BAKERY หอมกรุ่น กับสาระด้านภูมิแพ้ และภูมิคุ้มกัน สนใจด้านเบเกอร์รี่ 0891859921
Group Blog
 
 
เมษายน 2556
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
282930 
 
28 เมษายน 2556
 
All Blogs
 

ปฏิกิริยาไม่พึงประสงค์จากยา

ปฏิกิริยาไม่พึงประสงค์จากยา(Adverse Drug Reaction)

ปฏิกิริยาไม่พึงประสงค์จากยา(adverse drug reaction) หมายถึงปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นโดยไม่เจตนา, ในขนาดที่ใช้รักษา และเกิดในระยะเวลาหลังจากได้รับยานั้นๆแล้ว สามารถแบ่งออกเป็น

1.ปฏิกิริยาที่สามารถเดาได้(predictable reaction) หรือที่นิยมเรียก “type A reaction“ ปฏิกิริยานี้พบมากถึงร้อยละ80 นอกจากนั้นยังมีความสัมพันธ์กับขนาดของยาที่ได้รับ และคุณสมบัติทางเภสัชวิทยาของตัวยาเองดังนั้นสามารถเกิดได้กับผู้ป่วยทุกคน ตัวอย่างของปฏิกิริยานี้ได้แก่ ผลข้างเคียงของยา(sideeffect), การได้รับยาเกินขนาดจนทำให้เกิดพิษ(drug overdose) เป็นต้น

2.ปฏิกิริยาที่ไม่สามารถคาดเดาได้(unpredictable reaction) หรือที่เรียกว่า "type B reaction" พบอยู่ประมาณร้อยละ 10-15 ปฏิกิริยานี้ไม่มีความสัมพันธ์กับขนาดยา, คุณสมบัติทางเภสัชวิทยา มักเกิดเฉพาะผู้ป่วยที่มีปัจจัยเสี่ยงยกตัวอย่างเช่น การแพ้ยา(drug allergy หรือ drug hypersensitivity), ปฏิกิริยาที่คล้ายกับการแพ้ยาแต่ไม่ได้เกิดจากกลไกทางระบบอิมมูน หรือระบบภูมิคุ้มกัน เช่นการเกิดผื่นหลังจากได้รับสารทึบรังสี(radiocontrast media) เหล่านี้เป็นต้น

การแพ้ยา(Drug Allergy หรือ DrugHypersensitivity)

ระบาดวิทยาของการแพ้ยา

อุบัติการณ์การแพ้ยาในอดีตพบค่อนข้างสูง เนื่องจากมีการใช้น้ำเหลือง(serum)ที่ได้จากสัตว์เช่น ม้า ในการรักษาโรค ปัจจุบันในต่างประเทศมีการศึกษาพบว่าtype B reaction ที่เป็นการแพ้ยาจริงๆพบประมาณร้อยละ 6-10 จากปฏิกิริยาไม่พึงประสงค์จากยาทั้งหมด และยาที่เป็นสาเหตุมากที่สุดคือยาปฏิชีวนะประเภทที่มีโมเลกุลเบต้าแล คแตม(beta-lactam antibiotics)เช่น กลุ่มเพนิซิลิน และยาแก้ปวดประเภท NSAIDs เช่นยาแก้ปวดแอสไพริน(aspirin), ยาไดโคลฟีแนค(diclofenac)ฯลฯ สำหรับประเทศไทยมีการศึกษาการเกิดภาวะแพ้รุนแรง(anaphylaxis)ที่ห้องฉุกเฉิน โรงพยาบาลธรรมศาสตร์พบร้อยละ36 และที่โรงพยาบาลภูมิพลพบสูงเช่นกันถึงร้อยละ50

ปัจจัยเสี่ยง

1.ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับตัวผู้ป่วยเอง

-อายุ พบว่าเด็กมีโอกาสแพ้ยาน้อยกว่าผู้ใหญ่ แต่อาการจะรุนแรงกว่า

-เพศหญิงมีโอกาสแพ้ยาได้มากกว่าเพศชาย

-พันธุกรรม พบว่าเด็กที่มีประวัติบิดามารดาแพ้ยามีโอกาสแพ้ยาปฏิชีวนะสูงถึงร้อยละ 25เปรียบเทียบกับเด็กที่ไม่มีประวัติบิดามารดาแพ้ยาพบเพียงร้อยละ 1.7

-โรคภูมแพ้ในระบบอื่นของผู้ป่วย ไม่ได้เพิ่มความเสี่ยงจากการแพ้ยาแต่เมื่อมีอาการแล้วอาการมักจะรุนแรง นอกจากนี้ผู้ป่วยโรคภูมแพ้มีโอกาสเกิดปฏิกิริยาpseudoallergic reaction โดยเฉพาะต่อสารทึบรังสีเพิ่มขึ้น

-โรคติดเชื้อเอชไอวีหากผู้ป่วยมีโรคดังกล่าวร่วมด้วยพบว่าอัตราการแพ้ยาประเภทซัลฟา และยากลุ่มอื่นๆ สูงนอกจากนี้อาการแพ้ยาในผู้ป่วยกลุ่มนี้ค่อนข้างจะรุนแรง

2.ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับยา

-โมเลกุลของยา ยาบางประเภทโครงสร้างสามารถกระตุ้นให้เกิดการแพ้ยาได้ง่าย

-การได้รับยาที่มีโครงสร้างคล้ายคลึงกับยาที่เคยมีประวัติแพ้มา

-ยารับประทานมีโอกาสเกิดการแพ้รุนแรงน้อยกว่ายาฉีด

-ได้รับยาขนาดสูงๆ เป็นเวลานานเพิ่มโอกาสเสี่ยงจากการแพ้ยาได้

อาการของการแพ้ยา

1.อาการแสดงเกิดขึ้นทั่วร่างกาย อาการนี้มักเกิดภายในระยะเวลาเป็นนาทีและรุนแรง เช่น ใจสั่น, ตัวแดง, หน้ามือ-เป็นลม,ลมพิษ และคันขึ้นทั่วร่างกาย, มือ-เท้า-ใบหน้าบวม, หายใจติดขัด, จนถึงช๊อค, ชัดและหมดสติในที่สุด อาจทำให้เสียชีวิตได้

