BAKERY หอมกรุ่น กับสาระด้านภูมิแพ้ และภูมิคุ้มกัน สนใจด้านเบเกอร์รี่ 0891859921
Group Blog
 
 
เมษายน 2556
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
282930 
 
14 เมษายน 2556
 
All Blogs
 

ปฏิกิริยาไม่พึงประสงค์จากยาแก้ปวด

  ปฏิกิริยาไม่พึงประสงค์จากยาแก้ปวด

ยาแก้ปวดในที่นี้หมายถึงยากลุ่มแอสไพริน และพวกพ้องซึ่งมีชื่อเรียกในภาษาอังกฤษว่า “non-steroidal anti-inflammatorydrugs(NSAIDs)” ยาแอสไพริน หรือ acetylsalicylic acid (ASA) เมื่อเข้าสู่ร่างกายจะถูกสลายได้เป็นกรด salicylic acid สมัยก่อนยาตัวนี้ถูกใช้มาตั้งแต่ยุคโบราณ โดยคุณ Hippocratesใช้ salicylates ที่สกัดได้จากเปลือกไม้วิลโลว์(ต้นไม้จำพวกต้นหลิว)นำมารักษาอาการไข้ และแก้ปวดทั่วไป ในปี 1899 ASA ถือกำเนิดขึ้น ต่อมาหลังจากนั้น 3 ปี ก็มีคนพบอาการไม่พึงประสงค์ของยาตัวนี้มากขึ้นเรื่อยๆ เช่นแสบท้อง,เลือดออกในกระเพาะอาหาร, ขนาดสูงๆทำให้มีเสียงในหูได้ ฯลฯอาการดังกล่าวในที่นี้จะไม่ขอลงในรายละเอียดแต่จะพูดถึงปฏิกิริยาไม่พึงประสงค์ที่ไม่ค่อยพูดกันนัก ซึ่งบางชนิดอาจสัมพันธ์กับภูมิคุ้มกันในร่างกายครับเรามาเริ่มจากปฏิกิริยาที่ไม่เกี่ยวข้องกับภูมิคุ้มกันก่อนเลยมีได้ 3 แบบคือ

          1.ASA สามารถกระตุ้นให้ผู้ป่วยที่เป็นโรคหืดมีอาการรุนแรงขึ้นได้ ผู้ป่วยที่เกิดอาการดังกล่าวนี้มักมีลักษณะร่วมกัน 3อย่างที่เรียกว่า “ASAtriad” คือ

              1.1.มีภาวะเยื่อบุจมูกและไซนัสอักเสบภูมิแพ้หรือชนิดที่เกิดการอักเสบจากการสะสมของเซลล์อิโอสิโนฟิลในจมูก

              1.2.มีริดสีดวงในจมูก(nasal polyp)

              1.3.มีอาการหอบหืดเรื้อรัง(persistent asthma)

ธรรมชาติของผู้ป่วยกลุ่มนี้มักมีอาการทางจมูกและไซนัสนำมาก่อนร่วมกับการพบริดสีดวงจมูกหลังจากนั้นก็มีอาการหืดตามมาก่อนที่จะพบภาวะไม่พึงประสงค์จาก ASA

          2.ASA สามารถกระตุ้นให้ผู้ป่วยที่มีลมพิษเรื้อรังระยะสงบมีอาการลมพิษเฉียบพลันขึ้น นอกจากนี้ยังทำให้เกิดอาการบวมบริเวณหน้า หนังตาในช่องปาก ได้ด้วย

          3.ทำให้เกิดลมพิษเฉียบพลันหรืออาการบวมบริเวณใบหน้า-ช่องปาก  ในคนที่ไม่มีประวัติภูมิแพ้หรือโรคประจำตัวใดๆมาก่อน

ทั้งนี้ปฏิกิริยาสองชนิดแรกไม่ได้เกิดผ่านระบบภูมิคุ้มกันแต่เกิดเนื่องจากกลไกการทำงานของยา ส่วนชนิดที่สามยังไม่ทราบกลไกชัดเจน ดังนั้นทั้ง 3 ชนิดนี้ไม่ใช่การแพ้นะครับเป็นเพียงอาการไม่พึงประสงค์ของยาเท่านั้น ผู้ป่วยที่เกิดปฏิกิริยาข้างต้นมักจะเกิดอาการดังกล่าวกับยาทุกตัวหรือหลายตัวในกลุ่มเพราะออกฤทธิ์ผ่านกลไกเหมือนกัน

ในส่วนของปฏิกิริยาการแพ้ ASA ซึ่งผ่านระบบภูมิคุ้มกันที่มีรายงานไว้มีดังนี้

          4.สามารถทำให้เกิดลมพิษภาวะบวมใบหน้า-หนังตา-ในช่องปาก หรือรุนแรงจนกระทั่งเกิดภาวะการแพ้รุนแรงเฉียบพลันชนิดที่เรียก “anaphylaxis”  แต่จะเกิดกับยาตัวหนึ่งตัวใดไม่ใช่เกิดกับยาทุกตัวในกลุ่ม มักพบในผู้ป่วยมีประวัติแพ้อาหารแพ้ยา หรือมีผื่นผิวหนังอักเสบเหตุภูมิแพ้ (atopic dermatitis) อยู่แล้ว  อุบัติการณ์การเกิดไม่มากประมาณร้อยละ 0.1-3.6 ผู้ป่วยอาจรับประทานยาที่เป็นปัญหาเป็นประจำหรือเป็นครั้งคราวก็ได้ การแพ้ชนิดนี้เกี่ยวข้องกับภูมิคุ้มกันชนิดอิมมิวนูโกลบูลิน อี (immunoglobulin E; IgE)

