Group Blog
 
All blogs
 
ปัญหาหนี้สินของประเทศไอร์แลนด์


ในเดือนพฤศจิกายน 2010 นี้ถือได้ว่านอกจากเรื่องมาตรการเพิ่มปริมาณเงินนอกรอบรอบที่ 2 (quantitative easing 2 หรือ QE2) ของธนาคารกลางสหรัฐแล้ว เรื่องที่กระทบต่อการลง ทุนและระบบเศรษฐกิจโลกอีกเรื่องหนึ่งคือปัญหาหนี้สาธารณะของประเทศไอร์แลนด์ ผมจึงขอนำเอาเรื่องของไอร์แลนด์มาพูดคุยกันในครั้งนี้ครับ

ไอร์แลนด์นั้นเป็นประเทศเล็กที่เคยถูกยึดครองโดยอังกฤษและมีปัญหาความ รุนแรงจากความแตกแยกทางศาสนามาโดยตลอด แต่ต่อมาก็ประสบความสำเร็จอย่างสูงในการพัฒนาความเจริญทางเศรษฐกิจจนได้รับ สมญานามว่าเป็น Celtic Tiger หรือเป็นเสือทางเศรษฐกิจคล้ายคลึงกับที่ไทยเราเองก็เคยมองตัวเองว่าจะเป็น เสือตัวใหม่ของเอเชียเมื่อ 15 ปีก่อน ไอร์แลนด์จึงกลายเป็นฐานการผลิตที่สำคัญโดยเฉพาะอุตสาหกรรมเฉพาะทางที่ต้อง อาศัยความเชี่ยวชาญพิเศษ กล่าวคือไอร์แลนด์พยายามส่งเสริมอุตสาหกรรมเทคโนโลยีขั้นสูง

ความทะเยอทะยานและความเชื่อมต่อโลกาภิวัตน์ที่สมบูรณ์ของไอร์แลนด์ทำให้ นายธนาคารของไอร์แลนด์ฉกฉวยโอกาสในการขยายธุรกิจทางการเงินในช่วงที่ผ่านมา อย่างเต็มที่ ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้ระบบธนาคารของไอร์แลนด์ล้มละลายลงอย่างไม่เป็นท่าใน ปี 2008 ซึ่งรัฐบาลไอร์แลนด์ก็ได้พยายามเผชิญปัญหาแบบตรงไปตรงมา โปร่งใสและเป็นมืออาชีพมากที่สุด กล่าวคือสอบถามและสั่งการให้ธนาคารเปิดเผยความจริงเกี่ยวกับความเสียหายทั้ง หมดไม่ต้องให้ปกปิด พร้อมกันนั้นก็ยังจ้างผู้เชี่ยวชาญต่างๆ มาให้คำปรึกษาเพื่อหาแนวทางแก้ไขปัญหาแบบเปิดเผยและตรงไปตรงมา กล่าวคือเมื่อทราบจากนายธนาคารว่ามีหนี้เสีย ซึ่งน่าจะทำให้เกิดความเสียหายประมาณ 5,000 ล้านยูโร ก็รีบประกาศให้ทราบโดยทั่วกันในทันทีและรัฐบาลรีบจัดการกับความเสียหายดัง กล่าวและให้นำความเสียหายดังกล่าวมาคำนวณเป็นการขาดดุลงบประมาณของรัฐบาลใน ทันที เพื่อรัฐบาลจะได้ออกพันธบัตรกู้เงินเพื่อรับผิดชอบความเสียหายอย่างครบถ้วน ในขณะเดียวกันก็ดำเนินการลดรายจ่ายด้านอื่นๆ ของรัฐบาล เพื่อให้เกิดความมั่นใจว่ารัฐบาลจะยังรักษาวินัยทางการคลังได้อย่างสมบูรณ์ เช่นแต่ก่อน

