และต้องอยู่บนความเข้าใจ ที่ว่า (เมื่อสิ่งนี้มี สิ่งนี้จึงมี) อีกนั่นแหละ ถูกต้องไหมครับ...

...สรุปก็คือผมกำลังคิดว่า แบบนั้นก็เป็นไปได้ ในเรื่องของกรรมและการให้ผลของกรรม จะเป็น ผลของกรรมดีหรือกรรมชั่ว ที่เคยทำมาในอดีต ถึงคราวส่งผล ต้องเป็นพื้นฐาณ ส่งผลมาก่อน และ พอเราไปลบหลู่สิ่งศักดิ์สิทธิ์ และเทวดามิจฉาทิฏฐิก็สามารถแกล้ง ทำไห้เราป่วย หรือ ไปขูดต้นไม้หาเลขไปซื้อหวย เทวดาสัมมาทิฏฐิ ก็สามารถ จะบันดาลไห้เราเห็นเลข รางวัลที่1 ถูกรางวัลได้ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ต้องขึ้นอยู่กับกรรมของเราเป็นพื้นฐานผลักดันมาก่อน ถูกต้องไหมครับ และก็เชื่อมโยงไปในหลักของ กฏ อิทัปปัจยตา และ ปฏิจจสมุปาท ด้วย...จึงจะไม่เป็น ศีลลัปพตปรามาส ซึ่งเป็นคุณสมบัติ พระโสดาบัน ...เพราะฉะนั้นที่ผมอธิบายมาทั้งหมดนี้ ถ้าเข้าใจแบบนี้ ก็จะไม่เป็น ความงมงาย ใช่ไหมครับ....???

2. อยากถามความหมายของเนื้อหา ในสูตร นึงที่ว่า...

###############
(ผล แห่ง ความ เป็น โสดา บัน)

ภิกษุ ท . ! อานิสงส์ แห่ง การ ทำให้ แจ้ง ซึ่ง โสดา ปัตติ ผล ๖ อย่าง เหล่า นี้ มี อยู่ หก อย่าง เหล่า ไหน เล่า ? หก อย่าง คือ :

(เป็น บุคคล ผู้ เที่ยง แท้ ต่อ สัท ธรรม)
(เป็น บุคคล ผู้ มี ธรรม อัน ไม่รู้ เสื่อม)
(ทุกข์ ดับ ไป ทุก ขั้น ตอน แห่ง การ กระทำ ที่ กระทำ แล้ว)
(เป็น บุคคล ผู้ ประกอบ ด้วย อสา ธารณ ญาณ ( ที่ ไม่ ทั่วไป แก่ พวก อื่น )
(เป็น บุคคล ผู้ เห็น ธรรม ที่ เป็น เหตุ)
(และ เห็น ธรรม ทั้ง หลาย ที่ เกิด มา แต่ เหตุ)

ภิกษุ ท . ! เหล่า นี้ แล อานิสงส์ ๖ ประการ แห่ง การ ทำให้ แจ้ง ซึ่ง โสดา ปัตติ ผล
###############

...ไม่เข้าใจ อานิสงส์ ข้อที่ 3 ที่ว่า [ทุกข์ ดับ ไป ทุก ขั้น ตอน แห่ง การ กระทำ ที่ กระทำ แล้ว] หมายความว่าอะไรครับ....พระโสดาบันยังดับ ทุกข์ ไม่ได้แบบ พระอรหันต์ นี่ครับ แล้ว [ทุกข์ ดับ ไป ทุก ขั้น ตอน แห่ง การ กระทำ ที่ กระทำ แล้ว] หมายความว่ายังไงหรือครับ...???

3. อยากถ้ามความหมาย อีกสูตร นึงคือ...

###############
(ลักษณะ แห่ง ผู้ เจริญ อินทรีย์ ขั้น อริยะ)

อานนท์ ! บุคคล ผู้ มี อินทรีย์ อัน อบรม แล้ว ใน ขั้น อริยะ เป็น อย่างไร เล่า ?

อานนท์ ! ใน กรณี นี้ ความ พอใจ , ความ ไม่ พอใจ , ความ พอใจ และ ไม่ พอใจ เกิด ขึ้น แก่ ภิกษุ เพราะ เห็น รูป ด้วย ตา ฟัง เสียง ด้วยหู ดม กลิ่น ด้วย จมูก ลิ้ม รส ด้วย ลิ้น ถูก ต้อง สัมผัส ด้วย ผิว กาย รู้ แจ้ง ธรรมา รมณ์ ด้วย ใจ . ภิกษุ นั้น

ถ้า เธอ หวัง ว่า จะ เป็น ผู้ อยู่ อย่าง มี ความ รู้สึก ว่า ไม่ ปฏิกูล ใน สิ่ง ที่ เป็น ปฏิกูล ดังนี้ เธอ ก็ อยู่ อย่าง ผู้ มี ความ รู้สึก ว่า ไม่ ปฏิกูล ใน สิ่ง ที่ เป็น ปฏิกูล นั้น ได้

ถ้า เธอ หวัง ว่า จะ เป็น ผู้ อยู่ อย่าง มี ความ รู้สึก ว่า ปฏิกูล ใน สิ่ง ที่ ไม่ ปฏิกูล ดังนี้ เธอ ก็ อยู่ อย่าง ผู้ มี ความ รู้สึก ว่า ปฏิกูล ใน สิ่ง ที่ ไม่ ปฏิกูล นั้น ได้

ถ้า เธอ หวัง ว่า จะ เป็น ผู้ อยู่ อย่าง มี ความ รู้สึก ว่า ไม่ ปฏิกูล ทั้ง ใน สิ่ง ที่ เป็น ปฏิกูล และ ไม่ เป็น ปฏิกูล ดังนี้ เธอ ก็ อยู่ อย่าง ผู้ มี ความ รู้สึก ว่า ไม่ ปฏิกูล ทั้ง ใน สิ่ง ที่ เป็น ปฏิกูล และ ไม่ ปฏิกูล นั้น ได้

ถ้า เธอ หวัง ว่า จะ เป็น ผู้ อยู่ อย่าง มี ความ รู้สึก ว่า ปฏิกูล ทั้ง ใน สิ่ง ที่ ไม่ ปฏิกูล และ สิ่ง ที่ เป็น ปฏิกูล ดังนี้ เธอ ก็ อยู่ อย่าง ผู้ มี ความ รู้สึก ว่า ปฏิกูล ทั้ง
ใน สิ่ง ที่ ไม่ ปฏิกูล และ สิ่ง ที่ เป็น ปฏิกูล นั้น ได้

