Group Blog
 
All blogs
 
*** มารู้จัก นามรูป กันเถอะ ***





สัมมาทิฏฐิ ตามพระเถราธิบายของท่าน พระสารีบุตรเถระ


ความรู้จัก นามรูป

คือรู้จัก นาม


ได้แก่ เวทนา สัญญา เจตนา ผัสสะ มนสิการ


รู้จัก รูป

ก็คือ รู้จัก มหาภูตรูป ทั้ง 4 และ

อุปาทายรูป รูปอาศัยแห่งมหาภูตรูปทั้ง 4 นั้น

รู้จักเหตุเกิดแห่งนามรูป ก็คือรู้จักว่า เพราะ วิญญาณ เกิด นามรูป จึงเกิด

รู้จักความดับนามรูป ก็คือรู้จักว่า เพราะ วิญญาณ ดับ นามรูป จึงดับ


รู้จักทางปฏิบัติให้ถึงความดับนามรูป ก็คือรู้จักมรรคมีองค์ 8



นามคู่กับรูป อันเรียกว่า นามรูป

โดยทั่วไปก็เป็นคำย่อมาจาก ขันธ์ 5 คือ กอง หรือประชุม ทั้ง 5 อัน ได้แก่

รูปขันธ์ กองรูป

เวทนาขันธ์ กองเวทนา

สัญญาขันธ์ กองสัญญา

สังขารขันธ์ กองสังขาร

วิญญาณขันธ์ กองวิญญาณ



รูปธรรม ก็มีรูปร่างที่จะเห็นได้ด้วยตา

นามธรรม นั้นไม่มีรูปร่าง มีแต่ชื่อเรียกเท่านั้น

เป็นนามของภาวะอาการที่บังเกิดขึ้นทางร่างกาย ทางจิตใจ

ภาวะอาการที่บังเกิดขึ้นดังกล่าวไม่มีรูปร่าง

ดังเช่น เวทนา ความรู้ไม่สุขไม่ทุกข์

หรือเป็นกลางๆ ไม่สุขไม่ทุกข์

ที่บังเกิดขึ้นทางกายก็ดี ทางจิตใจก็ดี

เป็นสิ่งไม่มีรูปร่าง เมื่อมีอาการที่มีภาวะที่เป็นสุข เป็นทุกข์

หรือเป็นกลาง ไม่สุขไม่ทุกข์

เหมือนอย่างเมื่อถูกแดดก็ร้อน เป็นทุกข์

เมื่อได้รับลมก็เย็น เป็นสุข

อาการที่ที่เป็นสุขเป็นทุกข์ทางร่างกายนี้ ไม่มีรูปร่าง

แต่ว่ามีภาวะเป็นอาการ

ทางจิตใจก็เช่นเดียวกัน สัญญาความจำได้หมายรู้ต่างๆ

จำรูปจำเสียงเป็นต้น ก็เป็นอาการหรือภาวะทางจิตใจ

สัญญาความคิดปรุง หรือความปรุงคิด

ก็เป็นภาวะอาการทางจิตใจ

วิญญาณความรู้รูปทางตา ที่เรียกว่า เห็น

รู้เสียงทางหูที่เรียกว่าได้ยิน

รู้กลิ่นทางจมูก รู้รสทางลิ้น

รู้สิ่งถูกต้องทางกาย

รู้เรื่องราวทางใจที่คิดที่รู้ต่างๆ

ที่เรียกว่ารู้เรื่อง ก็เป็นภาวะอาการทางจิตใจ

เพราะฉะนั้น นาม จึงเป็นชื่อของอาการ

หรือ ภาวะทางจิตใจ และร่างกายดังกล่าว

นามเป็นอาการของจิตที่น้อมออกรู้อารมณ์

นาม มีมูลศัพท์เป็นอันเดียวกับคำว่า น้อม


แต่มีความหมายว่า เป็นอาการของจิตใจ

ที่น้อมออกไปรู้อารมณ์ คือเรื่องทั้งหลาย

คือจิตใจนี้เมื่อแสดงตามอภิธรรม เมื่อไม่มีอารมณ์

ย่อม เป็น ภวังค์จิต จิตที่อยู่ในภวังค์

ตามศัพท์แปลว่า องค์ของภพ

ซึ่งท่านเปรียบเหมือนอย่างน้ำในทะเลมหาสมุทรที่สงบอยู่

ในขณะที่ยังไม่มีคลื่น คือไม่มีลมก็ไม่มีคลื่น สงบเรียบอยู่

จิตโดยปกติ เมื่อยังไม่มีอารมณ์ ก็เป็นจิต ภวังค์จิต

แต่เมื่อมีอารมณ์มากระทบทวารคือประตูทั้ง 6

มีอารมณ์มากระทบ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ

จิตจึงออกจากภวังค์ น้อมออกรับอารมณ์

อาการที่จิตออกน้อมรับอารมณ์นี้

ก็รับด้วยวิธีรู้ คือ รู้อารมณ์

ซึ่งที่แรกก็รู้ ในเมื่อ อายตนะภายในและอายตนะภายนอกมาประจวบกัน

ก็รู้รูป ที่เรียกว่า เห็นรูป

