^_^ vechagran dot com by tingnoy
Group Blog
 
All blogs
 

แนวข้อสอบเกี่ยวกับบัตรประจำตัวประชาชน

1. บัตรประจำตัวประชาชนมีกี่ชนิด
 2 ชนิด คือบัตรที่ไม่ได้ออกด้วยระบบคอมพิวเตอร์ และบัตรที่ออกด้วยระบบคอมพิวเตอร์
2. เมื่ออายุครบกี่ปีจึงสามารถยื่นคำขอมีบัตรได้
 อายุครบ 15 ปีบริบูรณ์
3.จะต้องยื่นคำขอมีบัตรหลังจากเพิ่มชื่อในทะเบียนบ้านตามกฎหมายว่าด้วยการทะเบียนราษฎร ภายในกี่วัน
 60 วัน
4. ถ้าบัตรหาย บัตรถูกทำลาย หรือชำรุดในสาระสำคัญ ผู้ถือบัตรต้องขอมีบัตรใหม่หรือขอเปลี่ยนบัตร ภายในเวลากี่วัน
 60 วัน
5. ผู้ถือบัตรใดเสียสัญชาติไทยจะต้องส่งมอบบัตรให้แก่พนักงานเจ้าหน้าที่แห่งท้องที่ที่ตนมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านภายในระยะเวลากี่วัน
 30 วัน
6. ถ้าผู้ใดยินยอมให้ผู้อื่นนำบัตรหรือใบรับหรือใบแทนใบรับของตนไปใช้ในทางทุจริตจะมีความผิดสถานใด
 จำคุกตั้งแต่สามเดือน – 3 ปี หรือปรับตั้งแต่ 5,000 – 60,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
7. บัตรมีอายุใช้ได้กี่ปี
 หกปี
8.เมื่อพ้นกำหนดระยะเวลาการขอมีบัตร ผู้ใดไม่มีบัตรต้องระวางโทษปรับเท่าไร
 ไม่เกินห้าร้อยบาท
9. ผู้ใดปลอมบัตร หรือใบรับ หรือใบแทนใบรับ ต้องระวางโทษสถานใด
 จำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงสิบปี หรือปรับตั้งแต่สองหมื่นบาทถึงสองแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
10. ผู้ใดนำบัตร หรือใบรับ หรือใบแทนใบรับ ของผู้อื่นไปแสดงตนว่าตนเป็นเจ้าของบัตร หรือใบรับ หรือใบแทนใบรับ ต้องระวางโทษสถานใด
 หกเดือนถึงห้าปี และปรับตั้งแต่หนึ่งหมื่นบาทถึงหนึ่งแสนบาท
11. ผู้ไม่อาจแสดงบัตรหรือใบรับหรือใบแทนใบรับเมื่อพนักงานตรวจบัตรขอตรวจบัตรจะมีโทษสถานใด
 โทษปรับไม่เกินสองร้อยบาท
12. ผู้มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน ในท้องที่ซึ่งกระทรวงมหาดไทยประกาศกำหนดให้เป็นท้องที่จังหวัด สำหรับการออกบัตรด้วยระบบคอมพิวเตอร์ ให้ยื่นขอมีบัตร การขอมีบัตรใหม่ หรือการขอเปลี่ยนบัตร ณ สถานที่ใด
 ที่ว่าการอำเภอ/กิ่งอำเภอ สำนักงานเขต สำนักงานเทศบาล ศาลาว่าการเมืองพัทยา หรือสำนักทะเบียนสาขา แห่งใดแห่งหนึ่งในท้องที่จังหวัดตามประกาศของกระทรวงมหาดไทย
13. ผู้มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน ในท้องที่ที่ไม่มีการออกบัตรด้วยระบบคอมพิวเตอร์ จะต้องยื่นขอมีบัตร การขอมีบัตรใหม่ หรือการขอเปลี่ยนบัตร ณ สถานที่ใด
 ที่ว่าการอำเภอ/กิ่งอำเภอ สำนักงานเทศบาล หรือสำนักทะเบียนสาขา ตามกฎหมายว่าด้วยการทะเบียนราษฎรแห่งท้องที่ ซึ่งผู้ขอมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน
14. ถ้าผู้ขอมีบัตรใหม่ไม่มีนิ้วหัวแม่มือข้างหนึ่ง การพิมพ์ลายนิ้วมือ ควรทำอย่างไร
 ให้พิมพ์ลายนิ้วหัวแม่มือเฉพาะข้างที่เหลืออยู่ หากไม่มีนิ้วมืออยู่เลย ให้พิมพ์ฝ่ามือข้างใดข้างหนึ่งแทน หากไม่มีมือทั้งสองข้างเลย ก็ให้ได้รับการยกเว้นการพิมพ์ลายนิ้วมือ
15. การออกบัตรที่ไม่ได้ออกด้วยระบบคอมพิวเตอร์ จะต้องส่งคำขอมีบัตรพร้อมฟิล์มรูปถ่าย ของผู้ขอมีบัตรไปที่ใด
 สำนักงานทะเบียนบัตรประจำตัวประชาชน
16. ตามระเบียบกระทรวงมหาดไทย ในการเปรียบเทียบปรับคดีผิดกฎหมายว่าด้วยบัตรประจำตัวประชาชน ประกาศใช้เมื่อใด
 วันที่ 22 มกราคม 2528
17. การเปรียบเทียบคดีตามปกติ จะเป็นสถานที่ใด
 ที่ว่าการอำเภอ/กิ่งอำเภอ หรือที่ว่าการเขต
18. การทำลายบันทึกการเปรียบเทียบให้นำระเบียบใดมาปฏิบัติ
 ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยงานสารบรรณ พ.ศ. 2526(ต้องเก็บไว้ หกปีถึงจะทำลายได้)
19. ระเบียบกระทรวงการคลัง ว่าด้วยการจ่ายเงินรางวัลในคดีจับกุมผู้กระทำผิดกฎหมายว่าด้วยบัตรประจำตัวประชาชน ประกาศใช้เมื่อใด
 วันที่ 18 มกราคม 2534 โดยมีปลัดกระทรวงการคลัง เป็นผู้รักษาการตามระเบียบนี้
20. กรณีมีผู้แจ้งความนำจับหลายคน ผู้แจ้งคนใดมีสิทธิรับเงินก่อน
 ผู้แจ้งก่อนและมีหลักฐานเป็นลายลักษณ์อักษร
21. ถ้ามีผู้แจ้งความนำจับ ไม่เปิดเผยนาม แต่มีหลักฐานเป็นลายลักษณ์อักษร มีสิทธิรับเงินรางวัลหรือไม่
 ได้ เมื่อมีความจำเป็นไม่สามารถเปิดเผยนาม ให้ผู้แจ้งพิมพ์ลายนิ้วมือแทนการลงลายมือชื่อ โดยไม่ระบุนาม
22. ผู้แจ้งความนำจับ หรือผู้นำจับ จะได้รับเงินรางวัลเมื่อสามารถจับกุม ผู้กระทำความผิดได้ในอัตราคดีละเท่าไร
 สองพันบาท จากงบประมาณกรมการปกครอง (ถ้าจับผู้กระทำผิดได้หลายคน ก็ได้รางวัลนำจับคดีละสองพันบาทเท่าเดิม)
23. บุคคลใดมีอำนาจสั่งจ่ายเงินรางวัลตามระเบียบกระทรวงการคลัง ว่าด้วยการจ่ายเงินรางวัลในคดีจับกุมผู้กระทำผิดกฎหมายว่าด้วยบัตรประจำตัวประชาชน พ.ศ. 2534
 อธิบดีกรมการปกครอง หรือผู้ที่อธิบดีกรมการปกครองมอบหมาย
24. การปลอมและใช้บัตรประจำตัวประชาชนปลอม เป็นความผิดตาม พ.ร.บ.บัตรประจำตัวประชาชนหรือไม่
 ไม่เป็นความผิดตาม พ.ร.บ.บัตรประจำตัวประชาชน แต่เป็นความผิดฐานปลอมและใช้เอกสารราชการปลอม ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 264 และ 268
25. ระเบียบกรมการปกครอง ว่าด้วยการปฏิบัติราชการเพื่อประชาชนเกี่ยวกับงานบัตรประจำตัวประชาชน มีผลใช้บังคับเมื่อใด
 30 สิงหาคม 2536 โดย อปค.เป็นผู้รักษาการตามระเบียบ
 การจัดทำบัตรประชาชน จะต้องแล้วเสร็จภายใน 30 วัน
 จะต้องรวบรวมคำขอมีบัตรและฟิล์มรูปถ่ายส่งให้กรมการปกครองภายใน 5 วัน
 กรมการปกครองต้องผลิตบัตรให้เสร็จภายในสิบเก้าวัน
26. การยื่นขอมีบัตรที่เป็นกรณีที่ได้รับการยกเว้น สามารถกระทำได้หรือไม่
 สามารถกระทำได้ โดยยื่นคำขอมีบัตรพร้อมสำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้าน โดยแสดงหลักฐานว่าเป็นบุคคลได้รับการยกเว้น และจะต้องเสียค่าธรรมเนียม 10 บาท
27. การขอมีบัตร กรณีได้รับการยกเว้น โดยไม่มีหลักฐานแสดงการได้รับยกเว้น สามารถกระทำได้หรือไม่ อย่างไร
 สามารถกระทำได้ โดยยื่นคำขอมีบัตรพร้อมสำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้าน และให้ถ้อยคำต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ โดยต้องมีบุคคลที่พนักงานเจ้าหน้าที่เชื่อถือไปให้การรับรอง
28. การขอมีบัตร กรณีได้สัญชาติไทยตาม พ.ร.บ.สัญชาติ พ.ศ. 2508 แก้ไข เพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2535 โดยมีบิดาหรือมารดาคนใดคนหนึ่งเป็นคนต่างด้าว
 ไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียม
29. ระเบียบกรมการปกครองว่าด้วยการจัดทำบัตรประจำตัวประชาชน พ.ศ. 2538 มีผลใช้บังคับใช้เมื่อใด
 10 ธันวาคม 2538
30. การขอมีบัตร ได้แก่ การจัดทำบัตรกรณีใดบ้าง
 การขอมีบัตรเป็นครั้งแรกล
 เป็นบุคคลได้รับการเพิ่มชื่อในทะเบียนบ้าน (ท.ร.14) กรณีตกสำรวจหรือแจ้งเกิดเกินกำหนด
 เป็นบุคคลได้รับการยกเว้น หรือบุคคลซึ่งมีอายุเกิน 70 ปี
 เป็นบุคคลซึ่งพ้นจากสภาพการได้รับการยกเว้น
 เป็นบุคคลซึ่งได้สัญชาติไทย หรือได้รับอนุมัติให้มีสัญชาติไทย หรือได้กลับคืนสัญชาติไทย ตามกฎหมายว่าด้วยสัญชาติ หรือตามคำพิพากษาอันถึงที่สุดของศาล
31. การขอมีบัตรใหม่ ได้แก่กรณีใดบ้าง
 บัตรเดิมหมดอายุ และบัตรเดิมสูญหาย หรือถูกทำลาย