           5.ชนิดสุดท้ายเกี่ยวข้องกับภูมิคุ้มกันชนิดอื่นๆที่ไม่ใช่ IgE ผู้ป่วยจะเกิดผื่นแดงเม็ดเล็กๆคันตามร่างกายไม่ได้เป็นแบบลมพิษ, เป็นจ้ำๆวงๆเกิดซ้ำที่เดิมเสมอๆ, เป็นตุ่มน้ำ,เป็นผื่นเฉพาะที่สัมผัสกับยาเมื่อออกแดด หรือไม่ก็ตาม,บางรายพบภาวะเยื่อหุ้มสมองอักเสบ, เยื่อหุ้มปอดอักเสบ, ไตอักเสบอาการที่พบเหล่านี้มักเกิดหลังรับประทานยามากกว่า 24 ชั่วโมงขึ้นไปซึ่งอาจเกิดกับยาตัวหนึ่งตัวใดหรือหลายตัวก็ได้

การวินิจฉัย : การทดสอบโดยทำตัวยาในกลุ่มนี้มาทดสอบทางผิวหนังยังไม่สามารถทำได้ต้องใช้การทดสอบด้วยการให้ยาแบบมีขั้นตอน ที่เรียก “drug provocation test” เท่านั้นซึ่งสามารถทำได้ทั้งการรับประทาน, การฉีด, การสูดดม แต่การทดสอบดังกล่าวค่อนข้างอันตรายต้องดำเนินการในโรงพยาบาลและภายใต้การควบคุมของอายุรแพทย์ผู้เชี่ยวชาญโรคภูมิแพ้ฯ นอกจากนี้ในปัจจุบันยาในกลุ่มนี้ยังไม่สามารถใช้การเจาะเลือดเพื่อวินิจฉัยปฏิกิริยาไม่พึงประสงค์ของยาที่เกิดกับผิวหนังได้ครับ

การรักษา :   1.โดยปกติผู้ป่วยสามารถรับประทานยาพาราเซตามอลได้ในขนาดที่น้อยกว่า 1,000 มก. เนื่องจากมีรายงานว่าถ้ารับประทานตั้งแต่ 1,000 มก.เป็นต้นไปอาจทำให้เกิดอาการได้เช่นกันแต่ไม่รุนแรง

                   2.ถ้าสงสัยคงต้องเลี่ยงยากลุ่มดังกล่าวตามคำแนะนำของอายุรแพทย์ผู้เชี่ยวชาญโรคภูมิแพ้ฯ

                   3.อาจเปลี่ยนกลุ่มไปใช้ยาแก้ปวดชนิดใหม่ที่ออกฤทธิ์คนละกลไกกับยาในกลุ่มนี้เช่นยาประเภท celecoxib,etoricoxib ฯลฯ แต่มีบางรายงานพบอาการดังกล่าวกับยากลุ่มนี้เช่นกันแต่น้อยยมากหรืออาจเปลี่ยนเป็นยาแก้ปวดกลุ่มอื่นที่ไม่ใช่ NSAIDs ไปเลย

                   4.เมื่อเกิดอาการลมพิษ หรือตาบวมการรักษาโดยทั่วไปคือการหยุดยาตัวที่สงสัยทันทีประกอบกับการให้ยาแก้แพ้เพื่อบรรเทาอาการ ในบางรายอาจต้องให้ยาประเภทสเตอรอยด์หรือถ้ามีอาการแพ้มากๆเช่น anaphylaxis คงต้องให้ยาช่วยชีวิต adrenaline ร่วมด้วยครับ



นพ.ภก.สุรสฤษดิ์  ขาวละออ

อายุรแพทย์ทั่วไป

อายุรแพทย์ผู้เชี่ยวชาญโรคภูมิแพ้ และภูมิคุ้มกันคลินิก

ศูนย์โรคภูมแพ้ โรงพยาบาลสมิติเวชสุขุมวิท




 

Create Date : 14 เมษายน 2556
0 comments
Last Update : 15 เมษายน 2556 8:19:18 น.
Counter : 981 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 


คุณนายจอมยุ่ง
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




พบกับคนทำเบเกอร์รี่ และอายุรแพทย์ผู้เชี่ยวชาญโรคภูมิแพ้ฯ
รับสอนทำเบเกอร์รี่จากผู้มีประสบการณ์กว่า 10 ปี
สนใจเข้าเยี่ยมชมได้ที่
http://www.facebook.com/pages/Myhomemade/412983252121844?fref=ts
http://www.twitter.com @surasarit
Friends' blogs
[Add คุณนายจอมยุ่ง's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.