และ ถ้า เธอ หวัง ว่า จะ เป็น ผู้ อยู่ อย่าง เว้น ขาด จาก ความ รู้สึก ว่า ปฏิกูล และ ไม่ ปฏิกูล ทั้ง สอง อย่าง เสีย แล้ว อยู่ อย่าง ผู้ อุเบกขา มี สติสัมปชัญญะ ดังนี้ เธอ ก็ อยู่ อย่าง ผู้ อุเบกขา มี สติสัมปชัญญะ ใน สิ่ง เป็น ปฏิกูล และ ไม่ ปฏิกูล ทั้ง สอง อย่าง นั้น ได้

อานนท์ ! อย่าง นี้ แล ชื่อ ว่า บุคคล ผู้ มี อินทรีย์ อัน เจริญ แล้ว ใน ขั้น อริยะ
###############

...ข้อนี้ก็เคย ฟัง พระอาจาร์ คึกฤทธิ์ บอกว่า คุณสมบัติ พระโสดาบัน ข้อนึงก็คือ สามารถ มอง สิ่งที่ ปฏิกูล ให้ ไม่ปฏิกูล ก็ได้ มองสิ่งที่ ไม่ปฏิกูล ให้ ปฏิกูล ก็ได้ หรือมองทั้ง สิ่งที่ปฏิกูลและสิ่งที่ไม่ปฏิกูล ไห้เป็น อุเบกขา ก็ได้ ...ก็งง ครับ แค่พระโสดาบัน จะทำได้ขนาดนั้นเลยหรือครับ หรือหมายความว่า กดข่มใว้ เหมือนกับว่า ทิ้งความเพลินอะไรประมาณนั้นหรือเปล่าครับ แต่อาจจะไม่ได้หมายความว่า ทำจิตไห้เป็นแบบนั้นได้เลย ถ้างั้นก็ เป็นพระอนาคามีสิครับ เพราะ ผมก็ยัง งงว่า เช่น ไปมอง อุจจาระ ไห้เป็นของดี สวยงาม แบบนี้หรือครับ หรือไปมอง ของสวยงามไห้เป็นอุจจาระ เป็นปฏิกูล หรือว่า มองเป็นอุเบกขาเลย งั้นเราก็ไปคิดเอาเองไม่ใช่หรือครับ หรือว่า ความหมายคือยังไงกันแน่ โปรดช่วยไล่ตัว กังขา ไห้หน่อยนะครับ...???

4. อยากรู้ว่า ในการ เจริญอานาปานสติสมาธิ นั้น พระพุทธองค์ ได้บอกเกี่ยวกับ ว่า ให้ทำลมหายใจให้ละเอียด จะเข้าฌาณได้ง่ายกว่า อะไรประมาณนี้ไหมครับ หรือต้องการออกจากฌาณที่ 4 อย่างรวดเร็วคล่องแคล่ว ก็ไห้ พยายามทำลมหายใจไห้หยาบลง อะไรประมาณนี้ ใช่ พุทธวจณ ไหมครับ เพราะ ได้ยินมาจากที่อื่น ครับ แต่ผมเดาเอาว่าไม่น่าจะใช่หรือเปล่า เพราะ พยายามทำลมไห้ละเอียด จิตก็ปรุงแต่งอีกแล้ว ใช่ไหมครับ 555....????

...แต่ว่าจริงๆแล้ว พวก คำบริกรรมนิมิต ต่างๆ เช่น พุท โธ ก็เข้าฌาณสูงๆได้เหมือนกัน แต่ผมว่า อาจจะช้ากว่า แค่รู้ลม ใช่หรือเปล่าครับ เพราะจิตไปคิดปรุงแต่งคำบริกรรมอยู่ส่วนนึง แต่ก็ไปได้ถึงฌาณ4 ได้เหมือนกัน ใช่ไหมครับ.....???

 

โดย: อะไรกัน IP: 192.168.1.58, 61.7.133.73 14 ธันวาคม 2553 19:22:43 น.  

 

1.อยากถาม เกี่ยวกับเนื้อหาของสูตรนึง ผมอ่านแล้วแต่ดันหาไม่เจอ ที่มีเนื้อหา ประมาณว่า (กรรม หรือ วิบากกรรมไม่ใช่ตนเองกระทำ ไม่ใช่ผู้อื่นกระทำ ไม่ใช่ทั้งตนและผู้อื่นกระทำ แต่เกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัย เช่น เมื่อมีสิ่งนี้ จึงมีสิ่งนี้) อะไรประมาณนี้ น่ะครับ ก็คือ พระโสดาบัน เห็นความเป็น ปฏิจจสมุปบาท แบบนี้ หมายความว่าเป็นพื้นฐาณของ เหตุปัจจัย ที่เป็นเหตุเป็นผลกันในลักษณะนี้...

สรุปก็คือผมกำลังคิดว่า แบบนั้นก็เป็นไปได้ ในเรื่องของกรรมและการให้ผลของกรรม จะเป็น ผลของกรรมดีหรือกรรมชั่ว ที่เคยทำมาในอดีต ถึงคราวส่งผล...เพราะฉะนั้นที่ผมอธิบายมาทั้งหมดนี้ ถ้าเข้าใจแบบนี้ ก็จะไม่เป็น ความงมงาย ใช่ไหมครับ....???

ตอบ ทุกสิ่งทุกอย่างที่เกิดขึ้น นั้นล้วนต้องมีเหตุ มีปัจจัยทั้งสิ้น เป็นไปตามกฎ อิทัปปัจจยตา คือ เมื่อมีสิ่งนี้ สิ่งนี้เป็นปัจจัย สิ่งนี้สิ่งนี้ จึงเกิดขึ้น

…………ดูกรภิกษุทั้งหลาย! กายนี้ไม่ใช่ของท่านทั้งหลายทั้งไม่ใช่ของคนเหล่าอื่น

……….ดูกรภิกษุทั้งหลาย! กายนี้อันกรรมเก่าควบคุมแล้วอันจิตประมวลเข้าแล้ว ท่านทั้งหลายพึงเห็นว่าเป็นที่ตั้งแห่งเวทนา

……….ดูกรภิกษุทั้งหลาย! อริยะสาวกผู้ได้สดับแล้วย่อมมนสิการถึงปฏิจจสมุปบาท นั่นแหละโดยแยบคายเป็นอย่างดีในกายนั้นว่า เพราะเหตุนี้ๆเมื่อสิ่งนี้มี สิ่งนี้ก็มี เพราะสิ่งนี้เกิดขึ้น สิ่งนี้ก็เกิดขึ้น เมื่อสิ่งนี้ไม่มี สิ่งนี้ก็ไม่มี เพราะสิ่งนี้ดับ สิ่งนี้ก็ดับ

