Advanced and Caring
Group Blog
 
<<
เมษายน 2550
 
1234567
891011121314
15161718192021
22232425262728
2930 
 
9 เมษายน 2550
 
All Blogs
 
สำลัก..หายใจไม่ออก..ทำยังไงดี

จากข่าวนักศึกษา เสียชีวิตจากการสำลักฟันปลอมของตัวเอง หลุดเข้าไปอุดหลอดลม ขณะนั่งรับประทานอาหาร ต่อหน้าต่อตาเพื่อนที่นังอยู่ด้วยกัน แม้ว่าจะพยายามส่งโรงพยาบาลโดยทันที แต่ก็ไม่สามารถช่วยชีวิตไว้ได้ เหตุการณ์แบบนี้ อาจเกิดขึ้นกับใครก็ได้ แล้วถ้าเกิดขึ้นกับคนใกล้ตัว เราจะมีวิธีแก้ไขหรือช่วยเหลือได้อย่างไร ลองอ่านบทความนี้ดูนะครับ

17107.jpgการสำลัก มักเกิดจากอาหาร หรือสิ่งแปลกลอมอื่นๆ เช่นฟันปลอม ผู้ที่สำลัก มักไม่สามารถพูด ไอ หรือหายใจได้ และมักมีลักษณะเฉพาะคือใช้มือจับไปที่คอของตนเอง เนื่องจากหายใจไม่ออก หากพบว่าเพื่อนของคุณสำลักอาหารหรือสิ่งแปลกปลอม สิ่งแรกที่ควรกระทำคือการประเมินความรุนแรง หากยังมีสติดี และสามารถไอได้ด้วยตัวเอง บอกเพื่อนของคุณให้พยายามไอออกมาด้วยตัวเอง ระหว่างนั้นเฝ้าสังเกตอาการ หากไม่สามารถไอออกมาได้ หรือไม่มีแรงไอออก หรือเริ่มมีอาการของการขาดอากาศหายใจ เช่น สีของใบหน้า เริ่มเปลี่ยนเป็นสีคล้ำ ให้ขอความช่วยเหลือด้วยการตามรถพยาบาล และเข้าช่วยเหลือผู้ป่วยทันที

ในกรณีที่ไม่สามารถไอได้ด้วยตนเอง หรือได้ลองให้พยายามไอแล้วไม่ได้ผล หากผู้ป่วยหมดสติไปแล้ว ให้เรียกรถพยาบาล และเริ่มทำการกู้ชีวิต (CPR, เป่าปาก ปั๊มหัวใจหากมีหัวใจหยุดเต้น) ทันที หากยังไม่หมดสติ ให้เรียกรถพยาบาล และทำการตบแรงๆ ที่บริเวณหลังของผู้ป่วย เพื่อกระตุ้นให้เกิดการไอ สามารถทำซ้ำได้ 5 ครั้ง หากสิ่งแปลกปลอมยังไม่ออก ให้ทำ Heimlich Maneuver (ใช้ในผู้ใหญ่ หรือเด็กอายุมากกว่า 1 ขวบ) ซึ่งมีวิธีการดังนี้

ขั้นที่ 1 ให้ผู้ป่วยยยืนขึ้น

heimlichstep2_l.jpg

ขั้นที่ 2 ยืนข้างหลังผู้ป่วย โดยให้ขาข้างหนึ่ง อยู่ระหว่างขาทั้ง 2 ข้างของผู้ป่วย เพื่อพยุงผู้ป่วยในกรณีที่หมดสติ

ขั้นที่ 3 แจ้งให้ผู้ป่วยทราบว่า เรากำลังจะให้ความช่วยเหลือ
heimlichstep4_l.jpg

ขั้นที่ 4 ใช้แขนทั้ง 2 ข้าง โอบรอบเอวผู้ป่วย อย่าให้แขนอยู่บริเวณกระดูกซี่โครง เนื่องจากอาจมีผลทำให้ซี่โครงหักได้

heimlichstep5_l.jpg

ขั้นที่ 5 กำมือข้างหนึ่ง โดยให้นิ้วหัวแม่มืออยู่ชิดกับตัวผู้ป่วย ในบริเวณที่เหนือสะดือขึ้นมาเล็กน้อย และอยู่ใต้ต่อกระดูกแผงหน้าอก
heimlichstep6_l.jpg

