ชิคุนกุนยาหรือโรคไข้ปวดข้อยุงลาย-เจ็บปวดทรมานพอทน
"ชิคุนกุนยา" หรือโรคไข้ปวดข้อยุงลาย เป็น โรคที่เกิดจากเชื้อไวรัสชิคุนกุนยา มียุงลายเป็นพาหะ ผู้ใหญ่ที่เป็นโรคนี้จะมีอาการรุนแรงกว่าเด็ก คือจะมีอาการไข้สูงพร้อม ๆ กับการปวดข้อ(ซึ่งอาจพบข้ออักเสบได้) ส่วนใหญ่จะเป็นที่ข้อมือ ข้อเข่า ข้อเท้า อาการปวดข้อจะพบได้หลาย ๆ ข้อเปลี่ยนตำแหน่งไปเรื่อยๆ (Migratory polyarthritis) อาการจะรุนแรงมากจนบางครั้งขยับข้อไม่ได้ และจะหายภายใน 1-12 สัปดาห์ ผู้ป่วยบางรายอาจมีอาการปวดข้อเกิดขึ้นได้อีกภายใน 2-3 สัปดาห์ต่อมา และบางรายอาการปวดข้อจะอยู่ได้นานเป็นเดือนหรือเป็นปี แต่ไม่พบผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรงถึงขั้นช็อก

หลังจากที่ได้ติดตามการระบาดและสอบถามอาการของชาวสวนยางพาราที่ป่วยเป็น โรคชิคุนกุนยาหรือโรคไข้ปวดข้อยุงลายมาได้ 2-3 ราย และหลังจากที่ได้ค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับโรคชิคุนกุนยา แล้วคัดลอกมาพิมพ์แจกเพื่อน ๆ ได้ไม่ทันไร ความรู้เกี่ยวกับอาการป่วยด้วยโรคชิคุนกุนยา ก็เข้ามาหาตัวผมเองโดยไม่ต้องไปค้นคว้าอีกต่อไปเพราะดูเหมือนจะหมดสิทธิ์ที่ จะทำได้อันเนื่องมาจากร่างกายต้องเผชิญกับไข้สูง ทรมานและทนเจ็บปวดตามข้อไปทั่วร่างกาย

เช้าของวันที่ 4 พ.ค. 2552 ก่อนจะลุกจากเตียงก็รู้สึกเอะใจ และแปลกใจว่าทำไมจึงรู้สึกเจ็บข้อไหล่ขวามากเมื่อขยับตัวเพียงเล็กน้อย หลังจากลุกขึ้นมาเดินก็รู้สึกเจ็บที่เข่าและข้อเท้าเป็นอย่างมาก วันนั้นกะว่าจะลางานเพราะต้องไปเยี่ยมอาการคุณแม่ที่กำลังออกจากห้องผ่าตัด เข่าและต้องเข้าห้องไอซียูต่อ เมื่อกลับมาถึงบ้านตอนสาย ๆ ก็รู้สึกหนาว ๆ ร้อน ๆ ครั่นเนื้อครั่นตัวเป็นอย่างมาก ในใจตอนนั้นก็ให้นึกถึงโรคชิคุนกุนยา ขึ้นมาทันที และเท่าที่รู้มาว่าโรคนี้ไม่มียารักษาโดยเฉพาะ แต่จะรักษาไปตามอาการที่เป็น จึงตัดสินใจทานยาพาราเซตตามอล 2 เม็ด เพื่อลดอาการไข้ แล้วนอนห่มผ้าเพราะรู้สึกหนาวมาก