เรื่องของ วิบากกรรม เป็นเรื่อง ๑ใน๔ อจินไตย เป็นเรื่องที่ไม่ควรคิดไม่ควรจะเข้าไปสงสัย

……….ดูกรภิกษุทั้งหลาย! อจินไตย ๔ ประการนี้ อันบุคคลไม่ควรคิด เมื่อบุคคลคิดพึงเป็นผู้มีส่วนแห่งความเป็นบ้า เดือดร้อน อจินไตย ๔ ประการเป็นไฉน

……….ดูกรภิกษุทั้งหลาย! พุทธวิสัยของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ๑ ฌานวิสัยของผู้ได้ฌาน ๑ วิบากแห่งกรรม ๑ ความคิดเรื่องโลก ๑

……….ดูกรภิกษุทั้งหลาย! อจินไตย ๔ ประการนี้แล ไม่ควรคิด เมื่อบุคคลคิด พึงเป็นผู้มีส่วนแห่งความเป็นบ้าเดือดร้อน ฯ

ฉะนั้น เรื่องที่เกิดขึ้น ล้วนมีเหตุมีปัจจัยที่ทำให้เป็นอย่างนั้น อย่าไปสงสัยมันเลย มันเป็นเช่นนั้นเอง

พระพุทธเจ้า พูดถึงเรื่องกรรมว่ากรรมเกิดจากผัสสะ

……….ดูกรอานนท์ ! ในวาทะทั้ง ๔ นั้น ทุกข์ที่พวกสมณพราหมณ์ซึ่งเป็นผู้กล่าวกรรมบัญญัติว่าตนทำเอง ก็ย่อมเกิดเพราะผัสสะเป็นปัจจัย แม้ทุกข์ที่พวกสมณพราหมณ์ซึ่งเป็นผู้กล่าวกรรมบัญญัติว่า ผู้อื่นทำให้ ก็ย่อมเกิดเพราะผัสสะเป็นปัจจัย แม้ทุกข์ที่พวกสมณพราหมณ์ผู้กล่าวกรรมบัญญัติว่า ตนทำเองด้วย ผู้อื่นทำให้ด้วย ก็ย่อมเกิดเพราะผัสสะเป็นปัจจัย แม้ทุกข์ที่พวกสมณพราหมณ์ผู้กล่าวกรรมบัญญัติว่า เกิดเอง เพราะอาศัยการที่มิใช่ตนเองกระทำ มิใช่ผู้อื่นกระทำให้ ก็ย่อมเกิด เพราะผัสสะเป็นปัจจัย

..........ดูกรอานนท์ ! ในวาทะทั้ง ๔ นั้นพวกสมณพราหมณ์ซึ่งเป็นผู้กล่าวกรรมบัญญัติว่า ทุกข์ตนทำเองเว้นผัสสะเสียเขาย่อมเสวยทุกข์ ดังนี้ มิใช่ฐานะที่จะมีได้แม้พวกสมณพราหมณ์ซึ่งเป็นผู้กล่าวกรรมบัญญัติว่า ทุกข์ผู้อื่นทำให้ เว้นผัสสะเสีย เขาย่อมเสวยทุกข์ดังนี้ ก็มิใช่ฐานะที่จะมีได้ แม้พวกสมณพราหมณ์ซึ่งเป็นผู้กล่าวกรรมบัญญัติว่า ทุกข์ตนทำเองด้วย ผู้อื่นทำให้ด้วย เว้นผัสสะเสียเขาย่อมเสวยทุกข์ดังนี้ ก็มิใช่ฐานะที่จะมีได้ถึงพวกสมณพราหมณ์ซึ่งเป็นผู้กล่าวกรรมบัญญัติว่าทุกข์เกิดเองเพราะอาศัยการที่มิใช่ตนเองกระทำมิใช่ผู้อื่นกระทำ เว้นผัสสะเสีย เขาย่อมเสวยทุกข์ดังนี้ก็มิใช่ฐานะที่จะมีได้

เรื่องของกรรม เป็นเรื่องที่เกินความสามารถที่ผมจะตอบ ถึงขอตอบด้วยพุทธวจน แล้วกันน๊ะครับ ก็คงตอบให้เท่าที่ตอบได้เท่านี้ครับ

2 อยากถามความหมายของเนื้อหา ในสูตร นึงที่ว่า... (ทุกข์ ดับ ไป ทุก ขั้น ตอน แห่ง การ กระทำ ที่ กระทำแล้ว)ไม่เข้าใจ อานิสงส์ ข้อที่ 3 ที่ว่า [ทุกข์ ดับ ไป ทุกขั้น ตอน แห่ง การ กระทำ ที่ กระทำ แล้ว] หมายความว่าอะไรครับ....พระโสดาบันยังดับ ทุกข์ ไม่ได้แบบ พระอรหันต์ นี่ครับ แล้ว [ทุกข์ ดับ ไป ทุก ขั้น ตอน แห่ง การกระทำ ที่ กระทำ แล้ว] หมายความว่ายังไงหรือครับ...???

ตอบ ทุกข์ดับไปทุกขั้นตอนแห่งการกระทำ ก็หมายถึง สิ่งที่พระโสดาบันละได้ 3 ประการ คือ ละสักกายทิฐิ ละวิจิกิจฉา ละศีลพรตปรามาส พระโสดาบัน จะมีศีลห้าบริบูรณ์ การที่มีศีลห้า บริบูรณ์ ความทุกข์ หรือวิบาก ที่เกิดจากการผิดศีล ก็ ไม่เกิดขึ้น พระโสดาบัน ก็ ปิดอบายภูมิแล้ว สิ่งเหล่านี้ คือ ความทุกข์ที่ดับไปในขั้นตอนของพระโสดาบัน ครับ แต่ไม่ได้ ดับทุกข์ได้ทั้งหมด ส่วนทุกข์ที่เหลือ ก็ จะค่อยๆดับไป เรื่อยๆ จนถึงพระอรหันต์ ก็จะดับทุกข์ได้ทั้งหมด ครับ