เรียกว่า วิญญาณ

และเมื่อ อายตนะภายใน และอายตนะภายนอกและวิญญาณ ทั้ง 3 อย่างนี้ มาประชุมกัน

ก็เป็น ความรู้ที่รุนแรงขึ้น เรียกว่า สัมผัส หรือ ผัสสะ

เมื่อ เป็นผัสสะ หรือสัมผัส ความรู้ก็แรงขึ้น

เป็น รู้สุข รู้ทุกข์ รู้เป็นกลางๆ ที่เรียกว่า เวทนา


แล้วก็รู้จำ ที่เรียกว่า สัญญา


แล้วก็รู้คิดปรุงหรือปรุงคิดต่างๆ ที่เรียกว่า สังขาร


แล้วจิตก็ตกภวังค์ กลับไปสู่ภาวะที่เป็นพื้น

ครั้นเมื่อมีอารมณ์มากระทบทวารทั้ง 6นี้อีก

จิตก็ออกจากภวังค์ มารับอารมณ์อีก

ด้วยวิธีที่รู้ดังกล่าวนี้ เป็นอารมณ์ๆไป

แต่ว่าเป็นเพราะเป็นสิ่งละเอียดและรวดเร็วมาก

จึงยากที่จะรู้แยกได้

อันนี้เป็นวิถีจิตซึ่งเป็นธรรมชาติธรรมดา

อาการที่จิตออกรู้อารมณ์ดังกล่าวนี้แหละ เรียกว่า นาม

นาม ในพระเถราธิบาย ท่านได้แสดงว่า

เวทนา คือ ความรู้เป็นสุขเป็นทุกข์ หรือเป็นกลางๆ ไม่สุขไม่ทุกข์


สัญญา ความรู้จำ จำได้หมายรู้

เจตนา ความจงใจ

ผัสสะ คือความกระทบ

มนสิการ การกระทำไว้ในใจ

ก็คือ ขันธ์ 5 นั่นแหละ

รูป ตามความหมาย ก็หมายถึง รูปที่เป็นขันธ์

หรือที่เป็น รูปกาย คือ

มหาภูตรูป คือ รูปที่มีภูตะใหญ่


ภูตะ แปลว่า สิ่งที่เป็น สิ่งที่มี รูปที่เป็น สิ่งที่มี

ได้แก่ ธาตุทั้ง 4 ที่ประกอบกันอยู่ในกาย

อันได้แก่ ธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุไฟ ธาตุลม


ธาตุทั้ง 4 นี้แหละที่มีอยู่ในกาย ประกอบเข้าเป็นกาย

เมื่อธาตุทั้ง 4 นี้คุ้มกันอยู่ กายนี้ย่อมดำรงอยู่ คือการมีชีวิต

เมื่อธาตุทั้ง 4 แตกสลายไป ความดำรงอยู่ในกายก็แตกสลายไป

พิจารณาให้เห็นสักแต่ว่าเป็นธาตุ


ไม่ควรจะยึดถือเอาว่าเป็นของเรา หรือเป็นอัตตาของเรา


อุปทายรูป รูปอาศัย

คือ เป็นรูปที่อาศัยอยู่แห่ง มหาภูตรูป ทั้ง 4 ได้แก่

ประสาท ทั้ง 5 คือ

สิ่งที่ให้สำเร็จการเห็น เรียกว่า จักขุประสาท

สิ่งที่ให้สำเร็จการได้ยิน เรียกว่า โสตประสาท

สิ่งที่ให้สำเร็จการทราบกลิ่น เรียกว่า ฆานประสาท

สิ่งที่ให้สำเร็จการทรายรส เรียกว่า ชิวหาประสาท

สิ่งที่ให้สำเร็จการถูกต้อง เรียกว่า กายประสาท

โคจร คืออารมณ์อันเป็นที่เที่ยวไป ของประสาท ทั้ง 5

คือ

รูป ที่เป็นวิสัยของจักขุประสาท

เสียง ที่เป็นวิสัยของโสตประสาท

กลิ่น ที่เป็นวิสัยของฆานประสาท

รส ที่เป็นวิสัยของชิวหาประสาท

โผฏฐัพพพะ สิ่งที่ถูกต้องที่เป็นวิสัยของกายประสาท







Create Date : 05 ธันวาคม 2549
Last Update : 5 ธันวาคม 2549 10:19:59 น. 0 comments
Counter : 1324 Pageviews.

รักดี
Location :


[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 3 คน [?]




นามแฝง ชื่อ รักดี

ชอบดอกไม้ รักหมา

ไม่รังเกียจแมว

ไม่อาลัยในสิ่งที่ผ่านไปแล้ว

อยู่กับปัจจุบัน

และทำปัจจุบันให้ดีที่สุด

ไม่กังวลหรือเป็นทุกข์

กับสิ่งที่ยังมาไม่ถึง












Friends' blogs
[Add รักดี's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.