32. ผู้ใดมีอำนาจในการพิจารณาอนุมัติหรือไม่อนุมัติการขอทำลายเอกสารที่เกี่ยวกับบัตรในเขตสำนักทะเบียนอำเภอ
 ผู้ว่าราชการจังหวัด
33. คณะกรรมการทำลายเอกสารเกี่ยวกับบัตรให้แต่งตั้งจากผู้ใด
 แต่งตั้งจากข้าราชการระดับ 3 หรือเทียบเท่าขึ้นไป มีจำนวนไม่น้อยกว่า 3 คน
 ทำลายเอกสาร โดยวิธีการเผา หรือวิธีอื่นที่ทำให้เอกสารนั้นไม่สามารถอ่านเป็นเรื่องได้ หรือสามารถนำกลับมาใช้อีก
34. บัตรที่พนักงานเจ้าหน้าที่ได้รับคืน หรือเรียกคืนทุกกรณี จะต้องดำเนินการอย่างไร
 พนักงานเจ้าหน้าที่ต้องจำหน่ายโดยการเจาะรูบนตัวบัตร และจัดเก็บรวบรวมไว้
35. วัสดุบัตรที่ใช้ในการออกบัตรด้วยระบบคอมพิวเตอร์ และวัสดุเคลือบบัตรป้องกันการปลอมแปลง ผู้ใดในจังหวัดเป็นผู้มีหน้าที่ในการเก็บรักษาและควบคุมเบิกจ่าย
 จ่าจังหวัด
36. พระภิกษุมีความประสงค์จะขอมีบัตร เจ้าพนักงานเจ้าหน้าที่ สามารถดำเนินการได้หรือไม่
 ได้ โดยใช้คำหน้านาม ชื่อ ชื่อสกุล ตามที่ปรากฏในทะเบียนบ้าน
37. กล้องที่ใช้ในการถ่ายรูปทำบัตรประจำตัวประชาชน ที่ไม่ได้ออกด้วยระบบคอมพิวเตอร์มีกี่ยี่ห้อ
 3 ยี่ห้อ คือ โคนิก้า กล้องแพนเท็กซ์ และกล้องไซแม็กซ์
38. กรณีเคยทำบัตรมาก่อนและบัตรยังไม่หมดอายุ ไปรับราชการเป็นทหารเกณฑ์ ซึ่งในระหว่างรับราชการทหาร บัตรเดิมหมดอายุ อยากทราบว่าต้องไปขอต่ออายุบัตรหรือไม่ ถ้าไม่ไปต่อบัตรจะมีโทษปรับหรือไม่ และเสียค่าธรรมเนียมเท่าไร
 ในระหว่างรับราชการทหารกองประจำการไม่ต้องขอมีบัตร แต่เมื่อพ้นสภาพการเป็นทหาร จะต้องยื่นขอมีบัตรภายใน 60 วัน ถ้าไปขอมีบัตรระหว่างรับราชการทหารกองประจำการ จะต้องเสียค่าธรรมเนียมสิบบาท
39. การยื่นขอมีบัตรเมื่ออายุ 19 ปี โดยไม่เคยไปยื่นขอทำบัตรที่สำนักทะเบียนใดมาก่อน สามารถขอมีบัตรได้หรือไม่
 ทำได้ แต่ต้องเป็นบุคคลสัญชาติไทย และมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน โดยจะต้องนำหลักฐานมาแสดงเช่น สูติบัตร สำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้าน สำเนาทะเบียนนักเรียน ใบสุทธิและนำเจ้าบ้านหรือบุคคลน่าเชื่อถือ เช่น กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน หรือข้าราชการมาให้ถ้อยคำรับรอง
40. ใบแทนใบรับคำขอมีบัตร หรือมีบัตรใหม่ หรือเปลี่ยนบัตร ได้แก่
 บ.ป. 2 ก.
41. พนักงานเจ้าหน้าที่ ตามพระราชบัญญัติบัตรประจำตัวประชาชน พ.ศ. 2526 แต่งตั้งโดย
 รัฐมนตรีว่าการกระทรวง
42. ผู้ที่ได้สัญชาติไทย หรือได้กลับคืนสัญชาติไทย ต้องยื่นคำขอมีบัตรตามกำหนดเวลาดังนี้
 60 วัน
43. ตาม พ.ร.บ.บัตรประจำตัวประชาชน พ.ศ. 2526 ผู้ถือบัตรผู้ใดไม่อาจแสดงบัตร หรือใบรับ หรือใบแทนใบรับ เมื่อเจ้าพนักงานตรวจบัตรขอตรวจ ต้องระวางโทษ
 ปรับไม่เกิน 200 บาท
44. ตาม พ.ร.บ.บัตรประจำตัวประชาชน พ.ศ. 2526 คำว่า ขอมีบัตรใหม่ หมายถึง การขอมีบัตรในกรณีใด
 บัตรเดิมหาย หรือชำรุดในสาระสำคัญ
45. มาตรา 4 ใน พ.ร.บ.บัตรประจำตัวประชาชน พ.ศ. 2526 คำว่า บัตร หมายถึง
 บัตรประจำตัวประชาชน
46. แบบ บ.ป. 4 ที่เกี่ยวข้องกับบัตรประจำตัวประชาชน หมายถึง
 แบบหนังสือนำส่ง บ.ป. 1 และฟิล์มถ่ายรูป
47. ใครเป็นผู้รักษาการตาม พ.ร.บ.บัตรประจำตัวประชาชน พ.ศ. 2526
 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
48. การออกบัตรใหม่หรือเปลี่ยนบัตรสำหรับบัตรที่ออกด้วยระบบคอมพิวเตอร์ จะต้องเสียค่าธรรมเนียมเท่าใด
 ฉบับละ 20 บาท
49. การออกใบแทนใบรับ จะต้องเสียค่าธรรมเนียมหรือไม่
 คิดค่าธรรมเนียมฉบับละ 10 บาท
50. ผู้ช่วยเลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ได้รับการยกเว้นไม่ต้องขอมีบัตรหรือไม่
 ได้รับการยกเว้น
51. การขอตรวจหลักฐานหรือคัดสำเนา หรือคัด และรับรองสำเนารายการเกี่ยวกับบัตร คิดค่าธรรมเนียมเท่าไร
 ฉบับละ 20 บาท
52. ฐานข้อมูลทะเบียนบัตร ตามระเบียบกรมการปกครองว่าด้วยการจัดทำบัตรประจำตัวประชาชน พ.ศ. 2538 หมายความว่าอย่างไร
 ข้อมูลรายการเกี่ยวกับบัตรประจำตัวประชาชน ภาพถ่ายใบหน้า และลายพิมพ์นิ้วมือที่จัดเก็บ และประมวลผลไว้ด้วยระบบคอมพิวเตอร์
53. แบบ บ.ป. 5 ที่เกี่ยวข้องกับบัตรประจำตัวประชาชน หมายถึง
 ทะเบียนบัตรประจำตัวประชาชน สำหรับพนักงานเจ้าหน้าที่ ใช้คุมรายการออกบัตรและจำหน่ายบัตร
54. การขอมีบัตรใหม่ที่เกินกำหนดเวลาที่กฎหมายกำหนดไว้จะต้องเปรียบเทียบปรับเท่าไร
 ปรับไม่เกิน 200 บาท
55. การแจ้งความบัตรหาย หรือบัตรถูกทำลาย เจ้าของบัตรต้องแจ้งต่อผู้มีอำนาจใด ในทุกกรณี
 พนักงานเจ้าหน้าที่ (ระเบียบ ปค.ฯ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2541)
56. พ.ร.บ.บัตรประจำตัวประชาชน พ.ศ. 2526 และฉบับแก้ไขเพิ่มเติม บัญญัติว่าในบัตรอย่างน้อยต้องมีรายการ ดังต่อไปนี้
 ชื่อตัว ชื่อสกุล วันเดือนปีเกิด ที่อยู่ตามทะเบียนบ้าน รูปถ่าย และเลขประจำตัวของผู้ถือบัตร และจะมีรายการศาสนา หรือนิกายของศาสนา หรือลัทธินิยมในทางศาสนา ซึ่งผู้ถือบัตรนับถืออยู่หรือไม่ก็ได้ (พ.ร.บ.บัตรประจำตัวประชาชน พ.ศ. 2526 มาตรา 7)
57. ผู้ใดเอาไปเสียหรือยึดไว้ซึ่งบัตร หรือใบรับ บ.ป.2 หรือใบแทนใบรับ บ.ป.2 ก. ของผู้อื่นเพื่อประโยชน์สำหรับตนเองหรือผู้อื่นโดยมิชอบ กฎหมายกำหนดโทษ ไว้ดังนี้
 จำคุกไม่เกินหกเดือน และปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท (พ.ร.บ.บัตรประจำตัวประชาชน พ.ศ. 2526 มาตรา 15 ทวิ)
58. กฎกระทรวง ฉบับที่ 19 (พ.ศ. 2542) ออกตามความใน พ.ร.บ.บัตรประจำตัวประชาชน พ.ศ. 2526 กำหนดอัตราค่าธรรมเนียม ดังนี้
 บัตรที่ออกด้วยระบบคอมพิวเตอร์ ฉบับละ 20 บาท บัตรที่ไม่ได้ออกด้วยระบบคอมพิวเตอร์ ฉบับละ 10 บาท การออกใบแทนใบรับ ฉบับละ 10 บาท
59. กรณีใดผู้ถือบัตรจะขอมีบัตรใหม่หรือเปลี่ยนบัตรก็ได้ตามความสมัครใจ
 ย้ายที่อยู่ใหม่ (พ.ร.บ.บัตรประจำตัวประชาชน พ.ศ. 2526 มาตรา 6 จัตวา)
60. ผู้ซึ่งมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านในท้องที่ ซึ่งกระทรวงมหาดไทยประกาศกำหนดใช้คอมพิวเตอร์ออนไลน์แล้ว ขอมีบัตร ขอมีบัตรใหม่ หรือขอเปลี่ยนบัตร ได้ ณ สถานที่ใด
 ยื่นคำขอ ณ ที่ว่าการอำเภอ กิ่งอำเภอ สำนักงานเขต สำนักงานเทศบาล หรือศาลาว่าการเมืองพัทยา แห่งใดแห่งหนึ่งในท้องที่ ตามประกาศกำหนดใช้คอมพิวเตอร์ออนไลน์ก็ได้ (กฎกระทรวง ฉบับที่ 18 (พ.ศ. 2542 ) ข้อ 6)
61. การนับอายุความคดีอาญา ตาม พ.ร.บ.บัตรประจำตัวประชาชน พ.ศ. 2526 และ พ.ร.บ.บัตรประจำตัวประชาชน (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2542 ฐานไม่มีบัตรประจำตัวประชาชนตามระยะเวลาที่กำหนดไว้ตามกฎหมาย จะต้องนับอายุความอย่างไร
 เป็นความผิดต่อเนื่อง (ว 816 ลว. 5 เม.ย. 2536)
62. กรณีข้าราชการประสงค์จะขอมีบัตร ต้องดำเนินการ ดังนี้
 เรียกเก็บเงินค่าธรรมเนียม และพิมพ์ลายนิ้วมือหัวแม่มือซ้ายและขวาทุกราย (กฎกระทรวง ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2527) และฉบับที่ 18 (พ.ศ. 2542)
63. พ.ร.บ.บัตรประจำตัวประชาชน พ.ศ. 2526 และ พ.ร.บ.บัตรประจำตัวประชาชน (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2542 กำหนดให้ผู้ถือบัตรสามารถขอทำบัตรใหม่ได้ล่วงหน้าในช่วง 60 วัน ในกรณีใด
 บัตรเดิมหมดอายุ (พ.ร.บ.บัตรประจำตัวประชาชน พ.ศ. 2526 มาตรา 6 ตรี)
64. พ.ร.บ.บัตรประจำตัวประชาชน พ.ศ. 2526 และฉบับแก้ไขเพิ่มเติม กำหนดให้ผู้มีสัญชาติไทยต้องมีบัตร และได้ยกเว้นบุคคลกลุ่มใดไม่ต้องมีบัตร
 ผู้ซึ่งมีอายุไม่ถึงสิบห้าปีบริบูรณ์ และผู้ซึ่งมีอายุเกินเจ็ดสิบปีบริบูรณ์

65. ระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยการเปรียบเทียบปรับคดีความผิดตามกฎหมายว่าด้วยบัตรประจำตัวประชาชน พ.ศ. 2528 กำหนดให้เจ้าหน้าที่เก็บรักษาบันทึกการเปรียบเทียบไว้กี่ปีจึงจัดการทำลายได้
 6 ปี นับแต่วันเปรียบเทียบ
66. ใน พ.ร.บ.บัตรประจำตัวประชาชน พ.ศ. 2526 ผู้มีชื่อเป็นเจ้าของบัตร คือ
 ผู้ถือบัตร
67. กฎกระทรวงฉบับที่ 18 (พ.ศ. 2542)กำหนดให้บัตรประชาชนมีกี่ชนิด อะไรบ้าง
 มี 2 ชนิด คือ บัตรที่ไม่ได้ออกด้วยระบบคอมพิวเตอร์ และบัตรที่ออกด้วยระบบคอมพิวเตอร์
68. ระเบียบกระทรวงการคลัง ว่าด้วยการจ่ายเงินรางวัลในคดีจับกุมผู้กระทำผิดกฎหมายว่าด้วยบัตรประจำตัวประชาชน พ.ศ. 2534 กำหนดให้จ่ายเงินรางวัลแก่ผู้แจ้งความนำจับ หรือผู้นำจับอัตราคดีละเท่าไร และเงินจากไหน
 อัตราคดีละ 2,000 บาท จากเงินงบประมาณ ของกรมการปกครอง
69. ตาม พ.ร.บ.บัตรประจำตัวประชาชน พ.ศ. 2526 และฉบับแก้ไขเพิ่มเติม บัญญัติไว้ว่าเมื่อบัตรหมดอายุ ผู้ถือบัตรต้องมีบัตรใหม่ โดยยื่นคำขอต่อ
 พนักงานเจ้าหน้าที่
70. เลขคำขอมีบัตรประกอบด้วย รหัสสถานที่จัดทำบัตร รอบการทำบัตร และเลขแสดงลำดับจำนวนผู้ขอมีบัตร ซึ่งมีจำนวนกี่หลัก
 11 หลัก เช่น 1201 – 1 – 000001
71. ระเบียบกรมการปกครองว่าด้วยการจัดทำบัตรประจำตัวประชาชน พ.ศ. 2538 ให้ความหมาย “บุคคลน่าเชื่อถือ ไว้อย่างไร
 บุคคลใด ๆ ซึ่งมีภูมิลำเนาที่อยู่แน่นอน มีอาชีพมั่นคง และมีความรู้จักคุ้นเคย กับผู้ขอมีบัตรเป็นอย่างดี อาจเกี่ยวข้องเป็นญาติกันหรือไม่ก็ได้
72. ผู้ถือบัตรต้องมีบัตรใหม่ หรือเปลี่ยนบัตร แล้วแต่กรณี โดยยื่นคำขอภายในหกสิบวัน นับแต่
 วันที่บัตรหายหรือถูกทำลาย
73. การออกบัตรที่ออกด้วยระบบคอมพิวเตอร์ จะดำเนินการในท้องที่จังหวัดใด ให้เป็นไปตาม
 กระทรวงมหาดไทยประกาศกำหนด
74. ข้อมูลรายการเกี่ยวกับบัตรประจำตัวประชาชน ภาพถ่ายใบหน้า และลายพิมพ์นิ้วมือที่จัดเก็บและประมวลผลไว้ด้วยระบบคอมพิวเตอร์ คือความหมายของอะไร
 ฐานข้อมูลทะเบียนบัตร
75. พ.ร.บ.บัตรประจำตัวประชาชน พ.ศ. 2526 และฉบับแก้ไขเพิ่มเติม กำหนดให้ขนาด สี และลักษณะของบัตร ตลอดจนรายการในบัตร และรายการในบัตรเป็นไปตาม
 กฎกระทรวง
76. ภายในบัตรต่อไปนี้ รายการใดจะมีหรือไม่ ให้เป็นไปตามความสมัครใจของผู้ถือบัตร
 รายการหมู่โลหิต รายการศาสนา
77. การขอมีบัตรใหม่ ได้แก่การจัดทำบัตรกรณีใดต่อไปนี้
 บัตรเดิมหมดอายุ
 บัตรเดิมสูญหายหรือถูกทำลาย
78. พ.ร.บ.บัตรประจำตัวประชาชน พ.ศ. 2526 และฉบับแก้ไขเพิ่มเติม กำหนดให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย จะขอตรวจหลักฐาน หรือคัดสำเนารายการเกี่ยวกับบัตรได้ที่
 สำนักงานทะเบียนบัตรประจำตัวประชาชน
 ที่ว่าการอำเภอ หรือที่ว่าการกิ่งอำเภอ
79. รูปถ่ายของผู้ถือบัตร จะต้องเป็นรูปหน้าตรงไม่สวมหมวก หรือแว่นตาสีเข้ม และไม่ใส่ผ้าคลุมใบหน้า เว้นแต่ผู้มีความจำเป็นตามศาสนา แต่อย่างน้อยจะต้องเปิดให้เห็นใบหน้าส่วนต่าง ๆ คือ
 หน้าผาก คิ้ว ตา จมูก ปาก และคาง
80. การลงลายมือชื่อของพนักงานเจ้าหน้าที่ ห้ามมิให้ใช้ตรายางลายมือชื่อประทับแทนการลงลายมือชื่อด้วยตนเอง ในเอกสารแบบพิมพ์เกี่ยวกับบัตรประจำตัวประชาชน อะไรบ้าง
 คำขอมีบัตร บ.ป. 1 ใบรับ บ.ป. 2 และใบแทนใบรับ บ.ป. 2 ก
81. ผู้ใดเสียสัญชาติไทยเมื่อใด ไม่ว่าด้วยเหตุใดผู้นั้นหมดสิทธิใช้บัตรทันที และต้องส่งมอบให้แก่ผู้ใด ภายในเวลาเท่าไร
 ส่งมอบให้พนักงานเจ้าหน้าที่ แห่งท้องที่ที่ตนมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน ภายใน 30 วัน
82. ตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 18 (พ.ศ. 2542) ออกตามความใน พ.ร.บ.บัตรประจำตัวประชาชน พ.ศ. 2526 กำหนดขนาดของบัตร ได้ดังนี้
 ขนาดกว้าง 5.4 ซ.ม. ยาว 8.4 ซ.ม.
83. บุคคลสัญชาติไทย มีชื่อในทะเบียนบ้าน (ท.ร.14) มีแต่ชื่อตัวไม่ปรากฏชื่อสกุล ขอมีบัตร กรมการปกครองได้วางแนวทางปฏิบัติไว้อย่างไร
 เจ้าหน้าที่แจ้งต่อบุคคลดังกล่าว ว่าไม่อาจจัดทำบัตรได้ เนื่องจากรายการผู้ขอมีบัตรไม่ครบ จนกว่าจะมีชื่อสกุล และให้บุคคลนั้นยื่นคำขอมีบัตรตามแบบ บ.ป.1 ไว้ก่อน
84. พ.ร.บ.บัตรประจำตัวประชาชน พ.ศ. 2526 และฉบับแก้ไขเพิ่มเติม กำหนดให้เจ้าพนักงานออกบัตร หมายความว่า
 ผู้ซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งให้ปฏิบัติการตาม พ.ร.บ. นี้
85. บัตรประจำตัวประชาชนที่ออกด้วยระบบคอมพิวเตอร์ ตามแบบกฎกระทรวง กำหนดให้ด้านหน้ามีรายการ ดังนี้
 รูปถ่าย ที่อยู่ ชื่อ ชื่อสกุล ของผู้ถือบัตร ลายมือชื่อและตราประจำตำแหน่งของเจ้าพนักงานออกบัตร
86. กรณีพระภิกษุขอมีบัตรประจำตัวประชาชน กรมการปกครอง ได้วางแนวทางปฏิบัติไว้อย่างไร
 จัดทำบัตรให้ โดยใช้ชื่อ ชื่อสกุล ตามทะเบียนบ้าน (ท.ร. 14) แล้วรายงานให้จังหวัดทราบ และให้จังหวัดแจ้งกรมการศาสนาเพื่อประสานการปฏิบัติ
87. การจัดทำบัตร กรณีบัตรประจำตัวประชาชนสูญหาย หรือถูกทำลาย เมื่อผู้ขอมีบัตรแจ้งการหายของบัตรต่อพนักงานสอบสวน หรือตำรวจแล้ว กรมการปกครองได้วางแนวทางปฏิบัติไว้อย่างไร

 พนักงานเจ้าหน้าที่รับแจ้งการหาย หรือถูกทำลายของบัตรตามแบบ บ.ป. 7 ก่อนจัดทำบัตรให้ทุกราย
88. การขอตรวจหลักฐาน หรือคัดสำเนา หรือคัดและรับรองสำเนารายการเกี่ยวกับบัตร เสียค่าธรรมเนียม ฉบับละเท่าไร
 ฉบับละ 20 บาท
89. ข้อใดคือ พนักงานเจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจคัดและรับรองสำเนารายการเกี่ยวกับบัตร ตามมาตรา 10 ทั่วราชอาณาจักร คือ
 จ่าจังหวัดและ ผู้ช่วยจ่าจังหวัด
90. ระเบียบกรมการปกครองว่าด้วยการจัดทำบัตรประจำตัวประชาชน พ.ศ. 2538 กำหนดว่าในเดือนใดของทุกปี ให้พนักงานเจ้าหน้าที่สำรวจเอกสารเกี่ยวกับบัตรที่ครบอายุการเก็บในปีนั้น เพื่อพิจารณาอนุมัติทำลายเอกสารนั้น
 เดือนกุมภาพันธ์
91. ปลัดเทศบาล มีอำนาจตรวจบัตรประชาชนหรือไม่
ตอบ ไม่มีอำนาจ ปลัดเทศบาล เป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ ปลัดอำเภอเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่และเจ้าพนักงานตรวจบัตร
92. ปลัดเทศบาล หัวหน้าสำนักปลัดเมืองพัทยา มีอำนาจเปรียบเทียบความผิดเกี่ยวกับบัตร ที่มีโทษปรับสถานเดียวหรือไม่
ตอบ มีอำนาจเปรียบเทียบปรับ
93. ผู้ใดเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ ตาม พ.ร.บ.บัตร ปี 2526 ในเขตเมืองพัทยา
ตอบ หัวหน้าสำนักปลัดเมืองพัทยา หัวหน้าฝ่ายบริหารทั่วไป หัวหน้างานทะเบียนราษฎร และเจ้าหน้าที่บริหารงานทะเบียนและบัตร
94. นาย จ. เคยทำบัตรไว้ที่เทศบาลเมืองกาฬสินธุ์ และได้รับบัตรแล้วแต่ต่อมาทำบัตรหาย จึงไปติดต่อขอมีบัตรใหม่ ต้องเสียค่าธรรมเนียมเท่าไร
ตอบ 10 บาท ถ้าเป็นสำนักทะเบียนที่ออกบัตรโดยคอมพิวเตอร์เสีย 20 บาท
95. ผู้ถือบัตร ตาม พ.ร.บ.บัตรประจำตัวประชาชน 2526
ตอบ ผู้มีชื่อเป็นเจ้าของบัตร
96. ผู้ใดเป็นเจ้าพนักงานออกบัตร
ตอบ ผู้อำนวยการส่วนบัตรประจำตัวประชาชน
97. นายดำเป็นคนด้าวทั้งสองข้าง เดินไม่ได้ ขณะนี้อายุ 16 ปี แต่ยังมิได้ทำบัตรประชาชน กรณีที่นายดำไปยื่นคำขอมีบัตร จะเป็นการยื่นคำขอ กรณี
ตอบ กรณีขอมีบัตรผู้ได้รับการยกเว้น โดยเสียค่าธรรมเนียม 10 บาท
98. หากพระภิกษุมายื่นคำขอมีบัตร ณ ที่ว่าการอำเภอ และได้รับแจ้งให้ทราบถึงประกาศมหาเถรสมาคมแล้ว แต่พระภิกษุยังยืนยันจะขอมีบัตร จะดำเนินการอย่างไรจึงจะถูกต้อง
ตอบ รับคำขอมีบัตรกรณีผู้ได้รับการยกเว้นและเรียกเก็บค่าธรรมเนียม 10 บาท




 

Create Date : 23 กรกฎาคม 2551    
Last Update : 23 กรกฎาคม 2551 9:52:36 น.
Counter : 18079 Pageviews.  

การเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชน

1. อนุกรรมการและเลขานุการคณะอนุกรรมการเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนเพื่อเผชิญปัญหาวิกฤติ คือ
ตอบ ปลัดกระทรวงมหาดไทย

2. ประธานคณะกรรมการอำนวยการโครงการเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชน คือ
ตอบ ปลัดกระทรวงมหาดไทย

3. เลขานุการคณะกรรมการอำนวยการโครงการเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชน คือ
ตอบ อธิบดีกรมการปกครอง

4. สำนักงานคณะอนุกรรมการเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนเพื่อเผชิญปัญหาวิกฤตมีกี่ฝ่าย
ตอบ 6 ฝ่าย

5. บุคคลใดดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการสำนักงานเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนเพื่อเผชิญปัญหาวิกฤต
ตอบ อธิบดีกรมการปกครอง

6. บุคคลใดดำรงตำแหน่งหัวหน้าฝ่ายบริหารงานทั่วไปของสำนักงานเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนเพื่อเผฃิญปัญหาวิกฤต
ตอบ รองอธิบดีกรมการปกครองฝ่ายบริหารราชการทั่วไป

7. กรมการปกครองได้แต่งตั้งคณะทำงานเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนและอำนาจหน้าที่ของคณะทำงานเพิ่มเติม โดยมอบหมายให้ใครเป็นผู้ดำรงตำแหน่งผู้จัดการโครงการและประธานคณะทำงาน
ตอบ รองอธิบดีกรมการปกครองฝ่ายบริหารราชการทั่วไป

8. กรมการปกครองให้จังหวัดำเนินการจัดตั้งสำนักงานการเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนในระดับจังหวัด โดยมอบให้ใครเป็นผู้อำนวยการสำนักงาน
ตอบ ผู้ว่าราชการจังหวัด

9. จากข้อที่ 8 กรมการปกครองมอบให้ใครเป็นเลขานุการสำนักงาน
ตอบ ปลัดจังหวัด



10. กรมการปกครองให้อำเภอดำเนินการจัดตั้งสำนักงานการเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชน โดยให้นายอำเภอ / ปลัดอำเภอผู้เป็นหัวหน้าประจำกิ่งอำเภอเป็นผู้อำนวยการสำนักส่วนเลขานุการสำนักงานคือ
ตอบ ปลัดอำเภอหัวหน้าฝ่ายปกครองและพัฒนาหรือเจ้าหน้าที่ที่นายอำเภอ / ปลัดอำเภอผู้เป็นหัวหน้าประจำกิ่งอำเภอเห็นสมควร

11. กรมการปกครองได้ดำเนินงานตามมาตรการของกรมการปกครองในการเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชน ประกอบด้วยมาตรการใดบ้าง
ตอบ 1) มาตรการปรับเปลี่ยนวิธีคิด วิธีทำงานของบุคลากรภาครัฐ
2) มาตรการพัฒนาศักยภาพของชุมชน
3) มาตรการปรับปรุงกลไกของรัฐ

12. เลขานุการเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชน ของคณะทำงานเสริมสร้างความเข้มแข็งของกรมการปกครอง คือ
ตอบ ผู้อำนวยการส่วนพัฒนาท้องที่

13. เลขานุการฝ่ายแผนพัฒาอำเภอของคณะทำงานเสริมสร้างความเข้มแข็งของกรมการปกครองคือ
ตอบ ผู้อำนวยการกองวิชาการและแผนงาน

14. เลขานุการฝ่ายประสานงานองค์การบริหารส่วนตำบล ของคณะทำงานเสริมสร้างความเข้มแข็งของกรมการปกครองคือ
ตอบ ผู้อำนวยการกองราชการส่วนตำบล




 

Create Date : 21 กรกฎาคม 2551    
Last Update : 21 กรกฎาคม 2551 23:23:41 น.
Counter : 1218 Pageviews.  

แนวข้อสอบแผนพัฒนาอำเภอ

1. กระบวนการวางแผนพัฒนาอำเภอ มีอะไรบ้าง
ตอบ มี 7 ขั้นตอน

2. แผนพัฒนาอำเภอ มีกี่ประเภท อะไรบ้าง
ตอบ 3 ประเภท คือ แผนพัฒนาอำเภอ 5 ปี แผนพัฒนาอำเภอประจำปี แผนปฏิบัติการอำเภอประจำปี

3. หลักการวางแผน VCAP คืออะไร
ตอบ หลักการวางแผนพัฒนาอำเภอ จะยึดหลักการ V-CAP
V = Vision = วิสัยทัศน์
C = Comprehensive Plan = ความครอบคลุม
A = Analysis = การวิเคราะห์
P = Participation = การมีส่วนร่วม

4. การวางแผนพัฒนาอำเภอครั้งแรกเริ่มเมื่อไร ที่อำเภอใด จังหวัดใด และต่อมาทำที่ใด
ตอบ อ.ทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช ต่อมาแผนพัฒนาอำเภอ 5 ปีที่ อ.เดชอุดม อุบลราชธานี

5. การวางแผนพัฒนาอำเภอ หมายถึงอะไร
ตอบ ความหมายของแผนพัฒนาอำเภอ หมายถึงแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของอำเภอ อันมีลักษณะเป็นแนวทาง และรายการประสานงานแผนและโครงการของจังหวัด อำเภอ ตำบล และหน่วยงานบริหารราชการส่วนท้องถิ่น รัฐวิสาหกิจ และการดำเนินงานของประชาชนในท้องที่อำเภอได้จัดทำขึ้น เพื่อพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมตลอดจนแก้ไขปัญหาของประชาชนในอำเภอ

6. ลักษณะของแผนอำเภอ มีอย่างไร
ตอบ เป็นรายการประสานงานแผนและโครงการของจังหวัด อำเภอ ตำบล และหน่วยงานบริหารราชการส่วนท้องถิ่น รัฐวิสาหกิจ และการดำเนินงานของประชาชนในท้องที่อำเภอได้จัดทำขึ้น เพื่อพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมตลอดจนแก้ไขปัญหาของประชาชนในอำเภอ

7. ความสำคัญของแผนอำเภอ มีอย่างไร
ตอบ ความสำคัญของแผนพัฒนาอำเภอ
1.เป็นสิ่งที่สะท้อนให้เห็นถึงสภาพปัญหาและความต้องการในภาพรวมของอำเภอ
2.เป็นสิ่งที่สะท้อนให้เห็นถึงแนวทาง/ทิศทางการพัฒนาของอำเภอในอนาคต
3.เป็นสิ่งที่หน่วยงานอื่น ๆ ในพื้นที่อำเภอ สามารถใช้เป็นแนวทางในการดำเนินงานได้
4.เป็นเครื่องมือการบริหารการพัฒนาอำเภอ

8. วัตถุประสงค์ของการวางแผน อ.มีอย่างไร
ตอบ ใช้เป็นแนวทางการพัฒนาอำเภอประจำปี



9. องค์กรจัดทำแผน อ.มีโครงสร้างและมีอำนาจหน้าที่อย่างไร
ตอบ กพอ.

10. แผนพัฒนาอำเภอ 5 ปี ปัจจุบัน พ.ศ.ใด ถึง พ.ศ.ใด
ตอบ 2545-2549

11. กระบวนการประชาคมหมู่บ้าน ตำบล อำเภอ มาเกี่ยวข้องกับการทำแผนพัฒนาอำเภอ 5 ปีอย่างไร
ตอบ ปี 2546 ให้ทบทวนปัญหาความต้องการของประชาคมหมู่บ้าน ตำบล อำเภอ

12. ประชาคมมีองค์ประกอบอะไรบ้าง
ตอบ องค์ประกอบของประชาคมหมู่บ้าน
1.ตัวแทนฝ่ายบริหาร ได้แก่ ผู้ใหญ่บ้าน สมาชิก อบต. ในหมู่บ้าน กรรมการหมู่บ้าน 3 คน(อาจเชิญผู้ใหญ่บ้าน เป็นที่ปรึกษาประชาคมก็ได้
2.ตัวแทนฝ่ายกลุ่มประชาชน ผู้แทนกลุ่มอาชีพทุกกลุ่ม ผู้แทนกลุ่มเกษตรกร/เกษตรก้าวหน้า ปราชญ์หมู่บ้าน ผู้แทนกลุ่มแม่บ้าน พระที่ชาวบ้านศรัทธา ครูโรงเรียนในหมู่บ้าน 1 คน อสม. อาสาพัฒนาชุมชน อาสาสมัครประชาสงเคราะห์ สมาชิก อปพร. สจ.(ที่มีอยู่อาศัยในหมู่บ้าน) ผู้แทนธุรกิจเอกชนที่อยู่ในหมู่บ้าน องค์กรพัฒนาเอกชน ฯลฯ กรณีองค์ประกอบของประชาคมหมู่บ้านมีน้อย ให้เลือกตัวแทนจากกลุ่มบ้านในหมู่บ้านแทน เช่น คัดเลือกตัวแทนคุ้มในหมู่บ้าน ฯลฯ จำนวนสมาชิกประชาคมควรมีร้อยละ 5-10 ของจำนวนประชาชน

13. ประชาคมตำบลมีองค์ประกอบอะไรบ้าง
ตอบ องค์ประกอบประชาคมตำบล
1.ประธาน อบต.
2.ตัวแทนของประชาคมหมู่บ้าน หมู่บ้านละ 10% แต่ไม่น้อยกว่า 7 คน ได้แก่
ผู้ใหญ่บ้าน สมาชิกสภา อบต.ในหมู่บ้าน 2 คน ตัวแทนฝ่ายกลุ่มประชาชนที่ประชาคมหมู่บ้านคัดเลือก อย่างน้อย 4 คน และอาจเชิญกำนันเป็นที่ปรึกษาประชาคมได้ ฯลฯ
ประธานและเลขานุการ เลือกจากที่ประชุมประชาคม

14. ประชาคมอำเภอมีองค์ประกอบอะไรบ้าง
ตอบ ประชาคมอำเภอ
องค์ประกอบประชาคมอำเภอ
1.ประธาน อบต. 2.กำนัน
3.ผู้แทนประชาคมตำบลคัดเลือก ประกอบด้วย ผู้แทนสมาชิก อบต.ตำบลละ 2 คน และผู้แทนกลุ่มประชาคม ตำบลละ 6 คน
4.ตัวแทนของเทศบาลทุกเทศบาลในเขตพื้นที่อำเภอ
5.ผู้ทรงคุณวุฒิในเขตชุมชนเมือง 3 คน
จำนวนสมาชิก อาจปรับให้น้อยลงได้ในกรณีอำเภอที่มีขนาดใหญ่

15.บทบาทหน้าที่ของประชาคมตำบล หมู่บ้าน มีอย่างไร
ตอบ บทบาทประชาคมหมู่บ้าน ตำบล
1.ทำหน้าที่ตรวจสอบปัญหาที่เกิดขึ้นในตำบล หมู่บ้าน
2.นำปัญหาในหมู่บ้าน ตำบลไปหารือในที่ประชุม และรายงานให้ผู้มีหน้าที่รับผิดชอบ ตรวจสอบเพื่อให้แก้ไขได้ทันท่วงที
3.เป็นองค์กรตรวจสอบการดำเนินงานตามโครงการต่าง ๆ และรายงานอำเภอทราบ
4.เป็นเวทีให้ความเห็น และหาแนวทางแก้ไขกับหน่วยงานของรัฐ ที่เกี่ยวข้องกับปัญหาสำคัญ
5.ให้ประชาคมมีการประชุมอย่างสม่ำเสมอ ในระยะต้นประมาณ 1-2 เดือนต่อครั้ง
6.คัดเลือกผู้แทนประชาคม ไปร่วมเป็นประชาคมในระดับเหนือขึ้นไป

16. ขั้นตอนการทำแผนพัฒนาอำเภอ 5 ปี (2545-2549) มีกี่ขั้นตอน มีอะไรบ้าง
ตอบ ขั้นตอนการจัดทำแผนพัฒนาอำเภอ 5 ปี ประกอบด้วย 7 ขั้นตอน คือ
ขั้นตอนที่ 1 การจัดทำ จัดตั้งและประชุมประชาคม หมู่บ้าน ตำบล (มี.ค.-เม.ย. 2543)
ขั้นตอนที่ 2 จัดลำดับความสำคัญของปัญหาและความต้องการรายด้าน/สาขาและแนวทางแก้ไข (1-10 พ.ค. 2543)
ขั้นตอนที่ 3 การจัดทำ วิสัยทัศน์การพัฒนาอำเภอ ยุทธศาสตร์และแนวทางการพัฒนาอำเภอ 5 ปี (11 –25 พฤษภาคม 2543)
ขั้นตอนที่ 4 การกำหนดรายละเอียดกิจกรรม แผนงาน/โครงการ ระยะ 5 ปี (26 พ.ค. –10 มิ.ย.)
ขั้นตอนที่ 5 การจัดทำแผนพัฒนาอำเภอ 5 ปี (11-30 มิ.ย. 2543)
ขั้นตอนที่ 6 การจัดประชุมองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในอำเภอ เพื่อรับปัญหาความต้องการของประชาคมอำเภอ (1-10 ก.ค. 2543)
ขั้นตอนที่ 7 การจัดทำแผนพัฒนาอำเภอ 5 ปี ฉบับสมบูรณ์ (ต.ค.-ธ.ค. 2543)