3 ข้อนี้ก็เคย ฟัง พระอาจารย์ คึกฤทธิ์ บอกว่า คุณสมบัติพระโสดาบัน ข้อนึงก็คือ สามารถ มอง สิ่งที่ ปฏิกูล ให้ ไม่ปฏิกูล ก็ได้ มองสิ่งที่ ไม่ปฏิกูล ให้ ปฏิกูล ก็ได้ หรือมองทั้ง สิ่งที่ปฏิกูลและสิ่งที่ไม่ปฏิกูล ไห้เป็น อุเบกขา ก็ได้ ..ก็งง ครับ แค่พระโสดาบัน จะทำได้ขนาดนั้นเลยหรือครับหรือหมายความว่า กดข่มใว้ เหมือนกับว่า ทิ้งความเพลินอะไรประมาณนั้นหรือเปล่าครับ แต่อาจจะไม่ได้หมายความว่า ทำจิตไห้เป็นแบบนั้นได้เลย

ถ้างั้นก็ เป็นพระอนาคามีสิครับ เพราะ ผมก็ยัง งงว่า เช่นไปมอง อุจจาระ ไห้เป็นของดี สวยงาม แบบนี้หรือครับหรือไปมอง ของสวยงามไห้เป็นอุจจาระ เป็นปฏิกูล หรือว่ามองเป็นอุเบกขาเลย งั้นเราก็ไปคิดเอาเองไม่ใช่หรือครับ หรือว่า ความหมายคือยังไงกันแน่ โปรดช่วยไล่ตัวกังขา ให้หน่อยนะครับ...???

ตอบ มันเป็นมรรควิธีครับ เราทุกคนสามารถทำได้ คือเรายังละได้ไม่ขาดแต่เราสามารถเจริญมรรควิธีนี้ ไปเรื่อยๆจนเราละได้ขาด ก็ จะเป็นพระอนาคามี มรรควิธีนี้ ก็คล้ายๆกับ อสุภะสัญญา ซึ่ง เป็นมรรควิธีที่จะทำให้เราไปถึงพระอนาคามีได้ในที่สุด พอถึงพระอนาคามี ก็ ไม่ต้องใช้มรรควิธีนี้แล้ว เพราะสามารถวางในส่วนของรูปได้ทั้งหมด ก็ ต้องเปลี่ยนมรรควิธีมาดู นาม เกิดดับ ต่อไป

สำหรับ มรรควิธีนี้ ก็ คือการใช้การปรุงแต่งเอาครับ จะว่าคิดไปเอง ก็ใช่ ก็ใช้วิธีคิดนั่นแหละครับ พอละรูปได้เด็ดขาดแล้ว เป็นพระอนาคามีแล้ว ก็ ต้องเปลี่ยนมรรควิธี ต้องทิ้งความคิดนี้ไป เพราะจะคิดอยู่เรื่อยๆไปก็ยังมีผู้คิดอยู่ จึงต้องละทิ้งความคิดนี้อีกที หรือ ทิ้งนามธรรมทั้งหมด จึงจะละขันธ์ห้าได้ทั้งหมด

4. อยากรู้ว่า ในการ เจริญอานาปานสติสมาธิ นั้น พระพุทธองค์ ได้บอกเกี่ยวกับ ว่า ให้ทำลมหายใจให้ละเอียดจะเข้าฌาณได้ง่ายกว่า อะไรประมาณนี้ไหมครับ หรือต้องการออกจากฌาณที่ 4 อย่างรวดเร็วคล่องแคล่ว ก็ไห้พยายามทำลมหายใจไห้หยาบลง อะไรประมาณนี้ ใช่พุทธวจณ ไหมครับ เพราะ ได้ยินมาจากที่อื่น ครับ แต่ผมเดาเอาว่าไม่น่าจะใช่หรือเปล่า เพราะ พยายามทำลมให้ละเอียด จิตก็ปรุงแต่งอีกแล้ว ใช่ไหมครับ....????

ตอบ ที่ถามมาว่าทำลมหายใจให้หยาบ นี่ไม่น่าจะใช่พุทธวจน น๊ะครับ พระพุทธองค์ ตรัสสอน ให้ทำกายสังขารให้สงบรำงับ คือที่จริง เราก็หายใจธรรมดานี่แหละ ไม่ต้องไปปรุงแต่งอะไร หายใจตามปรกติ เดี๋ยวกายสังขาร มันจะสงบรำงับไปเอง

.4.1 ..แต่ว่าจริงๆแล้ว พวก คำบริกรรมนิมิต ต่างๆ เช่น พุทโธ ก็เข้าฌาณสูงๆได้เหมือนกัน แต่ผมว่า อาจจะช้ากว่าแค่รู้ลม ใช่หรือเปล่าครับ เพราะจิตไปคิดปรุงแต่งคำบริกรรมอยู่ส่วนนึง แต่ก็ไปได้ถึงฌาณ4 ได้เหมือนกัน ใช่ไหมครับ.....???

ตอบ คำบริกรรม ที่จริง ก็ ไม่ใช่พุทธวจน และการที่จะเข้าฌานได้สูงกว่าในระดับฌานที่หนึ่ง ก็ต้องทิ้งคำบริกรรมให้ได้ ถ้ายังทิ้งไม่ได้ ก็ไม่สามารถก้าวขึ้นสู่ ฌานที่สองได้ครับ เพราะฌานที่สอง วิตก วิจาร ต้องดับไป ถึงจะเข้าสู่ฌานที่สองได้ ครับ การเจริญอานาปาฯ ก็ แค่รู้ลมหายใจเข้า หายใจออก ธรรมดา ก็ สามารถไปถึงฌานที่สี่ได้เลยโดยไม่ต้องใช้คำบริกรรมใดๆครับ

คำตอบ ที่สงสัย ก็ได้ตอบให้หมดแล้ว ถ้ายังไม่หายสงสัย ก็ มาถามใหม่ได้ครับ ขออนุโมทนาครับ

 

โดย: จูปีเตอร์เทพแห่งดาวพฤหัส 15 ธันวาคม 2553 1:25:46 น.  

 



สาธุ

 

โดย: พธู 15 ธันวาคม 2553 19:04:55 น.  

 

ผาตี กยิรา อวิเหฐยํ ปรํ
ควรทำแต่ความเจริญ อย่าเบียดเบียนผู้อื่น

มีความสุขในวันหยุดสุดสัปดาห์นี้ และตลอดไป..นะคะ
ฝันดี ราตรีสวัสดิ์...ค่ะ


 

โดย: พรหมญาณี 17 ธันวาคม 2553 23:33:08 น.  

 

ท ทมาโน ปีโย โหติ...ผู้ให้ย่อมเป็นที่รัก

สวัสดีวันจันทร์..วันที่ฟ้าสดใส...ค่ะ


 

โดย: พรหมญาณี 20 ธันวาคม 2553 11:10:47 น.  