2.ระบบผิวหนัง พบผื่นคันลมพิษ, ผื่นแดงหรือเป็นตุ่มน้ำแล้วแตกออกเป็นแผลได้

3.ตับ การแพ้ยาบางประเภททำให้เกิดการอักเสบของตับนอกจากนี้ยาบางชนิดทำให้เกิดตัวเหลืองตาเหลืองเกิดการอุดตันในระบบทางเดินน้ำดี

4.ระบบเลือด การรวมกันของยา และภูมิคุ้มกันของร่างกายที่ยานั้นๆกระตุ้นให้เกิดภาวะเกร็ดเลือดต่ำ และโลหิตจางจากเม็ดเลือดแดงแตก

5.ไข้จากยา ยาบางชนิดสามารถกระตุ้นให้ร่างกายหลั่งสารของระบบภูมิคุ้มกันบางอย่าง ซึ่งมีผลต่ออุณหภูมิของร่างกายสูงขึ้นได้

การวินิจฉัยการแพ้ยา

1.ประวัติมีส่วนสำคัญมากในการวินิจฉัย ผู้ป่วยมีความจำเป็นต้องทราบชื่อยาก่อนที่ตนเองจะรับประทานทุกครั้ง, ต้องจดจำปริมาณของยาที่รับประทาน และระยะที่เกิดอาการแพ้ยาหลังรับประทานยานั้นๆนอกจากนี้อาการตามระบบต่างๆเท่าที่พบรวมทั้งประวัติการแพ้ยา หรือเคยใช้ยาในอดีตและประวัติครอบครัวที่เกี่ยวข้องกับการแพ้ยา หรือโรคภูมิแพ้ภายในครอบครัวที่ปรากฏ

2.การตรวจร่างกายเพื่อช่วยในการวินิจฉัย และใช้ในการรักษารวมถึงการวางแผนในการหาแนวทางป้องกัน

3.การทดสอบทางผิวหนัง ซึ่งมีทั้งการทดสอบผิวหนังแบบสะกิด(skin prick test) และการแปะ(patch test) ด้วยตัวยาที่สงสัย

4.การตรวจทางห้องปฏิบัติการ เพื่อช่วยยืนยันการแพ้ยาที่สงสัยและดูผลของยาต่อระบบเลือด และระบบอื่นๆได้ด้วย

5.การทดสอบด้วยการให้ยาที่สงสัย(drugprovocation test หรือ DPT)เป็นการวินิจฉัยที่แน่นอนที่สุด ซึ่งการทดสอบดังกล่าวต้องอยู่ในความควบคุมของอายุรแพทย์เฉพาะโรคภูมแพ้ และดำเนินการในโรงพยาบาลเท่านั้น เพราะอาจเกิดอันตรายได้

การรักษาและป้องกันการแพ้ยา

1.หยุดรับประทานยาที่สงสัยว่าจะทำให้เกิดการแพ้ทันที

2.รักษาอาการที่เกิดขึ้น โดยยารับประทาน หรือยาฉีดซึ่งมีทั้งยาแก้แพ้, ยาสเตอรอยด์ ฯลฯ นอกจากนี้การแพ้รุนแรงที่เป็นอันตรายแก่ชีวิต ที่เรียกว่า “anaphylaxis”ต้องได้รับการรักษาอย่างเร่งด่วนทันทีด้วยยาadrenaline

3.การป้องกันการแพ้ยา

-การเลือกใช้ยาในผู้ป่วยที่มีประวัติแพ้ยาแนะนำให้ปรึกษาอายุรแพทย์เฉพาะทางโรคภูมแพ้ หรือเภสัชกรก่อนใช้ยาทุกครั้ง

-ควรได้รับยาป้องกัน(premedication)ในผู้ป่วยที่มีโอกาสเกิดปฏิกิริยา pseudoallergic reaction ก่อนได้รับสารทึบรังสี ทุกครั้ง

-ผู้ป่วยที่มีประวัติแพ้ยารุนแรง แนะนำให้พกยา adrenaline ติดตัวไว้เสมอและควรมีบัตรแสดงรายชื่อยาที่ตัวเองเคยแพ้ไว้ติดตัวตลอด


นพ.ภก.สุรสฤษดิ์ ขาวละออ

อายุรแพทย์ทั่วไป

อายุรแพทย์ผู้เชี่ยวชาญโรคภูมิแพ้ และภูมิคุ้มกันคลินิก

ศูนย์โรคภูมิแพ้ โรงพยาบาลสมิติเวช สุขุมวิท

www.twitter.com  @surasarit




 

Create Date : 28 เมษายน 2556
0 comments
Last Update : 28 เมษายน 2556 22:59:43 น.
Counter : 1091 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 


คุณนายจอมยุ่ง
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




พบกับคนทำเบเกอร์รี่ และอายุรแพทย์ผู้เชี่ยวชาญโรคภูมิแพ้ฯ
รับสอนทำเบเกอร์รี่จากผู้มีประสบการณ์กว่า 10 ปี
สนใจเข้าเยี่ยมชมได้ที่
http://www.facebook.com/pages/Myhomemade/412983252121844?fref=ts
http://www.twitter.com @surasarit
Friends' blogs
[Add คุณนายจอมยุ่ง's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.