ก่อนเที่ยง เมื่ออาการไข้เริ่มลดลง ก็ได้ทำการสำรวจร่างกายตัวเองอีกครั้ง ก็พบว่าข้อไหล่ด้านขวามีอาการเจ็บปวดอย่างรุนแรง ไม่สามารถใช้หรือทำอะไรได้เลย(แม้เพียงขยับแขนสัก 1 เซนติเมตร) แต่ข้อไหล่ด้านซ้ายเจ็บน้อย พอจะใช้งานได้บ้าง ข้อมือก็เจ็บ ข้อเท้าก็ปวด ข้อเข่ายิ่งร้ายแรงเพราะไม่สามารถงอเข่าได้แม้เพียงน้อยนิด จึงทำให้การเดินต้องเดินแบบช้า ๆ ขาตรง เข่าตรงอยู่ตลอดเวลา หากต้องการขึ้นบันไดก็ต้องค่อย ๆ ก้าวเท้าข้างหนึ่งไปพักไว้ก่อน แล้วค่อย ๆ ก้าวเท้าอีกข้างหนึ่งมาพักไว้ใก้ล ๆ ก่อนที่จะก้าวขึ้นขั้นถัดไป ไม่สามารถขึ้นลงแบบสลับเท้าได้ ผู้ที่เป็นโรคชิคุนกุนยาจึงต้องทนทุกข์ทรมานกับการใช้ชีวิตประจำวันพอสมควร เพราะแม้แต่การนั่งอยู่บนที่นั่งหากต้องการลุกขึ้นยืน กว่าจะลุกขึ้นได้ก็ต้องร้องโอดโอยเพราะเข่าไม่สามารถพยุงร่างกายได้ ครั้นจะใช้มือช่วยค้ำ ข้อมือก็เจ็บไม่สามารถค้ำหรือลงน้ำหนักได้ ยิ่งถ้าเป็นผู้หญิง ก็จะเจ็บมากกว่าผู้ชายโดยเฉพาะเวลานั่งถ่ายหนัก หรือถ่ายเบา บางคนอาเจียน ด้วยอีกต่างหาก

หลังจากผ่านไป 3 วัน ซึ่งก็ทานยาพาราเซตตามอลไป ถึง 6 ครั้ง อาการไข้หนัก หรือไข้สูงก็ทุเลาขึ้น แต่ก็ยังมีหลงเหลืออยู่บ้างเล็ก ๆ น้อย ๆ ผมสามารถขึ้นลงบันได้ได้ แต่อาการใหม่คือเริ่มบวบแดงตามปลายนิ้วมือนิ้วเท้า ไปกด ๆ ดูจะรู้สึกเจ็บ ๆ ทำให้มีปัญหาในการหยิบจับของที่มีลักษณะเป็นขอบ ๆ เช่น แว่นตา หรือแผ่นซีดี เป็นต้น

หลังจากผ่านไป 5-6 วัน สิ่งที่น่ากลัวอีกอย่างก็คือ ผื่นแดง ก็จะค่อย ๆ เริ่มปรากฎให้เห็นทั่วตัว รวมทั้งบนใบหน้าบ้างเล็กน้อย ประมาณ 3 วัน ผืนแดงก็จะค่อย ๆ หายไป(บางคนอาจคันบ้าง) หากต้องการความแน่นอนก็ควรไปพบแพทย์เพื่อตรวเลือดว่าไม่ใช่ไข้เลือด ออก) จากนั้นก็จะมีอาการเจ็บบริเวณฝ่าเท้าทั้งสอง ใส่รองเท้าแตะก็เจ็บ เวลาเดินก็เจ็บ นอกจากฝ่าเท้าแล้วก็จะเจ็บบริเวณหลังเท้าด้วยเช่นกัน และหลังจากนี้เป็นต้นไป อาการปวดตามข้อก็จะค่อย ๆ หายไปซึ่งอาจใช้เวลาระยะหนึ่ง และต้องคอยดูแลตัวเองไม่ให้เป็นซ้ำอีก

