^_^ vechagran dot com by tingnoy
Group Blog
 
All blogs
 
หลักปฏิบัติราชการที่ควรรู้

พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (ร.6) ทรงพระราชทาน ในหนังสือหลักราชการว่า
1.ความสามารถ 2.ความเพียร
2.ความมีไหวพริบปฏิภาณ 4.ความรู้เท่าถึงการณ์
5.ความซื่อตรงต่อหน้าที่ 6.ความซื่อตรงต่อคนทั่วไป
7.รูจักนิสัยคน 8.ความรู้จักผ่อนผัน
9.ความมีหลักฐาน 10.ความจงรักภักดี

สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ พระบิดาของกระทรวงมหาดไทย
1.ต้องมีความซื่อตรงต่อราชการ ต่อหน้าที่ และต่อตำแหน่งที่ตนรับผิดชอบ
2.มีความอุตสาหะในการแสวงหาความรู้ในการทำงาน การระวังตรวจตรา ปรับปรุงงานของตนอยู่เสมอ
3.มีความอารีทั้งผู้ใหญ่ ผู้เสมอกัน และผู้น้อย

พระยาสุนทรพิพิธ
1.เข้าถึงคน คือ เข้าถึงทั้งข้าราชการในหน่วยงานและประชาชน
2.เข้าถึงงาน ทั้งในความรับผิดชอบและที่สัมพันธ์กับภายนอก
3.เข้าถึงท้องที่ การปฏิบัติงาน
คุณลักษณะที่ดีของนักปกครอง
1.จิตใจสูง ได้แก่ การมีศีลธรรมประจำใจ ศรัทธาต่อหน้าที่ และถือหน้าที่เป็นเกียรติ เป็นชีวิต
2.มีศิลปะในการปฏิบัติ มีศิลปะในการนำวิชาความรู้มาใช้ปฏิบัติงาน รู้จักเหตุผล ตัดสินใจดี มีความคิดริเริ่ม รับผิดชอบต่อหน้าที่ และเข้าใจดีต่อผู้ร่วมงาน
3.มีความประพฤติเป็นแบบพิมพ์ เป็นแบบอย่างที่ดีให้คนทั่วไปยึดถือปฏิบัติได้ด้วยความศรัทธา

นายวิญญู อังคณารักษ์ อดีตปลัดกระทรวงมหาดไทย
1.มีความรู้ดี 2.มีความสามารถ
3.มีความประพฤติดี 4.มีสุขภาพอนามัยดี
5.มีน้ำใจนักกีฬา รู้แพ้รู้ชนะ 6.การแต่งกายดี
7.ครอบครัวดี 8.แนบเนียนในการทำงานด้านต่าง ๆ well rounded man
9.จงรักภักดี 10.มีจิตใจทางบวก

นายเอนก สิทธิประศาสน์ อดีตอธิบดีกรมการปกครอง ประกอบด้วย ตั้งใจจริง อิงธรรมะ ละผลประโยชน์ โปรดวิชาการ ทำงานเป็นระบบ คบกับทุกฝ่าย ขยายประชาธิปไตย ทันสมัยเป็นนิจ คู่ชีวิตเป็นสุข

นายพิศาล มูลศาสตรสาทร อดีตปลัดกระทรวงมหาดไทย ประกอบด้วย หลัก 3 ร. คือ รักประชาชน รักหน้าที่ และรักศักดิ์ศรี

นายฉลอง กัลยาณมิตร อดีต อปค. กล่าวว่า ถ้านักปกครองทอดทิ้งประชาชน ก็อย่าหวังว่าจะประสบความสำเร็จในการงาน การไม่ทอดทิ้งประชาชน ก็คือ การออกไปสัมผัสประชาชน สอบถามทุกข์สุข และปัญหาของเขา และหาทางแก้ไขปัญหาของเขา ด้วยความฉับไว ตั้งใจ และจริงใจ

การปฏิบัติงานตามรอยพระยุคลบาท (ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล เลขาธิการ กปร.)
ข้าราชการ คือผู้ที่ปฏิบัติภารกิจในงานของพระเจ้าแผ่นดิน หรือผู้ทำหน้าที่ในงานของพระราชา
หลักปรัชญาของข้าราชการ
1.มุ่งเน้นการทำงานโดยมีเป้าหมายสุดท้ายอยู่ที่ความผาสุกสมบูรณ์ของประชาชนเป็นที่ตั้ง
2.อุทิศตนในการทำงานตลอดเวลา แม้จะพ้นเวลาปฏิบัติราชการที่ทางราชการกำหนดก็ตาม
3.ข้าราชการ คือผู้ที่ทำงานให้ประชาชนชื่นใจ

