Group Blog
 
All blogs
 
ค่าของเงิน โดย ดร.ศุภวุฒิ สายเชื้อ


เงินบาทที่แข็งค่า ขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทำให้ทางการ “เป็นห่วง” จนต้องออกมากล่าวว่า ค่าเงินบาทเป็นเรื่องที่จะต้องดูแลให้ “เหมาะสม”

ครั้งนี้ผมจึงขอเขียนถึง เรื่องค่าของเงินว่ามีที่มาที่ไปอย่างไร เป็นการเขียนในเชิงทฤษฎีมากกว่าการให้คำตอบว่าเงินบาทจะอยู่ที่ระดับใด ท่านที่ต้องการคำตอบในเรื่องนี้ คำตอบสั้นๆ คือเงินบาทน่าจะแข็งค่าจนกว่าไทยจะขาดดุลการค้าอย่างต่อเนื่อง

เงินนั้นโดยตัวของมันเองไม่ได้มีค่า เพราะเป็นเพียงกระดาษซึ่งพิมพ์ขึ้นมาด้วยคำนิยามว่า “ธนบัตรเป็นเงินที่ชำระหนี้ได้ตามกฎหมาย” หมายความว่าผมรับก๋วยเตี๋ยวมาหนึ่งชามจากร้านขายก๋วยเตี๋ยว ผมมีหนี้เป็นก๋วยเตี๋ยว 1 ชามซึ่งผมชำระหนี้ดังกล่าวได้ตามกฎหมายโดยใช้ธนบัตร (สมมติว่า) มูลค่า 30 บาท ถามว่าผมจะใช้อย่างอื่นชำระหนี้ได้หรือไม่ ก็ต้องบอกว่าได้แต่คงจะลำบากกว่าใช้ธนบัตร เพราะผมต้องทราบว่าเจ้าของร้านต้องการอะไร สมมติว่าต้องการปากกาหนึ่งด้ามผมก็จะต้องไปหาปากกามาให้ ซึ่งหากร้านปากกาไม่ต้องการบทวิเคราะห์ทางเศรษฐศาสตร์ (ซึ่งเป็นสิ่งหลักที่ผมผลิตได้) ก็จะทำให้การบริโภคก๋วยเตี๋ยวของผมยากลำบากขึ้น ดังนั้นเงินจึงมีประโยชน์ เพราะเป็นตัวกลางในการแลกเปลี่ยนสินค้าและบริการ (medium of exchange)

นอกจากนั้นเงินมีประโยชน์ในฐานะเป็นหน่วยวัดทางบัญชี (unit of account) เช่น เราพูดได้ว่าจีดีพีของไทยมูลค่า 10 ล้านล้านบาท หากไม่มีหน่วยวัดก็จะต้องร่ายยาวว่าจีดีพีไทยมีการผลิตรถยนต์ออกมาใหม่ 1.5 ล้านคัน ข้าว 20 ล้านตัน ฯลฯ และยังไม่สามารถทราบได้ว่าข้าว 20 ล้านตันมี “มูลค่า” เท่าไหร่ แต่จะต้องเปรียบเทียบว่ารถยนต์หนึ่งคันสามารถแลกเปลี่ยนข้าวได้ 20 ตัน เป็นต้น ทำให้ต้องหาหน่วยวัดทางบัญชีอยู่ดี เช่น เปรียบเทียบทุกสินค้ากับข้าว เป็นต้น จะเห็นได้ว่าราคาสินค้าและบริการนั้นแท้จริงแล้วสามารถคำนวณเป็นราคาเมื่อ เปรียบเทียบกัน (relative price) ได้ แต่การใช้เงินเป็นหน่วยวัดทางบัญชีเพิ่มความสะดวกได้อย่างมาก

ประโยชน์ข้อที่ 3 ของเงินคือสามารถเก็บรักษาได้โดยง่าย (store of value) เพราะธนบัตรกระดาษนั้นเก็บรักษาให้คงสภาพได้สะดวกสบายกว่า ก๋วยเตี๋ยวหรือข้าวสาร ในปัจจุบันเทคโนโลยีและระบบการเงินได้พัฒนาไปอีกระดับหนึ่งคือ “เงิน” เป็นเพียงหน่วยความจำในคอมพิวเตอร์ของธนาคารที่มีบัญชีฝากเอาไว้

