ไม้กฤษณาคืออะไร
ไม้กฤษณาคืออะไร

คำว่า กฤษณา หมายถึง ไม้กฤษณา หรือกฤษณา หรือต้นไม้หอม ไม้กฤษณาที่ยังเป็นต้นไม้อยู่ (ตอนที่ยังไม่เกิดบาดแผล) จะมีเนื้อไม้สีขาว แต่เมื่อเกิดบาดแผลแล้วก็จะมีน้ำมันสีดำเกิดขึ้น และขยายวงกว้างออกไป สำหรับไม้กฤษณาที่เกรดดี ๆ ที่มีราคาหลายหมื่นบาท ก็จะต้องทิ้งไว้หลายปี จนเป็นสีดำสนิท หรือสีน้ำตาล

การขยายพันธุ์

ชาวบ้านทั่วไปมักจะใช้การเพาะเมล็ด เมล็ดของกฤษณามาจากดอกที่จะออกดอกช่วงผลัดใบ ประมาณเดือนมีนาคม-เมษายน หรือช่วงหลังปีใหม่ ถ้าฝนแล้งก็จะมีดอกช่วงเดือนมีนาคม โดยจะมีดอก 2 ชุดคือ ชุดเล็กและชุดใหญ่ (บางครั้งจะมี 1 ชุด) ผลจะแก่ช่วงเดือนพฤษภาคม-มิถุนายน ก็จะทยอยร่วงหล่น ผลมีเมล็ด 2 แบบคือ เมล็ดแก่จะมีสีเขียว และถ้าเมล็ดแก่มาก ๆ จะมีสีน้ำตาล และแตกออก ทำให้สามารถเก็บไปเพาะพันธุ์ต่อได้

มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์มีการเพาะเมล็ดพันธุ์กฤษณา แต่เป็นวิธีการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ ซึ่งใช้เวลานาน จึงต้องใช้พันธุ์ที่ดีจึงจะคุ้มค่ากับเวลาที่เสียไป และการใช้วิธีแบบนี้จะให้ผลผลิตที่ดีมาก ถ้าได้พันธุ์ที่ไม่ดี จะทำให้เกิดกฤษณาพันธุ์ที่ไม่ดีหลายหมื่นต้น ซึ่งเป็นการสิ้นเปลืองต้นทุน

การเพาะปลูก

สำหรับไม้กฤษณาสามารถขึ้นได้ทั่ว ๆ ไป แต่ถ้าจะให้ดีควรมีการจัดสรรที่ที่เหมาะสม สภาพดินต้องมีความชุ่มชื้น ไม่ควรเป็นดินทรายจัด ดินลูกรัง หินดาน หรือที่แห้งแล้งจนเกินไป ฝนตกไม่ต่ำกว่า 5 เดือน และต้องตัดแต่งกิ่งให้ดีด้วย จะต้องมีระยะห่างระหว่างต้นประมาณ 3.3 ตารางเมตร เมื่อปลูกได้แล้ว หลังจาก 5 ปี ควรจะวัดเส้นรอบวงได้ประมาณ 50 เซนติเมตร โดยวัดสูงจากพื้นดิน 1 เมตร

ราคา

ที่จังหวัดจันทบุรีและจังหวัดตราด ต้นกล้าสูงประมาณ 1 ฟุต ขาย 10 บาท แต่ถ้าสูง 5-6 เซนติเมตร ขาย 4-5 บาท

การเกิดจากเชื้อราตามที่สมัยก่อนเชื่อ
จากความเชื่อแต่โบราณ ในงานวิจัยนี้ได้มีการนำเชื้อราจากต้นไปตรวจพบว่า ไม่ได้ทำให้เกิดกฤษณา แต่เป็นการทำลายเนื้อไม้ให้ผุ จึงสรุปได้ว่า เชื้อราเป็นตัวทำให้เกิดกฤษณาเพียงส่วนหนึ่งเท่านั้นไม่ใช่ส่วนใหญ่ การที่จะทำให้เกิดกฤษณาได้ต้องทำให้เกิดบาดแผลเท่านั้น


ทราบได้อย่างไรว่าเกิดกฤษณาขึ้น

1. นำไม้ที่ต้องการตรวจไปลอยน้ำ ถ้าลอยน้ำแสดงว่าเกิดกฤษณาน้อย หรือไม่มี แต่ถ้าจมน้ำแสดงว่าเกิดกฤษณามาก และไม้มีสีดำ