หลักการประพฤติปฏิบัติงานตามรอยพระยุคลบาท พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
1)ทำงานอย่างผู้รู้จริง และมีผลงานเป็นที่ประจักษ์
2)มีความอดทน มุ่งมั่น ยึดธรรมมะและความถูกต้อง
3)มีความอ่อนน้อม ถ่อมตน เรียบง่าย ประหยัด
4)มุ่งประโยชน์ของคนส่วนใหญ่เป็นหลัก
5)รับฟังความเห็นผู้อื่น เคารพความคิดเห็นที่แตกต่าง
6)ยอมรับผู้อื่น เข้าหาประชาชน
7)มีเมตตาและกตัญญู
8)พึ่งตนเอง ส่งเสริมคนดีและเก่ง
9)รักประชาชน
10)ทำงานเป็นระบบและต่อเนื่อง

อิทธิบาท 4 หลักการทำงานของในหลวง อิทธิบาทที่ท่านว่านี้
ตัวแรกที่ทรงใช้ คือ ฉันทะ เพราะเหตุว่าทรงรักสิ่งที่ทรงทำ จึงได้ทำสิ่งที่ทำอยู่ในขณะนี้
ตัวที่สอง คือ วิริยะ คือความพากเพียร ความพยายามไม่ย่อท้อ อันนี้เห็นได้ชัดที่สุดในรัชกาลนี้
ตัวที่สาม คือ จิตตะ คือความเอาพระทัยจดจ่อในสิ่งที่ทรงทำ เพราะฉนั้นท่านจึงทำได้
ในข้อสุดท้าย คือ วิมังสา ทำงานแล้วไม่ทิ้งคอยตรวจสอบ ทบทวน ไตร่ตรอง พิจารณา ถ้าผิดพลาดก็เตรียมตัวแก้คราวต่อไป นี่เป็นธรรมะที่ทรงยึดถือมาอย่างเคร่งครัดตลอดรัชกาล
(พลตำรวจเอกวิสิษฐ์ เดชกุชร (บรรยาย) , 9 พ.ค. 2543)


