Advanced and Caring
Group Blog
 
 
เมษายน 2552
 1234
567891011
12131415161718
19202122232425
2627282930 
 
10 เมษายน 2552
 
All Blogs
 

การตรวจกล่องเสียงด้วยเครื่อง Stroboscope

การตรวจกล่องเสียง มีทั้งแบบธรรมดา (ใช้กระจกส่อง) และแบบส่องกล้อง การตรวจกล่องเสียงด้วยวิธีธรรมดา แพทย์จะใช้กระจกแหย่เข้าไปในคอหอยของผู้ป่วย (บริเวณใต้ลิ้นไก่) และใช้มือดึงปลายลิ้นผู้ป่วยออกมา เพื่อให้คอหอยกว้างขึ้น ภาพของกล่องเสียงจะสะท้อนผ่านกระจกนั้นออกมา ส่วนการส่องกล้องแบบดั้งเดิม คือการแหย่กล้อง ซึ่งมีเลนส์รับภาพอยู่ที่ปลายกล้อง เข้าไปในคอหอยร่วมกับการดึงปลายลิ้นของผู้ป่วยออกมา แล้วถ่ายภาพกล่องเสียงเพื่อมาแสดงในจอโทรทัศน์

การส่องกล้องด้วยเครื่อง Stroboscope คล้ายกับการส่องกล้องแบบธรรมดา แต่จะนำเอาภาพที่ได้มาเข้าไปประมวลผลในเครื่อง Stroboscope และนำมาแสดงผลทางจอโทรทัศน์

ความแตกต่างของการตรวจด้วย 3 วิธีนี้คือ

  1. การตรวจด้วยกระจก เป็นการตรวจโดยการดูด้วยตาเปล่าของแพทย์ ซึ่งกล่องเสียงเป็นอวัยวะที่มีขนาดเล็กและอยู่ลึกลงไปในคอ จึงมีระยะห่างจากกล่องเสียงถึงตาของแพทย์ประมาณ 1 ฟุต แต่การส่องกล้องนั้น เลนส์รับภาพอยู่ที่บริเวณใต้ลิ้นไก่ ซึ่งห่างจากกล่องเสียง ประมาณ 5-6 เซนติเมตร ทำให้เห็นรายละเอียดของกล่องเสียง และความผิดปกติเล็กๆ ได้ดีกว่าการดูด้วยตาเปล่า
  2. การส่องกล้อง จะนำภาพมาแสดงทางจอโทรทัศน์ จึงได้ภาพที่ขยายใหญ่ขึ้นจากของจริง ทำให้เห็นชัดดูง่าย ซึ่งคนไข้จะสามารถเห็นกล่องเสียงของตัวเองด้วย และสามารถบันทึกภาพไว้ได้ ทำให้สามารถนำภาพมาแสดงได้เมื่อต้องการดูซ้ำ
  3. เครื่อง Stroboscope จะวิเคราะห์เสียงและภาพที่ได้รับ และบอกได้ว่าเสียงนั้นๆ มีความถี่เท่าไร รวมทั้งแสดงภาพเคลื่อนไหวแบบช้า (Slow motion) ได้ ทำให้สามารถวิเคราะห์ความผิดปกติของสายเสียง และกล่องเสียงได้ละเอียดมากขึ้น ซึ่งจะช่วยได้มากในผู้ป่วยเสียงแหบที่ตรวจด้วยกระจกแล้วไม่พบความผิดปกติอะไรชัดเจน

**การตรวจด้วยกระจกจะมีข้อจำกัดในผู้ป่วยที่อ้าปากไม่ได้ แต่การส่องกล้องสามารถตรวจได้โดยการใช้กล้องแบบอ่อน (Fiber optic) ส่องเข้าทางโพรงจมูกแล้ววกลงไปดูในกล่องเสียง