17. องค์กรในการกำกับดูแลการจัดทำแผนพัฒนาอำเภอ คือ
ตอบ กรมการปกครอง

18. แผนพัฒนาอำเภอใช้ระเบียบใดในการจัดทำ
ตอบ ระเบียบ สร.ว่าด้วยการบริหารการพัฒนาเพื่อกระจายความเจริญไปสู่ภูมิภาคและท้องถิ่น พ.ศ. 2539

19. คณะกรรมการพัฒนาอำเภอ (กพอ.) มีใครเป็นเลขานุการ
ตอบ พัฒนาการอำเภอ

20. หลักการวางแผนพัฒนาอำเภอยึดหลักการใดในการปฏิบัติ
ตอบ V – CAP

21. การจัดทำแผนพัฒนาอำเภอ 5 ปี ประกอบด้วยกี่ขั้นตอน
ตอบ 7 ขั้นตอน

22. ห้วงเวลาในการจัดทำแผนพัฒนาอำเภอ 5 ปี จะต้องดำเนินการในช่วงใด
ตอบ มีนาคม – ธันวาคม 2543
23. แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 9 ใช้ใน พ.ศ. ใด
ตอบ พ.ศ. 2545-2549

24. การจัดทำแผนพัฒนาอำเภอ 5 ปี (พ.ศ.2545-2549) สอดคล้องกับแผนใด
ตอบ แผนพัฒนามหาดไทย วิสัยทัศน์กรมการปกครอง และแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ

25. ประธานคณะกรรมการประสานการวางแผนพัฒนาจังหวัด คือใคร
ตอบ ปลัดกระทรวงมหาดไทย

26. แผนพัฒนาอำเภอชนิดใดที่รวบรวมแผน/โครงการและงบประมาณที่ใช้ในการดำเนินการ
ตอบ แผนปฏิบัติการประจำปี

27. การประสานแผนพัฒนาอำเภอทำได้โดยวิธีใด
ตอบ ประสานแบบแนวดิ่ง และแนวนอน

28. ลักษณะเด่นของแผนพัฒนาอำเภอ 5 ปี
ตอบ เป็นแผนที่เน้นการมีส่วนร่วมของประชาชน

29. ประธานและเลขานุการประชาคม มาจากกลุ่มใด
ตอบ เลือกกันเองจากตัวแทนกลุ่มประชาชน

30. ใครเป็นผู้จัดทำทำเนียบสมาชิกประชาคมหมู่บ้าน
ตอบ นายอำเภอ

31. คณะกรรมการพัฒนาอำเภอ (กพอ.)/กิ่ง อำเภอ มีผู้ทรงคุณวุฒิและผู้แทนองค์การเอกชน เป็นกรรมการไม่เกินกี่คน
ตอบ กพอ. มี 3 คน /กิ่งอำเภอ มี 2 คน

32. รองประธานคณะกรรมการพัฒนากิ่งอำเภอ (กพอ.กิ่ง อ.) คือใคร
ตอบ ปลัดอำเภอหัวหน้าฝ่ายปกครองและพัฒนา

33. หน่วยงานใดที่มีหน้าที่จัดทำแผนพัฒนาอำเภอ
ตอบ สำนักงานอำเภอ

34. แผนพัฒนาเศรษฐกิจแห่งชาติฉบับแรก เริ่มในปีใด
ตอบ พ.ศ. 2504

35. การบริหารจัดการที่ยึดหลัก AFP หมายถึงข้อใด
ตอบ พื้นที่เป้าหมาย ภารกิจหน่วยงาน และการมีส่วนร่วม

36. แผนพัฒนาฉบับที่ 9 เป็นการพัฒนาเมืองและชนบทในลักษณะใด
ตอบ เมืองน่าอยู่และชนบทยั่งยืน

37. ขั้นตอนการจัดทำแผนและประสานแผนพัฒนาจังหวัด อำเภอ และท้องถิ่นประกอบด้วยกี่ขั้นตอน
ตอบ 9 ขั้นตอน




 

Create Date : 21 กรกฎาคม 2551    
Last Update : 21 กรกฎาคม 2551 23:22:33 น.
Counter : 2856 Pageviews.  

แนวข้อสอบพรบ.กำหนดแผนและขั้นตอนกระจายอำนาจฯ

1. ใครเป็นผู้รักษาการตาม พ.ร.บ.กำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจฯ
ตอบ รมว.คลัง /มหาดไทย / นายกรัฐมนตรี

2. สัดส่วนรายได้ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต่อรายได้ของรัฐบาลในปี 2544 ที่กำหนดไว้ใน พ.ร.บ.กำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจฯ พ.ศ. 2542 คือ
ตอบ ร้อยละ 20 และในปี 2549 ร้อยละ 35

3. ค่าธรรมเนียมสนามบิน เป็นรายได้ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ยกเว้น
ตอบ องค์การบริหารส่วนจังหวัด

4.คณะกรรมการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น มีผู้แทนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จำนวน กี่คน
ตอบ 12 คน เป็น อบจ.-2 เทศบาล-3 อบต.-5 กทม/พัทยา/องค์กรปกครองท้องถิ่นอื่น-2

5. อบจ.สามารถออกข้อบัญญัติจังหวัดจัดเก็บภาษีบำรุง อบจ.สำหรับยาสูบได้ไม่เกินมวนละ
ตอบ 5 สตางค์

6. พ.ร.บ.กำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจฯ กำหนดให้ถ่ายโอนภารกิจการให้บริการสาธารณะที่รัฐดำเนินการอยู่แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ให้เสร็จสิ้นภายในกี่ปี
ตอบ 4 ปี




 

Create Date : 21 กรกฎาคม 2551    
Last Update : 21 กรกฎาคม 2551 23:21:25 น.
Counter : 2683 Pageviews.  

แนวข้อสอบทะเบียนราษฎร

1. นายทะเบียนและผู้ช่วยนายทะเบียนประจำสำนักทะเบียนมีได้กี่คน
ตอบ นายทะเบียนมีได้คนเดียว แต่ผู้ช่วยมีกี่คนก็ได้

2. ผู้รักษาการตาม พ.ร.บ.การทะเบียนราษฎร พ.ศ. 2534 คือ
ตอบ รมว.ต่างประเทศ และ รมว. มท.

3. ผู้ใดมีอำนาจออกระเบียบกำหนดแบบพิมพ์ และวิธีการปฏิบัติงานทะเบียนราษฎร
ตอบ ผู้อำนวยการทะเบียนกลาง (อธิบดีกรมการปกครองเป็นนายทะเบียนโดยตำแหน่ง)

4. ผู้ได้รับแต่งตั้งเป็นนายทะเบียนจังหวัด คือ
ตอบ ผู้ว่าราชการจังหวัด

5. นายทะเบียนท้องถิ่น ได้แก่
ตอบ ปลัดเทศบาล

6. ข้าราชการสถานทูต/สถานกงสุลของไทยในต่างประเทศเป็นนายทะเบียนทำหน้าที่
ตอบ จดทะเบียนคนเกิดคนตาย

7. นายทะเบียนผู้รับแจ้งในเขตเทศบาล หมายถึง
ตอบ นายทะเบียนท้องถิ่น

8. เมื่อมีผู้ร้องขอเลขหมายประจำบ้านต่อนายทะเบียนท้องถิ่น นายทะเบียนท้องถิ่นต้องดำเนินการ ภายใน
ตอบ 7 วัน

9. บ้านที่ปลูกสร้างเสร็จแล้วผิดแบบแปลนที่ได้รับอนุญาตปลูกสร้าง เมื่อมีผู้มายื่นคำร้องต่อนายทะเบียนท้องถิ่น ให้ดำเนินการ
ตอบ รับคำร้องและกำหนดเลขหมายให้

10. การปลูกสร้างบ้านใหม่หรือรื้อถอนบ้าน ให้แจ้งต่อนายทะเบียนผู้รับแจ้งภายใน
ตอบ 15 วันนับแต่วันสร้างเสร็จ / 15 วันนับแต่วันรื้อถอนเสร็จ

11. บ้านที่ปลูกขึ้นใหม่ ณ ที่เดิม ที่มีการรื้อถอนบ้านไปให้เลขหมายประจำบ้าน ดังนี้
ตอบ ให้ใช้เลขหมายบ้านที่รื้อถอนนั้น

12. บุคคลใดที่ไม่สามารถมีชื่อในทะเบียนบ้าน (ท.ร.14 ) สีขาว
ตอบ นักท่องเที่ยวที่เข้าเมืองชั่วคราว ชาวเขมรอพยพ

13. อำนาจในการแจ้งตายเกินกำหนด เกิดเกินกำหนดเป็นของใคร
ตอบ นายทะเบียนอำเภอ/นายทะเบียนท้องถิ่น ….. นายทะเบียนอำเภอ

14. ทะเบียนบ้านกลางใช้สำหรับทำอะไร
ตอบ ทะเบียนซึ่งผู้อำนวยการทะเบียนกลาง กำหนดให้จัดทำขึ้นสำหรับลงรายการบุคคลที่ไม่อาจมีชื่อในทะเบียนบ้าน

15. เจ้าบ้านที่อยู่ในเขตเทศบาล หากไม่ไปแจ้งเกิดภายในกำหนดเวลามีคนเกิดในบ้าน จะต้องได้รับการเปรียบเทียบความผิดจากผู้ใด
ตอบ นายทะเบียนท้องถิ่น

16. กรณีที่รายการในทะเบียนบ้าน ซึ่งเป็นรายการเกี่ยวกับบ้านผิด เช่นบ้านเลขที่ หมู่ที่ ถนน ตรอก ซอย ผิด ผู้ใดมีอำนาจแก้ไข
ตอบ นายทะเบียนอำเภอหรือนายทะเบียนท้องถิ่นแล้วแต่กรณี

17. นายทะเบียนตำบล นายทะเบียนท้องถิ่น ผู้ช่วยนายทะเบียนท้องถิ่น นายทะเบียนอำเภอ ผู้ช่วยนายทะเบียนอำเภอ ผู้ใดไม่มีอำนาจลงชื่อรับรองรายการในทะเบียนบ้าน (ท.ร.14)
ตอบ นายทะเบียนตำบล

18. คนตกสำรวจตรวจสอบการทะเบียนบ้าน หมายถึง
ตอบ บุคคลสัญชาติไทยซึ่งเกิดก่อน 1 มิ.ย. 2499 และไม่มีชื่อในทะเบียนบ้าน

19. ผู้มีอำนาจสั่งให้จำหน่ายชื่อบุคคลต่างด้าวที่เข้าเมืองโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายหรือเข้ามาอยู่ชั่วคราว ออกจากทะเบียนบ้าน (ท.ร. 14) คือ
ตอบ นายอำเภอ

20. การอนุมัติเพิ่มชื่อคนไทยที่ตกสำรวจตรวจสอบทะเบียนราษฎร พ.ศ. 2499 เป็นอำนาจของใคร
ตอบ -การเพิ่มชื่อที่เป็นอำนาจของนายอำเภอ
-ตกสำรวจ พ.ศ. 2499 (เกิดก่อนวันที่ 1 มิ.ย. 2499)
-บุคคลอ้างว่ามีสัญชาติไทยแต่ไม่มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน
-ขอเพิ่มชื่อเด็กอนาถา ที่อยู่ในความอุปการะเลี้ยงดู
-เคยมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านแต่ลงรายการว่า ตาย หรือจำหน่ายแล้ว มาขอเพิ่มชื่อ
-คนต่างด้าวมีใบสำคัญต่างด้าว และเคยมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน (ท.ร.14) (เพิ่มภายใน 20 วันทำการ)
-คนต่างด้าวที่เข้ามาในราชอาณาจักร โดยได้รับการผ่อนผันเป็นกรณีพิเศษ หรือไม่ได้รับอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง รวมทั้งผู้ที่เกิดในราชอาณาจักรแต่ไม่ได้สัญชาติไทยขอเพิ่มชื่อเข้าทะเบียนบ้าน (ท.ร.13)

21. วัด โรงเรียนค่ายทหารสถานีตำรวจเรือนจำ นายทะเบียนจะกำหนดเลขหมายประจำบ้านให้อย่างไร
ตอบ กำหนดหมายเลขบ้านให้ และกำหนดเพิ่มขึ้นมากกว่าหนึ่งเลขหมายได้ในกรณีที่เจ้าบ้านร้องขอ