อบายมุข 6 ผู้ที่หวังความเจริญด้วยโภคทรัพย์ พึงเว้นเหตุเครื่องฉิบหาย 6 ประการ ดังนี้
1.ติดสุราและของมึนเมา 2.ชอบเที่ยวกลางคืน
3.ชอบเที่ยวดูการละเล่น 4.ติดการพนัน
5.คบคนชั่ว 6.เกียจคร้านการงาน
จักรวรรดิวัตร 12 คือธรรมะ อันเป็นพระราชจริยานุวัตร สำหรับพระมหาจักรพรรดิ พระราชาเอกในโลก ทั้งนี้โดยพระมหากษัตริย์ ผู้ปกครองประชาชน ทรงถือและอาศัยธรรมะข้อนี้เป็นธงชัย อันมี 12 ประการ คือ
1)ควรอนุเคราะห์คนในราชสำนัก และคนภายนอกให้มีความสุข ไม่ปล่อยปะละเลย
2)ควรผูกไมตรีกับประเทศอื่น
3)ควรอนุเคราะห์พระราชวงศานุวงศ์
4)ควรเกื้อกูลพราหมณ์ คหบดี และคหบดีชน คือเกื้อกูลพราหมณ์ และผู้ที่อยู่ในเมือง
5)ควรอนุเคราะห์ประชาชนในชนบท
6)ควรอนุเคราะห์สมณพราหมณ์ผู้มีศีล
7)ควรจักรักษาฝูงเนื้อ นก และสัตว์ทั้งหลายมิให้สูญพันธุ์
8)ควรห้ามชนทั้งหลายมิให้ประพฤติผิดธรรม และชักนำด้วยตัวอย่างให้อยู่ในกุศลสุจริต
9)ควรเลี้ยงดูคนจน เพื่อมิให้ประกอบการทุจริต กุศลและอกุศลให้แจ้งชัด
10)ควรเข้าใกล้สมณพราหมณ์ เพื่อศึกษาบุญและบาป กุศลและอกุศลให้แจ้งชัด
11)ควรห้ามจิต มิให้ต้องการไปในที่ที่พระมหากษัตริย์ไม่ควรเสด็จ
12)ควรระงับความโลภ มิให้ปรารถนาในลาภ ที่พระมหากษัตริย์มิควรจะได้
ราชสังคหวัตถุ 4 คือพระราชจริยานุวัตร อันเป็นที่ตั้งแห่งความสงเคราะห์ ยึดหน่วงน้ำใจประชาชน มี
1.สสเมธ ความที่ทรงพระปรีชาในการบำรุงธัญญาหารให้บริบูรณ์
2.ปุริสเมธ ความที่ทรงพระปรีชาในการสงเคราะห์บุรุษที่ประพฤติดี
3.สสมาปส ความที่ทรงพระปรีชาในการบำบัดทุกข์ บำรุงสุขของราษฎร
4.วาจาเปยย การตรัสพระวาจาที่อ่อนหวานแก่ชนทุกชั้น โดยควรแก่ฐานะและภาวะธรรม
อกุศลมูล 3 คือรากเง่าของความชั่ว มี 3 ประการคือ
1)โลภะ ความอยากได้
2)โทสะ ความคิดประทุษร้ายเขา
3)โมหะ ความหลงไม่รู้จริง
อฐิษฐานธรรม 4 เป็นหลักธรรมที่ควรตั้งไว้ในจิตใจเป็นนิจ เพื่อเป็นเครื่องน้อมนำจิตใจให้เกิดความรอบรู้ ความจริง รู้จักเสียสละและบังเกิดความสุข มี 4 ประการ
1.ปัญญา ความรู้ในสิ่งที่ควรรู้
2.สัจจะ ความจริง คือประพฤติสิ่งไรก็ให้ได้จริง ไม่ทำอะไรจับจด
3.จาคะ สละสิ่งที่เป็นข้าศึกแห่งความจริงใจ คือสละความเกียจคร้าน ความหวาดกลัวต่อความทุกข์ยาก ลำบาก
4.อุปสมะ สงบใจจากสิ่งที่เป็นข้าศึกต่อความสงบ คือยับยั้งจิตใจมิให้ปั่นป่วนไปตามความพอใจ รักใคร่และความขัดเคือง เป็นต้น
คิหิสุข 4
1)อัตถิสุขัง สุขเกิดแต่ความมีทรัพย์
2)บริโภคสุขัง สุขเกิดแต่การจ่ายทรัพย์บริโภค
3)อนญสุขัง สุขเกิดจากความไม่มีหนี้
4)อนวัชชะสุขัง สุขเกิดแต่ประกอบการงานที่สุจริต ปราศจากโทษ
คหบดีธรรม 4 เป็นหลักธรรมของผู้ครองเรือน พึงยึดถือปฏิบัติ มี 4 ประการ คือความหมั่น ความโอบอ้อมอารี ความไม่ตื่นเต้นมัวเมาในสมบัติ และความไม่เศร้าโศกเสียใจเมื่อเกิดภัยวิบัติ
นิวรณ์ 5 เป็นธรรมอันกั้นจิต ไม่ให้บรรลุความดี มี 5 ประการ
1.กามฉันท์ พอใจรักใคร่ในอารมณ์ที่พอใจมีในรูป เป็นต้น
2.พยาบาท ปองร้ายผู้อื่น
3.ถีนมิทธะ ความที่จิตใจหดหู่และเคลิบเคลิ้ม
4.อุทธัจจะกุกกุจจะ ความฟุ้งซ่านและรำคาญ
5.วิจิกิจฉา ความลังเลไม่ตกลงใจได้
ผู้จำกัดหรือบรรเทานิวรณ์ได้ ย่อมได้อาสงฆ์ 5 ประการคือ ไม่ข้องติดอยู่ในกายตนหรือผู้อื่นจนเกินไป มีจิตเมตตาประกอบ มีจิตอาจหาญในการประพฤติความดี มีความพินิจและอดทนในการงาน และตัดสินใจในทางดีได้แน่นอนและถูกต้อง
เวสารัชชกรณะ 5 เป็นธรรมที่ยังความกล้าหาญให้เกิดขึ้น มี 5 ประการ คือ
1)ศรัทธา เชื่อสิ่งที่ควรเชื่อ
2)ศีล ประพฤติกายวาจาเรียบร้อย
3)พาหุสัจจะ ความเป็นผู้ศึกษามาก
4)วิริยารัมภะ ตั้งใจทำความพากเพียร
5)ปัญญา รอบรู้สิ่งที่ควรรู้
อริยะทรัพย์ 7 คือ คุณความดีที่มีในสันดานอย่างประเสริฐ มี 7 ประการคือ
1)ศรัทธา เชื่อสิ่งที่ควรเชื่อ
2)ศีล ประพฤติกายวาจาเรียบร้อย
3)หิริ ความละอายต่อบาปทุจริต
4)โอตตัปปะ ความสะดุ้งกลัวต่อบาปทุจริต
5)พาหุสัจจะ ความเป็นผู้ศึกษามาก เคยได้ยินได้ฟังมามาก
6)จาคะ การให้ปันสิ่งของแก่คนที่ควรให้
7)ปัญญา ความรอบรู้ทั้งสิ่งที่เป็นประโยชน์และสิ่งที่เป็นโทษ
สัปปุริสธรรม 7 เป็นหลักธรรมอันเป็นของคนดี (ผู้ประพฤติชอบ) มี 7 ประการ
1.ธัมมัญญุตา ความเป็นผู้รู้จักเหตุ
2.อัตถัญญุตา ความเป็นผู้รู้จักผล
3.อัตตัญญุตา ความเป็นผู้รู้จักตน
4.มัญตัญญุตา ความเป็นผู้รู้จักประมาณ
5.กาลัญญุตา ความเป็นผู้รู้จักกาลเวลาอันสมควร
6.ปุริสัญญุตา ความเป็นผู้รู้จักสังคม
7.ปุคคลปโรปรัญญุตา ความเป็นผู้รู้จักเลือกคบคน
พระพุทธโอวาท 3 คือเว้นจากทุจริต ประกอบสุจริต และทำใจตนให้บริสุทธิ์สะอาด
ไตรสิกขา คือข้อที่ต้องสำเหนียก 3 ประการ คือ ศีล สมาธิ และปัญญา
คุณธรรมของผู้ปกครอง 6
1.ขมา มีความอดทนเก่ง
2.ชาคริยะ ระวังระไว
3.อุฏฐานะ หมั่นขยัน
4.สังวิภาคะ เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่
5.ทยา เอ็นดู กรุณา
6.อิกขนา หมั่นเอาใจใส่ตรวจตราหรือติดตาม
ยุติธรรม 5
1.สัจจวา แนะนำด้วยความจริง
2.บัณฑิตะ ฉลาดแนะนำความเจริญและความเสื่อม
3.อสาหะเสนะ ตัดสินด้วยปัญญา ไม่ตัดสินด้วยอารมณ์ผลุนผลัน
4.เมธาวี นึกถึงธรรม (ยุติธรรม) เป็นใหญ่ ไม่เห็นแก่อามิสสินจ้าง
5.ธัมมัฏฐะ ไม่ริษยาอาฆาต ไม่ก่อเวร
ธรรมอันเป็นเครื่องให้ก้าวหน้า 7
1) อุฏฐานะ หมั่นขยัน
2) สติ มีความเฉลียว
3) สุจิกัมมะ การงานสะอาด
4) สัญญคะ ระวังดี
5)นิสัมมการี ใคร่ครวญพิจารณาแล้วจึงทำ
6)ธัมมชีวี เลี้ยงชีพโดยธรรม
7)อัปปมัคคะ ไม่ประมาท