 

ยํ เว เสวติ ตาทิโส
คบคนเช่นไร ย่อมเป็นคนเช่นนั้น

มีความสุขในชีวิต ด้วยการเลือกคบแต่คนดี ตลอดไป..นะคะ


 

โดย: พรหมญาณี 21 ธันวาคม 2553 12:29:47 น.  

 

ตณฺหกขโย สพฺพ ทุกขํ ชินาติ

ความสิ้นตัณหาย่อมชนะทุกข์ทั้งปวง



อากาศเปลี่ยนอีกแล้ว อย่าลืมดูแลสุขภาพด้วย..นะคะ


 

โดย: พรหมญาณี 23 ธันวาคม 2553 12:08:02 น.  

 

...ช่วงนี้...เน้นปฏิบัติ ต่อเนื่อง บ่อยๆ เนืองๆ อย่างเดียวเลยครับ !!! เจริญ อานาปานสติสมาธิ อย่างน้อย 5 ชั่วโมงต่อวันเลย...และก้าวหน้าขึ้นทีละนิดๆ...วันไหนไม่ได้ ปฏิบัติ จะรู้สึกเสียดายที่สุด แต่ที่สำคัญ พอเจริญ อานาปานสติสมาธิ ไปเรื่อยๆ มีความเข้าใจในมรรควิธี แจ่มแจ้งมากขึ้น เป็นลำดับ...

...คุณ นนท์ลองอ่านและฃ่วยดูหน่อยนะครับว่า ถูกต้องตรง และดีมากน้อยขนาดไหน ผมจะเล่าความก้าวหน้าในการปฏิบติที่กำลังทำอยู่ และเป็นการ เรียบเรียงความเข้าใจของผมไปด้วย ก็คือว่า....

...พอเริ่มมาลองเดินจงกรมดู ปรากฏว่าดีมากเลยครับ นึกว่าไม่ดี แต่ได้ฌาณ เหมือนนั่งกำหนดลมหายใจเลย แต่ว่าปวดหลังมาก คงเหมือนกับ รู้ลมเข้าออก คือ ปกติที่ไม่ได้ รู้ลมเข้าออก ก็ไม่รู้สึกอึดอัดอะไร พอมารู้ลม ดันอึดอัด หายใจไม่เป็นธรรมชาติ เหมือนกับ เราเดินปกติในชีวิตประจำวัน ไม่เห็นเป็นไร แต่พอมาเดินจงกรม ดัน ปวดหลังสุดๆเลย เดิน ครึ่งชั่วโมง หรือ 1 ชั่วโมง หลังแทบหักเลยครับ 5555 แต่ คงเป็นเพราะ ยังไม่ได้ความสมดุลแห่งธรรมตรงนี้แบบสมบูรณ์...

...ตอนนี้เลย ทำคู่กันไปเลย คือ นั่ง กับ เดินจงกรม ตอนแรกที่เริ่มเดิน...ก็มาคิดว่า เอ๊รู้กาย ก็ยืนนิ่งๆก็ได้ ก็คือรู้กาย จะไปเดินไห้เมื่อยทำไม ปรากฏว่า ปีติเกิดไม่มาก ไม่แนบแน่น ก็เลยรู้ว่า ต้องมีการเคลื่นไหวนั่นเอง จิตก็ระลึกอยู่ที่การเคลื่อนไหว ที่เราก้มลงมองที่เท้า ยก...ย่าง...เหยียบ ก็ได้ แต่ผมจะรู้การเคลื่อนไหวของกายแบบลอยๆ ไม่ได้ก้มไปมอง แต่จะทำความรู้สึกในใจ ว่ากำลังมีกายที่กำลังเคลื่อนไหวไปเป็นอารมณ์ นั่นเอง...

...พอเดินไป และรุ้ว่า ถ้าไปเกร็งร่างกาย ปีติจะไม่เกิด แต่ก็เมื่อยและปวดหลังมากๆ ทำไห้เดินได้ อย่างมากไม่เกิน 1 ชั่วโมง ก็ต้องไปนั่ง และนั่งบนเบาะแบบ ตั้งกายตรง คู้ขาเข้ามาโดยรอบ ก็นั่งไปไม่เกินชั่วโมง ก็ต้องไปนั่งเก้าอี้เบาะที่มีพนักพิง จะนั่งได้ 3 ชั่วโมงติดต่อกันไปได้เลย และพอเดินจงกรมไป และรู้ว่า มันต้องมีการเคลื่อนไหว ก็เลยลองมาคิดว่า เอ๊ ก็นั่ง กระดิกนิ้วสบายๆ หรือเอานิ้วแตะกัน หรือลูบไปมาบนมือหรือแขน แล้วไห้จิตไปรู้อยู่กับ ความรู้สึกนั่นไม่ดีกว่ากรือ เพราะเป็นการเคลื่อนไหวเหมือนกัน เพราะจะไปเดินไห้เมื่อยทำไม เพราะปวดหลังมากๆ....หลังแทบระเบิดดดด.....0_o!...

...พอลองทำดู คือ กระดิกนิ้วไปมา หรือเอานิ้วแตะกันและปล่อย ปรากฏว่า แทบไม่ได้ผลเลยครับ สู้เดินแบบผ่อนคลายธรรมดา ทำความรู้สึกในใจให้รู้อยู่กับ กายที่เคลื่อนไหวไปเรื่อยๆ จะดีที่สุดเลย ก็แปลกนะครับ เพราะเป็นหลักการรู้กายเหมือนกัน แต่ทำไม เดินมันดีกว่า การที่จิตไปรู้นิ้วที่กระดิกไปมาก็ไม่รู้...เพราะเดินก็เป็นการปรุงแต่งเหมือนกัน แม้แต่นั่ง ก็เป็นการปรุงแต่งเหมือนกัน และการปรุงแต่งที่น้อยกว่า มันน่าจะทำไห้จิต ตั้งมั่นได้ดีกว่า เพราะ แค่กระดิกนิ้ว มันปรุงแต่งน้อยกว่า เดินตั้งเยอะนะครับ....

