BAKERY หอมกรุ่น กับสาระด้านภูมิแพ้ และภูมิคุ้มกัน สนใจด้านเบเกอร์รี่ 0891859921
Group Blog
 
 
เมษายน 2556
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
282930 
 
7 เมษายน 2556
 
All Blogs
 
โรคลมพิษ

โรคลมพิษ (Urticaria)

โรคลมพิษเป็นกลุ่มอาการที่เกิดจากปฏิกิริยาของผิวหนังต่อสาเหตุต่างๆหลายๆอย่างลักษณะของโรคนี้ก็คือ ผื่นคันนูนแดง หลายรูปแบบ ปรากฏอยู่เฉพาะที่หรือทั่วร่างกายชั่วคราว แล้วค่อยๆจางหายไปหรืออาจเกิดขึ้นอีกในบริเวณอื่นไม่ซ้ำที่เดิม ดังนั้นลักษณะของผื่นในโรคนี้พอสรุปได้ดังนี้

1.ผื่นบวมขนาดต่างๆ(wheal) และมักล้อมรอบด้วยผิวหนังที่แดง(flare)

2.ส่วนใหญ่มีอาการคันหรือบางครั้งอาจมีอาการแสบร้อน

3.ผื่นแต่ละผื่นจะหายเร็วหลังจากหายผิวหนังบริเวณที่เกิดผื่นจะเป็นปกติ มักหายภายใน 1-24 ชั่วโมง

4.ขณะผื่นยุบอาจมีผื่นใหม่เกิดขึ้นในตำแหน่งอื่นของร่างกายได้

การจำแนกชนิดของลมพิษ

มีการจำแนกโรคลมพิษได้หลายแบบเพื่อให้เข้าใจง่ายๆ สามารถแบ่งตามระยะเวลาที่เป็นดังนี้

1.ผื่นลมพิษเฉียบพลัน(acute urticaria) เป็นชนิดที่เกิดขึ้นเอง ระยะเวลาตั้งแต่เกิดผื่นไม่เกิน 6 สัปดาห์ผื่นชนิดนี้มักมีสาเหตุมาจาก อาหาร ยา การติดเชื้อ ปฏิกิริยาต่อแมลงกัดหรือต่อย นอกจากนี้อาจเป็นระยะแรกๆของผื่นลมพิษเรื้อรังก็ได้

2.ผื่นลมพิษเรื้อรัง(chronic urticaria) เป็นผื่นที่พบเป็นๆหายๆ อย่างน้อย 2 ครั้ง/สัปดาห์ต่อเนื่องกันเป็นเวลา 6 สัปดาห์ขึ้นไป สาเหตุมีได้หลากหลายทั้งที่ทราบ เช่นลมพิษจากระบบภูมิคุ้มกัน ภูมิแพ้ ยา การติดเชื้อ สิ่งกระตุ้นทางกายภาพ(แสงแดดความเย็น ฯลฯ) และไม่ทราบสาเหตุ(idiopathic)

การวินิจฉัยโรคลมพิษ

โดยทั่วไปการวินิจฉัยโรคลมพิษนี้ต้องอาศัยซักประวัติของผู้ป่วยในเรื่อง

-การติดเชื้อภายใน 7 วันก่อนเริ่มเกิดลมพิษ

-ประวัติการใช้ยา สมุนไพร รวมทั้งอาหารเสริมที่ผู้ป่วยใช้เป็นประจำ

-ความสัมพันธ์ระหว่างผื่นลมพิษกับอาหารที่รับประทานก่อนเกิดผื่นรวมถึงการสูด การดม

-ความสัมพันธ์ของผื่นลมพิษกับตัวกระตุ้นทางกายภาพเช่น ความเย็น การออกกำลังกาย น้ำหนักกดรัด แสงแดด เป็นต้น

-อาชีพที่ต้องสัมผัสสารก่อภูมิแพ้หรือสารเคมี

-ประวัติแมลงสัตว์กัด หรือต่อยก่อนเกิดลมพิษ

-ประวัติการสัมผัสสารก่อภูมิแพ้ทั้งทางผิวหนังและการสูดดม

-โรคประจำตัว เช่น โรคเบาหวานโรคไทรอยด์สูง หรือต่ำ ภาวะภูมิคุ้มกันเกิน ฯลฯ

เมื่อได้ประวัติของผู้ป่วยแล้ว ต้องตรวจร่างกายเพื่อพิจารณาลักษณะของผื่นร่วมด้วยว่าเป็นแบบลมพิษหรือไม่และเพื่อหาโรคที่ซ่อนเร้นอยู่ นอกจากนี้บางกรณียังต้องอาศัยการสืบค้นทางห้องปฏิบัติการหรือการทดสอบทางผิวหนังทั้งจากสารก่อภูมิแพ้ และจากน้ำเหลืองของผู้ป่วยเองการทดสอบนี้ทำให้พบสาเหตุของโรคลมพิษที่อาจยังไม่สามารถวินิจฉัยได้ในอดีต และเป็นการทดสอบพิเศษที่อายุรแพทย์เฉพาะโรคภูมิแพ้ฯนิยมใช้กันในปัจจุบัน

