โรครากขาวยางพารา
โรครากขาวยางพารา (White root disease) เชื้อราโรครากขาวสามารถเข้าทำลายรากยางพาราได้ทุกระยะการเจริญเติบโต ตั้งแต่อายุ 1 ปีขึ้นไป ในระยะเริ่มแรกจะไม่เห็นลักษณะผิดปกติของต้นยางพาราส่วนที่อยู่เหนือพื้นดิน เมื่อส่วนรากถูกทำลายเสียหายจนไม่สามารถดูดน้ำและธาตุอาหารได้ จึงแสดงอาการใบเหลืองและใบร่วง สำหรับต้นยางเล็กที่เป็นโรค พุ่มใบทั้งหมดจะมีสีเหลืองผิดกติ ถ้าเป็นต้นยางใหญ่ พุ่มใบบางส่วนจะดูเสมือนว่าแก่จัดและเหลือง ซึ่งจะแตกต่างกับสีเขียวเข้มของพุ่มใบต้นยางที่สมบูรณ์อย่างเห็นได้ชัด
สาเหตุของโรครากขาว

เกิดจากเชื้อรา Rigidoporus lignosus (Klotzsch) imazeki
โรครากขาวยางพาราลักษณะอาการของโรครากขาว

เมื่อระบบรากถูกทำลายมากขึ้น จะแสดงอาการให้เห็นที่ทรงพุ่ม ซึ่งเป็นระยะที่รุนแรงและไม่สามารถรักษาได้ บริเวณรากที่ถูกเชื้อเข้าทำลายจะปรากฏกลุ่มเส้นใยสีขาวเจริญแตกสาขาปกคลุม และเกาะติดแน่นกับผิวราก เมื่อเส้นใยอายุมากขึ้นจะกลายเป็นเส้นกลมนูนสีเหลืองซีด เนื้อไม้ของรากที่เป็นโรคในระยะแรกจะแข็งกระด้างเป็นสีน้ำตาลซีด ในระยะรุนแรงจะกลายเป็นสีครีม ถ้าอยู่ในที่ชื้นแฉะจะอ่อนนิ่ม ดอกเห็นมีลักษณะเป็นแผ่นครึ่งวงกลมแผ่นเดียวหรือซ้อนกันเป็นชั้นๆ ผิวด้านบนเป็นสีเหลืองส้ม โดยมีสีเข้มอ่อนเรียงสลับกันเป็นวง ผิวด้านล่างเป็นสีส้มแดงหรือสีน้ำตาล ขอบดอกเห็ดเป็นสีขาว
การแพร่ระบาดของโรครากขาว

เชื้อราเจริญเติบโตและระบาดอย่างรวดเร็วในช่วงฤดูฝน อาการศมีความชื้นสูง และสามารถแพร่กระจายได้ 2 ทาง คือ

โดยการสัมผัสกันระหว่างรากที่เป็นโรคกับรากจากต้นปกติ ทำให้เชื้อเจริญลุกลามต่อไป
โดยสปอร์ของเชื้อราปลิวไปตามลม ติดไปกับขาแมลง หรือลอยไปตามน้ำ แล้วไปตกบนบาดแผลของตอยางใหม่ เมื่อมีความชื้นเพียงพอจะเจริญลุกลามไปยังระบบรากกลายเป็นแหล่งเชื้อโรค แหล่งใหม่ต่อไป

พืชอาศัยของเชื้อโรครากขาว

ทุเรียน ขนุน จำปาดะ มังคุด มะพร้าว ไผ่ ส้ม โกโก้ ชา กาแฟ เนียงนก พริกไทย พริกขี้หนู น้อยหน่า มันสำปะหลัง สะเดาบ้าน สะเดาเทียม ทัง มะเขือเปราะ กระทกรก มันเทศ น้อยหน่า ลองกอง
การป้องกันกำจัดโรครากขาว

เตรียมพื้นที่ปลูกให้ปลอดโรค โดยการขุดทำลายตอยางเก่า ซึ่งเป็นแหล่งสะสมโรคออกให้หมด
ในแหล่งที่มีโรคระบาด หลังการเตรียมดินควรปลูกพืชคลุมดินตระกูลถั่วเพื่อปรับสภาพดินให้เหมาะสมกับ การเจริญเติบโตของพืชและจุลินทรีย์ในดินบางชนิดที่เป็นพิษต่อเชื้อราสาเหตุ โรคราก
หลังจากปลูกยางพาราไปแล้ว 1 ปี ควรตรวจค้นหาต้นยางพาราที่เป็นโรครากเป็นประจำ เมื่อพบต้นเป็นโรค ควรขุดทำลายและรักษาต้นข้างเคียงโดยการใช้สารเคมี
ต้นยางพาราที่มีอายุมากกว่า 3 ปีขึ้นไป ควรขุดคูล้อมบริเวณต้นเป็นโรค (ขนาดคูกว้าง 30 ซม. ลึก 60 ซม. ) เพื่อกั้นระหว่างต้นที่เป็นโรคและต้นปกติ ไม่ให้รากสัมผัสกัน
ไม่ควรปลูกพืชร่วมยาง หรือพืชแซมยางที่เป็นพืชอาศัยในพื้นที่ที่เป็นโรคราก
ใช้สารเคมีสำหรับรักษาต้นที่เป็นโรคเพียงเล็กน้อย และใช้กับต้นยางพาราข้างเคียงเพื่อป้องกันโรค โดยขุดร่องเล็กๆ รอบโคนต้นกว้าง 15-20 ซม. เทสารเคมีลงในร่องรอบโคนต้น ใช้สาร เคมีทุก 6 เดือน เป็นเวลา 2 ปี สารเคมีที่แนะนำ มีดังน้
ไตรเดอร์มอร์ฟ(tridemorph) ที่พบและมีจำหน่ายในชื่อการค้า เช่น คาลิกซิน 75% EC โดยใช้ในอัตรา 10-20 ซีซี ต่อน้ำ 1-2 ลิตรต่อต้น
ไซโปรโคนาโซล(cyproconazole) ที่พบและมีจำหน่ายในชื่อการค้า เช่น อัลโด 10% SL โดยใช้ในอัตรา 10-20 ซีซี ต่อน้ำ 1-2 ลิตรต่อต้น
โปรปิโคนาโซล(propiconazole) ที่พบและมีจำหน่ายในชื่อการค้า เช่น ทิลท์ 25% EC โดยใช้ในอัตรา 30 ซีซีต่อน้ำ 3 ลิตรต่อต้น
เฮกชะโคนาโซล(hexoconazole) ที่พบและมีจำหน่ายในชื่อการค้า เช่น เอนวิล 5% EC โดยใช้ในอัตรา 10-20 ซีซีต่อน้ำ 2 ลิตรต่อต้น
เฟนิโคลนิล(feniclonil) ที่พบและมีจำหน่ายในชื่อการค้า เช่น เบเรต์ 40% FS โดยใช้ในอัตรา 4-8 กรัมต่อน้ำ 3 ลิตรต่อต้น

===============



Create Date : 27 ตุลาคม 2554
Last Update : 27 ตุลาคม 2554 7:09:48 น.
Counter : 438 Pageviews.

1 comments
  
มีความรู้มาก
โดย: junaerk วันที่: 27 ตุลาคม 2554 เวลา:8:57:06 น.
ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
 *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

saveja01
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]



ตุลาคม 2554

 
 
 
 
 
 
1
2
3
7
8
12
14
15
16
18
19
21
22
24
26
28
30
31
 
 
All Blog