22. นายเฮงเป็นคนไทย มีภูมิลำเนาในทะเบียนบ้านของ อ.เมืองสุรินทร์ ถูกทหารพม่ายิงตายทันทีในเรือประมงบริเวณเกาะนอกเขตน่านน้ำไทย ไต้ก๋งเรือนำเรือขึ้นฝั่งที่ท่าเทียบเรือเทศบาลเมืองระนอง และขอแจ้งการตายต่อนายทะเบียนท้องถิ่นเทศบาลเมืองระนอง แต่นายทะเบียนไม่ยอมรับแจ้ง ถามว่าจะแจ้งการตายที่ใด
ตอบ สำนักทะเบียนท้องถิ่นเทศบาลเมืองระนอง

23. นางแดงคลอดบุตรขณะนั่งรอรถเมล์อยู่ที่ศาลาพักผู้โดยสาร ท้องที่ ม.5 ต.พระสมุทรเจดีย์ อ.พระสมุทรเจดีย์ แต่นางแดงมีชื่อในทะเบียนบ้าน ของสำนักทะเบียนท้องถิ่นเทศบาลพระประแดง ต้องแจ้งเกิดที่ใด ใครเป็นผู้หน้าที่ในการแจ้งเกิด
ตอบ แจ้งเกิดต่อนายทะเบียนอำเภอสมุทรเจดีย์ โดยนางแดง และนายทะเบียนอำเภอพระสมุทรเจดีย์เพิ่มชื่อเด็กเข้าทะเบียนบ้านกลาง

24. การแจ้งตายเกินกำหนด จะแจ้งต่อใคร และผู้ใดเป็นผู้อนุญาตให้ออกมรณบัตร
ตอบ นายทะเบียนผู้รับแจ้ง และนายทะเบียนอำเภอ/นายทะเบียนท้องถิ่น

25. นางทิพย์ อยู่บ้านเลขที่ 10 แขวงสามเสนใน เขตพญาไท ได้ไปคลอดบุตรที่โรงพยาบาลรามาธิบดี ถามว่าผู้ใดมีหน้าที่แจ้งการเกิดต่อนายทะเบียนผู้รับแจ้ง
ตอบ นางทิพย์ หรือ เจ้าบ้าน โรงพยาบาลรามาธิบดี

26. นายดำ ไปแจ้งย้ายออกจากบ้านเลขที่ 52/49 เขตเทศบาลนครปากเกร็ด แล้วเกิดเปลี่ยนใจเอาใบแจ้งย้ายไปคืนนายทะเบียนท้องถิ่นเทศบาลนครปากเกร็ด ถือว่าเข้าข่ายกรณีใดตามระเบียบ
ตอบ ย้ายกลับที่เดิม

27. การแจ้งเกิดเกินกำหนดผู้แจ้งจะต้องไปแจ้งต่อใคร กรณีเกิดนอกเขตเทศบาล
ตอบ นายทะเบียนตำบล

28. นายสว่าง มีภูมิลำเนาเดิมอยู่ในทะเบียนบ้านอำเภอเมืองเพชรบูรณ์ มาเรียนหนังสือที่มหาวิทยาลัยรามคำแหง ได้ไปติดต่อขอย้ายเข้าสำนักทะเบียนเขตบางกะปิ โดยวิธีใด
ตอบ การแจ้งย้ายปลายทาง

29. การย้ายออก เข้า ภายในสำนักทะเบียน หมายถึง
ตอบ การย้ายออกและย้ายเข้าภายในสำนักทะเบียนอำเภอเดียวกัน

30. ตายเป็นชาวต่างประเทศ เพศชาย ถูกรถยนต์ชนตายที่หน้าบ้านของนายกนก ซึ่งขณะนั้นไม่อยู่บ้าน ต่อมา นายแดงได้มาพบศพและได้มาแจ้งให้นายนกทราบ กรณีนี้ผู้ใดจะต้องเป็นผู้ไปแจ้งการตาย
ตอบ นายแดง โดยแจ้งต่อนายทะเบียนผู้รับแจ้ง

31. นายสมหมาย ชาวนครพนม สัญชาติไทยจดทะเบียนสมรสกับนางหยุ่น ชาวญวน มีบุตรด้วยกัน 1 คน ชื่อนายสามารถ ดังนั้นนายสามารถจะมีสัญชาติ
ตอบ มีสัญชาติไทยตามบิดา

32. นายไมเคิล โอเวน สัญชาติอังกฤษ เดินทางเข้ามาในเมืองไทยโดยมีหนังสือเดินทางถูกต้อง เมื่ออยู่ในเมืองไทยได้ หกเดือน จึงแต่งงานจดทะเบียนสมรสกับ น.ส.กันตนา มีบุตรด้วยกัน 1 คน บุตรของ น.ส.กันตนาจะได้สัญชาติอะไร
ตอบ ได้สัญชาติไทยตามมารดา

33. ใครเป็นผู้มีอำนาจแก้ไขรายการ กรณีที่รายการในช่องสัญชาติบิดามารดาของนายน้อย ลงไว้ผิดข้อเท็จจริง มารดาของนายน้อยสัญชาติจีนแต่เขียนเป็นไทย โดยนายน้อยนำใบต่างด้าวของมารดามาแสดง
ตอบ นายทะเบียนอำเภอ

34. นายทะเบียน ตาม พ.ร.บ.การทะเบียนราษฎร พ.ศ. 2534 หมายถึง
ตอบ นายทะเบียนประจำสำนักทะเบียนกลาง นายทะเบียนประจำสำนักทะเบียนกรุงเทพมหานคร นายทะเบียนประจำสำนักทะเบียนจังหวัด นายทะเบียนประจำสำนักทะเบียนอำเภอ นายทะเบียนประจำสำนักทะเบียนท้องถิ่น นายทะเบียนประจำสำนักทะเบียนสาขา นายทะเบียนประจำสำนักทะเบียนเฉพาะกิจ และนายทะเบียนผู้รับแจ้ง และให้หมายความรวมถึงผู้ซึ่งได้รับมอบอำนาจจากนายทะเบียน หรือผู้ช่วยนายทะเบียน

35. เมื่อคนเกิดนอกบ้าน เช่น คลอดบนแท็กซี่ ใครมีหน้าที่แจ้งการเกิด
ตอบ บิดามารดาของเด็ก

36. กรณีเด็กเกิดนอกบ้าน และมีเหตุจำเป็นที่ผู้แจ้งไม่อาจแจ้งตามกำหนด กฎหมายอนุโลมให้แจ้งภายหลังได้ หรือไม่อย่างไร
ตอบ ได้แต่ต้องไม่เกิน 30 วันนับแต่วันเกิด

37. เมื่อมีคนตายนอกบ้าน เช่น หัวใจล้มเหลวตาย ขณะเดินอยู่บนทางเดิน ในที่สาธารณะ เป็นหน้าที่ของใคร
ตอบ ผู้ที่ไปกับผู้ตาย หรือผู้ที่พบศพ

38. เมื่อมีผู้แจ้งการตายต่อนายทะเบียน โดยระบุสาเหตุการตายว่า ตายด้วยโรคติดต่ออันตราย เช่นอหิวาตกโรค นายทะเบียนจะปฏิบัติอย่างไร
ตอบ รับแจ้งการตาย แต่ยังไม่ออกมรณบัตรให้ เพื่อรอผลการพิสูจน์ศพจากเจ้าหน้าที่สาธารณสุข

39. ผู้ใดรื้อบ้านจะต้องแจ้งต่อนายทะเบียนภายในกี่วัน นับแต่วันที่รื้อเสร็จ
ตอบ 15 วัน


40. การขอคัดและรับรองสำเนารายการทะเบียนบ้านจะต้องชำระอัตราค่าธรรมเนียมอัตราเท่าใด
ตอบ ฉบับละ 5 บาท

41. เจ้าบ้านมาขอปรึกษาหารือนายทะเบียนว่า ทะเบียนบ้านมีชื่อนาย ก. แต่ตัวนาย ก.ย้ายออกไปนานแล้ว (เกิน 180 วันแล้ว) จะย้ายชื่อออกจากทะเบียนบ้านได้อย่างไร
ตอบ แนะนำให้เจ้าบ้านย้าย นาย ก.ออก ไปยังทะเบียนบ้านกลาง

42. ข้อยกเว้น ไม่ต้องเรียกเก็บค่าธรรมเนียมสำหรับการขอคัดและรับรองรายการในทะเบียนบ้าน
ตอบ คัดเพื่อใช้เกี่ยวกับการศึกษา การรับราชการทหาร การปฏิบัติหน้าที่ของรัฐวิสาหกิจ และการขอรับการสงเคราะห์จากทางราชการ

43. ทะเบียนบ้านกลางหมายถึง
ตอบ ทะเบียนสำหรับลงรายการของบุคคลที่ไม่อาจมีชื่อในทะเบียนบ้านได้

44. การจัดทำบัตรประชาชนตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2543 เป็นต้นไป เป็นการทำบัตรในรอบที่ใด
ตอบ รอบที่ 3 (พ.ศ. 2543 – 2548)

45. การสละมรดกนั้น กระทำได้โดย
ตอบ ทำเป็นหนังสือ โดยแสดงเจตนาชัดแจ้งมอบไว้แก่พนักงานเจ้าหน้าที่ หรือทำเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความ

46.ผู้รับบุตรบุญธรรมต้องมีอายุแก่กว่าผู้ที่จะเป็นบุตรบุญธรรม อย่างน้อยกี่ปี
ตอบ 15 ปี

47. ชายและหญิงที่ไม่ได้จดทะเบียนสมรสกัน เด็กที่เกิดจากชายและหญิงดังกล่าว เป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายของ
ตอบ หญิง

48. เมื่อมีคนตายภายในบ้าน ผู้ที่มีหน้าที่แจ้งตามกฎหมายต่อนายทะเบียนผู้รับแจ้ง และต้องแจ้งภายในระยะเวลาเท่าไร
ตอบ เจ้าบ้านเป็นผู้แจ้ง ภายใน 24 ชั่วโมงนับตั้งแต่เวลาตาย

49. นายสีขับรถกระบะพานางใสภรรยา ซึ่งกำลังท้องแก่ไปคลอดที่โรงพยาบาลในตัวอำเภอ ระหว่างทางนางใสทนไม่ไหว นายสีจึงพาเข้าแวะที่พักผู้โดยสารรถยนต์ข้างทาง และนางใสได้คลอดบุตร ณ ที่นั้น การปฏิบัติตามข้อใด จึงจะถือว่าถูกต้องตามกฎหมาย
ตอบ ให้บิดาหรือมารดา แจ้งต่อนายทะเบียนผู้รับแจ้งแห่งท้องที่ที่มีคนเกิดนอกบ้าน หรือแห่งท้องที่ที่พึงจะแจ้งได้ ภายในสิบห้าวันนับแต่วันเกิด ในกรณีจำเป็น ไม่อาจแจ้งได้ตามกำหนด ให้แจ้งภายหลังได้ แต่ต้องไม่เกินสามสิบวันนับแต่วันเกิด

50. การแก้ไขเปลี่ยนแปลงรายการในทะเบียนบ้าน หรือสำเนาทะเบียนบ้านแก้ไขตามระเบียบอะไร
ตอบ ระเบียบสำนักทะเบียนกลางว่าด้วยการจัดทำทะเบียนราษฎร พ.ศ. 2535
51. เมื่อมีการแจ้งย้ายที่อยู่เข้ามาอยู่ในทะเบียนบ้านใด ผู้ใดมีหน้าที่ต้องแจ้งย้ายการย้ายที่อยู่ และต้องแจ้งย้ายภายในกี่วัน
ตอบ เจ้าบ้านแจ้งย้ายภายใน 15 วัน นับแต่วันย้ายเข้า

52. เมื่อมีการร้องเรียนว่ามีอยู่ในบ้านหลังหนึ่งเป็นจำนวนมากจนผิดปกติ และเป็นผู้มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านด้วย เพื่อช่วยเหลือผู้รับสมัครเลือกตั้งคนใดคนหนึ่ง นายทะเบียนอำเภอมีสิทธิดำเนินการตามกฎหมายการทะเบียนราษฎรได้อย่างไรบ้าง
ตอบ 1)เรียกเจ้าบ้าน หรือบุคคลใด ๆ มาชี้แจงข้อเท็จจริง หรือให้แสดงหลักฐานต่าง ๆ ได้ตามความจำเป็น
2)มีอำนาจเข้าไปตรวจสอบหรือสอบถามในบ้านใด ๆ ก็ได้ เมื่อมีเหตุสงสัยตามสมควร แต่ต้องแจ้งให้เจ้าบ้านทราบก่อน
3)นายทะเบียนอำเภอเข้าไปดำเนินการตาม 1 , 2 โดยมีฐานะเป็นเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา

53. การเคลื่อนย้ายศพออกไปจากสถานที่หรือบ้านที่ตาย จะต้องได้รับอนุญาตจากใครก่อน
ตอบ นายทะเบียนผู้รับแจ้ง

54. อาคารที่พักอาศัยขนาดใดที่ถือว่าคนอยู่มากเกินไป
ตอบ เกินกว่า 1 คน ต่อ 3 ตารางเมตร

55. ผู้รักษาการตาม พ..ร.บ.การทะเบียนราษฎร พ.ศ. 2534 ได้แก่บุคคลใด
ตอบ รมว. มท./รมว.กต.