...ก็เลยมาสงสัยอยู่อย่างนึงก็คือ ไม่ว่าจะเดิน หรือแม้แต่นั่ง มันก็คือยังเป็นการที่จิตปรุงแต่งอยู่ใช่ไหมครับ เพราะถ้าจิตไม่ไปบังคับไห้กายตั้งตรง มันก็จะล้มหงายหลังไปน่ะสิครับ นอกจากนอนนั่นแหละ ผมว่า ไม่มีกายสังขารเลย แต่นั่งยังมีกายสังขาร เพราะถ้าไม่มี กายมันจะตั้งตรงอยู่ได้ยังไง ผมก็งงนะครับ เพราะ ฌาณที่ 4 จิตรับรู้กายน้อยมากใช่ไหมครับ แล้วร่างกายจะนั่งตั้งกายตรงอยู่ได้ไง ถ้าจิตไม่สั่งไห้ประคองกายไห้ตั้งตรงอยู่ใว้ ไม่ไห้หงายหลังลงไป ก็แสดงว่ายังมีการปรุงแต่งอยู่แต่น้อยมากๆ ใช่ไหมครับ...แต่ที่ยิ่งงงคือ ถ้า พระอนาคามี เข้านิโรธสมาบัติ หลายวัน คงต้อง เป้นท่านอน ใช่ไหมครับ ถ้าไม่งั้นแล้วกายจะตั้งตรงอยู่ได้ไง เพราะ จิตไม่ได้รู้กายอยู่ขณะนั้น....

...แต่ที่ผมคิดเอาเองก็คือ ในขณะที่นั่ง ตั้งกายตรง คู้ขาเข้ามาโดยรอบอยู่นั้น ก็มีกายสังขารอยู่ แต่น้อยมาก แต่ไม่ได้เป็นการเกร็งร่างกายไห้ตั้งตรง แต่เป็นการประคองกายไห้มันล็อคนิ่ง อยู่แบบนั้น หรือเดินจงกรมก็คือ ไม่ได้เป็นการเกร็งร่างกาย แต่ เป็นการ ล็อคร่างกาย แบบประคองไห้มันยืนอยู่ได้ เพื่อเดินไปแบบผ่อนคลายๆ ...สรุปคือ กายสังขารที่มีอยู่ ไม่ได้มีแบบไปพยายามเกร็งไห้มันตั้งตรง แต่เป็นการประคองต่างหาก ตรงนี้ผมคิดเอาเอง ถูกต้องใช่ไหมครับ...

...ก็คือ เกร็ง กับ ประคอง คือไม่เหมือนกัน ถ้าเกร็ง เป้นการปรุงแต่งอย่างมาก แต่ถ้า ประคอง คือปรุงแต่งน้อยมาก แต่ถ้าไม่ปรุงแต่งเลย คือ นอน แต่แปลกมากอีกเหมือนกัน เพราะ ลองทำท่านอนดู ดันได้ผลไม่ดีมากเท่า นั่งครับ ...และ ผลที่เกิดจากการเดินจงกรมคือ พอเดินเสร็จเพราะเมื่อยหลัง พอเปลื่ยนมานั่ง ปรากฏว่า ฌาณพุ่งขึ้นสูงปี๊ดดด เลยครับ ก็จริงด้วย เลยคิดว่า ตอนทีเดินอยู่ ฌาณมันจะเกิดมากกว่าที่เรารู้สึกได้ พอมานั่ง เลยออกมาเยอะแนบแน่นอย่างมากเลยครับ...

...อ๋อ แล้วที่ คุณ นนท์ เคยบอกผมว่า สถาวะที่ผมบอกว่าได้ ฌาณที่ 3 แล้วนั้น อาจจะเป็น แค่สภาวะของปีติ อยู่ก็ได้ ปรากฏว่า จริงๆด้วยครับ มันเป็นแค่ ปีติ อยู่จริงๆด้วย ผมเข้าใจผิดคิดไปเอง 55555 เฮ้ออออ ก็เพราะว่า มัน เป้นลักษณะแบบ ปีติอย่างหยาบ อย่างกลาง อย่างละเอียด มีหลายแบบน่ะครับ ผมเลย เข้าใจผิดไปว่า เป็น ฌาณที่ 3 ว่าแล้ว มันจะง่ายขนาดนั้นเชียวหรือ 5555 แต่ ผมได้ จริงๆ จึงเข้าใจแล้วว่า มันแตกต่างอย่างเห็นได้ชัดกับ ฌาณที่ 2 แต่ได้แบบ เฉียดๆ ฌาณที่ 3 น่ะครับ แต่ยัง ทรงใว้ไม่ได้แบบ สมบูรณ์นั่นเอง มันเป้นเหมือน ครั้งแรกเลยที่เคยเล่าไปว่า เหมือนหลุดวูบบบ และถูกดูดไปอีกมิตินึงและตกใจทำอะไรไม่ถูกน่ะครับ ครั้งแรกและครั้งเดียว แล้วก็ไม่เคยได้อีกเลย ได้แต่ตอนนี้ได้แค่แบบเฉียดๆ วูบบบๆ และที่น่าแปลกคือ ครั้งแรกตอนนั้น เป็นการได้ ฌาณที่ 3 ก่อนฌาณที่ 2 อีก คือข้ามขั้นไปเลยได้ไงไม่รู้นะครับ น่ะครับ...

...และที่สำคัญที่ผมบอกว่า พอ เจริญ อานาปานสติสมาธิ ไปเรื่อยๆ ผมเลยมีความเข้าใจในมรรควิธี แจ่มแจ้งมากขึ้น เลยทำไห้ ตอนนี้ เปลื่ยนมาทำแบบ เอา วิปัสนาเป็นตัวนำ และควบคู่ไปกับสมาธิตลอดเลย ทำไห้ โยนิโสมนสิการ ในตอนนี้กลายเป็นแบบนี้ คุณ นนท์ลองอ่านดูว่า เป็นยังไงนะครับ คือพอ ปฏิบัติ ไปเรื่อยๆ ก็ ธรรมวิจัยสัมโพชงค์ ไปเรื่อยๆ ตอนนี้ ก็เลยสรุปแนวการ ปฏิบัติ แบบนี้ คือว่า...

...ผมจะเริ่ม ทำในใจให้รู้อยู่กับตัวจิต คือเป็นขณะจิตที่แยกตัวออกมาดูจิตอีกทีนึง หรือเป็นตัวรู้ อะไรประมาณนี้น่ะครับ ตัวรุ้นี้ ผมจะคิดว่า มันไม่ใช่อะไรเลย หรืออาจจะสมมุติไห้มันเป็น วิมุติญาณทัสนะ ก็ได้ คือผมยังงงๆ อยู่น่ะครับว่าจะกำหนดไห้มันเป็นอะไร แต่ปฏิบัติไปแบบนี้ก่อน คือพอ พยายาม ทำในใจไห้เกาะอยู่กับจิตผู้รู้แบบนี้แล้ว ก็มาเฝ้าดูจิตอีกที ก็คือ เฝ้าดูอยู่แบบ สักแต่ว่า คือ (อย่าเข้าไปเป็นมัน อย่ายึดว่ามันเป็นเรา) เพราะถ้าเราพอใจที่จะเข้าไปเป็นมัน ไปเกิดดับกับมัน นั่นก็คือโทษที่ ทำไห้จิตเกิด วัฏฏะ คือ จิตถูกผูกไห้เวียนไหว้ ตายเกิดอยู่ใน วัฏฏะสงสาร ต่อไปไม่รู้จบ...