• SWOT กุญแจการวิเคราะห์งาน ใช้ในการวิเคราะห์หน่วยงานหรือองค์กร
STRENGTH คือ จุดแข็งหรือจุดเด่นที่เสริมสร้างให้หน่วยงานเข้มแข็ง
WEAKNESS คือ จุดอ่อนหรือจุดด้อย ของหน่วยงาน
OPPORTUNITY คือ โอกาสที่หน่วยงานจะได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง
THREAT คือ ข้อจำกัดหรือแรงกดดันที่บั่นทอนให้หน่วยงานอ่อนแอ






Create Date : 23 กรกฎาคม 2551
Last Update : 23 กรกฎาคม 2551 10:24:34 น. 0 comments
Counter : 1783 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

tingnoy
Location :
มหาสารคาม Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 16 คน [?]




สวัสดีคะผู้ที่เข้ามาเยี่ยมชมบล็อคแห่งสาระดีๆ และความรู้หลากหลายแห่งนี้คะ เพื่อให้เกิดประโยชน์กับส่วนรวม และผู้ที่เตรียมตัวในการสอบที่มีเวลาน้อยสามารถนำแนวข้อสอบเหล่านี้ไปใช้ประกอบในการสอบได้นะคะ รวมทั้งเจ้าของบล็อคเอง ก็กำลังพยายามสู้ๆ กับการสอบคะ เป็นกำลังใจให้ทุกท่านนะคะสอบได้กันทุกคนคะ*-*
ปล.จะพยายามอัพข้อมูลลงเรื่อยๆนะคะ ติดตามเข้ามาชมได้ตลอดคะ..........
สำหรับผู้ที่เข้าเยี่ยมชมบล็อคกันแล้วขอแค่คำขอบคุณนะคะผู้ทำจะได้มีกำลังใจหาเนื้อหามาลงให้ค่ะ
Wellcome to my blog
Friends' blogs
[Add tingnoy's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.