56. คำว่าท้องถิ่น ตาม พ.ร.บ.การทะเบียนราษฎร พ.ศ. 2534 หมายถึง
ตอบ เทศบาล

57. นายทะเบียนประจำสำนักทะเบียนกลาง หมายถึงใคร
ตอบ ผู้อำนวยการทะเบียนกลาง รอง ผอ.ทะเบียนกลาง ผช.ผอ.ทะเบียนกลาง

58. การทะเบียนราษฎรในส่วนที่เกี่ยวข้องกับ “เลขประจำตัว ได้แก่เรื่องใด ดังต่อไปนี้
ตอบ เลขประจำตัวประชาชน ที่นายทะเบียนออกให้

59. เอกสารการทะเบียนที่เกี่ยวข้องกับเด็ก ภายหลังจากการแจ้งการเกิด ได้แก่
ตอบ สูติบัตร

60. เมื่อมีคนตายในโรงพยาบาล ผู้รักษาพยาบาลต้องออกเอกสารสำคัญ ให้แก่ทายาทผู้ตาย คือ
ตอบ หนังสือรับรองการตาย

61. การจะเก็บ ฝัง เผา หรือเคลื่อนย้ายศพ จะต้องขออนุญาตใคร
ตอบ นายทะเบียนผู้รับแจ้ง

62. การแจ้งการเกิด การแจ้งการตาย หรือการแจ้งการย้ายที่อยู่ ถ้าผู้มีหน้าที่แจ้งไม่สามารถไปแจ้งต่อนายทะเบียนด้วยตนเองได้ สามารถมอบผู้อื่นแจ้งแทนโดย
ตอบ -ทำหนังสือมอบหมาย -ทำหนังสือมอบอำนาจ
-ไม่ทำหนังสือมอบอำนาจก็ได้ เพียงให้ถ้อยคำยืนยันในคำร้องและแสดงหลักฐานเจ้าบ้าน
-มอบบัตรประจำตัวประชาชนเจ้าบ้าน

63. การประกาศจำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร ซึ่งจำแนกเป็นรายจังหวัดเป็นอำนาจหน้าที่ของใคร
ตอบ ผู้อำนวยการทะเบียนกลาง

64. คนสัญชาติไทยที่เดินทางไปพำนักอยู่ต่างประเทศ เมื่อคลอดบุตรที่ต่างประเทศจะต้องทำอย่างไร
ตอบ ขอจดทะเบียนคนเกิดต่อนายทะเบียนที่สถานทูตไทย

65. ห้องต่าง ๆ ในอาคารชุด สามารถกำหนดบ้านเลขที่ได้หรือไม่
ตอบ ได้ทุกห้อง (โรงแรมไม่ได้ หอพักไม่ได้ ในห้องต่าง ๆ ของ สนง.องค์กรธุรกิจไม่ได้)

66. ชาวบ้านปลูกบ้านในที่สาธารณะ จะกำหนดบ้านเลขที่ได้หรือไม่ อย่างไร
ตอบ ได้ เพราะเป็นบ้านตามนัย แห่ง พ.ร.บ.การทะเบียนราษฎร พ.ศ. 2534 โดยให้หมายเหตุไว้ด้วยว่า “ทะเบียนบ้านชั่วคราว”

67. เมื่อได้กำหนดบ้านเลขที่แล้ว ต่อมามีบ้านปลูกแซมระหว่างบ้าน จะกำหนดเลขอย่างไร
ตอบ ใช้บ้านเลขที่ ของบ้านข้างเคียงเป็นหลักแล้วเพิ่มตัวเลขไว้ท้ายเครื่องหมายทับ

68. วิธีการกำหนดบ้านเลขที่ของบรรดาบ้านที่อยู่ในซอยแห่งหนึ่ง
ตอบ ใช้ปากซอยเป็นหลัก หันหน้าไปทางท้ายซอย บ้านด้านซ้ายเป็นเลขคี่ บ้านทางด้านขวาเป็นเลขคู่

69. ถ้ามีการสร้างถนนเส้นใหม่ในเขตเทศบาล จะมีวิธีการตั้งชื่อถนนอย่างไร
ตอบ สำรวจว่าประชาชนนิยมชื่อใด ที่จะใช้ตั้งชื่อถนนนั้น

70. การติดบ้านเลขที่ของบ้านทั่วไป จะมีวิธีการติดอย่างไร
ตอบ ให้ติดบ้านเลขที่ที่ประตูบ้านทางเข้า

71. นายทะเบียนพบว่า มีบ้าน 2 หลัง ใช้บ้านเลขที่ที่ซ้ำกัน จะปฏิบัติอย่างไร
ตอบ ตรวจสอบและสอบสวนว่าบ้านหลังใดได้บ้านเลขที่นั้นก่อน

72. บ้านซึ่งถูกรื้อ หรือเพลิงไหม้ จนหมดสภาพบ้าน นายทะเบียนควรปฏิบัติอย่างไร
ตอบ ติดต่อเจ้าบ้านมาดำเนินการแจ้งย้ายที่อยู่โดยเร็ว

73. บ้านที่อยู่ริมน้ำ แลมีศาลาท่าน้ำ จะติดบ้านเลขที่อย่างไร
ตอบ ให้ติดบ้านเลขที่ไว้ที่ศาลาท่าน้ำของบ้านนั้น

74. กรณีแจ้งการเกิดเกินกำหนดเวลา นายทะเบียนจะต้องสอบสวนบุคคลที่เกี่ยวข้องประกอบการรับแจ้งตามระเบียบ ได้แก่
ตอบ บิดา มารดา ผู้แจ้ง(ตามระเบียบข้อ 57) (สำหรับหมอตำแย หรือผุ้ทำคลอด บิดามารดา เจ้าบ้าน ผู้แจ้ง ผู้รู้เห็นการเกิด ใช้ในกรณีเพิ่มชื่อ)

75. กรณีคนสัญชาติพม่าที่เข้ามารับจ้างแรงงานชั่วคราว คลอดบุตรในเขตสำนักทะเบียนจะรับแจ้งการเกิดอย่างไร
ตอบ รับแจ้งการเกิด โดยออกสูติบัตรสำหรับคนไม่มีสัญชาติไทย (ท.ร.3) ท.ร. 1 คนไทยแจ้งเกิดตามกำหนด ท.ร.2 คนไทยแจ้งเกิดเกินกำหนด

76. ใบแจ้งย้ายที่อยู่ที่นายทะเบียนออกให้ ถ้าปรากฏรายการผิดพลาดย่อมสามารถแก้ไขให้ถูกต้องได้ เว้นแต่รายการดังต่อไปนี้ ถ้าลงไว้ผิดพลาด ต้องสั่งยกเลิกเพื่อออกฉบับใหม่ ได้แก่
ตอบ รายการสัญชาติ หรือรายการวันเดือนปีเกิด

77. กรณีพบศพซึ่งไม่ทราบว่าคนตายเป็นใคร ผู้พบศพมาแจ้งนายทะเบียนจะปฏิบัติอย่างไร
ตอบ รับแจ้งและออกใบรับจ้าง แต่ไม่ออกมรณบัตร

78. คนต่างด้าวที่มีใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว ซึ่งมีชื่อในทะเบียนบ้านด้วย สามารถแจ้งย้ายที่อยู่ได้หรือไม่
ตอบ ได้ โดยให้นายทะเบียนแนะนำให้ผู้แจ้ง ไปแจ้งย้ายใบต่างด้าวด้วย

79. บุคคลสัญชาติไทย ไม่มีชื่อในทะเบียนบ้าน เพราะตกสำรวจตรวจสอบทะเบียนราษฎร หมายความว่าอย่างไร
ตอบ คนสัญชาติไทย เกิดก่อน พ.ศ. 2499 และไม่เคยมีชื่อในทะเบียนบ้าน

80.การจำหน่ายชื่อบุคคลออกจากทะเบียนบ้าน สามารถกระทำได้ในกรณีใดบ้าง
ตอบ -บุคคลมีชื่อ และรายการในทะเบียนบ้านเกินกว่าหนึ่งแห่ง
-บุคคลมีชื่อในทะเบียนบ้าน โดยมิชอบด้วยระเบียบแบบแผน
-คนตาย
-สำนักทะเบียนกลางสั่งให้จำหน่าย

81. วิธีการแก้ไขรายการในเอกสารทะเบียนราษฎร ตามระเบียบกำหนดไว้อย่างไร
ตอบ ใช้วิธีขีดฆ่าข้อความที่ผิดด้วยหมึกสีแดง

82. การแจ้งการเกิด ซึ่งผู้แจ้งได้แสดงหลักฐานครบถ้วนถูกต้องระเบียบ นายทะเบียนจะต้องดำเนินการรับแจ้งและออกหลักฐานให้แล้วเสร็จภายในกี่วันทำการ
ตอบ สิบห้าวันทำการ (เกินกำหนดเวลา นายทะเบียน 15 วัน นายอำเภอ 3 วัน)

83. การรับแจ้งย้ายที่อยู่ปลายทาง ตามระเบียบกำหนดให้นายทะเบียนที่เกี่ยวข้องต้องดำเนินการตามความประสงค์ของผู้แจ้งให้แล้วเสร็จทุกขั้นตอนภายในกี่วันทำการ
ตอบ สิบห้าวันทำการ (นายทะเบียนต้นทาง 6 วัน ปลายทาง 6 วัน และต้นทาง 3 วันทำการ)

84. คนต่างด้าวซึ่งเข้ามามีถิ่นที่อยู่ในประเทศไทย และมีใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว ประสงค์ขอเพิ่มชื่อในทะเบียนบ้าน นายทะเบียนจะรับคำร้องและดำเนินการให้แล้วเสร็จทุกขั้นตอนภายในกี่วันทำการ
ตอบ ยี่สิบวันทำการ (อำนาจนายอำเภอ)

85. คนสัญชาติไทยที่ไปอยู่ต่างประเทศเป็นเวลานาน เมื่อเดินทางกลับเข้ามาในประเทศไทย แล้วร้องขอเพิ่มชื่อในทะเบียนบ้าน นายทะเบียนจะต้องรับคำร้องและพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องให้แล้วเสร็จภายในกี่วันทำการ
ตอบ สามสิบวันทำการ(เฉพาะในส่วนของนายทะเบียน ไม่นับเวลาของตรวจคนเข้าเมือง) อำนาจนายทะเบียนอำเภอ/ท้องถิ่น

86.ประชาชนได้ทำสูติบัตรสูญหาย จึงมายื่นคำร้องขอคัดและรับรองสำเนาทะเบียนคนเกิด หรือสูติบัตร ตอน 2 ที่เก็บรักษาอยู่ที่สำนักทะเบียน นายทะเบียนจะต้องรับคำร้อง และดำเนินการให้แล้วเสร็จตามคำร้องภายในกี่วันทำการ
ตอบ สามวันทำการ

87. หน่วยงานที่มีหน้าที่ดูแลชาวไทยภูเขาได้แก่
ตอบ ตำรวจตระเวนชายแดน กอ.รมน. กรมประชาสงเคราะห์ กองทัพบก

88. กรณีชาวไทยภูเขาเป็นผู้เยาว์ มีความประสงค์ขอลงรายการสัญชาติไทยในทะเบียนบ้าน แต่บิดามารดาเสียชีวิตแล้ว หรือไม่ทราบว่าบิดามารดาอยู่ที่ใด ให้ผู้ใดเป็นผู้ยื่นคำร้องแทน
ตอบ ผู้อุปการะเลี้ยงดูที่มีสัญชาติไทย