...และการบวนการ ก็คือ ถ้าทำในใจให้รู้อยู่กับตัวจิต ในขณะที่แยกตัวออกมาดูจิต อีกทีนึงนี้ ไปเรื่อยๆ นั้น มันจะ ทำได้ยากมาก หรือ อาจจะไม่ได้เลย เพราะจิตเรา เวียนไหว้ตายเกิด อยู่ใน สังสารวัฏ มาแล้ว นับชาติไม่ถ้วน และธรรมชาติของจิตก็ย่อมน้อมไปหาอารมณ์ และมักไหลลงต่ำ คือ น้อมไปหากิเลสด้วย...และแกว่งไปแกว่งมา ไปหาอารมณ์สารพัด เต็มไปหมดนับไม่ถ้วนเลย และไม่เคยหยุด...

...เพราะฉะนั้น ถ้าทำในใจให้รู้อยู่กับตัวจิต ในขณะที่แยกตัวออกมาดูจิต อีกทีนึง แบบ ติดต่อกันไปเป็นส่วนไหญ่ นานๆ ต่อเนื่องไปนั้น เราจึงต้อง หาสิ่งที่มาช่วย ทำไห้จิตเกาะอยู่กับ สภาวะนั้น ก็คือ (((กายคตาสติ))) นั่นเอง ก็คือ กำหนดรู้ กาย และ ลมหายใจเข้าออก...พอจิตรู้อยู่กับ อารมณ์เดียว คืออุเบกขา ผมก็จะ (ทำในใจให้รู้อยู่กับตัวจิต ในขณะที่แยกตัวออกมาดูจิต อีกทีนึง) ก็คือ เกาะอยู่กับ ตัวจิต ที่กำลังรู้ จิตที่มีอุเบกขาเป้นอารมณ์ อีกทีนึง เลยเปลื่ยนมาทำแบบนี้ เรื่อยมาเลยครับ...

...พอจิตเกิดปีติ หรือ สุข เราก็เกาะอยู่กับ (จิตขณะที่แยกตัวออกมาดูจิตอีกทีนึง) มันจะกลมกลืนควบคู่กันไปอยู่แบบนี้ตลอดเวลา แต่มันจะเร็วมากเพราะจิตเกิดดับเร็วมาก พอเกาะและประคองอยู่กับ สภาวะจิตที่กำลัง ดูจิตที่ กำลังมีปีติเป็นอารมณ์อยู่นั้น เราก็จะไม่เข้าไปเป็นมัน และ ไม่ยึดว่ามันเป็นเรา คือจะแยกเรากับจิตออกตลอดเวลา แบบนี้จะดีกว่าหลายแง่มุมเลยครับ เช่น ทำให้เรา ไม่เพลินไปกับ จิตที่กำลังมีปีติเป็นอารมณ์ เพราะเรากับมันคนละตัวกัน...

...และจะทำในใจว่า เราต้องการไห้ ปีติ หรือสุข หรือ อุเบกขา เกิดก็เพื่อให้จิตตั้งมั่นมีกำลัง เหมือนเป็นผู้ช่วย ที่เป็นสภาวะหรือพลังนั้น มาช่วยทำไห้เรา เกาะอยู่กับ จิตผู้รู้ ที่แยกตัวออกมาอีกที และเราจะไม่ไปเพลินกับผู้ช่วยคือ ฌาณแต่ละขั้นนั้นๆ เพราะถ้าแบบนั้นคือ ม้ากระจอก ไม่ใช้ ม้า อาชาไนย เลยทำไห้ผม ทำแบบ เอาวิปัสนานำหน้า ตลอดเลยครับ คือ พอปีติเกิด หรือ เฉียดๆ ฌาณที่ 3 แว๊บๆ เรื่อยๆ ก็พิจรณาว่า ได้ฌาณเพื่อเป็นปัจจัย ช่วยเกื้อหนุน เท่านั้น ไม่ใช่ไปเพลิน เพราะถ้าเพลิน จิตก็เกิดวัฏฏะ ภพเกิดอีกแล้ว...!!!

...แต่หน้าที่เราคือ เกาะแน่นอยู่กับ (จิตขณะที่แยกตัวออกมาดูจิตอีกทีนึง) มันจะกลมกลืนควบคู่กันไปอยู่แบบนี้ตลอดเวลา คือ พอจิตเกิด ผมก็จะ ทำในใจว่า อย่าเข้าไปเป็นมัน และ ไม่ยึดว่ามันเป็นเรา แต่ยังไม่ค่อยได้เน้นทำในลักษณะที่ว่า (ขว้างทิ้ง ไม่ถือเอา ทำไห้มอด ไม่ทำไห้ลุกโพรง) หรอกนะครับ คือผมจะทำความรู้สึกว่า จิตมันจะเกิด ก็เกิดไป ตามเหตุตามปัจจัย ของมัน ยังไม่ต้องไปรีบทิ้งอารมณ์ ให้ไวดุจกระพิบตา อะไรหรอก แต่ที่สำคัญ พอมันเกิด เราจะต้องอยู่กับจิตขณะที่แยกตัวออกมาดูมันอยู่อีกทีไห้ได้ ไม่ไปยึดว่าจิต มันเป็นเรา คือไม่เข้าไปเป็นจิต ...แต่จะแยกจิต ออกมาดูมันอยุ่ อีกที แบบนี้ รู้สึกว่า สุดยอดเลยครับ....คือทำแบบนี้ ก็เหมือน ขว้างทิ้ง ไม่ถือเอา ทำไห้มอด ไม่ทำไห้ลุกโพรง ไปโดยอัตโนมัติ นะครับ เพราะ มันก็จะดับไปโดยอัตโนมัติเหมือนกัน เพราะเรามาอยู่กับ (จิตขณะที่แยกตัวออกมาดูจิตอีกทีนึง) นั่นเอง...