หากไม่กรีดยางเป็นระยะเวลานานและตั้งถ้วยยางให้รับน้ำฝนได้ก็จะกลายเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ยุงการ ดูแลรักษาต้วเองขณะเป็นนั้น นอกจากว่าต้องทานยาพาราเซตตามอล หรือยาเขียวใหญ่เพื่อลดอาการไข้แล้ว หากไปหาแพทย์ก็อาจได้ยาลดอาการปวดข้อมาทานบ้าง สิ่งง่าย ๆ ที่ควรทำในการดูแลตัวเองก็คือ ควรทานผักผลไม้ให้มาก ๆ ทานน้ำให้มาก ๆ พักผ่อนให้มาก ๆ หากใครมีอาหารเสริมดี ๆ ก็พอจะช่วยให้อาการดีเร็วขึ้นได้ (ผมทานน้ำมันรำข้าว เช้าหลังอาหาร 2 แคปซูล และทานจีเอ็มวัน (สารสกัดจากมังคุด) ก่อนนอน 2 แคปซูล

หากไม่กรีดยางเป็นระยะเวลานานควรตะแคงถ้วยยางไม่ให้มีน้ำขังได้สำหรับ สาเหตุและการติดต่อ น.พ.หม่อมหลวงสมชาย จักรพันธุ์ อธิบดีกรมควบคุมโรค เปิดเผยว่า เมื่อยุงลาย(ทั้งยุงลายป่าและยุงลายที่บ้าน)ตัวเมียกัดและดูดเลือดผู้ป่วย ที่อยู่ในระยะไข้สูง ซึ่งเป็นระยะที่มีไวรัสอยู่ในกระแสเลือด เชื้อไวรัสจะเข้าสู่กระเพาะยุงและเพิ่มจำนวนมากขึ้น แล้วเดินทางเข้าสู่ต่อมน้ำลาย เมื่อยุงที่มีเชื้อไวรัสชิคุนกุนยาไปกัดคนอื่นก็จะปล่อยเชื้อไปยังคนที่ถูก กัดทำให้คนนั้นเกิดอาการของโรคได้ โดยทั่วไปจะมีการฟักตัวประมาณ 1-12 วัน แต่ที่พบบ่อยประมาณ 2-3 วัน ระยะติดต่อคือระยะไข้สูงประมาณวันที่ 2-4 ซึ่งเป็นระยะที่มีไวรัสอยู่ในกระแสเลือดมาก

ในสภาพความเป็นจริงขณะนี้ มีผู้เป็นโรคนี้แล้วนับหมื่นคน บางหมู่บ้าน ชาวสวนยางเป็นกันมากอาจถึงร้อยละ 90 บางคนเป็นซ้ำสองก็มีพอสมควร และโรคนี้ได้กระจายไปมากกว่า 15 จังหวัดแล้ว หากช่วย ๆ กันได้ก็ควรรีบทำนะครับ เพราะตอนนี้เป็นหน้าฝนอยู่ด้วย ใครที่หยุดกรีดยางนาน ๆ (ด้วยสาเหตุใดก็แล้วแต่) หากไม่ตะแคงถ้วยรับน้ำยาง ปล่อยให้น้ำขังในถ้วยยางก็ ก็จะเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ยุงเป็นอย่างดี หากปล่อยไว้แบบนี้นาน ๆ ยุงในสวนยางแปลงนั้นก็จะมากผิดปกติ หากคนเข้าไปแล้วกลับออกมา ยุงก็จะบินตามมาติด ๆ อีกประมาณ 2 โหล พอเปิดประตูขึ้นรถ มันก็จะประชิดติดตัวเราและเข้าในรถพร้อมเดินทางไปกับเราทันที

==========



Create Date : 04 ตุลาคม 2554
Last Update : 4 ตุลาคม 2554 22:20:01 น.
Counter : 461 Pageviews.

1 comments
  
โดย: aodblo22 วันที่: 18 ตุลาคม 2554 เวลา:16:53:23 น.
ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
 *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

saveja01
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]



ตุลาคม 2554

 
 
 
 
 
 
1
2
3
7
8
12
14
15
16
18
19
21
22
24
26
28
30
31
 
 
All Blog