ในช่วงแรกไอร์แลนด์จึงได้รับการตอบสนองที่ดีจากนักลงทุน เพราะรัฐบาลไอร์แลนด์สร้างความน่าเชื่อถือ โดยเผชิญปัญหาอย่างตรงไปตรงมา เปิดเผยว่า แก้ปัญหาอย่างเด็ดขาดและครบถ้วนที่สุดเท่าที่จะทำได้ แต่สิ่งที่ทำให้ไอร์แลนด์ตกอยู่ในภาวะลำบากในขณะนี้คือ เมื่อเวลาผ่านไปปรากฏว่าความเสียหายจากหนี้เสียของภาคธนาคารนั้นเพิ่มขึ้น เรื่อยๆ อย่างไม่น่าเชื่อ กล่าวคือเมื่อปี 2008 รัฐบาลประกาศว่าความเสียหายทั้งหมดเท่ากับ 5,000 ล้านยูโร แต่ต่อมาต้องประกาศความเสียหายเพิ่มเติมทุกปีจนกระทั่งล่าสุดในปีนี้ ต้องยอมรับว่าอาจมีความเสียหายเพิ่มเติมที่ค้นพบในปี 2010 นี้อีก 30,000 ล้านยูโรและเมื่อรวมความเสียหายทั้งหมดที่ประกาศออกมาในช่วง 2008-2010 นั้นรวมทั้งสิ้นกว่า 50,000 ล้านยูโร กล่าวคือความเสียหายทั้งหมดที่คาดการณ์ใหม่นั้นมากกว่าความเสียหายที่ประกาศ ในครั้งแรกประมาณ 10 เท่าตัว หากคิดเป็นภาระที่ชาวไอร์แลนด์ต้องแบกรับก็เท่ากับ 50,000 ยูโรต่อ 1 ครอบครัว (กว่า 2 ล้านบาท) ดังนั้นไอร์แลนด์จึงต้องรับภาระที่หนักหน่วงอย่างยิ่งจากวิกฤติเศรษฐกิจรอบ นี้ นอกเหนือจากการที่เศรษฐกิจไอร์แลนด์นั้นได้หดตัวลงอย่างต่อเนื่องนับจากปี 2008 คือ หดตัวลง 3.5% ในปี 2008 7.6% ในปี 2009 และน่าจะหดตัวอีก 0.3% ในปี 2010 นี้

แต่สิ่งที่ทำให้เกิดความปั่นป่วนในไอร์แลนด์อย่างมากในขณะนี้นั้นสืบ เนื่องมาจากการที่นายกรัฐมนตรีเยอรมัน (นาง Angela Merkel) ผลักดันข้อเสนอในการสร้างกลไกแก้ปัญหาการขาดวินัยทางการคลังในกลุ่มประเทศอี ยู โดยให้ยอมรับหลักการว่านักลงทุนเอกชนที่เข้ามาซื้อพันธบัตรรัฐบาลของประเทศ ที่มีปัญหาต้องมีส่วนรับความเสียหายจากการปรับโครงสร้างหนี้ของประเทศดัง กล่าวด้วย เพื่อไม่ให้เป็นภาระรับผิดชอบของกองทุน 750,000 ล้านยูโรที่จัดตั้งรวมกันระหว่างอียูกับไอเอ็มเอฟเพียงอย่างเดียว กล่าวคือนายกรัฐมนตรีเยอรมันถูกกดดันทางการเมืองให้กระจายภาระรับผิดชอบให้ กับผู้ที่เกี่ยวข้องทุกคนไม่ใช่ต้องเป็นความรับผิดชอบของประเทศที่มีสถานะ ทางการเงินที่แข็งแรง (เช่นเยอรมัน) เพียงฝ่ายเดียว

