โรคใบจุดนูน
โรคใบจุดนูน (Colletotrichum leaf spot) โรคนี้เข้าทำลายใบอ่อนของต้นยางได้ทุกระยะการเจริญเติบโตและเกิดได้ตลอดทั้ง ปี แต่จะรุนแรงในสภาพอากาศขึ้น จนเป็นเหตุให้เกิดใบร่วง และการตายจากยอดในยางพันธุ์อ่อนแอ
สาเหตุโรคใบจุดนูน

เกิดจากเชื้อรา Colletotrichum gloeosporioides (Penz.) Soce.
ลักษณะอาการโรคใบจุดนูน

โรคยางพารา-โรคใบจุดนูนใบ ยางอ่อนที่ถูกเชื้อราเข้าทำลาย ปลายใบจะบิดงอ เหี่ยวเน่าดำ และหลุดร่วงในระยะใบเพลลาด ใบบางส่วนอาจบิดงอ และพบจุดแผลสีน้ำตาล ขอบแผลสีเหลือง ขนาดประมาณ 1-2 มิลลิเมตร เมื่อใบยางมีอายุมากขึ้น จุดเหล่านี้จะนูน เนื้อเยื่อตรงกลาง แผลอาจทะลุเป็นรู ถ้าระบาดรุนแรงอาจพบแผลบนกิ่งอ่อนหรือยอดอ่อน และทำให้เกิดอาการตายจากยอดได้
การแพร่ระบาดของโรคใบจุดนูน

ระบาดรุนแรงกับยางที่แตกใบอ่อน ในช่วงที่มีฝนตกชุก ความชื้นสูง เชื้อแพร่ระบาดโดยน้ำฝน ลม และแมลง
พืชอาศัยของเชื้อราโรคใบจุดนูน

อาโวกาโด โกโก้ กาแฟ ชา ส้ม กล้วย มะละกอ
การป้องกันกำจัด

ต้นยางที่มีอายุน้อยกว่า 2 ปี ใช้สารเคมีพ่นบนใบยางเมื่อเริ่มพบการระบาด

ไซเนบ(zineb) ที่พบและมีจำหน่ายในชื่อการค้า เช่น ไซเนบ 80% WP โดยใช้ในอัตรา 40 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นบนใบยางอ่อนทุก 5 วัน ประมาณ 5-6 ครั้ง
คลอโรธาโลนิล(chlorothalonil) ที่พบและมีจำหน่ายในชื่อการค้า เช่น ดาโคนิล 75% WP โดยใช้ในอัตรา 40 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นบนใบยางอ่อนทุก 5 วัน ประมาณ 5-6 ครั้ง
เบโนมิล(benomy) ที่พบและมีจำหน่ายในชื่อการค้า เช่น เบเลท 50% WP โดยใช้ในอัตรา 40 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นบนใบยางอ่อนทุก 5 วัน ประมาณ 5-6 ครั้ง
โพรพิเนบ(propineb) ที่พบและมีจำหน่ายในชื่อการค้า เช่น แอนทราโคล 75% WP โดยใช้ในอัตรา 40 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นบนใบยางอ่อนทุก 5 วัน ประมาณ 5-6 ครั้ง

==========



Create Date : 17 ตุลาคม 2554
Last Update : 17 ตุลาคม 2554 20:42:41 น.
Counter : 863 Pageviews.

0 comments
ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
 *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

saveja01
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]



ตุลาคม 2554

 
 
 
 
 
 
1
2
3
7
8
12
14
15
16
18
19
21
22
24
26
28
30
31
 
 
17 ตุลาคม 2554
All Blog