เมื่อเป็นเช่นนั้นก็จะเห็นว่าเงินไม่ได้มี “ค่า” อะไรเลย เพราะเป็นเพียงกลไกที่กำเนิดขึ้นและวิวัฒนาการให้เกิดความสะดวกในการทำธุรก รรมต่างๆ สมมติระบบเศรษฐกิจมีการผลิตก๋วยเตี๋ยว 10 ชามและพิมพ์เงินออกมาหมุนเวียน 300 บาท ราคาก๋วยเตี๋ยวก็จะเท่ากับ 30 บาทต่อชามนั่นเอง หากพิมพ์เงินออกมา 600 บาทแต่ยังผลิตก๋วยเตี๋ยว 10 ชามเท่าเดิม ราคาก๋วยเตี๋ยวก็จะปรับขึ้นเป็นชามละ 60 บาท แต่ความมั่งคั่งอุดมสมบูรณ์ไม่เปลี่ยนเพราะยังผลิตก๋วยเตี๋ยว 10 ชามเท่าเดิม ในกรณีของไทยนั้นปัจจุบันมีการพิมพ์ธนบัตรประมาณ 1 ล้านล้านบาทและจีดีพีของไทยมูลค่า 10 ล้านล้านบาท ดังนั้นหากจีดีพีไทยขยายตัว (มีการผลิตสินค้าและบริการเพิ่มขึ้น) ปีละ 5% และธนาคารแห่งประเทศไทยพิมพ์ธนบัตรเพิ่มปีละ 8% ก็จะทำให้ราคาสินค้าปรับขึ้นโดยเฉลี่ยปีละ 3% หรือเงินเฟ้อเฉลี่ย 3% ต่อปีนั่นเอง

ทำไมจึงต้องให้มีเงินเฟ้อ 3%? ทำไมไม่ทำให้เท่ากับ 0%? คำตอบคือเป็นการสร้างความยืดหยุ่นให้กับกลไกตลาดในกรณีที่สินค้าบางประเภท ราคาสูงขึ้นอย่างมาก เช่นปีนี้ราคายางพาราปรับเพิ่มขึ้น 20% หากราคาเฉลี่ยโดยรวมต้องไม่เพิ่มขึ้นเลยก็จะต้องมีสินค้าที่จะต้องลดราคาลง ซึ่งอาจทำให้รู้สึกว่าเงินตึงสภาพคล่องฝืดเคืองได้ อย่างไรก็ดีหาก ธปท.เพิ่มปริมาณเงินปีละ 15% แต่จีดีพีขยายตัว 3% ก็จะเสี่ยงต่ออัตราเงินเฟ้อที่สูงถึง 12% ต่อปี ทำให้ค่าของเงินเสื่อมถอยลง คงไม่มีใครอยากเก็บเงินเพราะเสื่อมค่าเดือนละ 1% เป็นต้น ผู้ที่จะได้เปรียบคือรัฐบาลที่จะเก็บภาษีได้เพิ่มขึ้น เช่นสมมติว่าภาษีเงินได้บุคคลเท่ากับ 10% สำหรับคนที่เงินเดือน 20,000-30,000 บาท และเพิ่มเป็น 15% สำหรับคนที่เงินเดือน 30,000-40,000 บาท หากต้องเผชิญกับเงินเฟ้อ 12% ต่อปี 2 ปีและเงินเดือนเพิ่มขึ้นตามเงินเฟ้อ คนที่มีเงินเดือน 25,000 บาทจะต้องเสียภาษีเพิ่มขึ้นจาก 10% เป็น 15%

ประเด็นสำคัญที่อยากเน้นอย่างยิ่งคือ สิ่งที่กล่าวมาข้างต้นซึ่งเป็นที่มาที่ไปของ “ค่าของเงิน” นั้นไม่ได้กล่าวถึงการตรึงราคาของกระทรวงพาณิชย์หรือการต้องนำเงินตราต่าง ประเทศมาหนุนหลังเงินบาทแต่อย่างใด ในกรณีของการตรึงราคาสินค้านั้น กล่าวได้ว่าเป็นการบิดเบือนราคา (distorting relative price) นั่นเอง เพราะเมื่อราคาสินค้าปรับขึ้นตามสภาวการณ์ไม่ได้ ก็อาจจะทำให้เกิดการขาดแคลนได้เพราะผู้ประกอบการอยากจะปรับเปลี่ยนการผลิตไป ผลิตสินค้าที่ไม่ถูกควบคุมราคามากกว่า ทั้งนี้หากปัญหาเกิดขึ้นเพราะผู้ผลิต “ฮั้ว” กันผูกขาด ก็จะเป็นการผูกขาดสินค้าในทุกราคาต้องจัดการกับการผูกขาดอย่างเบ็ดเสร็จไม่ ใช่การขอความร่วมมือตรึงราคาเป็นครั้งคราวกันไป

สำหรับเรื่องของค่าเงินนั้นสามารถทำความเข้าใจได้อีกระดับว่า ทุกประเทศจะต้องมีนโยบายการเงินของตน โดยธนาคารกลางจะกำหนดปริมาณเงินและการขยายตัวของปริมาณเงินของตนให้เหมาะสม เช่นหากประเทศ ข. กำหนดให้ปริมาณเงินขยายตัวปีละ 10% ในขณะที่จีดีพีขยายตัว 5% ก็จะมีอัตราเงินเฟ้อเฉลี่ย 5% ต่อปี ในขณะที่ไทยมีอัตราเงินเฟ้อ 3% ต่อปีแปลว่าโดยเฉลี่ยเงินบาทจะแข็งค่าเทียบกับเงินของประเทศ ข. เฉลี่ยปีละ 2% เป็นต้น