ขั้นที่ 6 ใช้มืออีกข้างจับมือข้างที่กำเอาไว้

heimlichstep7_l.jpg

ขั้นที่ 7 ออกแรงดันมือที่กำไว้ขึ้นมาทางด้านบนอย่างรวดเร็ว

ขั้นที่ 8 ออกแรงให้มากพอที่จะดันสิ่งแปลกปลอมออกมา

ขั้นที่ 9 ระลึกไว้ว่า การออกแรงดัน จะทำให้กระบังลมดันให้อากาศออกมาจากปอดของผู้ป่วย ทำให้เกิดลักษณะที่คล้ายกับการไอ

ขั้นที่ 10 ออกแรงพยุงผู้ป่วยไว้ เนื่องจากผู้ป่วยอาจหมดสติหาก ไม่ได้ผล

ขั้นที่ 11 ทำซ้ำ สามารถทำได้ถึง 5 ครั้ง หากไม่ได้ผลต้องรีบทำการกู้ชีพทันที

อย่าใช้ Heimlich maneuver ถ้าไม่แน่ใจว่าเป็นการสำลัก
ลองศึกษาวิธีการตามรูปที่แสดงไว้นะครับ หากจำเป็นจะได้ทำได้ถูกต้อง อย่างไรก็ตาม การป้องกันน่าจะเป็นสิ่งที่ดีที่สุด ซึ่งสามารถทำได้ดังนี้


  • หลีกเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์มากเกินไปก่อนรับประทานอาหาร แอลกอฮอล์ออกฤทธิ์กดระบบประสาท ทำให้เคี้ยวอาหารไม่ละเอียด หรืออาจทำให้กลืนอาหารที่มีคำใหญ่เกินไป

  • กัดอาหารคำเล็กๆ หั่นเนื้อเป็นชิ้นเล็กๆ เคี้ยวอาหารให้ละเอียด

  • ไม่ควรให้เด็กเล็กโดยเฉพาะอายุน้อยกว่า 4 ปี รับประทาน ถั่ว ลูกอม ข้าวโพดคั่ว และควรให้เด็กโตที่รับประทานอาหารเหล่านี้อยู่ในสายตาอยู่เสมอ ผลไม้เช่นองุ่น ควรหั่นตามแนวยาว

  • ไม่ควรให้เด็กเล็กเล่นของเล่นที่อาจติดคอได้ เช่นลูกแก้ว ลูกโป่ง ถุงพลาสติก

  • เลือกของเล่นให้เหมาะสมกับอายุของเด็ก




Create Date : 09 เมษายน 2550
Last Update : 9 เมษายน 2550 18:14:18 น. 2 comments
Counter : 1031 Pageviews.

 

สวัสดีค่ะ...

ดีจังค่ะ..ที่เล่าเรื่องFrist Aidมาให้ดู เคยมีข่าวว่าเด็กออม

เหรียญเข้าไป...หน้าเขียวNecrosis ต้องส่งโรง'บาลกัน

ดูแลลูกหลานให้ดีๆนะค่ะ...ช่วงนี้อากาศเปลี่ยนแปรง่าย

ระวังจะไม่สบายกันนะค่ะ..


โดย: คนผ่านทางมาเจอ วันที่: 9 เมษายน 2550 เวลา:18:27:26 น.  

 
ที่นัททำงาน จะต้องอบรมเรื่องนี้และทบทวนอยู่บ่อยเผื่อเกิดกรณีฉุกเฉิน แต่พอถึงเวลาจริงๆขึ้นมาทำอะไรไม่ถูกทุกครั้งเลยค่ะ..แบบกลัวมากกว่าคนสำลักอีกง่ะ


โดย: Why England วันที่: 9 เมษายน 2550 เวลา:18:32:32 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

bangkokhospital
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




Friends' blogs
[Add bangkokhospital's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.