การรักษาโรคลมพิษ

ในส่วนของโรคลมพิษทั้งแพทย์ และผู้ป่วยต้องช่วยกันสังเกต หรือวิเคราะห์หาสาเหตุดังที่กล่าวมาแล้วข้างต้น ประเด็นหลักๆในการรักษาก็คือ

1.ถ้าอาการไม่รุนแรงให้รับประทานยาแก้แพ้รุ่นใหม่ที่ออกฤทธิ์เร็วและไม่มีผลกดระบบประสาท ซึ่งส่งผลให้ผู้ป่วยซึม หรือง่วงนอน ตามการวิจัยที่ผ่านมาสามารถเพิ่มขนาดของยารุ่นใหม่ๆนี้ได้ถึง4 เท่าของขนาดยามาตรฐาน นอกจากนี้ยังไม่นิยมยาแก้แพ้รุ่นเดิมชนิดที่ใช้ฉีดเข้าเส้นเลือดดำ เช่นยาฉีดเข้าเส้นเลือดที่ชื่อคลอเฟนนิรามีน(chlorpheniramine) หรือที่เรียกกันทั่วไปว่า“ CPM ” นอกจากยารับประทานแก้แพ้แล้วยังมียาอีกชนิดหนึ่งที่นิยมใช้เพื่อลดระยะเวลาการดำเนินโรคนั่นก็คือ ยาคอร์ติโคสเตอรอยด์ หรือที่เรียกกันทั่วไปว่า “ยาสเตอรอยด์” นั่นเอง โดยมักจะให้รับประทานในระยะเวลาสั้นๆประมาณ 3 วัน ในขนาดที่พอเหมาะ

2.ในรายที่เป็นรุนแรงเช่นเป็นผื่นทั้งร่างกาย คันมาก อาจต้องใช้ยาฉีดแก้แพ้ และ/หรือยาฉีดสเตอรอยด์ร่วมด้วย ส่วนผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรงชนิดที่อันตรายแก่ชีวิต จะมีผื่นร่วมกับมีอาการแน่นคอหายใจไม่ออก แน่นอก ลิ้นจุกปาก และ/หรือมีผลต่อระบบอื่นๆของร่ายกายแพทย์ผู้ดูแลต้องวินิจฉัยแยกโรคจากอาการแพ้รุนแรงชนิดแอนาฟิแล็กซิส(anaphylaxis) ซึ่งต้องอาศัยยาฉีดช่วยชีวิตชนิดฮอร์โมนเนื้อในต่อมหมวกไตที่เรียกว่า“ adrenaline” ร่วมกับยาฉีดแก้แพ้ และยาฉีดสเตอรอยด์ อีกทั้งต้องรับตัวไว้ดูอาการในโรงพยาบาลอย่างน้อย 24 ชั่วโมง นอกจากนี้ผู้ป่วยที่เป็นรุนแรงชนิดหลังนี้ต้องมีบัตรเตือนการแพ้(allergyalert card) และยาฉีด adrenaline พกติดตัวตลอดเวลาในกรณีที่ไม่ทราบสาเหตุของโรค หรือทราบสาเหตุแต่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงสาเหตุนั้นๆได้

3.กำจัด หลีกเลี่ยงหรือรักษาสาเหตุที่ทำให้เกิดลมพิษ(ถ้าพบ)

4.ระหว่างที่มีอาการ ควรหลีกเลี่ยงยา สารที่อาจกระตุ้นหรืออาหารที่เป็นสาเหตุทำให้เกิดลมพิษ หรือทำให้ผื่นลมพิษรุนแรงขึ้นได้ เช่น ยาแอสไพรินยาแก้ปวดข้อ ยาลดความดันบางประเภท อาหารทะเล ฯลฯ และรอจนกว่าอาการเป็นปกติถึงกลับมารับประทานได้ครับ


นพ.ภก.สุรสฤษดิ์ ขาวละออ

อายุรแพทย์ทั่วไป

อายุรแพทย์เฉพาะโรคภูมิแพ้ และภูมิคุ้มกันคลินิก

ศูนย์โรคภูมิแพ้ โรงพยาบาลสมิติเวช สุขุมวิท




Create Date : 07 เมษายน 2556
Last Update : 8 เมษายน 2556 19:39:18 น. 0 comments
Counter : 1911 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

คุณนายจอมยุ่ง
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




พบกับคนทำเบเกอร์รี่ และอายุรแพทย์ผู้เชี่ยวชาญโรคภูมิแพ้ฯ
รับสอนทำเบเกอร์รี่จากผู้มีประสบการณ์กว่า 10 ปี
สนใจเข้าเยี่ยมชมได้ที่
http://www.facebook.com/pages/Myhomemade/412983252121844?fref=ts
http://www.twitter.com @surasarit
Friends' blogs
[Add คุณนายจอมยุ่ง's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.