ดังนั้นการที่กฎหมายไทยกำหนดให้เงินบาทต้องมีเงินตราต่างประเทศหรือทองคำ หนุนหลังอยู่นั้นจึงไม่มีความหมายอะไรในเชิงเศรษฐศาสตร์ สมัยที่ประเทศไทยยังไม่พัฒนาและ ธปท.ถูกแทรกแซงทำให้อาจเข้าใจได้ว่าไม่มีอิสระและขาดความน่าเชื่อถือ ก็เหมาะสมที่จะต้องไป “ขอยืม” ความน่าเชื่อถือของเงินสกุลหลัก (เช่น ดอลลาร์) มาหนุนหลังเงินบาท แต่คำว่าหนุนหลังดังกล่าวนั้นยังต้องตีความอีกว่ามากน้อยเพียงใด เช่น เรามีเงินบาทหมุนเวียนอยู่ 1 ล้านล้านบาท หากมีทุนสำรองระหว่างประเทศหนุนหลังอยู่ 50,000 ล้านดอลลาร์ ก็แปลว่าอัตราแลกเปลี่ยนน่าจะเป็น 20 บาทต่อ 1 ดอลลาร์ (ปัจจุบันไทยมีทุนสำรองอยู่ 150,000 ล้านดอลลาร์ หากแบ่งเพื่อขาดดุลการค้า 80,000 ล้านดอลลาร์และสำรองหนี้ระยะสั้นอีก 20,000 ล้านดอลลาร์ ก็จะมีเงินเหลือหนุนหลังพอดี เป็นต้น) แต่ดังที่กล่าวข้างต้น ค่าของเงินบาทนั้นเป็นผลมาจากการมีวินัยทางการเงินของ ธปท.มากกว่าเงินดอลลาร์ที่ไทยตุนไว้ เพราะในปัจจุบันธนาคารกลางสหรัฐกดดอกเบี้ยไว้ที่ 0 แปลว่าสหรัฐเกือบพิมพ์ดอลลาร์แจกอยู่แล้ว เพราะเศรษฐกิจฟื้นตัวอย่างกระท่อนกระแท่น

ดังนั้นจึงไม่แปลกอย่างใดที่เงินบาทแข่งค่าขึ้นอย่างต่อเนื่องเมื่อ เปรียบเทียบกับเงินดอลลาร์ เพราะเงินบาทมีความน่าเชื่อถือเพิ่มขึ้นขณะที่เงินดอลลาร์จะมีความน่าเชื่อ ถือลดลงไปเรื่อยๆ หากเศรษฐกิจไม่ดีขึ้น ดังที่เห็นใน 2-3 เดือนที่ผ่านมาครับ

แหล่งที่มา ดร.ศุภวุฒิ สายเชื้อ - กรุงเทพธุรกิจ



back to school deal
kindle reader
cheap ipod touch
external hard drive
cheap digital cameras
cheap laptops
cheap LCD tv
cheap play station3
cool math games
blood pressure monitors
home decorators outlet
vacuum cleaners
best wireless router
blu ray players
Blow Dryer
litter boxes
Cast Iron Wok
Cat Scratchers
carpet sweeper
Electric Wok
Ipod Headphones
office furniture
buy gps
buy printers
cheap cell phones
jewelry store
discount pet supplies
cheap refrigerators
cheap desktop computers
cheap kitchen cabinets
guitars for sale
bicycle for sale
full pc game down loads
womens shoes
mens watches
women clothings
mp3 downloads
cheap gps
cheap ipad
cheap netbooks
home theater systems
rice cooker
usb flash drive
wireless reading device
cheap desktop computers
cheap refrigerators
buy ipad
Battery Charger
Cast Iron Griddle
Cat Litter Boxes
Chapin Sprayers
Hdmi Cables
Ipod Earphones
Laptop Cooler




Create Date : 30 สิงหาคม 2553
Last Update : 30 สิงหาคม 2553 20:02:55 น. 2 comments
Counter : 1075 Pageviews.

 
ขอรบกวนถามว่าหลังปี2010 เงินบาทเมื่อเปรียบเทียบกับเงินดอลลาร์แล้วใครจะน่าเชื่อถือกว่ากันค่ะ


โดย: แอน IP: 58.9.229.67 วันที่: 8 พฤศจิกายน 2553 เวลา:13:04:33 น.  

 
การที่สหรัฐเป็นผู้นำทางการทหาร อาวุธ และเทคโนโลยี ทำให้เป็นมหาอำนาจ ไม่ได้ทำให้ ค่าเงินของเขาน่าเชื่อถือหรือครับ การที่กำหนดดอกเบี้ย 0% เพราะต้องการให้เงินเฟ้อเป็น 0% และใ้้ช้เงินที่พิมพ์เพิ่มขึ้นมาไปเพิ่มจีดีพีทั้งหมด ใช่หรือไม่ ครับ แต่ถ้าจีดีพีไม่เพิ่มขึ้นตามเงินที่พิมพ์ก็แปลว่าเขาใช้เงินอย่างไม่มีประสิทธิภาพ หรือเปล่าครับ


โดย: C IP: 125.24.118.150 วันที่: 10 มีนาคม 2555 เวลา:0:53:19 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

girdpol
Location :


[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 15 คน [?]




Friends' blogs
[Add girdpol's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.