2. นำไม้ที่ต้องการตรวจไปเผาไฟ ถ้ามีกฤษณาก็จะมีกลิ่นหอม

3. ตรวจดูจากแผลที่เกิด ถ้ามีกฤษณาก็จะมีสีน้ำตาล หรือดำ และขยายวงกว้างออกไป

การกลั่นน้ำมัน

นำเนื้อไม้ที่ได้ไปบดให้ละเอียด ส่วนใหญ่ใช้เกรดที่ต่ำที่สุด แล้วนำไปแช่น้ำ 5 วัน สัดส่วนน้ำต่อเนื้อไม้ 50:50 เมื่อครบ 5 วัน ก็นำไปต้มในหม้อความดัน เป็นเตาแก๊สหรือเตาถ่านก็ได้ ก็จะเกิดน้ำมันออกมา และก็นำไปแบ่งออกตามเกรด ราคาน้ำมัน 4,000-8,000 บาท ต่อ 1 solar (12 กรัม)

ความต้องการของตลาด

ส่วนใหญ่จะนำไปประกอบพิธีทางศาสนา สมุนไพร และมักใส่ในน้ำหอม ทำให้ติดทนนาน ในแถบตะวันออกกลาง มักจุดใช้ในครัวเรือนทำให้มีกลิ่นหอม เป็นเครื่องแสดงฐานะ

ควรจะส่งเสริมให้เป็นพืชเศรษฐกิจหรือไม่

ในปัจจุบันคนเริ่มมีความสนใจและปลูกกันมากขึ้น เพราะเห็นว่ามีช่องทางที่จะทำเป็นการค้าขายได้ แต่ความเป็นจริงยังไม่สามารถหาข้อสรุปได้ถึงเรื่องของปริมาณจำนวนแผลที่จะ เกิดขึ้นต่อต้นเป็นเท่าไร และจะเกิดผลผลิตเท่าไร ทั้งนี้จะต้องอยู่ในระยะเวลาที่กำหนดด้วย คือยังไม่สามารถที่จะคาดการณ์ถึงผลกำไรว่าจะคุ้มค่าทางเศรษฐกิจหรือไม่ ในแง่ของการส่งเสริมคิดว่าไม่แนะนำให้ปลูก เพราะว่าดูแลยาก จะต้องดูถึงสภาพดินและพันธุ์ไม้ด้วย อาจจะไม่คุ้มกับทุน แต่ถ้าจะปลูกแบบแซมกับต้นไม้ชนิดอื่น ๆ ปลูกรอบสวน ปลูกบังลม แล้วปล่อยให้โตเองโดยที่ไม่ต้องดูแลมาก แต่อาจจะทำให้เกิดแผลไปเรื่อย ๆ ไม่ควรปลูกโดยใช้พื้นที่จำนวนมากหรือเป็นป่า เพราะผลผลิตอาจเกิดน้อย ส่วนใหญ่มักนำเนื้อไม้ไปทำพวกกล่องเพชร ลูกประคำ คันธนู ฯลฯ แต่คุณค่าจริง ๆ อยู่ที่น้ำมันกฤษณา จึงต้องใช้เวลานานในการปลูก เพราะฉะนั้นจึงจะต้องมีทุนจำนวนมากและมีพื้นที่

ข้อแนะนำสำหรับเกษตรกรผู้สนใจ

1. สำหรับเกษตรกรที่มีทุนมาก และสามารถรอได้ จะปลูกเป็นผืนป่าก็ได้

2. สำหรับเกษตรกรที่มีทุนน้อย ควรจะปลูกแบบรอบ ๆ สวนมากกว่า


*************************************************************



Create Date : 31 สิงหาคม 2554
Last Update : 31 สิงหาคม 2554 18:26:40 น.
Counter : 573 Pageviews.

1 comments
  
ขอบคุณสำหรับความรู้ค่ะ

สงสัยนิดหน่อยว่าดอกสองชุด ผลสองชุดเป็นยังไง


ว่าแต่ตััวหนังสือเล็กจังเลย สายตาคนแก่ปวดมั่ก มองไม่ค่อยเห็น
โดย: Philomath วันที่: 31 สิงหาคม 2554 เวลา:23:04:37 น.
ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
 *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

saveja01
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]



สิงหาคม 2554

 
1
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
27
28
29
 
 
31 สิงหาคม 2554
All Blog