Angela Merkel ผลักดันข้อเสนอดังกล่าวข้างต้นและได้รับการยอมรับจากอียูในวันที่ 29 ตุลาคมและต่อมารัฐมนตรีคลังของฝรั่งเศสกล่าวสนับสนุนข้อเสนอของเยอรมันโดย เฉพาะอย่างยิ่งในส่วนที่เกี่ยวกับการร่วมรับผิดชอบความเสียหายของผู้ถือ พันธบัตรรัฐบาลที่มีปัญหา สิ่งที่ตามมาคือดอกเบี้ยพันธบัตรรัฐบาลไอร์แลนด์ (อายุ 3 ปี) เพิ่มขึ้นต่อเนื่องกัน 13 วันจาก 4.7% ในวันที่ 30 ต.ค.มาเป็น 7.7% ในวันที่ 12 พ.ย.หรือดอกเบี้ยเพิ่มขึ้น 3.09% ในระยะเวลาเพียง 13 วัน ทำให้ในที่สุดอียูต้องร่วมกันออกแถลงการณ์ให้เกิดความชัดเจนว่าข้อเสนอที่ กำลังอยู่ระหว่างการพิจารณานั้นจะนำมาใช้ในอนาคตในอีก 2 ปีข้างหน้ามิได้ใช้กับนักลงทุนที่ถือพันธบัตรรัฐบาลอยู่ในขณะนี้

ในช่วงเดียวกันนั้นตลาดก็เริ่มหวั่นไหวกับหนี้สาธารณะของประเทศอื่นๆ ที่มีปัญหาอยู่แล้วคือกรีก โปรตุเกสและสเปนดังปรากฏในตารางข้างล่าง



ทั้งนี้จากแบบสอบถามของ Bloomberg ที่ถามนักลงทุน 1,030 คนเมื่อวันที่ 8 พ.ย. พบว่านักลงทุน 71% เชื่อว่ารัฐบาลกรีกจะพักชำระหนี้ ตามด้วยรัฐบาลไอร์แลนด์ ที่นักลงทุน 51% เชื่อว่าไอร์แลนด์จะพักชำระหนี้ โดยในกรณีของไอร์แลนด์นั้นปัจจุบันออกพันธบัตรไปแล้วประมาณ 75,000-80,000 ล้านยูโรโดยผู้ซื้อพันธบัตรรายใหญ่ที่สุดคือธนาคารกลางของยุโรป (ประมาณ 15,000-18,000 ล้านยูโร) ในขณะที่ธนาคารในประเทศยุโรปถือประมาณ 10,000 ล้านยูโร นักลงทุนต่างชาติถือประมาณ 40,000 ยูโรและธนาคารไอร์แลนด์เองถือพันธบัตรไอร์แลนด์อีก 10,000 ล้านยูโร

ความไม่เชื่อมั่นของนักลงทุนที่เพิ่มสูงขึ้น โดยเฉพาะในกรณีของไอร์แลนด์ ทำให้กลุ่มประเทศอียูพยายามให้ไอร์แลนด์เข้ารับความช่วยเหลือทางการเงินจาก อียู เพื่อที่จะทำให้นักลงทุนเชื่อมั่นว่า ไอร์แลนด์จะไม่ต้องพักชำระหนี้ อย่างไรก็ตามรัฐบาลไอร์แลนด์ยืนยันว่า ยังไม่มีความจำเป็นที่รัฐบาลจะต้องขอความช่วยเหลือดังกล่าว จนในที่สุดในการประชุมรัฐมนตรีคลังของอียูเมื่อวันพุธที่ผ่านมา ก็มีการเจรจากันอีกรอบและมีแนวโน้มว่า ไอร์แลนด์จะยอมให้อียูและไอเอ็มเอฟเข้ามาช่วยเหลือทางการเงินแก่ธนาคารที่มี ปัญหาของไอร์แลนด์ โดยทั้งสององค์กรเริ่มเข้ามาตรวจสอบบัญชีและคุณภาพสินทรัพย์ของธนาคาร พาณิชย์ของไอร์แลนด์แล้ว
แหล่งที่มา กรุงเทพธุรกิจ : ดร.ศุภวุฒิ สายเชื้อ

อยากให้อ่านเรื่องนี้ด้วยครับ



 
ขอบคุณครับ ตามอ่านงานของ ดร.ศุภวุฒิเช่นกันครับ ^^


โดย: หมอนุ่น IP: 183.89.27.106 วันที่: 22 พฤศจิกายน 2553 เวลา:16:59:34 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

girdpol
Location :


[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 15 คน [?]




Friends' blogs
[Add girdpol's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.