Stroboscope นวัตกรรมที่เป็นได้มากกว่าเครื่องตรวจกล่องเสียง

การตรวจวินิจฉัยผู้มีปัญหาด้านกล่องเสียงสามารถทำได้หลายวิธี วิธีดั้งเดิมก็คือการใช้ Indirect Laryngoscope หรือ กระจกเงาด้ามยาวส่องดูความผิดปกติบริเวณกล่องเสียงของผู้ป่วย แต่เนื่องจากแพทย์ต้องสังเกตความผิดปกติของกล่องเสียงด้วยตาเปล่า จึงอาจเกิดความผิดพลาดในการวินิจฉัยได้ หากปัญหาที่เกิดขึ้นกับกล่องเสียงของผู้ป่วยเป็นเพียงจุดเล็กๆ และไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า ต่อมาเมื่อวิวัฒนาการทางการแพทย์ก้าวหน้าขึ้น จึงมีการนำกล้องขนาดเล็กมาประยุกต์ใช้ในการตรวจวินิจฉัยโรคของกล่องเสียง (Stroboscope) โดยในระยะแรกเป็นการแสดงภาพผ่านจอมอนิเตอร์เพียงอย่างเดียว ต่อมาจึงมานำคอมพิวเตอร์มาใช้เป็นส่วนประกอบเพื่อเพิ่มคุณภาพในการแสดงภาพกล่องเสียงด้วย

พญ.จิราวดี จัตุทะศรี กล่าวถึงสถานการณ์ของผู้ป่วยโรคกล่องเสียงว่า ผู้ป่วยที่มีปัญหาเกี่ยวกับกล่องเสียงส่วนใหญ่มักละเลยที่เข้ารับการรักษา จนกระทั่ง 20% ที่มารับการรักษาในแผนกโสต นาสิก ลาริงซ์ เป็นผู้ป่วยที่มีปัญหาเกี่ยวกับกล่องเสียง ส่วนใหญ่มาด้วยปัญหาคุณภาพเสียงเปลี่ยนแปลงไป เช่นความกังวานของเสียหายไป หรือพูดๆ ไปแล้วเสียงหาย หรือความถี่ของเสียงเปลี่ยน จากเสียงแหลมกลายเป็นเสียงทุ้ม ซึ่งส่วนใหญ่มีสาเหตุมาจากการใช้เสียงผิดวิธี หรือใช้เสียงมากเกินไปจนร่างกายทนไม่ได้ เช่น เชียร์กีฬา พูดมากไป การตะคอก เค้นเสียง พูดในที่สาธารณะโดยไม่ใช้ไมโครโฟน

ด้านการตรวจวินิจฉัยความผิดปกติของกล่องเสียง พญ.จิราวดี ให้ข้อมูลว่ามีอยู่ด้วยกันหลายวิธี ซึ่งแต่ละวิธีก็มีข้อดี และข้อจำกัดแตกต่างกันไป โดยวิธีการตรวจวินิจฉัยความผิดปกติของกล่องเสียง สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 กลุ่มใหญ่ๆ ดังนี้

  1. การใช้ Indirect Laryngoscope หรือกระจกเงาด้ามยาว มีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 1.5 ซม.วิธีการตรวจ คือการดึงลิ้นของผู้ป่วยออกมา ใส่กระจกเข้าไปในช่องปากของผู้ป่วยให้หลังกระจกสัมผัสบริเวณลิ้นไก่ แล้วภาพของกล่องเสียงก็จะสะท้อนออกมาที่กระจกนั้น