89. จังหวัดที่มีชาวไทยภูเขาอยู่อาศัยมาตั้งแต่อดีตกาล ได้แก่
ตอบ ตามระเบียบ ปี 2543 กำหนดให้มี 20 จังหวัด คือ ประจวบคีรีขันธ์ เพชรบุรี ราชบุรี กาญจนบุรี อุทัยธานี สุพรรณบุรี ตาก กำแพงเพชร สุโขทัย แม่ฮ่องสอน ลำปาง ลำพูน พะเยา เชียงใหม่ เชียงราย น่าน แพร่ พิษณุโลก เลย เพชรบูรณ์

90.ชาวไทยภูเขาที่ยังไม่มีหลักฐาน “สัญชาติไทย” สามารถร้องขอลงรายการสัญชาติไทยในทะเบียนบ้าน โดยยื่นคำร้องต่อนายทะเบียนแห่งท้องที่ภูมิลำเนา เพื่อตรวจสอบและรวบรวมหลักฐานเสนอ
ตอบ นายอำเภอ

91. กรณีนาย ก. ซึ่งเป็นเจ้าบ้านแห่งบ้านที่มีคนเกิด ปล่อยปละละเลยไม่แจ้งการเกิดต่อนายทะเบียนผู้รับแจ้งแห่งท้องที่ที่เด็กเกิด ภายในระยะเวลาที่ตามกฎหมายกำหนดไว้ นาย ก.จึงมีความผิดตาม พ.ร.บ.การทะเบียนราษฎรฯ ถามว่าผู้ใดเป็นผู้มีอำนาจดำเนินคดีเปรียบเทียบปรับ
ตอบ นายทะเบียนอำเภอ หรือนายทะเบียนท้องถิ่นแล้วแต่กรณี

92.การแก้ไขรายการในเอกสารการทะเบียนราษฎร กรณีผู้ร้องไม่มีเอกสารทางราชการมาแสดง จะต้องสอบสวนพยานหลักฐานแล้วรวบรวมเสนอผู้ใดพิจารณาสั่งให้แก้ไข
ตอบ นายอำเภอท้องที่

93.การเพิ่มชื่อเด็กอนาถาเข้าทะเบียนบ้าน ผู้มีอำนาจอนุมัติ คือ
ตอบ นายอำเภอท้องที่

94. คนต่างด้าวมีใบสำคัญประจำตัวต่างด้าว และเคยมีชื่อในทะเบียนบ้านขอเพิ่มชื่อในทะเบียนบ้านเป็นอำนาจอนุมัติของ
ตอบ นายอำเภอท้องที่

95. การเพิ่มชื่อและจำหน่ายชื่อบุคคลออกจากทะเบียนบ้าน นอกเหนือจากที่กำหนดไว้ในระเบียบ
ตอบ ผู้อำนวยการทะเบียนกลาง

96.บุคคลที่จะลงรายการในทะเบียนบ้าน ท.ร. 14 ได้จะต้องเป็นบุคคลใด
ตอบ บุคคลสัญชาติไทย หรือบุคคลต่างด้าวที่มีใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว ส่วนบุคคลเข้าเมืองโดยชอบด้วยกฎหมายและอยู่ในลักษณะชั่วคราวใช้ทะเบียนบ้าน ท.ร.13

97. เมื่อนายทะเบียนรับแจ้งการตายได้ออกมรณบัตรให้แก่ผู้แจ้งแล้ว
ตอบ มรณบัตรตอน 1 ให้ผู้แจ้ง มรณบัตรตอน 2 ส่งสำนักทะเบียนกลาง ตอนที่ 3 ส่งสำนักงานสาธารณสุขในพื้นที่

98. การเพิ่มชื่อในทะเบียนบ้าน โดยอาศัยหลักฐาน สูติบัตร ใบแจ้งการย้ายที่อยู่ หรือทะเบียนบ้านแบบเดิม ผู้มีอำนาจอนุญาต คือ
ตอบ นายทะเบียน

99. คนสัญชาติไทยเกิดในต่างประเทศแล้วเดินทางเข้ามาในประเทศ ขอเพิ่มชื่อในทะเบียนบ้าน ผู้มีอำนาจอนุมัติ คือ
ตอบ นายทะเบียน

100.บุคคลอ้างว่าเป็นบุคคลมีสัญชาติไทย ขอเพิ่มชื่อในทะเบียนบ้าน โดยไม่มีหลักฐานมาแสดงผู้มีอำนาจอนุมัติ คือ
ตอบ นายอำเภอท้องที่

101. เมื่อนายทะเบียนได้รับแจ้งโดยมีเหตุเชื่อว่ามีการตายแต่ยังไม่พบศพ
ตอบ ออกหลักฐานใบรับแจ้งการตายมอบให้ผู้แจ้ง

102. การแจ้งตายเกินกำหนด หมายถึง
ตอบ แจ้งการตายเกินเวลา เวลา 24 ชั่วโมง นับแต่เวลาตาย

103. เมื่อคนต่างด้าวเข้าเมืองชั่วคราว (นักท่องเที่ยว)ตายในเขตสำนักทะเบียน
ตอบ นายทะเบียนรับแจ้งและออกมรณบัตรให้ได้

104. ใครเป็นนายทะเบียนอำเภอ
ตอบ นายอำเภอ หรือ ปลัดอำเภอผู้เป็นหัวหน้าประจำกิ่งอำเภอ

105. ใครเป็นนายทะเบียนท้องถิ่นเทศบาล
ตอบ ปลัดเทศบาล

106. ใครเป็นนายทะเบียนกรุงเทพมหานคร
ตอบ ปลัดกรุงเทพมหานคร

107. ใครเป็นนายทะเบียนจังหวัด
ตอบ ผู้ว่าราชการจังหวัด

108. ผู้อำนวยการทะเบียนกลาง ตามมาตรา 8 แห่ง พ.ร.บ.การทะเบียนราษฎร 2534
ตอบ อธิบดีกรมการปกครองเป็นผู้อำนวยการทะเบียนกลางตามกฎหมาย

109. ท.ร. 5 หมายถึง
ตอบ มรณบัตรใช้สำหรับคนที่เข้าเมืองโดยชอบด้วยกฎหมายแต่อยู่ในลักษณะชั่วคราว หรือมรณบัตรใช้สำหรับคนที่เข้าเมืองโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง

110. ท.ร. 7 หมายถึง
ตอบ ใบแจ้งการย้ายที่อยู่ ใช้สำหรับคนที่เข้าเมืองโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง

111. ใบแจ้งการย้ายที่อยู่ มีชื่อผู้ย้ายที่อยู่ จำนวน 4 คน ในขณะที่เจ้าบ้านมาแจ้งย้ายเข้า ปรากฏว่าผู้ย้ายที่อยู่เสียชีวิต 1 คน ดังนั้น นายทะเบียนจะรับแจ้งการย้ายเข้าในทะเบียนบ้าน
ตอบ จำนวน 3 คน สำหรับคนที่มีชีวิตอยู่

112. เมื่อนายทะเบียนได้รับแจ้งจากหน่วยทหารขอแจ้งย้ายที่อยู่ของบุคคลที่เข้ารับราชการทหารกองประจำการ จะดำเนินการอย่างไร
ตอบ นายทะเบียนแจ้งเจ้าบ้านมาเป็นผู้ดำเนินการแจ้งย้ายออก หรือนายทะเบียนแจ้งหน่วยทหารให้ทหารกองประจำการ ไปดำเนินการแจ้งย้ายปลายทางที่สำนักทะเบียนแห่งท้องที่ที่หน่วยทหารตั้งอยู่ เนื่องจากเจ้าบ้านของทหารกองประจำการนั้นไม่มาแจ้งย้ายออกให้

113. ผู้ใดเป็นผู้แจ้งย้ายออกจากทะเบียนบ้านกลาง
ตอบ ผู้มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านกลาง

114. นายทะเบียนผู้รับแจ้ง ได้แก่
ตอบ กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน เจ้าหน้าที่ปกครอง 4 นายทะเบียนอำเภอ นายทะเบียนท้องถิ่น

115. เมื่อนายทะเบียนได้รับการตอบรับการแจ้งการย้ายเข้า (ท.ร.6 ตอน 2) จากสำนักทะเบียนปลายทางแล้ว ให้นายทะเบียนตรวจสอบรายการบ้านที่แจ้งการย้ายเข้าในใบแจ้งการย้ายที่อยู่ กับทะเบียนบ้านในช่องย้ายออก หากพบว่า
ตอบ ถูกต้องตรงกัน นายทะเบียนลงชื่อกำกับในทะเบียนบ้าน หรือไม่ถูกต้องตรงกัน นายทะเบียนแก้ไขในทะเบียนบ้านให้ถูกต้องตรงกัน แล้วลงชื่อกำกับในทะเบียนบ้าน

116. เด็กในสภาพแรกเกิดหรือเด็กอ่อน หมายความว่า เด็กเกิดใหม่ที่มีอายุ
ตอบ ไม่เกิน 28 วัน

117. ผู้เยาว์ ซึ่งมีชื่อในทะเบียนบ้านคนเดียว จะทำหน้าที่เป็นเจ้าบ้าน
ตอบ ได้ ถ้านายทะเบียนพิจารณาเห็นว่า ผู้เยาว์สามารถทำหน้าที่ดังกล่าวได้

118.การเปลี่ยนปีทางจันทรคติ (ปีชวด ฉลู ขาล เถาะ) จะเริ่มเมื่อใด
ตอบ วันขึ้น 1 ค่ำ เดือน 1 ของทุกปี

119. การขอเพิ่มชื่อโดยมีหลักฐานสูติบัตรแบบเก่า ซึ่งไม่มีเลขประจำตัวประชาชน ต้องยื่นคำร้องที่ใด
ตอบ สำนักทะเบียนที่ออกสูติบัตร

120. ปีนักษัตร หมายถึง
ตอบ ปีตามปฏิทินหลวง

121.ทะเบียนบ้านแบบใหม่ (สมุดพก) เริ่มใช้ครั้งแรก ในจังหวัด
ตอบ สงขลา และ สุราษฎร์ธานี

122.การขนย้ายโครงกระดูกของคน ต้องขออนุญาตนายทะเบียนหรือไม่
ตอบ ไม่ต้องขออนุญาต เพราะโครงกระดูกมิใช่ศพ แต่เรียกว่าอัฐิ

123.กรณีที่นายอำเภอหรือนายทะเบียนไม่อนุมัติ หรืออนุญาตให้เพิ่มชื่อ ต้องแจ้งผู้ร้องด้วย
ตอบ ด้วยลายลักษณ์อักษร

124. กรณีที่มีคนตายนอกบ้าน ต้องแจ้งการตายต่อนายทะเบียนท้องที่ภายใน
ตอบ 24 ชั่วโมง นับแต่เวลาตาย หรือเวลาพบศพ หรือ 7 วันสำหรับท้องที่ที่มีการคมนาคมไม่สะดวก




 

Create Date : 21 กรกฎาคม 2551    
Last Update : 21 กรกฎาคม 2551 23:13:49 น.
Counter : 21283 Pageviews.  

1  2  3  4  5  

tingnoy
Location :
มหาสารคาม Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 16 คน [?]




สวัสดีคะผู้ที่เข้ามาเยี่ยมชมบล็อคแห่งสาระดีๆ และความรู้หลากหลายแห่งนี้คะ เพื่อให้เกิดประโยชน์กับส่วนรวม และผู้ที่เตรียมตัวในการสอบที่มีเวลาน้อยสามารถนำแนวข้อสอบเหล่านี้ไปใช้ประกอบในการสอบได้นะคะ รวมทั้งเจ้าของบล็อคเอง ก็กำลังพยายามสู้ๆ กับการสอบคะ เป็นกำลังใจให้ทุกท่านนะคะสอบได้กันทุกคนคะ*-*
ปล.จะพยายามอัพข้อมูลลงเรื่อยๆนะคะ ติดตามเข้ามาชมได้ตลอดคะ..........
สำหรับผู้ที่เข้าเยี่ยมชมบล็อคกันแล้วขอแค่คำขอบคุณนะคะผู้ทำจะได้มีกำลังใจหาเนื้อหามาลงให้ค่ะ
Wellcome to my blog
Friends' blogs
[Add tingnoy's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.