โรคใบจุดตานก
โรคใบจุดตานก(Bird’s eye spot) มักเกิดในแปลงกล้ายางที่ปลูกไว้เป็นต้นตอ และต้นยางในแปลงกิ่งตาสำหรับขยายพันธุ์ ทำให้ใบร่วง ต้นยางชะงักการเจริญเติบโต และต้องใช้เวลานานกว่าต้นยาง จะได้ขนาดติดตา
สาเหตุของโรคใบจุดตานก

เกิดจากเชื้อรา Drechslera (Helminthosporium) heveae (Petch) M.B. Ellis.
ลักษณะอาการของโรคใบจุดตานก

ถ้า เชื้อราเข้าทำลายใบในระยะที่ใบยังอ่อนมาก จุดแผลที่เกิดจะไม่แตกต่างจากการเข้าทำลายของเชื้อราชนิดอื่นๆ แผ่นใบจะหงิกงอเน่าดำ และร่วง เหลือแต่ยอดที่มีลักษณะบวมโต ใบยางที่มีอายุมากขึ้นจะปรากฏจุดแผลค่อนข้างกลม ขอบแผลมีสีน้ำตาลล้อมรอบซึ่งโปร่งแสง ถ้าเชื้อเข้าทำลายใบยางแก่จะมีลักษณะเป็นรอยจุดสีน้ำตาลเท่านั้น
การแพร่ระบาดของโรคใบจุดตานก

ระบาด รุนแรงในแปลงกล้ายางที่ปลูกในพื้นที่ดินทราย หรือที่ดินมีความอุดมสมบูรณ์ต่ำ โรคนี้แพร่ระบาดโดยลม ฝน หรือการสัมผัสระหว่างต้นยางที่เป็นโรค

การป้องกันกำจัดโรคใบจุดตานก

หลีกเลี่ยงการปลูกต้นกล้ายางในพื้นที่ดินทราย
ใช้ปุ๋ยอินทรีย์หรือปุ๋ยคอกช่วยปรับสภาพดินให้อุ้มน้ำได้ดีขึ้น
ใช้สารเคมีพ่นใบยางเมื่อเริ่มพบอาการของโรค
แมน โคเซบ(mancozeb) ที่พบและมีจำหน่ายในชื่อการค้า เช่น แมนโคเซบ 75% WP หรือ ไดเทนเอ็ม 45 80% WP โดยใช้ในอัตรา 48 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร พ่นใบยางอ่อนทุก 7 วัน
โปรพิเนบ (propineb) ที่พบและมีจำหน่ายในชื่อการค้า เช่น แอนทราโคล 75% WP โดยใช้ในอัตรา 48 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร พ่นใบยางอ่อนทุก 7 วัน
คลอโรธาโลนิล(chlorothalonil) ที่พบและมีจำหน่ายในชื่อ การค้า เช่น ดาโคนิล 75% WP โดยใช้ในอัตรา 48 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร พ่นใบยางอ่อนทุก 7 วัน

============



Create Date : 13 ตุลาคม 2554
Last Update : 13 ตุลาคม 2554 22:40:19 น.
Counter : 924 Pageviews.

0 comments
ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
 *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

saveja01
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]



ตุลาคม 2554

 
 
 
 
 
 
1
2
3
7
8
12
14
15
16
18
19
21
22
24
26
28
30
31
 
 
13 ตุลาคม 2554
All Blog