    ข้อดี ของการตรวจวินิจฉัยด้วยวิธีนี้คือ ประหยัด ใช้เวลาน้อย แต่เนื่องจากต้องมองด้วยตาเปล่า ซึ่งไกลจากจุดที่กระจกแสดงภาพพอสมควร ดังนั้น หากเป็นโรคที่เป็นจุดเล็กๆ ก็อาจวินิจฉัยผิดพลาดได้ และในบางครั้งแพทย์อาจต้องใช้ระยะเวลาในการพิจารณานาน อาจทำให้ผู้ป่วยรู้สึกคลื่นไส้ได้
  2. การส่องกล้อง Stroboscope ซึ่งสามารถแบ่งออกได้เป็น
    • กล้อง Fiber Optic Laryngoscope หรือกล้องสายอ่อน ลักษณะของเครื่องมือชนิดนี้จะเป็นสายอ่อนยาวๆ ขนาดเล็กประมาณ 0.5 ซม. มีกล้องติดอยู่ที่ปลายสาย
    • กล้อง Endoscopy Laryngoscope หรือกล้องแบบแข็ง ลักษณะของเครื่องมือชนิดนี้ คือเป็นด้ามยาวๆ มีกล้องติดอยู่ที่ปลายด้าม

ส่วนประกอบของ Stroboscope ได้แก่ ตัวกล้อง (แบบสายอ่อนหรือสายแข็ง) อุปกรณ์นำกระแสไฟฟ้า (Eleltrode) ไมโครโฟน คอมพิวเตอร์ และจอมอนิเตอร์

ในการตรวจด้วยกล้อง Stroboscope แพทย์จะติดตั้งอุปกรณ์นำกระแสไฟฟ้าและไมโครโฟนที่ผิวหนังของผู้ป่วย บริเวณด้านข้างของกล่องเสียง ให้ผู้ป่วยนั่งหลังตรง โน้มตัวมาข้างหน้าเล็กน้อย อ้าปาก และแลบลิ้น แล้วแพทย์ก็จะดึงลิ้นของผู้ป่วยออกมาเล็กน้อย และส่องกล้อง Endoscopy Laryngoscope ผ่านช่องปากของผู้ป่วย เพื่อถ่ายภาพกล่องเสียง ในกรณีที่ผู้ป่วยเป็นเด็กเล็กมาก หรือไม่สามารถส่องกล้องผ่านช่องปากได้ แพทย์จะใช้ Fiber Optic Laryngoscope ผ่านรูจมูกเข้าไปยังคอหอย เพื่อถ่ายภาพกล่องเสียง หลังจากนั้นแพทย์จะให้ผู้ป่วยออกเสียงผ่านไมโครโฟนที่ติดไว้บริเวณด้านข้างของคอ เพื่อบันทึกเสียงไว้ในเครื่อง โดยกระแสไฟฟ้าที่เกิดขึ้นจากการเปล่งเสียงจะถูกส่งมายังผิวหนัง เข้าไปในตัวเครื่องเพื่อประมวลหาความถี่ของเสียง จากนั้นเครื่องจะปล่อยแสงกระพริบออกมาทางปลายกล้องที่ส่องอยู่ในคอผู้ป่วย เพื่อถ่ายภาพการเคลื่อนไหวของเสียง และอวัยวะข้างเคียง (ในขณะที่ผู้ป่วยออกเสียง หรือหายใจเข้า-ออก) ภาพที่ได้จะถูกนำไปบันทึกไว้ในเครื่อง ซึ่งสามารถแสดงภาพเคลื่อนไหวได้ทั้งแบบปกติ และการเคลื่อนไหวแบบช้ากว่าปกติ (Slow motion) เพื่อสามารถวิเคราะห์สายเสียงได้อย่างละเอียด โดยใช้ระยะเวลาในการตรวจทั้งสิ้นประมาณ 5 นาที

ข้อดี ของการตรวจวินิจฉัยโดยการส่องกล้อง Stroboscope คือแพทย์สามารถเห็นภาพกล่องเสียงของผู้ป่วยในระยะใกล้ และชัดเจนกว่า ทำให้สามารถเห็นความผิดปกติของกล่องเสียงได้ แม้เป็นเพียงความผิดปกติจุดเล็กๆ ที่ไม่สามารถเห็นได้ด้วยตาเปล่า สามารถจับเสียงของผู้ป่วยได้ สามารถอัดเสียงของผู้ป่วยไว้เปรียบเทียบหลังได้รับการรักษาได้ และที่สำคัญคือ ผู้ป่วยสามารถเห็นภาพกล่องเสียงของตนเอง และมีความเข้าใจในโรคที่ตนเองเป็นมากขึ้น