...เพราะฉะนั้น ในขณะที่ผมรู้กาย หรือลมหายใจ ก็จะ ทำในใจว่า รู้แบบลอยๆ เพื่อเป็นอุบาย เครื่องมือ ในการดึงจิตไห้อยู่กับ (สภาวะของขณะจิตที่แยกตัวออกมาดูจิตอีกทีนึง) แต่จะไม่เกาะติดอยู่กับอุเบกขาเหมือนเดิมที่เคยทำ แต่จะเกาะอยู่กับ (สภาวะของขณะจิตที่แยกตัวออกมาดูจิต ที่มันกำลังรู้ลม หรือมีอุเบกขาเป็นอารมณ์อยู่ อีกทีนึง) แทน และจะทำในใจว่า ฌาณเป็นเครื่องมือที่เราต้องการทำให้ใด้สูงๆ เพื่อเป็นเครื่องมือในการช่วยทำไห้จิตตั้งมั่น เพื่อช่วยให้เราเกาะแน่นอยู่กับ (สภาวะของขณะจิตที่แยกตัวออกมาดูจิตอีกทีนึง) ให้ได้แบบติดต่อกัน เป็นส่วนไหญ่ มันก็จะเห็นมันได้ชัด และแยกออกมาดูมัน เพื่อปล่อยวางมัน อย่าเข้าไปเป็นมัน ไม่ยึดว่ามันเป็นเรา แต่จะปล่อยวาง อุปทานขันธ์ ให้ได้ เพราะเรา เห็นโทษ ในการที่จิต เข้าไปยึด ขันธ์ ว่าเป็นมัน จึงเกิด วัฏฏะทุกข์ ต่อไปไม่รู้จบ และนี่ คือ ภัยในวัฏสงสาร นั่นเอง...

...แต่ที่ยัง งงอยู่ ก็คือ (สภาวะของขณะจิตที่แยกตัวออกมาดูจิตอีกทีนึง) มันก็คือ วิญญาณตัวเดียวกัน นั่นแหละ แต่เป้นขณะที่เกิดสลับกับมัน ซึ่งแยกออกมาดูมันอีกที ซึ่งก็เกิดดับเร็วมาก จนเรารู้สึกไปเองว่า ดูมันอยู่ตลอด...แต่งงว่าวิมุตติญาณทัสนะ ไปอยู่ตรงไหน มันอยู่ระหว่างจิตแต่ละดวงใช่ไหมครับ แล้วที่บอกว่า วิมุตติญาณทัสนะ นี่แหละ คือตัวรู้อย่างแท้จริง จริงๆแล้วจิตไมได้รู้อะไร แต่ตัวรู้คือ วิมุตติญาณทัสนะ แล้วมันก็กำลัง ยึดว่า จิตเป็นตัวมัน ทำไห้เกิด วัฏฏะ จึงต้องเวียนไหว้ตายเกิด ถ้างั้น (สภาวะของขณะจิตที่แยกตัวออกมาดูจิตอีกทีนึง) ก็น่าจะเป็น วิมุตติญาณทัสนะ ไม่ใช่หรือครับ คือมันเป็นของเบาที่มีอยู่แล้ว เราเพียงแต่ วางของหนัก ของเบาก็จะเกิดปรากฏ ก็คือ วิมุตติญาณทัสนะ...

...และ พอปฏิบัติ แบบที่อธิบายไปแล้วนั้น รู้สึกดีมากเลยครับ เพราะว่า พอเรา ทำในใจ ไห้เกาะอยู่กับ(สภาวะของขณะจิตที่แยกตัวออกมาดูจิตอีกทีนึง) อยู่นั้น เราจะรู้สึกว่าเข้าถึงมันได้มากขึ้น และรู้สึกว่า ดีจริงๆ นี่แหละเป็นสภาวะที่ไม่มีทุกข์ ไม่เกิด ไม่ดับ...ทำไห้ ต่อจากนี้ไป ชีวิตเราจะไม่เป็นเหมือนเดิมอีกแล้ว แต่เป็นชีวิตที่มี (((วิหารธรรม อันวิเศษสุด))) อันหาสิ่งใดมาเปรียบไม่ได้เลย มันรู้สึกว่าโน้มไปสู่นิพานจริงๆ ไม่ว่าผมจะทำอะไร อยู่ที่ไหน ผมจะคิดอยู่เรื่องเดียวนี่แหละ นี่คืองานหลักของเราจริงๆ (((อานาปานสติสมาธิ))) คือการงานทางใจ ที่จะต้องทำตลอด ถ้าตอนไหนไม่ทำ คือ ประมาท ทันที !!!...

...เพราะฉะนั้น จึงขอขอบคุณ คุณ กัลยานนท์ ที่เป็นฟันเฟืองตัวสำคัญ ที่ทำให้มาเข้าใจได้แบบนี้นะครับ........และขอให้คุณ ม้าอาชานนท์ บรรลุ อรหันต์ ในชาตินี้ นะครับ เพราะมี อาวุฒิ เยอะ 55 คือผู้ที่ได้ศึกษา สั่งสม สุตตะ ใว้เยอะ พระพุทธองค์ก็เปรียบเหมือนมี อาวุฒิที่จะไปต่อสู้กับกิเลส ในการปล่อยวาง ขันธ์๕ ได้ดีใช่ไหมครับ.........ขออนุโมทนา......แต่ไม่สวัสดีปีไหม่ หรอกครับ ขอแสดงความเสียใจด้วย 555 เพราะ ปีไหม่ เป็นเพียง สมมุติ ที่ไม่ใช่สาระอะไรเลย...55555....เฮ้อออออ..มีแต่เวลาที่ผ่านไปแล้วทุกสิ่งก็ดับไปหมดเกลี้ยงแล้ว...มีแต่ทุกข์เท่านั้นที่เกิดขึ้น มีแต่ทุกข์เท่านั้นที่ตั้งอยู่ มีแต่ทุกข์เท่านั้นที่ดับไป.....0_o...

 

โดย: อะไรกัน !!! IP: 110.77.226.35 29 ธันวาคม 2553 19:12:17 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 


จูปีเตอร์เทพแห่งดาวพฤหัส
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 5 คน [?]




ดูกรภิกษุทั้งหลาย : บัดนี้ เราขอเตือนพวกเธอว่า สังขารทั้งหลายมีความเสื่อมไปเป็นธรรมดา พวกเธอจงยังความไม่ประมาทให้ถึงพร้อมเถิด ฯ
Friends' blogs
[Add จูปีเตอร์เทพแห่งดาวพฤหัส's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.