เพลี้ยหอย-แมลงศัตรูยาง
เพลี้ยหอย (Scale Insects) เพลี้ยหอยที่พบบนต้นยางมี 2 จำพวก คือ พวกที่ไม่มีเกราะหุ้มตัว และพวกที่มีเกราะหุ้มตัว เพลี้ยหอยทำลายโดยการดูดน้ำเลี้ยงตรงส่วนที่เป็นสีเขียว ทำให้ต้นยางชะงักการเจริญเติบโต มักพบในเรือนเพาะชำ หรือบนต้นยางอ่อน
ลักษณะและวงจรชีวิตของเพลี้ยหอย

ตัวอ่อนเมื่อเริ่มออกจากไข่จะมีขาและเคลื่อนที่ได้ แต่หลังจากลอกคราบแล้วขาจะหายไป เมื่อเริ่มเจาะดูดน้ำเลี้ยงแล้วจะไม่เคลื่อนไหว พร้อมสร้างเกราะหุ้มตัวเอง เพลี้ยหอยที่พบอยู่ตามกิ่งก้านของต้นยาง เป็นตัวเมียที่สร้างเกราะหนาไว้ป้องกันตัว และอยู่กับที่ตลอดไป เกราะจะมีขนาดประมาณ 3-5 มม. มีสีน้ำตาลแก่ ตัวผู้ไม่มีปากดูด และมีขนาดเล็กกว่าตัวเมียมาก มีปีกและบินได้
การทำลายของเพลี้ยหอย

ส่วนของกิ่งก้านที่ถูกเพลี้ยหอยดูดกินน้ำเลี้ยงจะเหี่ยวดำ และมีซากเพลี้ยหอยเกาะกิ่งก้านที่มันดูดกินน้ำเลี้ยง ต่อมากิ่งก้านนั้นจะแห้งตาย ถ้ามีเพลี้ยปริมาณมาก จะระบาดลุกลามไปทำอันตรายต่อส่วนลำต้น ใบยางและก้านใบ
การระบาดของเพลี้ยหอย

ช่วงอากาศแห้งแล้ง
การป้องกันกำจัดเพลี้ยหอย

โดยธรรมชาติเพลี้ยหอยจะถูกศัตรูธรรมชาติ เช่น แมลง และเชื้อรา เข้าทำลายไข่ และตัวอ่อนของมัน
ใช้สารเคมี เช่น
มาลาไทออน(malathion) ที่พบและมีจำหน่ายในชื่อการค้า เช่น มาลาไธออน 83% EC โดยใช้ในอัตรา 20 ซีซีต่อน้ำ 20 ลิตร พ่นบริเวณที่มีเพลี้ย 3-4 ครั้ง
ไวท์ออยล์ (White Oil) ที่พบและมีจำหน่ายในชื่อการค้า เช่น ทานาแทค 67% EC โดยใช้ในอัตรา 200 ซีซีต่อน้ำ 20 ลิตร พ่นเฉพาะที่พบการระบาด พ่นซ้ำตามความจำเป็น

==========



Create Date : 09 ตุลาคม 2554
Last Update : 9 ตุลาคม 2554 21:39:51 น.
Counter : 709 Pageviews.

0 comments
ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
 *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

saveja01
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]



ตุลาคม 2554

 
 
 
 
 
 
1
2
3
7
8
12
14
15
16
18
19
21
22
24
26
28
30
31
 
 
All Blog