ส่วนข้อจำกัด ในการใช้เครื่องมือชนิดนี้คือ ต้องใช้กับผู้ป่วยที่ให้ความร่วมมือ ผู้ป่วยต้องไม่มีก้อนเนื้อที่โคนลิ้น ผู้ป่วยต้องเป็นผู้ที่ไม่มีปัญหาด้านปอดรุนแรง จนไม่สามารถเบ่งลมออกมาเป็นคำพูดได้ และไม่สามารถใช้ในการตรวจวินิจฉัยในผู้ป่วยไอซียู ที่ใส่ท่อช่วยหายใจทางปาก และหากผู้ป่วยเกิดอาการคลื่นไส้ ของเหลวที่ออกมาจากคอของผู้ป่วย ก็จะไปบังเลนส์ของกล้อง ดังนั้น แพทย์ที่ใช้เครื่องมือนี้จึงต้องมีความชำนาญ และต้องตรวจผู้ป่วยอย่างรวดเร็ว (โดยเฉพาะกล้อง Fiber Optic Laryngoscope ที่ต้องใช้ความชำนาญในการบังคับให้หันเลนส์กล้องไปทางซ้ายหรือทางขวา) ซึ่งในผู้ป่วยบางรายแพทย์อาจให้ยาชาเพื่อป้องกันอาการคลื่นไส้ร่วมด้วย

การตรวจวินิจฉัยกล่องเสียงโดยกล้อง Stroboscope เหมาะสำหรับผู้ป่วยที่มีปัญหาด้านเสียง ปัญหาเจ็บคอเรื้อรัง สำลัก หรือภาวะกรดไหลย้อน โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ป่วยที่มีปัญหาทางด้านเสียง แต่ตรวจด้วยวิธีธรรมดาไม่เห็น เช่น มีการอักเสบน้อยๆ เนื้องอกเล็กๆ หรือโรคบางโรค เช่น เส้นเลือดฝอยแตก หรือแผลเป็นในกล่องเสียง เป็นต้น

“สำหรับแพทย์ที่ต้องการใช้วิธีการตรวจกล่องเสียง โดยการส่องกล้อง Stroboscope สิ่งที่ต้องมีคือ ต้องรู้ตำแหน่งที่ถูกต้องของกล่องเสียง รู้หลักการทำงานของเครื่อง ใช้เครื่องให้เหมาะสม และไม่ควรนำข้อมูลอื่นๆ ที่ไม่เกี่ยวข้องมาเก็บไว้ในเครื่อง” พญ.จิราวดี กล่าวทิ้งท้าย

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
ศูนย์หู คอ จมูกกรุงเทพ
โทร. 02-310-3010 (08.00-19.00 น.) หรือที่
Contact Center โทร. 1719 (24 ชม.)
Email : info@bangkokhospital.com
หรือ รับคำปรึกษาจากแพทย์ได้ ที่นี่




 

Create Date : 10 เมษายน 2552
2 comments
Last Update : 10 เมษายน 2552 15:28:46 น.
Counter : 6268 Pageviews.

 


ขอทรงพระเจริญ



ความหมายที่แท้จริงของเสื้อเหลือง
คือเป็นวันประสูติของในหลวง

แค่นั้นจริงๆ

 

โดย: พลังชีวิต 10 เมษายน 2552 20:01:17 น.  

 

 

โดย: หน่อยอิง 10 เมษายน 2552 22:36:12 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 


bangkokhospital
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




Friends' blogs
[Add bangkokhospital's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.