ข้อควรพิจารณาในการตัดสินใจปลูกยางพารา
ราคายางพารา(ยางแผ่นดิบ) เฉลี่ยรายปี ณ ตลาดกลางยางพาราอำเภอหาดใหญ่ นับตั้งแต่ปี 2544 เป็นต้นมา ได้เพิ่มขึ้นทุก ๆ ปี จาก กิโลกรัมละ 22.52 บาท จนถึง กิโลกรัมละ 82.13 บาท ในปี 2551 นับเป็นเรื่องที่น่ายินดีสำหรับผู้ที่มีอาชีพทำสวนยางพารา และที่เป็นข่าวครึกโครมก็คือราคายางพารา ณ วันที่ 12-13 มิถุนายน 49 ที่สูงถึงกิโลกรัมละ 100.99 บาท สิ่งนี้ เป็นสาเหตุให้มีมือใหม่ในการปลูกสร้างสวนยางพาราเพิ่มมากขึ้น อย่างรวดเร็ว แต่นี่ก็ไม่ใช่สาเหตุเดียวที่จะมีมือใหม่ในวงการนี้ มีหลายคนที่ไม่ได้ทำการเกษตรมาเลย แต่ต้องรับมรดกเป็นสวนยางพารา หรือข้าราชการหลายท่านที่มองหาสวนยางพาราไว้เป็นแหล่งรายได้และหลีกหนีความ วุ่นวายจากสังคมเมืองในบั้นปลายของชีวิต, ตลอดจนพี่น้องเกษตรกรภาคกลาง-อีสาน-เหนือ ที่อยากจะเปลี่ยนอาชีพมาทำสวนยางพารา เพื่อความหวังใหม่ที่น่าจะดีกว่าชีวิตเดิม ๆ ไม่ว่าจะเป็นใคร หากท่านจำเป็นต้องใช้เงินก้อนใหญ่ในการลงทุนปลูกสร้างสวนยางพารา ข้อคิดที่ควรพิจารณา จึงน่าเป็นสิ่งที่ทำให้เราเข้าใจเรื่องยางพาราและปัญหาเรื่องยางพารา มากขึ้น

ราคายางพาราขึ้นอยู่กับปัจจัยหลาย ๆ อย่าง ที่ค่อนข้างซับซ้อน แต่ปัจจัยหลัก คือ เรืองของ อุปสงค์(demand-คือ ปริมาณความต้องการสินค้า) และอุปทาน (supply-ปริมาณเสนอขายสินค้า) ซึ่งจะขึ้นอยู่กับภาวะเศรษฐกิจของประเทศผู้ใช้ยางที่สำคัญ เช่น จีน, สหรัฐอเมริกา, ญี่ปุ่น, อินเดีย, มาเลเซีย, เกาหลีใต้ เป็นต้น หากภาวะเศรษฐกิจของประเทศเหล่านี้ โดยเฉพาะประเทศจีน ที่มีอัตราการขยายตัวของการใช้ยางมากที่สุดในปัจจุบันนี้ เป็นไปในทิศทางที่ดี การสั่งซื้อยางพาราจากไทย เพื่อนำเข้าประเทศเพื่ออุตสาหกรรมการผลิตยางรถยนต์ ก็จะเป็นการกระตุ้นราคายางพาราได้เป็นอย่าสวนยางพารา อายุประมาณ 5 ปีงดี (หลังจากที่จีนได้เป็นสมาชิกองค์การการค้าโลก หรือ WTO เมื่อปี 2544 ทำให้การลงทุนของบริษัทผลิตรถยนต์ และยางรถยนต์ขนาดใหญ่จากต่างประเทศหลั่งไหลเข้าสู่ประเทศจีนมาก และเนื่องจากประเทศจีนเป็นตลาดที่ใหญ่ จึงทำให้เศรษฐกิจขยายตัวอย่างรวดเร็ว)
แม้ว่าทางรัฐบาลจะมีมาตรการรองรับหรือมีมาตรการในการรักษาระดับราคา ยางพาราไม่ให้ตกต่ำ เช่น การร่วมมือของ 3 ประเทศยักใหญ่ในการผลิตยางพารา คือ ไทย, มาเลเซีย และอินโดนีเซีย ในการก่อตั้งบริษัทการค้าร่วม ก็ตาม แต่คงไม่มีใครรับรองได้ 100 % ว่าพี่น้องเกษตรกรชาวสวนยางพาราจะไม่พบกับปัญหาราคายางพาราตกต่ำ เนื่องจากยางพาราเป็นสินค้าทางการเกษตรที่มีปัจจัยเกี่ยวข้องมากมาย และไม่อาจควบคุมการผลิตที่ขึ้นอยู่กับธรรมชาติได้เช่นยางสังเคราะห์ ที่เป็นสินค้าอุตสาหกรรม
การได้เข้ามาเป็นรัฐบาลของพรรคการเมืองต่าง ๆ อาจส่งผลต่อราคายางพาราได้เช่นกัน แต่อยู่ในระดับหนึ่ง ปัจจัยที่มีผลมากจนทำให้ราคาเปลี่ยนแปลงไปมาก ๆ คือเรือง อุปสงค์และอุปทาน และภาวะเศรษฐกิจโลก ตามที่กล่าวมาแล้วข้างต้น
หากมีมาตรการควบคุมการเพิ่มพื้นที่ปลูกยางพาราของประเทศต่าง ๆ เพื่อให้การผลิตมีความสมดุลย์กับปริมาณการใช้ ราคายางพาราก็จะมีเสถียรภาพมากขึ้น

==========



Create Date : 05 ตุลาคม 2554
Last Update : 5 ตุลาคม 2554 22:13:58 น.
Counter : 513 Pageviews.

0 comments
ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
 *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

saveja01
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]



ตุลาคม 2554

 
 
 
 
 
 
1
2
3
7
8
12
14
15
16
18
19
21
22
24
26
28
30
31
 
 
All Blog