โลกคือเวทีละคร ไม่ว่าใครก็ต่างก็ต้องแสดงในบทบาทของตนที่นั่น
Group Blog
 
All Blogs
 
It isn’t that they can’t see the solution. It’s that they can’t see the problem

“It isn’t that they can’t see the solution. It’s that they can’t see the problem” – G. K. Chesterton

ปัญหากับทางออกดูจะเป็นของคู่กัน แต่บางครั้งการวนหาทางออกเท่าไหร่ก็ไม่เจอ น่าจะเป็นเพราะยังอ่านโจทย์ไม่แตกก็ได้ครับ

เมื่อหลายปีก่อน มีคนบอกว่าตลาดมือถือจะถึงจุดอิ่มตัวแล้ว อีกทั้งคู่แข่งในตลาดล้วนมีฝีมือระดับพระกาฬทั้งนั้น จึงลงความเห็นว่าเราคงจะสู้เขาไม่ได้ ทางที่ดีที่สุดคือพยายามรักษาฐานลูกค้าเดิมไว้ให้มั่น เอาแค่ไม่เสียลูกค้าไปก็น่าจะพอพยุงตัวต่อไปได้

ผมฟังการวิเคราะห์นั้นและพยายามมองว่าปัญหาที่แท้จริงมันอยู่ตรงไหนกัน แน่ ระหว่างตลาดอิ่มตัว กับความสามารถในการแข่งขันของเรา พูดแบบไม่เข้าข้างตัวเอง ผมไม่คิดว่าเรามีปัญหาด้านการแข่งขันนะครับ ถ้าอย่างนั้นปัญหาก็อยู่ที่การกลัวว่าตลาดจะหยุดโตมากกว่า

ผมเลยตั้งคำถามกลับว่าตลาดถึงจุดอิ่มตัวแล้วจริงหรือ ลูกค้ามือถือทั้งตลาดมีเท่าไหร่เมื่อเทียบกับจำนวนประชากรทั้งหมด และส่วนมากอยู่ที่ไหน ในต่างจังหวัดมีมั้ย จากคำถามพื้น ๆ เหล่านี้ นำไปสู่ความเข้าใจว่าตลาดยังมีโอกาสโตขึ้นได้อีก โดยเฉพาะในต่างจังหวัดและพื้นที่ห่างไกลที่สายโทรศัพท์พื้นฐานยังเข้าไปไม่ ถึง

เพราะฉะนั้น ทางออกก็คือ ช่วยกระตุ้นตลาดให้เติบโตขึ้นไป ลงทุนมากขึ้นในการขยายเน็ตเวิร์ค ออกบริการมากขึ้นเพื่อให้ตอบสนองความต้องการของลูกค้าต่างจังหวัด ซึ่งผลที่ได้นอกจากตลาดจะโตขึ้น ลูกค้าก็มีโอกาสได้รับบริการมากขึ้นด้วย

ผมว่าการแก้ปัญหาที่ดีที่สุด คือต้องหัดเกาให้ถูกที่คัน ตั้งคำถามให้ถูกจุดว่าปัญหาที่แท้จริงคืออะไร และจากตรงนั้น เราน่าจะมองหาทางออกได้ไม่ยากครับ

ปัญหาบางปัญหาที่เราว่าใหญ่ อาจจะแก้ไขได้ด้วยวิธีง่าย ๆ นิดเดียว เพียงแค่เราเข้าใจแก่นของปัญหาที่แท้จริงก่อนเท่านั้น อย่าไปคิดว่าต้องหาทางออกที่สวยหรูอลังการ บางครั้งมองอะไรชั้นเดียวบ้างก็ได้

เมื่อสองเดือนก่อนมีพนักงานส่งเรื่องมาให้ผม เล่าถึงเหตุการณ์ที่ชี้ให้เห็นถึงความแตกต่างระหว่างผลลัพธ์ของการเอาแต่ โฟกัสที่ปัญหากับการโฟกัสที่ทางออกได้น่าสนใจมาก เลยอยากเอามาแชร์ให้อ่านกันครับ (หลายคนคงเคยอ่านมาแล้ว ต้องขออภัยด้วยครับ)

เรื่องมีอยู่ว่า ตอนนาซ่าเริ่มปล่อยจรวดเพื่อสำรวจอวกาศ พวกเขาพบว่านักบินอวกาศไม่สามารถใช้ปากกาได้ที่แรงโน้มถ่วงของโลกเท่ากับ 0 (น้ำหมึกไม่ไหล)
เพื่อแก้ปัญหานี้ เขาใช้เวลาราว 10 ปี และใช้เงินไป 12 ล้านดอลลาร์ เพื่อสร้างปากกาที่สามารถใช้งานได้ที่แรงโน้มถ่วงเป็นศูนย์

แต่ด้วยปัญหาแบบเดียวกัน ทางรัสเซียหาทางออกง่าย ๆ ด้วยการใช้ดินสอแทนปากกา

ที่ผมชอบเรื่องนี้มากก็เพราะมันช่วยเตือนใจให้มองหาปัญหาที่แท้จริงก่อน ที่จะเริ่มมองหาทางออก ในกรณีของนาซ่า ปัญหาไม่ได้อยู่ที่ปากกา แต่อยู่ที่จะทำอย่างไรให้นักบินอวกาศสามารถเขียนหนังสือได้ต่างหาก เพราะฉะนั้น โจทย์คือจะทำอย่างไรให้สามารถเขียนหนังสือได้บนแรงโน้มถ่วงที่เท่ากับศูนย์

ถ้าเมื่อไหร่ที่มีปัญหา ผมอยากให้คิดถึงเรื่องนี้กันนะครับ คนทำงานทุกคน ไม่มีใครไม่มีปัญหา ทางเดียวที่จะทำให้เราผ่านปัญหาเหล่านี้ไปได้ ก็คือมองมันอย่างเข้าใจ อย่าเสียเวลากับการปริวิตกมากเกินไป เอาเวลานั้นมาหาทางออกดีกว่า

ปัญหาบางอย่างเหมือนเส้นผมบังภูเขา แต่หากเรากดดันตัวเองมากเกินไปหรือเอาเวลาส่วนใหญ่ไปจมอยู่กับปัญหา เราอาจมองข้ามทางออกที่อยู่แค่ปลายจมูกก็ได้

อาจจะเริ่มง่าย ๆ จากการตั้งคำถามก่อนก็ได้ครับว่า ปัญหาที่คุณพยายามแก้อยู่นั้นคืออะไรกันแน่.

ที่มา : คอลัมน์ Quote of the day โดย ซิคเว่ เบรคเก้ นสพ. กรุงเทพธุรกิจ ฉบับวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2550
Credit : //www.thaispeculator.com


Create Date : 18 พฤศจิกายน 2551
Last Update : 18 พฤศจิกายน 2551 0:10:24 น. 0 comments
Counter : 340 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

Mr_high
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




Friends' blogs
[Add Mr_high's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.